23 พฤศจิกายน 2567, 07:01:16
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 27  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยวอีก  (อ่าน 285875 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #500 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 18:13:58 »

เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง มีชายา 6 พระองค์ มีโอรส-ธิดารวม 19 พระองค์ ได้แก่

1.เจ้าแม่ปทุมามหาเทวี ราชธิดาเจ้าเมืองสิงห์ เป็นมหาเทวี(มเหสีเอก) มีราชธิดา 1 องค์ และราชบุตร 1 องค์ คือ

    เจ้าหญิงทิพย์เกษร
    เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) (ต้นสกุล ณ เชียงตุง ได้สมรสกับเจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง (พ.ศ. 2446-2532) หลานสาวของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงลำปางองค์ที่ 13 (มารดาคือเจ้าหญิงฝนห่าแก้ว เป็นธิดาเจ้าหลวงลำปาง)

2.เจ้านางจามฟอง เดิมเป็นสามัญชนมีราชบุตร-ราชธิดารวม 6 องค์ คือ

    เจ้าฟ้ากองไท (ได้เป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงต่อจากเจ้าพ่อ)
    เจ้าอินทรา (ได้เป็นบุตรบุญธรรมเจ้าฟ้าเมืองสีป้อ)
    เจ้าปราบเมือง
    เจ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม (ต้นสกุล ขุนศึกเม็งราย ได้สมรสกับนางสาวธาดา พัฒนถาบุตร ธิดาของแม่บัวจันทร์และนายดาบแดง พัฒนถาบุตร (2430-2523) คหบดีบ้านวัวลาย เชียงใหม่)
    เจ้านางบัวสวรรค์
    เจ้านางฟองแก้ว

3.เจ้านางบัวทิพย์หลวง หรือเจ้านางทิพย์หลวง มี 5 องค์ ได้แก่

    เจ้านางแว่นแก้ว (เป็นมหาเทวีเจ้าฟ้าลอกจอก)
    เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง (สมรสกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9)
    เจ้านางแว่นทิพย์ (เป็นชายาเจ้าฟ้าแสนหวี แต่ภายหลังหย่าร้าง)
    เจ้าสิงห์ไชย
    เจ้าแก้วมาเมือง

4.เจ้านางแดงหลวง มี 2 องค์ ได้แก่

    เจ้าสายเมือง
    เจ้านางจันทร์ฟอง (สมรสกับข้าราชการป่าไม้ชาวไทย)

5.เจ้านางบุญยวง มี 2 องค์ ได้แก่

    เจ้านางฟองนวล
    เจ้าบุญวาทย์วงศา (ท่านผู้นี้มีบทบาทในการต้อนรับกองทัพไทยที่บุกเข้าเชียงตุงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพพายัพของไทย ซึ่งนำโดยหลวงเสรีเริงฤทธิ์(พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) ได้ใช้คุ้มของท่านผู้นี้เป็นกองบัญชาการ)

6.เจ้านางบัวทิพย์น้อย ได้แก่

    เจ้านางบัวน้อย
    เจ้ายอดเมือง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #501 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 18:20:07 »

แล้วเจ้าฟ้าเชียงตุงและลูกหลานตอนนี้อยู่ไหนกันบ้าง

บางส่วนอยู่ในประเทศไทย

สายของเจ้าฟ้าพรหมลือ

  

เมื่อเจ้าทิพวรรณอายุได้ 17 ปี ก็ได้พบรักกับเจ้าฟ้าพรหมลือ ราชโอรสในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ซึ่งได้เสด็จเดินทางมาเยือนนครลำปาง และได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง แต่การที่เจ้าต่างนครจะอภิเษกสมรสกันได้ จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสียก่อน และเนื่องจากขณะนั้นเชียงตุงอยู่ในบังคับของอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเกรงว่าจะมีปัญหาระหว่างประเทศได้ จึงไม่ทรงอนุญาต แต่ต่อมาก็ได้มีการหมั้นกันไว้ก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 2465 เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย เจ้าฟ้าพรหมลือได้เสด็จเดินทางมาเคารพพระศพ และถือโอกาสนี้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าทิพวรรณ จากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เดินทางกลับนครเชียงตุง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #502 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 18:57:21 »

ต่อมาไม่นานเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในนครเชียงตุง ทำให้เจ้าฟ้าพรหมลือถูกส่งตัวไปช่วยราชการที่เมืองตองยี และเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นก็ถูกส่งไปควบคุมตัวที่เมืองโหม่วหยั่ว แต่ภายหลังเจ้าฟ้าพรหมลือก็ได้พาครอบครัวหนีการควบคุมของอังกฤษเข้าหาฝ่ายไทย ที่ตำบลท่าก้อ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และเมื่อรัฐบาลประกาศให้รวมแคว้นสหรัฐไทยเดิมเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้าพรหมลือเป็นเจ้านครเชียงตุง และให้เป็นผู้ช่วยข้าหลวงปกครองฝ่ายทหาร ช่วยราชการสนามนครเชียงตุงด้วย ซึ่งท่านก็ได้สนับสนุนและช่วยเหลือกองทัพไทยเป็นอย่างมาก

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เจ้าฟ้าพรหมลือได้อพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 โดยประทับที่จังหวัดลำปางก่อน จากนั้นจึงได้เสด็จย้ายมาอยู่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2488 หลังจากเจ้าฟ้าพรหมลือเสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ. 2498 เจ้าทิพวรรณ ได้ประกอบอาชีพทำไม้สัก และโรงเลื่อย โดยได้รับสัมปทานป่าไม้จากรัฐบาล
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #503 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:02:09 »

เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง มีโอรสธิดา 7 คน คือ เจ้าวรจักร พันเอกเจ้าวรเดช เจ้าหอมนวล เจ้าพิไลลักษณ์ เจ้าวิลาวรรณ

เจ้าวรจักร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี   



เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตร
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #504 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:23:41 »

"เจ้าพิไลลักษณ์ อายุ ๗๕ ปี ยังคงอยู่ที่กรุงเทพฯ

จากเชียงตุงมาประเทศไทย เมื่ออายุ ๔ ปี พี่น้องมากัน ๖ คน คนโตเสียชีวิตที่เชียงตุงก่อนมา

ท่านกลับมาเชียงตุงบ้าง แต่จำอะไรไม่ได้เลย เพราะยังเล็กมากตอนไป  ในแต่ละปี ท่านและลูกหลานจะมาเจอกันที่กรุงเทพฯรวมทั้งเจ้าวรจักรด้วย "

ผู้เล่าเอ่ยถึงเจ้าวรจักร์ ผู้เป็นน้าและเจ้าพิไลลักษณ์ ผู้เป็นแม่เท่านั้น คาดว่าท่านอื่นคงไม่อยู่แล้ว

 ผู้เล่าได้ไปเที่ยวเชียงตุงครัังนึ้ดัวย


  
ในภาพคนขวามือ




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #505 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:34:22 »

สายเจ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม

เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งราย กงศุลอังกฤษคนแรก ของเชียงใหม่
เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายเป็นราชบุตรของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง และ เจ้าแม่จามฟอง
ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง รัฐฉานตอนใต้ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1915
ได้รับการศึกษาจากโรงเรียน Government English High School เมือง Maymyo ประเทศพม่า
และโรงเรียน Government High School for the Sons of Chief เมืองตองหยี รัฐฉาน
หลังจากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในย่างกุ้ง แต่ขณะกำลังศึกษาอยู่นั้น
ถูกเรียกตัวกลับเชียงตุงเพื่อไปบริหารประเทศ เพราะเจ้าฟ้ากองไต
ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุงถูกลอบปลงพระชนม์

เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายได้เลื่อนยศเป็นพันตรี และเป็นทูต 207 Military Mission
มาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย (ภาคเหนือ)
ค.ศ.1946 ได้มีการเปิดสถานกงสุลอังกฤษในจังหวัดเชียงใหม่หลังจากที่ปิดตอนช่วงสงคราม

เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายจึงได้ รับตำแหน่งเป็นกงสุลอังกฤษคนแรก
ต่อมาได้แต่งงานกับนางสาวธาดา พัฒนถาบุตร
เป็นบุตรของนายดาบแดง และนางบัวจันทร์ พัฒนถาบุตร
มีราชบุตรและราชธิดา 3 องค์ คือ

๑.แพทย์หญิงเจ้านางเขมรัสมี  ขุนศึก-เม็งราย เคยรับราชการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่

                          

๒.เจ้านางเขมวดี  ขุนศึก-เม็งราย จิตรดอน เคยทำงานเป็นรองประธานกรรมการบริษัท พรีเมียร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

๓.เจ้าชายเขมรัฐ  ขุนศึก-เม็งราย เคยทำงานตำแหน่งผู้จัดการภาค บริษัทสำรวจน้ำมันชลัมเบอเช่ ที่กรุงเทพฯ

เจ้าฟ้าขุนศึก เม็งรายถึงแก่พิราลัย วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535

จากคอลัมน์ของ คุณสุทธิศักดิ์ และ คุณมนตรี ปัญญาฟู
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #506 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:53:29 »

ที่เชียงใหม่ ฝั่งตรงกันข้ามเยื้องกับห้างสรรพสินค้ากาดสวนแก้ว ถนนห้วยแก้ว มาทางทิศตะวันออก เป็นบ้านของเจ้าเชื้อสายเชียงตุง ชื่อ เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งราย ตระกูล “ขุนศึกเม็งราย”

บ้านหลังนี้อยู่ในที่ดินรวม ๕ ไร่เศษ เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายซื้อไว้ขณะยังพักอาศัยอยู่ที่นครเชียงตุง ต่อมาเปิดขายเครื่องเงินตามต้นตระกูลของภรรยา คือ หม่อมธาดา บริเวณบ้านปลูกไม้ดอก เมื่อปลูกบ้านได้บ้านเลขที่ ๑๒ ถนนห้วยแก้ว

บ้านของเจ้าฟ้าขุนศึก เรียกว่า หอ ต่อมาเมื่อมีการเวนคืนจากราชการเพื่อขยายถนนห้วยแก้ว จึงได้รื้อบ้านเดิมและสร้างใหม่ ใช้ชื่อว่า หอบ้านเม็งราย บริเวณด้านหน้าบ้านเปิดขายเครื่องเงิน ใช้ชื่อว่า “ร้านธาดา” ตามชื่อภรรยา คือ หม่อมธาดา ขุนศึก-เม็งราย

..สำเนาภาพไม่ได้..
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #507 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2558, 09:09:54 »

สายเจ้าสายเมือง ไปอยู่แคนาดา

เจ้าสุรินทร์ และ เจ้าแสนดา หลานของเจ้าสายเมือง
ที่เกิดและโตในแคนาดาประเทศที่เจ้าเชียงตุงส่วนใหญ่ไปลี้ภัย





      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #508 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2558, 09:27:24 »

สายเจ้านางสุคันธา

เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง (สมรสกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9)

เมื่อก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ท่านให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่ง

"เจ้านนท์ เพิ่งเสียไปได้สองปีที่แล้ว อยู่ได้แปดสิบเอ็ดปี เรามีลูกด้วยกันห้าคน เป็นชายสามหญิงสองชื่อ รัตนินดนัย วิไลวรรณ สัมภสมพล ไพฑูรย์ศรี วีรยุทธ ที่ชื่อคล้องจองกัน เจ้านนท์ไปขอให้เจ้าคุณวัดเทพศิรินทร์ตั้งชื่อให้ลูกทุกคน"

ภาพ ท่านวิไลวรรณ


                              
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #509 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2558, 09:41:10 »

ปิดท้ายด้วย บรรยากาศเชียงตุงเมื่อร้อยปีก่อน



เมื่อ ๑๐๐ ปีที่่ผ่านมา มีชาวอังกฤษเดินทางไปเที่ยวเมืองเชียงตุง เเละเขียนหนังสือนำเที่ยวเมืองเชียงตุงซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเล่มเเรกๆของเมืองเชียงตุงเลยก็ว่าได้

"เมืองเชียงตุงในหน้าหนาวนั้นต้นไม้เหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาล แต่เมื่อถึงหน้าน้ำหลากในเดือนสิงหาคมทุกแห่งก็กลับเขียวขจี นาข้าวแลดูราวทะเลสีมรกตไปจรดเทือกเขาด้านหน้า

เมืองเชียงตุงมีกำแพงและคูเมืองล้อมรอบ กำแพงส่วนใหญ่พังทลายและมีหญ้าขึ้นปกคลุมจนสิ้น เราจะเห็นแนวกำแพงได้ชัดเจนในหน้าแล้งที่ต้นหญ้าแห้งตายแล้วเท่านั้น ภายในกำแพงเมืองเชียงตุงนั้นมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ภายในกำแพงเป็นที่ตั้งของหอเจ้าฟ้า ตลาด หนองน้ำ และวัดวาอารามขนาดใหญ่ แต่หากคุณคาดหวังจะได้เห็นถนนหนทางที่พลุกพล่านในเมืองเชียงตุง คุณจะผิดหวัง เพราะเมืองเชียงตุงนั้นหลับใหลอยู่ตลอดการ เงียบเชียบเหมือนนครเกียวโต

เมื่อเดินแยกออกจากถนนหลักในตัวเมืองก็จะเป็นเจดีย์วัดอินทร์ที่เงียบเหงา มีเพียงแต่เสียงระฆังกังสดาลแว่วตามสายลมมาเท่านั้น ภายในบริเวณเจดีย์นั้นอยู่ภายใต้เงาไผ่ที่ร่มครึ้ม และดงต้นซากุระที่กลีบดอกร่วงหล่นลงสู่พื้นดินราวกับสายฝนพรำ

เสน่ห์ของเมืองเชียงตุงนั้นซ่อนเร้นซึ่งคุณต้องค้นหาเอาเอง ความประทับใจครั้งแรกของเมืองเชียงตุงนั้นคือความผิดหวัง คุณต้องหามุมสงบนั่งชมหลังคาบ้านเรือนที่งดงาม พระเจดีย์เก่าแก่ บานพระตูและฝาผนังของวัดที่วิจิตรรวมถึงหมู่พระพุทธรูปที่มีอย่างมากมาย

ผมจะนำเสนอเรื่องธุรกิจการค้าหรือตลาดของเมืองเชียงตุงซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด หากพ่อค้าแม่ค้าและนักเดินทางได้เดินทางออกจากเมืองเชียงตุงไปหมดแล้ว เมืองทั้งเมืองก็จะเงียบเหงา วังเวง ราวกับเวทีที่ไร้นักแสดง

ในเวลากลางวันมีเพียงแสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงสาดส่องคอกสัตว์ เศษขยะและใบไม้ในตลาดที่ว่างเปล่าเท่านั้น ในตลาดมีเพียงหมาขี้เรื้อนนอนเลียแผลพุพองและเห่าหอนต้อนรับแสงจันทร์ในยามค่ำ ม้ากลับมาจากทุ่งหญ้านอกเมืองเดินผ่านถนนทำให้ฝุ่นกระจายคละคลุ้ง ส่วนม้าที่เป็นโรคหมดแรงก็เดินหาสถานที่เงียบสงบเพื่อนอนพักและสิ้นใจ

ตลาดจัดขึ้นทุก ๕ วัน ซึ่งครึกครื้นราวกับงานฉลอง ผู้คนเบียดเสียด และหากคุณต้องการไปชมชาวเมืองเชียงตุงก็ควรจะไปให้ตรงกับวันตลาดหรือกาดนัดนี้

ท่ามกลางชาวเชียงตุงที่มาตลาดก็ยังมีชาวเขาเดินปะปนเบียดเสียดเยียดยัดอยู่ด้วย ในตลาดมีทั้งชาวไท ชาวพม่า ชาวจีน ชาวก้อ ชาวว้า ชาวมูเซอและชาวสยาม คุณอาจว่าจ้างจิตรกรสำหรับวาดภาพบรรยากาศและผู้คนแต่ละเผ่าพันธุ์ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นหากคุณต้องการเรียนรู้เรื่องราวของเพื่อนบ้านอย่างละเอียด และคุณก็จะเข้าใจว่าเหตุใดรัฐบาลอังกฤษใช้เวลาถึง ๓๐ปีในการเก็บข้อมูลและภาษาของชนกลุ่มน้อยต่างๆในพม่าตอนเหนือ

และที่เมืองเชียงตุงก็มีทั้ง ไท ลื้อ เขิน แลม ลาว และโยน นอกจากนี้ยังมี ก้อ มูเซอ กวี ปะหล่อง แอ่น ว้า ไทดอย ฯลฯ"....สุทธิศักดิ์ถอดความ


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #510 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2558, 12:46:54 »

  ภาพชุด"เที่ยวกรุงเก่า"




วัดพนัญเชิง ริมแม่น้ำป่าสัก


  เจดีย์วัดสามปลื้ม ปัจจุบันไม่มีวัดนี้แล้ว





มาอยู่อยุธยาถึงวันพฤหัสฯครับ. จะมีภาพชุด"เที่ยวกรุงเก่า"
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #511 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2558, 19:09:41 »

ไปที่ป้อมเพชร





















อยู่จนค่ำ

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #512 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 04:17:24 »

ย่านป้อมเพชรเป็นชุมชนใหญ่ในสมัยก่อน

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #513 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 04:25:51 »

ต่อมามีระบบประปาในสมัยร. 5 ยังมีบางอย่างที่สร้างเมือ100 ปีก่อนให้เห็นใก้ลๆป้อมเพชร






      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #514 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 04:38:40 »

ด้วยที่นี่ใกล้ป้อมเพชร อยู่ริมน้ำบรรยากาศดี







เยื้องกับวัดพนัญเชิง ที่อยู่ตรงข้าม



วิวดีซะ นั่งจนเพลิน


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #515 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 09:38:22 »

หากพอมีเวลาจะไปที่อื่นบ้าง...สองแห่งนี้ใกล้ที่พัก
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #516 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 19:36:11 »

ไปกันต่อ







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #517 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 19:58:28 »










วิหาร






      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #518 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 20:30:48 »








      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #519 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 20:41:20 »

อุโบสถ










      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #520 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 20:50:10 »

ของเดิมเมื่อสี่ร้อยปีเศษมาแล้วที่ยังคงอยู่













ทั้งหมดมีเพียงภาพแรกครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #521 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 20:58:27 »

ยังมีต่ออีกสามวัดงาม..งามทุกวัดครับ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #522 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 06:19:02 »

อีกวัด



ติดกับวัดราชบูรณะ กับภาพที่หันหลังไปมอง







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #523 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 06:31:05 »

ของเดิมที่ัยังคงอยู่
















      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #524 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 06:53:39 »







      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 27  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><