เริง2520
|
|
« เมื่อ: 03 สิงหาคม 2557, 19:14:04 » |
|
ตามครูไปเที่ยว มีความขัดข้องบางประการ จึงมี "ตามครูไปเที่ยวอีก"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2557, 19:19:05 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2557, 19:54:49 » |
|
ในสงคราม ๙ ทัพที่ทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
สงครามเก้าทัพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับราชอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2557, 19:57:34 » |
|
สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี [2] ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียงอาหาร แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับครั้นคร้ามคิดว่ากองทัพไทยมีกำลังมากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ 8-9 จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบทั้งกองทัพขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2557, 20:02:00 » |
|
คำตรัสของพระราชวังบวรสุรสีหนาท ก่อนเข้าตีค่ายพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า
" พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้าเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นคนไทย เป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่าเราหวงแหนแผ่นดินแค่ไหน รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีกจนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้นชายแดน ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใคร นอกจากรบเพื่อแผ่นดินของเจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้ามอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสืบไป "
และเมื่อชนะศึกครั้งนี้ ทำให้มีวัดชนะสงครามที่บางลำภู
วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญเป็นผู้ดูแล คนทั่วไปจึงเรียกตามภาษามอญว่า "วัดตองปุ" เมื่อสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงกรีฑาทัพกลับพระนครหลังจากทรงมีชัยในสงคราม 9 ทัพ ทรงทำพิธีสรงน้ำ และเปลี่ยนเครื่องทรงตามพระราชพิธีโบราณที่วัดแห่งนี้ก่อนเสด็จเข้าพระบรมมหาราชวัง จึงทรงโปรดฯ ให้บูรณะพระอารามใหม่ในปี 2330 จากนั้นรัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชทานนามว่า "วัดชนะสงคราม"
วัดชนะสงคราม ในสมัย ร. ๕
|
|
|
|
|
ผู้ดูแล
Administrator
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
กระทู้: 38
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2557, 23:13:24 » |
|
|
ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 19:08:28 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 19:18:10 » |
|
|
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 10:30:20 » |
|
น้องเริง ตามครูมาเที่ยวอีก หาจนเจอ ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ดีทีเดียวสร้างในทำเลที่สวย พี่ต้อยชอบสถานที่ในเชิงท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์แบบนี้มากจะลองหาภาพสถานที่ ยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี world war มาโพสดู
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 15:55:38 » |
|
ที่ตั้ง ภูมิทัศน์ ติดมหาสมุทร สถานที่จริงค่ะ เดินเข้าไปเห็นทางเข้าอาคาร ทำได้ดีมาก ของใช้ทหาร หุ้นจำลอง อาวุธก็ยังเก็บไว้แสดง
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 16:00:37 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 16:08:31 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 16:15:30 » |
|
ครับ สวยมาก
ที่กาญจนบุรีมีอีกแห่งคือพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดที่ออสเตรเลียสร้างร่วมกับไทย
ผ่านด้วยนะแต่เคยแวะแล้ว มีในตามครูไปเที่ยวหน้าแรกๆครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 18:50:13 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 19:38:22 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2557, 18:56:58 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2557, 19:37:32 » |
|
นางาซากิรำลึก 69 ปีถูกสหรัฐทิ้งระเบิดนิวเคลียร์
By สำนักข่าวไทย TNA News | 9 ส.ค. 2557 14:12 | 44 views | View Comment
โตเกียว 9 ส.ค. - เมืองนางาซากิของญี่ปุ่น รำลึกวันครบรอบ 69 ปีที่ถูกสหรัฐทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทันทีและเสียชีวิตหลังจากนั้นหลายเดือนหลายปี รวมกว่า 70,000 คน
พิธีรำลึกจัดขึ้นใกล้กับจุดที่ถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ท่ามกลางกระแสลมแรง เพราะอิทธิพลของไต้ฝุ่นหะลองที่กำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้ามาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ผู้ร่วมงานหลายหมื่นคน ประกอบด้วย ผู้รอดชีวิตวัยชรา ญาติพี่น้องผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่รัฐบาล และผู้แทนต่างชาติ รวมทั้งนางแคโรไลน์ เคนเนดี เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำญี่ปุ่น สงบนิ่งขณะเสียงระฆังดังขึ้นเมื่อเวลา 11.02 น. วันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 09.02 น. วันนี้ ตามเวลาในไทย ซึ่งเป็นเวลาที่กองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ “แฟตแมน” ถล่มเมืองนี้ในวันนี้ เมื่อปี 2488 ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในอีก 6 วันต่อมา เป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2557, 19:47:10 » |
|
คนไทยกับระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา 6 สิงหาคม 2488 ระเบิดลูกแรก ก่อนจะมีลูกที่สองทีนางาซากิ ตามข่าวข้างต้น กว่า 60 ปีมาแล้ว ที่เหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่2 ได้เกิดขึ้นบาดแผลทางร่างกายและจิตใจของผู้คนที่เกิดทันเหตุการณ์ในครั้งนั้นคงจางหายไปตามกาลเวลา แต่สำหรับรองศาสตราจารย์ฉลอง สุนทราวาณิชย์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถึงแม้ว่าจะเกิดไม่ทันในเหตุการณ์ครั้งนั้น แต่กลับสนใจเหตุการณ์โศกนาฏกรรมการระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ จากการอ่านหนังสือ “นิทานชาวไร่” ของนาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี และนี่คือจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา จนมาสู่การเล่าเรื่องให้ผู้คนได้รับทราบในการบรรยายทางวิชาการในชื่อเรื่อง “คนไทยกับระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา” ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 ค้นคว้าเพราะหลงไหลเป็นการส่วนตัว
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2557, 19:51:33 » |
|
ในหนังสือ นิทานชาวไร่ เล่มที่11 น.อ.สวัสดิ์ ได้เขียนเล่าให้ฟังว่าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลทหารเรือ ย่านฝั่งธน บังเอิญได้นอนเตียงข้างๆ กับนายทหารเรือคนหนึ่ง (คุณอุรา หรือ คุณ ณรัฐ วิโรจน์เพชร) โดยคุณอุราเล่าให้น.อ.สวัสดิ์ฟังเมื่อครั้งไปฝึกงานที่เมืองเล็กๆในญี่ปุ่นชื่อคุเระ ซึ่งห่างจากเมืองฮิโรชิม่าประมาณ 40 กิโลเมตร โดยในวันที่ 6 สิงหาคม 2488 ซึ่งเป็นวันที่ระเบิดปรมาณูลงที่ฮิโรชิมานั้น คุณอุรากำลังทำงานอยู่ที่เมืองคุเระ ในห้องทดลองและออกมาได้เห็นดอกเห็ดปรมาณูที่ฮิโรชิมา รศ.ฉลองกล่าวว่า เมื่ออ่านบันทึกนั้นรู้สึกประทับใจและรู้สึกว่า นายทหารเรือผู้นี้อาจจะเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่มีโอกาสเห็นดอกเห็ดปรมาณูที่ฮิโรชิมา จึงได้พยายามตามหานายทหารเรือคนนี้ แต่ก็หาไม่พบ จนกระทั่งในปี2548 รศ.ฉลองมีโอกาสรวมกลุ่มทำงานวิจัยเพื่อระลึกถึงการสิ้นสุดลงของระเบิดปรมาณู ปรากฏว่ามีผู้คนสนใจในการหาข้อมูล จนในที่สุดจากการช่วยเหลือของเพื่อนๆจึงทำให้ได้หนังสือพระราชทานเพลิงศพคุณอุรา โดยได้จากลูกชายของคุณอุรา ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่าได้รับการช่วยเหลือข้อมูลจากเพื่อน
การคัดเลือกเมืองของอเมริกา
จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว รศ.ฉลองจึงเริ่มทำการค้นคว้าประกอบการทำงานวิจัยถึงเรื่องการระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา รศ.ฉลองกล่าวว่า เมืองที่อเมริกาคัดเลือกที่จะใช้ระเบิดปรมาณูในตอนแรกมีทั้งหมด 5 เมือง คือ เกียวโต ฮิโรชิมา นางาซากิ นิคาตะ และโคคุระ แต่เป้าหมายของการทิ้งระเบิดของอเมริกาคือต้องเป็นเมืองที่ยังไม่ถูกทำลาย มีประชากรหนาแน่น เพื่อการประเมินผลระเบิดปรมาณูและความเป็นระบบทางการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในขั้นแรกอเมริกาตัดเมืองเกียวโตออกเพราะเป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นเพราะหากทิ้งระเบิดไปอาจสร้างความแค้นใจให้กับชาวญี่ปุ่นมาก ต่อมาจึงตัดเมืองนิคาตะออกอีกหนึ่งเมืองเนื่องจากเป็นเมืองชนบทและเป็นเมืองทำนาผลิตข้าวประชากรไม่หนาแน่น จึงเหลือเพียงสามเมืองเท่านั้น ที่จะทิ้งระเบิดคือ ฮิโรชิมา นางาซากิ และโคคุระ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2557, 19:53:36 » |
|
คนไทยคนเดียวที่มีโอกาสได้เห็นระเบิดปรมาณูตอนที่ระเบิด
อุรา หรือ ณรัฐ วิโรจน์เพชร คือคนไทยคนเดียวที่มีโอกาสได้เห็นระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา (คุณอุรา หรือคุณ ณรัฐ วิโรจน์เพชร เป็นลูกชายของพลตรีพระรณรัฐวิภาคกิจ (อุณห์ วิโรจน์เพชร) ซึ่งเป็นเจ้ากรมแผนที่ กับคุณหญิงผัน วิโรจน์เพชร คุณอุราเกิดวันที่ 2 กันยายน 2461 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา8 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อเรียนจบอยากเข้าโรงเรียนนายเรือ แต่มีปัญหาทางกายภาพเลยไม่ผ่านเกณฑ์โรงเรียนนายเรือ แต่คุณพ่อส่งไปเรียนที่ญี่ปุ่นเพื่อมารับราชการทหารเรือในเมืองไทย ได้รับปริญญาตรีในปี 2484 จาก คิริว คอลเลจ ออฟ เทคโนโลยี และเรียนปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยวิศวกรรมโตเกียว โดยเป็นนักเรียนทุนของกองทัพเรือทางด้านโลหะ เมื่อกลับเมืองในในปี 2489 จึงรับราชการที่กรมอู่ทหารเรือจนถึงแก่กรรมในปี 2518 เผยแพร่บนเว็บไซต์ วันที่ : 13 มิถุนายน 2550) และเป็นที่มาและประเด็นที่จุดประกายให้ รศ.ฉลอง สนใจที่จะศึกษาเรื่องระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา ในหนังสือ นิทานชาวไร่ เล่มที่ 11หน้า 132 – 162 มีการกล่าวถึงการระเบิดที่ฮิโรชิมา โดยกล่าวถึงการทำงานของคุณอุราในญี่ปุ่น ข้อความบางตอนที่คุณอุราเล่าให้คุณสวัสดิ์ผู้เขียนหนังสือ นิทานชาวไร่ คือ
“ ตอนนั้นอยู่ในห้องทดลองโลหะที่โรงงานฐานทัพเรือของญี่ปุ่นที่เมืองคุเระ ห่างจากฮิโรชิมาไป 40 กิโลเมตร ในเวลา 8.15 น. เห็นแสงแปล๊บผ่านทางช่องลม ในใจคิดว่าคงมีไฟฟ้าลัดวงจร จึงสั่งให้ตัดสวิทช์ใหญ่เสีย ขณะนั้นก็เกิดเหตุการณ์แผ่นดินสะเทือนประมาณครึ่งนาที ประกอบกับหูอื้อพร้อมกัน ทุกคนจึงวิ่งออไปข้างนอก เมื่อมองไปทางเมืองฮิโรชิมาซึ่งห่างออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร ก็แลเห็นความสีเทารูปเรียวเป็นลำตาลไม่มียอด ลอยคว้างเป็นกลางอากาศ (ยังไม่ใช่รูปเห็ด) ตกบ่ายจึงเห็นเป็นรูปเห็ดสีเทาลอยคว้างอยู่กลางหาว พอรุ่งเช้าก็มองไม่เห็นแล้ว” นาฬิกาข้อมือที่ค้นพบในซากปรักหักพัง หยุดเดินบันทึกเวลาระเบิดเอาไว้ เวลา 8 นาฬิกา 15 นาที
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2557, 18:07:06 » |
|
วันหยุดไปเที่ยวที่ไหนกันบ้างครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2557, 18:37:36 » |
|
กลับบ้านที่นครปฐมครับ
พรุ่งนี้นัดทำสุกี้เลี้ยงแม่ตอนเย็น พร้อมหน้ากันทั้งหมด
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2557, 18:39:00 » |
|
วันนี้มีเท่านี้ครับ
ทั้งหมด: 8 (แสดงตัว: 6, ซ่อนตัว: 2) เหยง 16, เริง2520, Lawyervat, kumpolcomcai, Pete15, Manop Klabdee
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2557, 18:55:58 » |
|
ครับผม ดีจังพร้อมหน้ากันหมด
พวกเราใช้วันหยุดยาวกับครอบครัว จึงมากันเท่านี้.. ๕ ๕
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2557, 21:15:05 » |
|
ยังไปกันต่อ...ครับ
|
|
|
|
kumpolcomcai
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี อยู่ในสถานที่ดีดี
ออฟไลน์
รุ่น: 2525
คณะ: สัตวแพทยศาสตร์
กระทู้: 10,307
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2557, 23:26:04 » |
|
ผมจะพยายามมาทุกวันครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2557, 07:03:58 » |
|
ครับผม ยินดีมากๆเลย
|
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2557, 19:28:47 » |
|
ตามข่าวนี้อยู่พอดี
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2557, 20:14:53 » |
|
ชอบชอปปิ้งที่บางลำพูค่ะ วัดบวรก็เข้าบ่อยอยู่ แต่ตามน้องเริงเที่ยวสนุกกว่า เหมือนได้มีเวลาหยุดดูสถานที่สวยๆนานนาน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2557, 08:44:06 » |
|
ไปจันทบุรี 2 วันกลับ มีภาพมาให้ชมด้วยแน่
|
|
|
|
kumpolcomcai
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี อยู่ในสถานที่ดีดี
ออฟไลน์
รุ่น: 2525
คณะ: สัตวแพทยศาสตร์
กระทู้: 10,307
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2557, 08:59:05 » |
|
รอชมครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2557, 18:20:34 » |
|
หมาใจบุญ วิดน้ำหวังช่วยชีวิตปลา วันที่13ส.ค. กลายเป็นน้องหมาที่คนกล่าวขวัญถึงมากที่สุดบนโลกออนไลน์ในขณะนี้ เมื่อชาวเน็ตจำนวนมากเข้าไปแสดงความคิดเห็นชื่นชม น้องหมาใจประเสริฐ ที่พยายามใช้จมูกวิดน้ำที่มีอยู่น้อยนิดบนพื้น.......
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #51 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2557, 15:47:43 » |
|
ยังไม่ถึงจันทบุรีเลย. แค่รังสิต. ภาพจันทบุรียังไม่มีนะท่าน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #52 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2557, 21:14:23 » |
|
แสดงความยินดีด้วย การแข่งขันฟุตซอล ไมโลซีเรียล แชมเปี้ยนส์ 2014 เมื่อวันที่ 17 ส.ค. โดยมี มร.เวย์น อิงแลนด์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า ร่วมในพิธีปิดการแข่งขัน ที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ รอบชิงชนะเลิศ ผลปรากฎว่า รร.ทวีธาภิเศก A เอาชนะ พบพระเคหะภัณฑ์ จ.ตาก 2-1 คว้าแชมป์พร้อมทุนการศึกษา 50,000 บาท ไปครอง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #53 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2557, 13:39:04 » |
|
สืบเนื่องวันที่ ๑๑ สค.ไปวัดบวรฯ และได้เห็นถนนสิบสามห้างที่ใกล้กับวัดบวรฯถนนสิบสามห้าง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเป็นทางสัญจรแบบใหม่ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นำแบบอย่างจากชาติตะวันตก มาใช้ หลังจากกลับจากการเสด็จประพาสยุโรป ถนนสายแรกๆ ที่พระพุทธเจ้าหลวง ทรงดำริให้สร้างนั้น เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าคือ ถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า ถนนสายแรกๆ ที่อ้างขึ้นมานี้ มีชุมชนอันหนาแน่นของชาวจีนอาศัยอยู่ ทั้งนี้ได้มีการสันนิษฐานว่า ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มทางสัญจรใหม่นี้บนย่านการค้า เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของพระนคร เมื่อถนน 3 สายแรกสร้างเสร็จ และเห็นผลของการก่อสร้างไปในทางบวก ถนนสายอื่นๆที่ต่อติดกับถนนสายแรกๆ ก็ตามมามากมาย เช่นถนนที่อยู่ในชุมชนชาวจีน และอยู่ใกล้กับอารามหลวงที่ชื่อ วัดบวรนิเวศวรวิหารอีกด้วย ถนนที่ว่านี้มีชื่อเก๋ๆ ว่า “ถนนสิบสามห้าง” ถนนสิบสามห้างเป็นเพียง ถนนสายสั้นๆ ในย่านบางลำพู มีที่มาจากกลุ่มพ่อค้าชาวจีนกวางตุ้งที่มาตั้งห้างร้านอยู่บนถนนสายนี้รวมทั้งหมด 13 ห้าง
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2557, 11:21:55 » |
|
ช่วงนี้ฟ้าฝนไม่อำนวยให้ไปเที่ยวเลยเนาะ อยู่ในที่ตั้งครับ.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #57 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2557, 20:28:02 » |
|
ตามมาชมแล้วครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #58 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2557, 14:47:20 » |
|
ดีมากๆเลย
"อีจีเอ-ทีโอที" ผนึก กศน.หนุนการศึกษาภาคเหนืออีจีเอ ทีโอที กศน.และม. พะเยา ผนึกกำลัง หนุนภาคการศึกษา เดินหน้าพัฒนาดิจิตอลคอนเทนต์ผ่าน อีจีเอสมาร์ทบ็อกซ์ นำร่อง 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เตรียมขยายผลทั่วประเทศเชื่อมโยงหมายเลขบัตรประชาชน
วันจันทร์ 25 สิงหาคม 2557 เวลา 12:40 น.
วันนี้ (25 ส.ค.) ที่ โรงแรมเซ็นทรา คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) หรือ อีจีเอ เปิดเผยว่า อีจีเอ ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยพะเยา บันทึกความร่วมมือทางวิชาการใน “โครงการพัฒนาศูนย์บริการเชื่อมโยงข้อมูลประชาชนด้านการจัดการศึกษา Digital Content” เพื่อร่วมมือในการพัฒนาโครงการการใช้อีจีเอ สมาร์ท บ็อกซ์ (EGA Smart Box) เพื่อการสื่อสารข้อมูลภาครัฐและข้อมูลการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตลอดชีวิตโดยใช้โครงข่าย GIN
สำหรับโครงการดังกล่าวจะทดลองนำร่องพื้นที่ 4 จังหวัด ใน กศน.ภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เพื่อให้นักเรียน กศน. รวมถึงประชาชนในชุมชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้และได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ อาทิ ข้อมูลข่าวข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลทางการเกษตร ร่วมถึงการรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ได้ใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ สามารถใช้ประโยชน์จาก Smart Card ได้อย่างเต็มรูปแบบนี้
สมาร์ท บ็อกซ์ ของอีจีเอ จะเชื่อมโยงกับระบบคลาวด์การศึกษาของทีโอที ซึ่งมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้านการศึกษา โดยสถาบันนวัตกรรมทีโอทีที่จับมือร่วมกับ 3 สำนักพิมพ์ใหญ่ ในการทำวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีด้านดิจิตอลคอนเทนต์ให้กับ กศน.ตำบล โดยมี มหาวิทยาลัยพะเยา ให้การสนับสนุนด้านบุคคลากรทางการศึกษาและนิสิตอาสมัครในการลงพื้นที่ร่วมกับ กศน.ตำบล และร่วมรณรงค์ส่งเสริมชุมชนให้สามารถใช้บริการข้อมูลของภาครัฐโดยผ่าน อีจีเอ สมาร์ท บ็อกซ์ และข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ผ่านระบบโครงข่ายและระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์เพื่อผลักดันให้ จังหวัดพะเยาและอีก 3 จังหวัดเป็นประตูสู่เออีซีและผู้นำอาเซียนในด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทยสู่ความเป็นสมาร์ทเอ็ดดูเคชั่น
นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริม การผลิตพัฒนาและวิจัยสื่อการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาสาระในรูปแบบดิจิตอลคอนเทนต์เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นทั้ง 4หน่วยงานยังได้ทำการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯโดยวางเป้าหมายหลังการทดลองโครงการนำร่องประสบความสำเร็จ ในการเตรียมการขยายผลโครงการฯและเตรียมการพัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นและเนื้อหาในการบูรณาการร่วมกับระบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อขยายผลไปยัง กศน.ตำบล ของภาคเหนือตอนบน จำนวน 200 ศูนย์และขยายผลไปยัง กศน.ตำบล และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ กว่า 10,000 ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #59 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2557, 10:57:10 » |
|
ต้องไปแน่
|
|
|
|
lek_adisorn
|
|
« ตอบ #60 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2557, 14:51:40 » |
|
น่าจะเป็นงาน meeting ของรุ่น20 แน่นอน ยืนยันครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #61 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2557, 15:31:00 » |
|
และพบปะสังสรรค์ของรุ่นอื่นๆด้วย
เพียงแต่บุตรชายท่านอยู่รุ่นนี้ มีครูหยุย (สนช.) กมล (เลขาฯการศึกษาพื้นฐาน ) แจ๋ว (ผู้กำกับละคร) และท่านอื่นๆ ส่งข่าวแจ้งกันแล้วครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #62 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2557, 08:09:39 » |
|
มาตามครูไปเที่ยวต่อครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #63 เมื่อ: 02 กันยายน 2557, 07:42:38 » |
|
ที่แม่กลอง ฝนตกดี
อุทัยธานี ระยองและชลบุรีที่จะไปคงไมีมีฝนแล้วเนาะ
มีแต่ภาพมาใหัชม
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #64 เมื่อ: 02 กันยายน 2557, 08:19:06 » |
|
ข้อมูลที่นครสวรรค์,
วันศกร์ที่ 29 ส.ค.ตกช่วงเย็นไปถึงแจ้งของวันรุ่งขึ้น รวมน้ำฝนทั้งหมดประมาณ +2 จาก +4 วันเสาร์ที่ 30 ตกช่วงแรก 14.00 น.ประมาณ 20 นาที, ช่วงที่สอง เริ่ม 19.00 ตกประมาณ 30 นาที วันอาทิตย์ที่ 31 ส.ค. ตกช่วง 07.30 - 9.00 น. บ่ายแดดออกเต็มที่
วันจันทร์ที่ 1 ก.ย.ตก 2 ช่วง ตีสาม-เช้า, ช่วงที่สอง 07.15 น. - 10.00 น. บ่านแดดออกเต็มที่ วันอังคาร 2 ก.ย. (วันนี้) เมื่อคืนมีฝนตกช่วงตีสาม แรงระดับ +2 จาก +4 น่าจะได้น้ำมากพอสมควร
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #66 เมื่อ: 02 กันยายน 2557, 13:02:41 » |
|
พระองค์ท่านได้เสด็จเยือนทุกมณฑลของจีนแล้วด้วย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #67 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 08:28:49 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #70 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 09:01:01 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #71 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 09:14:05 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #72 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 11:36:56 » |
|
สวัสดีวันอาทิตย์ค่ะน้องเริง ตามมาเที่ยวอุทัยธานี เมืองที่ตั้งแต่สมัยแม่พี่เล่าให้ฟังว่ามีแม่น้ำเวลาเดินทาง จากแปดริ้ว ช่วงไหนไม่ทราบแม่จะไปเลี้ยงหลานที่อุทัย ขณะนั่งอยู่บนเรือ เรือเกิดล่ม ดีที่แม่ว่ายน้ำเป็นและ จนบัดนี้พี่ก็ยังไม่เคยไปอุทัยธานีเลยค่ะ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #73 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 11:59:54 » |
|
วัดสังกัสฯ ต้องระวังหมาไว้สักนิด มันเห่าไล่มาทีละนับสิบตัว อย่าเข้าไปใกล้พวกมันที่นอนกันเป็นฝูงเด็ดขาดครับ มีเจอมาแล้ว มันจำเฉพาะคนในพื้นที่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #74 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 13:17:28 » |
|
ครับ พี่ต้อย อุบัติเหตุเหมือนกับรถยนต์
หลายชีวิต หนังสือแต่งของท่านคึกฤทธิ์
ก็เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางเรือแต่ไม่รอดสักคน
ได้เคยตามไปชมท่าเรือบ้านแพนหรืออำเภอเสนาที่อยุธยาด้วย
ที่สมมุติเป็นท่าเรือที่หลายชีวิตนั่งเรือมาด้วยกันและจากไปพร้อมกัน
มีภาพใน เที่ยวไปในวันว่าง ด้วยครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #75 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 13:26:30 » |
|
พี่เหยง เกือบไปแล้ว มีตัวเก่ง ๑ ตัว
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #77 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 14:33:34 » |
|
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #78 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 14:34:02 » |
|
ก่อนอื่น ต้องขอบคุณครูเริงที่นำเสนอเรื่องนี้ขึ้นมา ในฐานะที่พี่ป๋องมีภูมิลำเนาอยู่อุทัยธานี สำหรับน้องต้อย ยังไม่สายไปครับ ให้รุ่น 2516 จัดทัวร์ไปอุทัยธานีแบบที่รุ่น 2514 กำลังจะไป 19-21 กย.นี้ พี่ป๋อง สุริยา 2513 ยินดีจะไปร่วมทัวร์ด้วยเช่นกันครับ
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #79 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 14:36:54 » |
|
ครับผม ยินดีด้วย
อุทัยธานีงาม สงบ ประทับใจมากครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #81 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 14:58:22 » |
|
|
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #83 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 15:37:23 » |
|
RCU 2514 ที่จะไปทัวร์อุทัย ราวๆ 30 คน 19-21 กย.2557 นี้ ก็จะพักที่นี่ หนึ่งคืนเช่นเดียวกันครับ ครูเริง
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #84 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 19:57:38 » |
|
พี่ป๋อง
ให้รุ่นพี่ 2514 จัดนำไปก่อนครับ รุ่น 2516 ช่วงนี้หงอยเป็นพิเศษ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ?? เงียบเหงาจริงๆ งาน CU 2516 ยกมหา'ลัย ถูกเลื่อนไป 28 ธันวาคม 2558 ทีเดียว
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #86 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 20:50:28 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #87 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 20:56:00 » |
|
มุ่งไปชมสินค้ามีชื่อ
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #89 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 21:03:30 » |
|
น้องเริง
ตลาดอุทัย มีเห็ดโคนขายน่ะ ช่วงนี้เป็นช่วงเก็ดออกซะด้วยซี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #90 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 21:26:28 » |
|
พี่เหยง ไปตลาดตอนสาย ตลาดวายแล้วครับ
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #91 เมื่อ: 07 กันยายน 2557, 21:38:13 » |
|
น้องเริง พี่ป๋องเจ้าขา และคุณเหยง อยากไป้อยากไปเมืองอุทัย ดูแล้วเพลิดเพลิน แม่น้ำอะไรชื่อไพเราะจัง สะแกกรัง คงจะอุดมสมบรูณ์ไปด้วยปลา ดูจากตลาดซิ วางขายน่าซื้อ ว่างๆชวนน้องกับแม่ไประลึกความหลัง จะถามว่าเรือไปล่มที่แม่น้ำนี้ไหม เฮ้อ ไม่ถามหรอกเรื่องนี้ คุยความหลังกับคนแก่ หาเรื่องหนุกหนานให้ท่านฟังจะดีกว่า หาเรื่องยุใครจัดไปทัวร์อุทัยธานีดีหนอ
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #92 เมื่อ: 08 กันยายน 2557, 01:40:58 » |
|
เสี่ยเหยง พิเชษฐ์ 2516 เหมาะสุดสุดครับ น้องต้อย
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #93 เมื่อ: 08 กันยายน 2557, 10:05:05 » |
|
เตะลูกออกครับ..... ต้องเริ่มที่ กทม.ครับ อุทัยธานีเป็นปลายทางนั้น พอรับได้
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #94 เมื่อ: 08 กันยายน 2557, 10:07:59 » |
|
จริงๆแล้ว RCU 2516 มีผู้ที่คุ้นกับอุทัยธานีมากๆ เพราะเคยอยู่อุทัยธานี.....
พ.ต.อ.ราชันย์ อินทร์สิงห์ รัฐ16 เกษียณแล้ว เคยเป็น ผกก.สภ.ทัพทัน ก่อนย้ายไป สภ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์, สภ.โพทะเล จ.พิจิตร และเกษียณที่ สภ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ในเดือน ก.ย. 2556 ปจบ.มีบ้านพักอยู่ในอำเภอเมืองนครสวรรค์ครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #95 เมื่อ: 08 กันยายน 2557, 10:26:19 » |
|
พี่ต้อย
ดร.ประพจน์ คณะอักษรศาสตร์ ท่านจบประถมศึกษาตอนปลายที่อุทัยธานี ครับ
|
|
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #98 เมื่อ: 08 กันยายน 2557, 14:04:16 » |
|
สวัสดีค่ะ น้องเริง ห่างหายจากการตามน้องเริงไปเที่ยวเสียนาน ตามอ่านอย่างสนุกสนานค่ะ ที่สมุทรสงครามเราพักที่เดียวกันเลยค่ะ ห่างกันแค่อาทิตย์เดียว พี่ซื้อจากงานไทยเที่ยวไทยค่ะ ที่ตลาดอุทัย มีร้านยาหอมทับทิม ขึ้นชื่อนะคะ ตามน้องเริงเที่ยวได้ความรู้ด้วย สนุกด้วยค่ะ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #99 เมื่อ: 08 กันยายน 2557, 19:30:09 » |
|
ครับ เชิญมาอ่านเรื่อยๆ มีไประยองและหาดจอมเทียน ตามมาติดๆครับ
|
|
|
|
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์
รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692
|
|
« ตอบ #100 เมื่อ: 08 กันยายน 2557, 21:36:19 » |
|
น่าสนใจติดตามน้องเริงเที่ยวมากๆค่ะ
|
ติ๋ม จันทร์ฉาย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #102 เมื่อ: 09 กันยายน 2557, 20:50:47 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #103 เมื่อ: 09 กันยายน 2557, 20:55:18 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #104 เมื่อ: 10 กันยายน 2557, 12:24:44 » |
|
สวัสดีค่ะน้องเริง ตามมาเที่ยวตอนพักเที่ยง พี่เพิ่งทราบว่า ดร.ประพจน์เรียนที่อุทัยธานี เมืองนี้มีแต่คนเก่งๆ พี่ป๋องก็คนอุทัยเช่นกัน ตอนปีหนึ่งเพื่อนบอกว่าดร.ท่องดิกเชนารี ได้ทั้งเล่ม พี่ตกใจแทบแย่ ดีที่อยู่หอได้หาเรื่องสนุก สนุก หลากหลายหายกลัวคนเก่ง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #105 เมื่อ: 10 กันยายน 2557, 12:58:22 » |
|
ขออนุญาตครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เกิดที่จังหวัดอุทัยธานี เป็นนักภาษาศาสตร์และนักอักษรศาสตร์ชาวไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีบาลีและภาษาสันสกฤต พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีน และพระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #106 เมื่อ: 10 กันยายน 2557, 13:06:23 » |
|
ประวัติการศึกษา
จบชั้นประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเมืองอุทัยธานี จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดราชบพิธ มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาบาลี-สันสกฤต จากภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้คะแนนเฉลี่ยระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ สาขาเดียวกัน ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อด้านพุทธศาสน์ศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา จนสำเร็จดุษฎีบัณฑิต ด้านพุทธศาสน์ศึกษา(PhD in Buddhist Studies) ก่อนไปทำปริญญาเอกที่อเมริกา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์เคยไปค้นคว้าวิจัยด้านพุทธศาสน์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส และหลังจากสำเร็จปริญญาเอกก็ได้ทุนไปทำวิจัยเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #107 เมื่อ: 10 กันยายน 2557, 20:16:46 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #108 เมื่อ: 10 กันยายน 2557, 20:20:40 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #110 เมื่อ: 12 กันยายน 2557, 20:43:37 » |
|
งานฉลอง ๑๐๐ ปี เสด็จประพาสต้น รัชกาลที่ ๕ เมื่อ ๘ ปีก่อน
20 สิงหาคม 2549 ค่ำคืนนี้ที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังบริเวณหน้าศาลากลางวังหวัดอุทัยธานีดูคึกคักไปด้วยผู้คนที่ออกมายืนชมเรือโบราณหลายลำที่ประดับไฟระย้าจอดรายเรียงเป็นขบวนอยู่หน้าศาลากลาง ห่างออกไปทั้งซ้ายและขวาไม่ไกลนักมีดวงไฟลอยเรี่ยผิวน้ำเป็นระยะๆ ดูเหมือนกระทงสาย เสียงเพลงเห่เรือดังเจื่อยแจ้วมาจากเรือลำหน้า ถัดมาเป็นเรือลำขนาดย่อมมีชายใส่ชุดทหารมหาดเล็กโบราณยืนถือดาบอยู่เต็มลำ ตามด้วยเรือลำใหญ่ที่มีผู้โดยสารแต่งชุดไทยรัตนโกสินทร์อยู่เต็มลำ มีท่านผู้ว่าจังหวัดอุทัยธานีและรองผู้ว่าและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดนั่งอยู่ด้านหน้า ตามไปด้วยเรือของผู้ร่วมงานที่แต่งตัวย้อนยุคอีกสามลำ ขบวนเรือล่องช้าๆ ไปตามลำน้ำสะแกกรังจากหน้าศาลากลางจังหวัดเพื่อไปยังวัดอุโปสถารามหรือวัดโบสถ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน “ ฉลองครบรอบ 100 ปี เสด็จประพาสต้นรัชกาลที่๕ “ วันนี้เมื่อ 100 ปีที่แล้วพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จประพาสต้นเมืองอุทัยธานี ทรงเสด็จมาทางชลมาค ( ทางเรือ ) มาตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงอำเภอมโนรมย์เมืองชัยนาทก็แยกเข้าสู่แม่น้ำสะแกกรังแล้วมาขึ้นที่วัดอุโปสถารามแห่งนี้ ทางจังหวัดอุทัยธานีโดยมีท่านผู้ว่าฯ ปรีชา บุตรศรี เป็นแม่งานจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี เสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาทิคุณที่ทรงมีต่อประสกนิกรชาวอุทัยธานี และจะจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นงานประจำปีของอุทัยธานี
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #111 เมื่อ: 12 กันยายน 2557, 21:16:44 » |
|
น้องเริง เสด็จประพาสต้นทุกที่พี่ชอบมาก ซึ่งแต่ละที่มีรายละเอียดให้ใครไปมาได้อ่านจะดี ขอบคุณข้อมูลของดร.ประพจน์ ตอนนี้กำลังได้รับเชิญไปสอนศาสนาที่ประเทศ....ไม่แน่ใจ แต่เป็นประเทศทางตะวันตก
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #112 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 08:56:50 » |
|
ครับ แต่ละแห่งน่าสนใจมาก
วันนี้อากาศดี น่าไปชมวัดเก่านะ5. 5
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #113 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 09:52:04 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #114 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 13:40:01 » |
|
คุณต้อย อ้าว...แล้วกัน อนุรักษ์ไว้ทำไม ?? เก่ามากแล้ว เดี๋ยวหลังคาก็รั่ว เครื่องไม้บนหลังคาก็จะผุ สีก็ถลอกไปมากแล้ว !! รื้อแล้วสร้างหลังใหม่ คนงานก่อสร้างมีงานทำ คนเขียนแบบมีงานทำ ต้องซื้อวัสดุก่อสร้าง หิน ปูน เหล็ก ทราย สี กระเบื้องมุงหลังคา เครื่องเขียน เครื่องไฟเพดาน จิปาถะ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ปั๊ม GDP ให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ต่างชาติมั่นใจ สร้างเสร็จมีงานฉลอง คนบันเทิงมีงานทำ ร้านออกงานขายของได้ เงินสะพัดอีกหลายรอบ ประชาชนทั่วทิศไปเที่ยวงาน มีความสุขถ้วนทั่วถึงลูกเด็กเล็กแดง รื้อเถอะ....ขอบอก...เชื่อมั๊ย ??
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #115 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 17:30:42 » |
|
งามมาก ภาพวิถีชีวิตการทำมาหากิน ลายก็สวย พอเห็นบ้างในลายผ้าปักปัจจุบัน
วัดมอญก็ต้องที่จังหวัดปทุมธานี ชื่อวัดอะไรครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #116 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 17:38:52 » |
|
ไปชมวัดเก่ามาแล้วครับ ในเขตกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงอยู่ สวยด้วยนะ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #118 เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 07:50:47 » |
|
หมายเหตุ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชวิจารณ์ว่าคำว่า "สมอ" มาจากคำเขมร "ฌมอ" ซึ่งแปลว่าหิน จึงทรงแปลว่า วัดศิลารายต้องชมพระอุโบสถ ภาพจิตรกรรมภายใน และศาลาการเปรียญ เป็นพิเศษ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #119 เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 07:53:51 » |
|
น้องเริง
เคยอยู่ที่ตรอกสุเหร่า หน้าวัดเวฬุราชิน ช่วงเข้ามาติวเพื่อสอบเอ็นทร๊านซ์ มศ.4 และ มศ.5 เดินไปตลาดวงเวียนใหญ่ ตลาดพูล สถานีรถไฟ และอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินเท่านั้นครับ ที่เห็นจากการนำเสนอของน้อง กว้างไกลเหลือเกิน เสียแต่ตอนนี้ไม่มีที่พักตรงนั้นซะแล้ว เพราะญาติย้ายออกไปอยู่ที่อื่น คงต้องหาเวลากลับไปเยี่ยมโดยใช้วิธีนั่ง BTS ไปเยี่ยมช่วงเช้า แล้วกลับช่วงบ่ายแทน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #120 เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 07:56:42 » |
|
ครับ แถวนั้นน่าไปชมมาก ผู้คนยังเป็นมิตร ได้ถามเส้นทางท่านยินดีให้คำตอบ
ผมคงไปแถวนั้นอีกสองรายการครับ ไปวัดนางชีวันออกพรรษา มีงานแห่พระบรมสารีริกธาตุ และวันพระเจ้าตากสินเดือนธันวาคม ไปที่วัดบางยี่เรือใต้หรือวัดอินทาราม
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #123 เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 09:22:33 » |
|
ภายในพระอุโบสถ มีสามห้อง (มีภาพเฉพาะตอนห้องแรก) คือ ห้องหน้าเป็นระเบียง ห้องกลางเป็นห้องพิธี มีพระสัมพุทธพรรณีเป็นพระประธาน มีนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ร. 5 หล่อพระราชทาน) หลังพระประธานเป็นซุ้มคูหา และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในแสดงเรื่องพระเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้ร่างภาพ และ ศ. ซี. ริโกลี (C. Rigoli) จิตรกรชาวอิตาเลียน(ผู้เขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม) เป็นผู้เขียนด้วยการใช้สีปูนเปียก (Fresco)เบื้องบนพระประธานเป็นภาพพระพุทธเจ้าอยู่เหนือเมฆกำลังตอบปัญหาของพระสารีบุตรและพระอินทร์ ที่ใกล้พระประธานมีรูปศากยกษัตริย์พระประยูรญาติมาเฝ้าอยู่เบื้องหลัง
หลังพระประธานเป็นซุ้มคูหา เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกกับตะวันตกได้อย่างลงตัว ซึ่งซุ้มคูหานี้ได้ออกแบบเป็น "พระราชลัญกรประยุกต์" ในรัชกาลที่ 1-5 โดยที่ยอดบนสุดแทนรัชกาลที่ 1 เป็นรูปมหาอุณาโลม ซึ่งคำว่าอุมีลักษณะเป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง"
ถัดลงมาเป็นรูปครุฑจับนาค แทนรัชกาลที่ 2 เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ฉิม" ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ อีกด้านเป็นรูปมหาปราสาท แทนรัชกาลที่ 3 เพราะพระนามเดิมคือ "ทับ" ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน
ถัดลงมาอีกเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ แทนรัชกาลที่ 4 ตามพระนามเดิมคือ "เจ้าฟ้ามงกุฎ" ส่วนอีกด้านเป็นรูปพระพิฆเนศ ถือพระจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยว ซึ่งเป็นรูปที่มีความหมายคล้ายพระนามเดิมของรัชกาลที่ 5 นั่นเอง
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #125 เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 09:50:26 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #126 เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 09:55:46 » |
|
ศาลาการเปรียญตั้งอยู่หน้าวัด เป็นศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงให้สร้างเลียนแบบจากศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นศาลาการเปรียญที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสำหรับ ๑๐๐๐คน ตอนนี้เปิดเฉพาะวันพระ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #127 เมื่อ: 15 กันยายน 2557, 09:57:05 » |
|
ยังมีต่อ ๕ ๕
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #128 เมื่อ: 16 กันยายน 2557, 19:55:14 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #129 เมื่อ: 16 กันยายน 2557, 20:03:11 » |
|
พระบรมสารีริกธาตุในศาลานี้
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #131 เมื่อ: 16 กันยายน 2557, 20:13:08 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #134 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 20:07:12 » |
|
และวันที่ ๒๘ ธันวาคม ที่น่าจะไปฝั่งธนบุรี ที่วัดอินทาราม นอกจากวันแห่ฯที่วัดนางชีแล้วครับ
วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี ที่พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวแห่งแผ่นดินกรุงธนบุรี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #135 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 21:15:13 » |
|
จำแม่นๆ อยู่แล้วครับ 28 ธ.ค. หากเป็นปีคู่ จะเป็นวันพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์รามาธิบดีครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #136 เมื่อ: 20 กันยายน 2557, 20:02:25 » |
|
พรุ่งนี้ วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กย. อากาศดี ไปวัดอีกแล้ว เบื่อไหมเนี่ย
วัดที่ริมคลองบางกอกน้อย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม) มีภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถสวยด้วย หากเปิดมีภาพให้ชมแน่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #137 เมื่อ: 21 กันยายน 2557, 17:59:12 » |
|
วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร หรือชื่อเดิม วัดทอง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #140 เมื่อ: 21 กันยายน 2557, 21:04:43 » |
|
ตามครูมาเที่ยวในวันนี้แล้วครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #141 เมื่อ: 21 กันยายน 2557, 21:17:20 » |
|
ครับผม พรุ่งนี้มีต่อวัดนี้อีก
วันก่อนไป ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล ด้านหลังเป็นสถานีรถไฟ เพิ่งเคยไปสวยดีครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #142 เมื่อ: 22 กันยายน 2557, 14:28:12 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #143 เมื่อ: 22 กันยายน 2557, 14:49:43 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #144 เมื่อ: 22 กันยายน 2557, 16:48:45 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #146 เมื่อ: 22 กันยายน 2557, 17:07:00 » |
|
และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปต่อ
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #149 เมื่อ: 23 กันยายน 2557, 20:24:24 » |
|
แล้ว ต.เง็กชวน ท่านเป็นใครกัน
ได้ยินเสียงเพลงแล้วคิดถึงกระต่าย ?ต.เง็กชวน กระต่ายตัวนี้ มีเสียงเพลง นายยางสน..คนบางขวาง
ย้อนเวลากลับไปในสมัยแผ่นดินของพระพุทธเจ้าหลวง ราวปี พ.ศ.2437 ในค่ำคืนหนึ่ง ที่ตำบลบ้านใหม่ เมืองฉะเชิงเทรา มณฑลปราจีนบุรี
คืนนั้น จักจั่นเรไรที่เคยกรีดก้องพ้องเสียงยามเมื่อคล้อยแสงแห่งทิวาส่งบรรเลงเป็นทิพย์สำเนียงเพลงธรรมชาติ มิอาจทานทัดและจำต้องยินยอมสยบศิโรราบด้วยเสียงมหรสพสมโภชประโคมแข่งในงานบุญรื่นเริง วาระของการโกนจุกเด็กน้อยผู้เป็นแก้วตาดวงใจของสองผู้เฒ่าตายาย ผู้มั่งคั่ง ด้วยการประกอบสัมมาชีพในด้านการซื้อขายแลกเปลี่ยนทองรูปพรรณ? จนเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีในชาวบ้านละแวกตลาดบน ในชื่อ ตาเตียงและยายหมา
เมื่อ? ?บ้านนี้มีงาน? และยิ่งเป็นบ้านผู้มีอันจะกิน จึงถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐของชาวบ้านทั่วไปที่จะได้เพลิดเพลินเจริญใจกับสิ่งบันเทิงที่สามารถเลือกทัศนาตามแต่ความนิยมชมชอบหลากหลายประเภท โดยที่ไม่ต้องเสียอัฐเสียสตางค์ ทั้งที่เคยชินหู ชินตา กันมาบ้างแล้ว? หรือแม้แต่ ของแปลก ของแหกตา สารพัด ที่ว่าจ้างจัดกันมาแต่เมืองหลวง???
หน้าบ้านตาเตียงและยายหมา ได้ปลูกโรงขึงผ้า ยกแคร่ขึ้นง่ายๆ อุปโลกกันด้วยประชามติที่เป็นเอกฉันท์ของผู้ชม สมยอมให้เป็นเป็นท้องพระโรง เป็นป่า มหาสมุทร สุดตามแต่ท้องเรื่องจะพาไป ที่นั่นเป็นการแสดงลิเกของ คณะนายสุ่ม ซึ่งในสมัยนั้นใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ตัวนางก็เป็นชาย (เพียงร่างกายหรือจะมีใจปฏิพัทธ์เป็นทุนด้วยก็มิอาจยืนยัน) จึงต้องเอาผ้าขาวม้ายัดโน่นยัดนี่ ให้เกิดเส้นสายองค์เอวที่น่ามอง สมจริงสมใจมากขึ้น
ในบริเวณใกล้เคียงก็เป็นคณะละครรำของขุนหลี โดยมีแม่ปุ่ยสาวงามเป็นนายโรงจับเรื่องร้องรำกับแม่สินผู้ซึ่งรับบทนางยักษ์ได้อย่างสนิทสนม แม้เธอจะมองเห็นโลกด้วยตาเพียงข้างเดียวก็ตาม
หากแต่การแสดงของทั้งสองคณะมีชาวบ้านสนใจดูเพียงหยิบมือเพราะเป็น ?ของตาย? เคยเห็น เคยฟังกันอยู่ หนำซ้ำนักแสดงทั้งหลายยังเป็นคนกันเองที่มีพำนักถิ่นฐานอยู่ในตำบลนั้นเข้าให้อีก ซึ่งดูจะผิดแผกกับการแสดงงิ้วที่ลานดินกว้างหน้าโรงบ่อน (อัครสถานแห่งความบันเทิงที่ผู้นิยมการวัดดวงสิงสถิตย์กัน) ที่เนืองแน่นไปด้วยฝูงชน ไทย จีน ลาว แขก ทุกเพศทุกวัย มุงดูกันมืดมิด จนมองไม่เห็นตัวนักแสดงที่กำลังวาดลวดลายอยู่ มีเพียงเสียงปี่ ซอจีน ม้าฬ่อ และเครื่องดนตรีต่างๆดังลอดออกมาเท่านั้น
หนึ่งในนั้นก็คือเด็กชายเตีย วัย 5 ขวบ ลูกชายหมอยาจีน สมญา ?ซินแสส่ง? รวมอยู่ด้วย
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #152 เมื่อ: 25 กันยายน 2557, 08:27:30 » |
|
อยู่หัวหิน ไม่มีฝน ฟ้าใส วิวดี ครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #153 เมื่อ: 25 กันยายน 2557, 18:00:11 » |
|
นครสวรรค์-ฝนตกตลอดคืนที่ผ่านมา และพรำๆ จนถึงเที่ยง บ่ายสาม ฟ้าเริ่มเปิด เพิ่งทราบตามปฎิทินจันทรคดิ ปีนี้มีเดือนเก้า 2 หน (ในรอบ128 ปี-มี 2 ครั้ง)
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #155 เมื่อ: 26 กันยายน 2557, 16:31:33 » |
|
น้องเริง คุณเหยง ตามครูมาเที่ยว เที่ยววัดไม่เบื่อหรอกค่ะเพิ่งทราบประวัติต.เง้กชวนเป็นชาวแปดริ้ว กลับจากหัวหิน หรือลงใต้ต่อค่ะน้องเริง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #156 เมื่อ: 26 กันยายน 2557, 21:20:26 » |
|
กลับปทุมธานีครับ
ยังมีต่อด้วยไปวัดทึ่หัวหิน และภาพเก่าๆที่สถานีรถไฟที่นั่นด้วย
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #158 เมื่อ: 27 กันยายน 2557, 16:23:42 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #160 เมื่อ: 27 กันยายน 2557, 16:51:16 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #161 เมื่อ: 27 กันยายน 2557, 17:00:39 » |
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #164 เมื่อ: 29 กันยายน 2557, 09:39:44 » |
|
เห็นชื่อ สปช. เป็นชาวหอจุฬาฯ มา 3 ชิ่อครับ
ด้านการศึกษา - นายกมล รอดคล้าย
ด้านบริหารราชการแผ่นดิน -นางเบณจวรรณณ สว่างนิทร
ด้านปกครองส่วนท้องถิ่น - นายจรัส สุวรรณมาลา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #165 เมื่อ: 29 กันยายน 2557, 18:31:59 » |
|
ครับสองท่านแรก ครุศาตร์ เลขาฯสพฐ. และอดีตเลขาฯกพ. นอกจากนั้นชาวหอฯที่รู้จักคือครูหยุย. สนช. สองครั้งแล้ว
หอจุฬาฯสร้างคนเก่งและคนดีครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #166 เมื่อ: 30 กันยายน 2557, 20:19:38 » |
|
ไปอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่นี่มี“เมืองโบราณอู่ทอง” ที่เป็นต้นกำเนิดประวัติศาสตร์และอารยธรรมแห่งสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นเมืองท่า เมืองศูนย์กลางการค้าของอาณาจักรทวารวดี รวมไปถึงเป็นจุดที่พระพุทธศาสนาเดินทางเข้าประดิษฐานเป็นแห่งแรกของเมืองไทย ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ยังไม่ได้เดินให้ทั่ว และไม่ได้ชมพิพิธภัณฑ์ มีภาพเพียงเจดีย์องค์ที่ ๒ จาก ๑๓ องค์ที่อยู่ริมคูเมืองโบราณ ใกล้ศูนย์ราชการเท่านั้น
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #169 เมื่อ: 30 กันยายน 2557, 20:39:21 » |
|
ลูกปัด"สุริยเทพ"จาก อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #170 เมื่อ: 30 กันยายน 2557, 21:05:18 » |
|
ลูกปัดทั้งที่อำเภออู่ทอง และลูกปัดสุริยเทพ ของจริงยังมี
แต่ในตลาดจะมีของทำเทียมจนแยกไม่ออก นำมาขายเต็มไปหมดเหมือนกัน
ผู้ซื้อมีความเสี่ยง อาจได้ของเทียมเลียนแบบ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #171 เมื่อ: 30 กันยายน 2557, 21:42:51 » |
|
ไดัมา 1 เส้น จะนำสุริยเทพ 5 เม็ดมาร้อยเพิ่ม เสร็จแล้วจะมีภาพครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #172 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 13:38:22 » |
|
เดี่ยวตามมาชมครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #174 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 15:40:00 » |
|
ไปวัดเขมาภิรตาราม ฯ นนทบุรี
ชมพระที่นั่งมูลมณเฑียร และตำหนักแดง
เดิมพระที่นั่งมูลมณเฑียรเป็นพระตำหนักไม้ชั้นเดียว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก โดยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายมงกุฎ ภายหลังจากที่ทรงโสกันต์ (โกนจุก) แล้ว เพราะตามธรรมเนียมจะเสด็จประทับอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในไม่ได้อีก เมื่อทรงออกผนวชพระตำหนักหลังนี้คงได้รับการรักษาไว้สำหรับวชิรญาณภิกขุ เพราะเป็นที่ประทับเพียงแห่งเดียวข...องพระองค์ โดยมิได้จัดเป็นที่ประทับของเจ้านายพระองค์อื่นจนตลอดรัชกาลที่ ๓ ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชนิเวศน์ขึ้นใหม่ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ในบริเวณสวนขวา ภายในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “พระอภิเนาว์นิเวศน์” จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระตำหนักของพระองค์มาแก้ไขเป็นตึกปลูกขึ้นใหม่ มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบอาคารทรงไทยสองหลังแฝดก่ออิฐฉาบปูนทาสีขาว ระหว่างพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ กับบริเวณพระพุทธนิเวศน์ ขนานนามว่า “พระที่นั่งมูลมณเฑียร” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งมูลมณเฑียรไปปลูกในวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๒ และสมเด็จพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๔ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ทรงอุทิศให้เป็นโรงเรียนและใช้เป็นสถานที่เรียนปัจจุบันไม่ได้ใช้เป็นที่เรียนแล้ว
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #175 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557, 15:43:14 » |
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #178 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 12:04:22 » |
|
ตัวตำหนักที่ทำด้วยไม้ ยังคงความสวยงามและมั่นคงแข็งแรง ไม่ผุพัง หรือกร่อนลงเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่ผ่านมานับร้อยปีเศษแล้วก็ตาม
|
|
|
|
ประทาน14
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: 2514
คณะ: เภสัชศาสตร์
กระทู้: 999
|
|
« ตอบ #179 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557, 20:04:07 » |
|
น้องเริงครับ.... ลูกปัดอู่ทองเสันนี้สวยมากครับ แต่ลูกปัดสุริยเทพพี่ไม่เคยเห็นมาก่อน คงหายากน่าดู
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #180 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2557, 10:37:37 » |
|
ครับ ลูกปัดบางเม็ดยังมีทรายที่รูร้อย ต้องเขี่ย แช่น้ำก่อนร้อยก็มี
คนแก่เล่าว่า เมื่อก่อนเวลาฝนตก ซะหน้าดิน มีมากนำมาเล่นปากัน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #182 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 07:19:29 » |
|
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #184 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 15:11:02 » |
|
อ่าวนาง ฝนตกทั้งวัน ที่สุด ในรอบปีเชียวค่ะเมื่อวานยังออกเลกันได้ สู้เที่ยวกับ ตามครูมาเที่ยว ไม่ได้ ไม่มีวันหยุด ตามเที่ยวได้ทุกวัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #185 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 18:00:49 » |
|
มีตามไปเที่ยวเรื่อยๆ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #186 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2557, 18:20:44 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #188 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2557, 17:03:58 » |
|
ไประยอง อีกสองวันมีภาพครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #189 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2557, 15:13:19 » |
|
เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยแพร่หนังสือจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ถึงกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเหตุเพลิงไหม้โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ หลังจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนาฯ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย. อันเนื่องมาจากเหตุเพลิงไหม้โครงการเซ็นทรัลเวิลด์จาก บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เทเวศประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาฯ ระบุว่า เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทำให้เทเวศประกันภัยไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาภายใน 1 เดือน ทั้งนี้ บริษัทมีสิทธิขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #190 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2557, 14:12:39 » |
|
กลับมาแล้ว ไม่มีภาพทึ่ระยอง มีภาพทึ่อื่นแทน 555
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #191 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 08:18:36 » |
|
สวัสดีในเช้าวันจันทร์
ตามมาชม
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #195 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557, 18:45:15 » |
|
องค์ภาฯเคยเสด็จฯที่นี่ หลายครั้ง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #196 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2557, 14:21:03 » |
|
อากาศเริ่มเย็น น่าไปทางอิสาน คงเป็นสัปดาห์หน้า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #197 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 10:27:02 » |
|
ป้อมวิชัยประสิทธิ์...อ่านให้สนุกจนเบื่อไปเลย.....เลย
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงทราบ จึงส่งคณะทูตชุดที่ ๒ ซึ่งประกอบด้วยขุนพิชัยวาทิต และออกขุนพิชิตไมตรีไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ.๒๒๒๗ เพื่อสืบข่าวของคณะราชทูตชุดแรกและกระชับสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คณะทูตชุดนี้เดินทางกลับมาถึงอยุธยาในต้น พ.ศ. ๒๒๒๘ พร้อมกับคณะราชทูตชุดแรกของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ คือ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) และคณะ ”
การสร้างป้อมปราการที่เมืองธนบุรีทั้งสองฝั่งนั้น เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะ เดอ ลามาร์ (de Lamare) เป็นวิศวกร ฟอร์บัง (Claude de Forbin) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมดูแล โดยมีวิชเยนทร์เป็นแม่กอง (ธีระชัย และคณะ , 2532 : 40)
“… เป็นที่น่าสังเกตว่า แผนผังการสร้างป้อมใหม่ที่บางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งมีสำเนาตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้น ฝรั่งเศสได้ออกแบบสร้างอย่างมั่นคงและใหญ่โตมาก และเป็นแผนผังที่เขียนไว้ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช ๑๖๗๗ หรือพุทธศักราช ๒๒๒๐ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ราชทูตฝรั่งเศสชุดนายเชอวาลิเอร์ เดอโชมองต์จะเข้ามาเมืองไทยถึง ๘ ปี แผนผังนี้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Plan du project de la fortification de Bancocq ออกแบบเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม คริสต์ศักราช ๑๖๗๗ …” ( http://www.ekrungthep.com/Content/ShowContent.asp?ContentID=33, 30/11/47)
ธีระชัย และคณะ (2532 : 13-16) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ วิชเยนทร์และฟอร์บังได้วางผังวาดรูปป้อมปราการมีหอรบเป็นรูปห้าเหลี่ยม … และได้สร้างขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาคือ ตรงที่เป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบันป้อมหนึ่ง ส่วนอีกป้อมหนึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามคือบริเวณโรงเรียนราชินี โดยมีสายโซ่ขึงขวางแม่น้ำระหว่างป้อม
การก่อสร้างป้อมดำเนินไปอย่างล่าช้า เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกวันและไม่มีทางป้องกันได้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานล่าช้า เนื่องจากคนไทยเดินเท้าเปล่า คนงานที่ขุดดินจึงมักถูกงูกัด งูชนิดนี้ตัวเล็กสีเทายาวคืบเศษ พิษของมันร้ายแรงมาก คนที่ถูกกัดจะชักภายใน ๑ ชั่วโมง ถ้าแก้ไขไม่ทันจะตายภายใน ๒๔ ชั่วโมง ”
“สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้โดยนายเซเบเรต์ เมื่อคราวที่ เดอ ลาลูแบร์ได้ไปชมการก่อสร้างป้อม เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๒๓๐ เป็นป้อมบางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งกำลังสร้างใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ (ตั้งอยู่ระหว่างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และปากคลองตลาดในปัจจุบัน) คือ “ พื้นที่ดินในป้อมนี้เป็นเลนเป็นโคลน ถูกแดดหน้าก็แห้งแข็งเหมือนจะเป็นดินแข็งไปทั้งหมด แต่ครั้นขุดลงไปลึก ๖ ฟุตเท่านั้นก็เป็นเลนเป็นตมไปหมด เมื่อเอาท่อนเหล็กยาวตั้ง ๒๐ - ๒๕ ฟุตแทงลงไป ก็ไม่พบดินแข็งเลย ซึ่งพื้นที่ดินเป็นเช่นนี้ก็ต้องนับว่าเป็นพื้นที่เลวอย่างที่สุด ครั้นแล้วเราจึงได้กลับข้ามฟากไปที่ป้อมฝั่งตะวันตกที่ได้พักนอนเมื่อคืนนี้ …
… ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกนี้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๒๓๑” (http://www.ekrungthep.com/Content/ShowContent.asp?ContentID=33, 30/11/2547)
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #198 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 10:32:49 » |
|
บันทึกลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและ เหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง กับป้อม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนี้
พ.ศ.2229 กบฏมักกะสัน สาเหตุมาจากพวกกบฏ (แขกมักกะสัน ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ) อ้างว่า สมเด็จพระนารายณ์จะทรงเข้ารีต และศาสนาคริสต์มีทีท่าว่าจะครอบงำทัศนคติไทย เป็นเหตุให้ต้องก่อการกบฏป้องกันไว้ก่อน
พ.ศ.2230 ฝรั่งเศสสะสมกำลังคิดจะเอาสยามเป็นเมืองขึ้น (ปรากฏตามประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๗ เล่ม ๑๖ หน้า ๒๐๕ – ๒๐๗) โดยส่งกองกำลังทหารจำนวนหนึ่งเข้ามาประจำที่บางกอก (ที่ป้อมเมืองธนบุรี ) และมะริด
พ.ศ.2231 พระเทพราชาทำรัฐประหาร ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ และต้องการขับทหารฝรั่งเศสออกจากป้อมเมืองธนบุรีที่ประจำอยู่ที่ป้อมมาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ผลปรากฎว่าป้อมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทหารฝรั่งเศสถูกขับออกไป
ข้อมูลกรุงเทพมหานคร จากเว็บไซต์ อี กรุงเทพ ดอทคอม ได้กล่าวถึงเรื่องราวในช่วงนี้ว่า “… เกิดเหตุการณ์ยุ่งยากขึ้นเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใกล้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระเพทราชาทรงควบคุมพระราชอำนาจไว้ได้ ไม่โปรดให้มีกองทหารฝรั่งเศสมาตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย จึงได้ส่งทหารไปขับไล่ฝรั่งเศสออกจากป้อมบางกอก กองทหารฝรั่งเศสต้องถอนกำลังออกจากป้อมบางกอกฝั่งตะวันตก มารวมกันอยู่ที่ป้อมฟากตะวันออก ข้างทหารไทยก็เข้ายึดป้อมฝั่งตะวันตกไว้ เกิดต่อสู้กัน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งเพิ่งจะสร้างเสร็จได้ใช้ประโยชน์ในการสู้รบ จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๕ จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาครั้งสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้บันทึกไว้ว่า “ทหารฝรั่งเศส … ได้ระเบิดปืนใหญ่ในป้อมฝั่งตะวันตก ๑๓ กระบอก และปืนกระบอกใดที่ระเบิดไม่ได้ ก็เจาะรูเสียทุกกระบอก แล้วขนอาวุธลูกกระสุนดินดำซึ่งอยู่ในป้อมนี้ ย้ายไปอยู่ป้อมฝั่งโน้น (ฝั่งตะวันออก) พอพวกฝรั่งเศสออกจากป้อมแล้ว พวกไทยก็เข้าไปยึดป้อมไว้ พอนายพลเดฟาร์ชเห็นว่าไทยเข้าไปอยู่ในป้อมแล้ว ก็ได้สั่งกองทหารฝรั่งเศสให้ไปตีเอาป้อมคืนมาจากไทย กองทหารไทยและฝรั่งเศสได้สู้รบกันช้านาน ทหารฝรั่งเศสสู้ไม่ได้ จึงได้ถอยเข้าไปอยู่ในป้อมฝั่งตะวันออก และได้กระทำการร้ายต่าง ๆ เป็นอันมาก ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามทรงพระราชดำริว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคงจะไม่ทรงทราบว่านายพลกับกองทหารได้ทำการอย่างไร ทรงเห็นว่า ถ้าจะให้กองทหารไทยทำการสู้รบโดยเต็มฝีมือ ก็จะเกิดบาดหมางในพระราชไมตรี จึงเป็นแต่มีพระราชโองการสั่งให้ทำป้อมเล็ก ๆ และคูรอบป้อมใหญ่ และให้ทหารรักษาไว้ให้มั่นคง ทั้งทางบกและทางเรือ และให้คอยป้องกันอย่าให้พวกฝรั่งเศสออกจากป้อมได้ …
… นายพลเดฟาร์ชกับกองทหารกลับสานตะกร้าขึ้นวางบนเชิงเทินรอบป้อม แล้วเอาดินใส่ตะกร้า และทำสนามเพลาะในป้อมอีกชั้นหนึ่ง สนามเพลาะนี้ทำด้วยต้นตาลต้นใหญ่ๆ และคล้ายกับป้อมอีกป้อมหนึ่งต่างหาก และกองทหารก็ได้เอาปืนใหญ่เข้าบรรจุตามที่ยกพื้นขึ้นสำหรับวางปืนได้สองชั้นซ้อนกัน แล้วได้ระดมยิงปืนใหญ่ทำลายธง ทำลายโรงไว้ดินปืนด้วย ฝ่ายข้างไทยก็ได้จัดทหารรักษาป้อมฝั่งตะวันตก สำหรับยิงปืนและโยนลูกแตกเข้าไปในป้อมฝรั่งเศส แต่เกรงว่าจะไปถูกคนไทยด้วยกัน ทั้งเป็นการไม่สมควรทางพระราชไมตรี จึงเป็นแต่คอยยิงตอบโต้กับพวกฝรั่งเศสเท่านั้น
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #199 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 10:37:19 » |
|
… ต่อมาเมื่อนายพลเดส์ฟาร์ชและสมเด็จพระเพทราชาสามารถเจรจาสงบศึกกันได้ กองทหารฝรั่งเศสก็ยินยอมถอนตัวออกไปจากเมืองไทยโดยสิ้นเชิง ครั้นแล้วสมเด็จพระเพทราชาโปรดให้รื้อป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกเสีย ด้วยทรงเห็นว่าสร้างใหญ่โตเกินกำลังทหารไทยจะรักษาไว้ได้ คงเหลือแต่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันตก ซึ่งต่อมาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ป้อมวิไชเยนทร์” (http://www.ekrungthep.com/Content/ShowContent.asp?ContentID=33, 30/11/2547) หรือ "ป้อมวิชเยนทร์" และได้ใช้นามนี้อยู่ตลอดเวลาจนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก (กรมยุทธศึกษาทหารเรือ, ม.ป.ป. : 32)
เหตุการณ์ในช่วงนี้ แคมเฟอร์ บรรยายสภาพของป้อมบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ป้อมวิไชเยนทร์) ภายหลังการต่อสู้ระหว่างทหารไทยกับฝรั่งเศสว่า “ เราแลเห็นป้อมใหญ่ ซึ่งฝรั่งเศสสร้างขึ้นบนฝั่งขวาของแม่น้ำ ป้อมนี้เสียหายมาก เหนือเมืองบางกอกมีผู้คนอาศัยหนาแน่นทั้งสองฝั่ง มีย่านเรือนตั้งอยู่เป็นหมู่บ้าน ” (ดร . แคมเฟอร์ เป็นนักวิชาการที่มีคุณวุฒิสูงกว่าฝรั่งทุกคนที่เข้ามาสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้โดยสารเรือของฮอลันดาเข้าเขตน่านน้ำสยาม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2233 และเดินทางกลับในวันที่ 23 กรกฎาคมปีเดียวกัน อยู่ในสยามเพียง 57 วัน) (ธีระชัย และคณะ , 2532 : 21)
จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสต้องหยุดชะงักลง จนเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.2310 (ปรีดี พิศภูมิวิถี , 2544 : 27) และป้อมแห่งนี้อยู่ในความสงบเป็นเวลาติดต่อกันเกือบ 80 ปี
พ.ศ.2309 พระเจ้ามังระกรีธาทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาแตก พม่าแต่งตั้งคนไทยชื่อ นายทองอินเป็นผู้รักษาเมืองธนบุรี คอยริบทรัพย์จับเชลยส่งไปให้สุกี้พระนายกองที่โพธิ์สามต้น
พ.ศ.2314 สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสถาปนาเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี และทรงดัดแปลงป้อมวิชเยนทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ใกล้เคียงพระราชวัง (โดยโปรดเกล้าให้เกณฑ์ไพร่พลมาปรับปรุงพระนคร (เมืองธนบุรี) โดยตั้งค่ายทำด้วยไม้ทองหลางทั้งต้น ล้อมพระนครทั้งสองฝั่ง โดยทำเพียงฝั่งละสามด้าน ปล่อยด้านที่อยู่ริมแม่น้ำว่างไว้ … เอาแม่น้ำไว้หว่างกลางเหมือนอย่างเมืองพิษณุโลก) และพระราชทานนามใหม่ว่า “ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ”
พ.ศ.2317 สมเด็จพระเจ้าตากสิน สั่งให้ตัดหัวพระเทพโยธาเสียบประจานไว้ที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์
พ.ศ.2324 พระยาสรรค์เป็นกบฏ เข้ากราบทูลให้สมเด็จพระเจ้าตากสินสละราชสมบัติและเสด็จออกผนวช
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 สมเด็จพระเจ้าตากสิน ถูกนำไปสำเร็จโทษที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #200 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2557, 11:03:21 » |
|
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชสมบัติ จึงทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปตั้ง ณ ฝั่งพระนคร ในระยะเวลาที่สร้างพระราชวังใหม่ยังไม่เรียบร้อย พระองค์ยังคงประทับที่พระราชวังเดิมประมาณ 2 เดือนเศษ เมื่อเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังใหม่ พระราชวังเดิมจึงว่างลง แต่ยังคงเป็นสถานที่สำคัญ เพราะมีป้อมปราการสำหรับรักษาพระนคร (กรมยุทธศึกษาทหารเรือ, ม.ป.ป. : 15 )
พ.ศ.2328 ทรงให้รื้อป้อมวิไชเยนทร์ (ป้อมวิชเยนทร์) ฝั่งตะวันออกเพื่อขยายพระนคร
“ ลุศักราช 1147 ปีมเสงสับดศกนั้น ทรงพระกรุณาให้ตั้งกองศักเลขไพร่หลวงสมกำลังแลเลขหัวเมืองทั้งเดิมขึ้นศักหลังมือทั้งสิ้น แล้วให้เกณฑ์เลขหัวเมืองขึ้นทั้งไทยลาวเขมรทั้งปวง กับเลขไพร่หลวงสมกำลังเกณฑ์ทำอิฐจะก่อกำแพงสร้างพระนครใหม่ ให้รื้อป้อมวิไชเยนทร์แลกำแพงเมืองเก่าฟากตะวันออกเสีย ขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเก่า ...” ( พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 3, ม.ป.ป. : 184) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร์ พระราชโอรสองค์กลางของสมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่เสด็จไปประทับ ครั้นเจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร์ สิ้นพระชนม์ (วันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม 2328) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม
พ.ศ.2347 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ในวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2347 แต่เมื่อสมเด็จพระชนกนาถ ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) และเจ้าฟ้าบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี) (มหากษัตราธิราช : จากวันพระราชสมภพถึงสวรรคต, 2544 : 315)
และเมื่อ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้รับ พระราชทานอุปราชอภิเษกเป็นพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรฯ แล้ว ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมต่อมาจนสิ้นรัชกาลที่ 1 (วันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ.2352 ตรงกับวันที่ 7 กันยายน 2352)
ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงพิทักษ์มนตรี เสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม ครั้นเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีสิ้นพระชนม์ (วันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ.2365 ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม 2365) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
ในรัชกาลที่ 3 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาลนั้น สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา มาตย์ในสมัยรัชกาลที่ 4) เสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมพร้อมด้วยพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จสวรรคตที่พระราชวังเดิมนั้น
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #203 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2557, 16:26:24 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #206 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2557, 19:11:03 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #208 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2557, 10:11:16 » |
|
จะพาชมอาคารนี้ต่อไป
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #210 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2557, 08:36:36 » |
|
ภาพสวยหาชมยากน่ะค่ะ น้องเริง ใกล้วันที่23ต.ค น้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน ไว้หา เวลาชื่นชมภาพเซตนี้ต่อ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #211 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2557, 18:57:23 » |
|
ครับ พี่ต้อย
หอพระไตรปิฎกนี้ อยากจะนั่งชื่นชมสักครึ่งวัน
ข้อสังเกต เสาแนวกั้นระเบียง ในสมัยโบราณ ใครๆมาก็จับ มีรอยสึกหรอ ทองหายไปหมดแล้ว
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #214 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2557, 10:27:01 » |
|
๒๓ ตุลาคม เป็นวันปิยมหาราช
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #215 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2557, 10:42:29 » |
|
จดหมายฉบับที่ ๘
บ้านถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๓๑
ถึง พ่อประดิษฐ์
ด้วยเมื่อศก ๑๒๓ ฉันไปตามเสด็จประพาสต้น ได้มีจดหมายเล่าเรื่องประพาสต้นครั้งนั้นไปยังพ่อประดิษฐ์เป็นจดหมาย ๗ ฉบับ จดหมายเรื่องนี้ได้ลงพิมพ์ในหนังสือทวีปัญญารายเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน ร.ศ. ๑๒๕ เดือนละฉบับจนจบเรื่อง บัดนี้คิดจะรวมจดหมายเรื่องประพาสต้นเข้าพิมพ์เป็นเล่มเดียวกัน ฉันเที่ยวหาต้นฉบับทั้งที่ลงในหนังสือทวีปัญญา และที่มีต้นร่างอยู่รวบรวมได้จดหมายแต่ ๖ ฉบับ หาต้นฉบับไม่ได้จึงต้องมีจดหมายฉบับนี้มายังพ่อประดิษฐ์ ขอให้ช่วยค้นต้นฉบับจดหมายเหล่านั้น ถ้ายังมีอยู่ที่พ่อประดิษฐ์ ขอจงสงเคราะห์คัดสำเนาจดหมายฉบับที่ ๓ ทิ้งไปรษณีย์ส่งมาให้ด้วยถ้าได้สำเนาดังประสงค์ ฉันจะขอบคุณพ่อประดิษฐ์เป็นอันมาก
บางทีพ่อประดิษฐ์ได้เห็นจดหมายฉบับนี้ จะนึกฉงนว่าจดหมายเรื่องประพาสต้นก็ได้ลงพิมพ์เป็น ๕ -๖ ปีมาแล้ว เหตุใดจึงพึ่งจะมาคิดรวมเป็นเล่ม ต่อเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตล่วงไปแล้ว คำอธิบายในข้อนี้ขอชี้แจงว่า เมื่อพิมพ์เรื่องประพาสต้นลงในหนังสือทวีปัญญารายเดือน ผู้อ่าน โดยเฉพาะผู้ที่ได้ตามเสด็จไปด้วยในคราวนั้น พากันชอบว่าเป็นหนังสืออ่านสนุกดี มีผู้อยากจะให้พิมพ์รวมเป็นเล่มแต่ครั้งนั้นแล้ว เพราะเรื่องประพาสต้นเป็นเรื่องที่สำหรับเล่ากันเล่นอยู่เรื่องหนึ่ง แต่ฉันไม่เห็นสาระพอถึงแก่ควรจะพิมพ์ใหม่ จึงได้เพิกเฉยเลยมา
ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว เรื่องราวต่างๆในรัชกาลที่ ๕ กลายเป็นเรื่องเก่า "เมื่อกระนั้น" สำหรับชอบเล่าชอบคุยกัน เรื่องประพาสต้นนี้เป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งกลับเป็นเรื่องชอบเล่ากันขึ้น มีเพื่อนฝูงชักชวนให้พิมพ์รวมเป็นเรื่องขึ้นใหม่มากกว่าแต่ก่อน ฉันใคร่ควรดูมาคิดเห็นว่า เรื่องประพาสต้น แม้จดหมายเดิมแต่งเป็นเรื่องสำหรับอ่านเล่นสนุกๆก็จริง แต่ถ้าได้อ่านในเวลานี้โดยตั้งใจใคร่ครวญก็อาจจะแลเห็นความกว้างขวางออกไป เป็นต้นว่าเหตุใดสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงเป็นที่รักใคร่ของอาณาประชาราษฎรทั่วหน้า สมกับที่ได้ถวายพระนามจารึกไว้ในฐานพระบรมรูปทรงม้าว่า "ปิยมหาราชาธิราช" ที่จริงพระองค์ทรงรักใคร่ในไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เหมือนกับบิดารักบุตร พอพระราชหฤทัยที่จะคุ้นเคยคบหา และถึงเล่นหัวกับอาณาประชาราษฎรโดยมิได้ถือพระองค์ ยกตัวอย่างดังจะเห็นได้ในเรื่องประพาสต้นนี้เป็นพยาน
การที่พระองค์ทรงสมาคมกับราษฎร ไม่ใช่สักแต่ว่าเพียงจะรู้จัก หรือสนทนาปราศรัยให้คุ้นเคยกันเท่านั้น ย่อมทรงเป็นพระราชธุระไต่ถามถึงความทุกข์สุข และความเดือดร้อนที่ได้รับจากผู้ปกครองอย่างใดๆบ้างทุกโอกาส ผู้ที่เคยตามเสด็จย่อมเคยได้ยินและทราบความอันนี้ ฉันได้เคยเห็นบางทีราษฎรกราบทูลร้องทุกข์ เป็นข้อความซึ่งทรงพระราชดำริเห็นว่า เป็นความทุกข์ร้อนจริงทรงรับธุระมาต่อว่าเอาเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เสนาบดีลงมา ได้ความรำคาญใจหลายคราว บางทีถึงต้องผลัดเปลี่ยนพนักงานปกครองก็มีบ้าง เป็นเหตุให้การเสด็จประพาสเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ความสุขสำราญของราษฎรที่ได้อีกเป็นอันมาก ใช่แต่เท่านั้น บรรดาราษฎรที่ได้เสด็จไปทรงคุ้นเคย ในเวลาเสด็จประพาส พระองค์มิได้ทรงละลืม ในเวลาต่อมาเมื่อคนเหล่านั้นเข้ามากรุงเทพฯ จะเข้าเฝ้าแหนก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานโอกาสให้เข้าเฝ้าได้ตามความปรารถนา บางทีถึงรับสั่งให้เข้าไปรับพระราชทานเลี้ยงในพระราชวัง รับสั่งเรียกพวกที่คุ้นเคยเหล่านี้ว่า "เพื่อนต้น" มีอยู่ทั้งชายหญิงแทบทุกหัวเมืองที่ได้เสด็จประพาส เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๒๖ ได้ทรงหาของฝากมีไม้เท้าเป็นต้น เข้ามาฝากพวกเพื่อนต้น เมื่อพวกเหล่านี้ได้ข่าวว่าเสด็จกลับ เข้ามาเฝ้าเยี่ยมก็ได้พระราชทานของฝาก ไม้เท้าพระราชทานจึงเป็นเครื่องยศสำหรับพวกเพื่อนต้นถือเข้าเฝ้า ทั้งเวลาเข้ามาในกรุงเทพฯ และเข้าเฝ้าตามหัวเมืองเวลาเสด็จประพาสไม่ว่าที่ใดๆ
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันนี้ ทรงเคารพต่อพระราชนิยมของสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานอนุญาตให้พวกเพื่อนต้นเข้ามาทำบุญให้ทานในงานพระบรมศพ และถวายพระเพลิงเหมือนกับเป็นข้าราชการ และยังพระราชทานเครื่องประดับไม้เท้าสลักอักษรพระนาม จ.ป.ร. ให้ติดไว้เป็นที่ระลึก ทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เฝ้าแหนเพ็ดทูลพระองค์ได้ต่อไป เหมือนครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทุกประการ ส่วนราษฎรซึ่งพระองค์ได้ทรงคุ้นเคยมาในเวลาเสด็จประพาสแต่ยังเสด็จดำรงพระเกียรติยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็ได้รับพระราชทานไม้เท้า และพระบรมราชานุญาตเหมือนกับพวกเพื่อนต้น ในรัชกาลนี้อีกหลายคน ฉันเข้าใจว่าธรรมเนียมประพาสต้น และเพื่อนต้นจะยังมีต่อไปในรัชกาลนี้เหมือนกับรัชกาลที่ล่วงแล้ว
ตั้งแต่เสด็จประพาสต้นคราว ร.ศ. ๑๒๓ แล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงยังเสด็จประพาสทำนองเดียวกันอีกหลายคราว บางทีเสด็จประพาสในจังหวัดกรุงเทพฯนี้เองบ้าง ประพาสตามมณฑลหัวเมืองบ้าง ครั้งหนึ่งใน ร.ศ. ๑๒๔เสด็จขึ้นไปประพาสเมืองสระบุรี แล้วขึ้นมาทางลำแม่น้ำใหญ่ไปจนถึงเมืองกำแพงเพชร คราวนี้สนุกพอใช้ แต่พ่อประดิษฐ์ออกไปอยู่เสียหัวเมือง ฉันจึงไม่ได้จดหมายรายการบอกไปให้ทราบ อีกคราวหนึ่งใน ร.ศ. ๑๒๗ เสด็จประพาสเมืองนครสวรรค์ ขากลับล่องลงทางคลองมะขามเฒ่า มาเมืองสุพรรณบุรี บ้านผักไห่ อ่างทอง แล้วเสด็จกลับทางบางแล้วเข้ากรุงเก่า อีกคราวหนึ่งในศกเดียวกันนั้นเสด็จทางคลองรังสิตไปประพาสถึงเมืองปราจีน แล้วกลับออกทะเลมาเข้าปากน้ำเจ้าพระยา
แต่ประพาสคราวหลังๆนี้ ความขบขันน้อยไปกว่าคราวแรกๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือราษฎรรู้เสียมากว่าพระเจ้าอยู่หัวโปรดเสด็จอย่างคนสามัญ ถ้าเห็นใครแปลกหน้าเป็นผู้ดีชาวบางกอก ก็ชวนจะเข้าใจไปเสียว่าพระเจ้าอยู่หัว บางทีมหาดเล็กเด็กชาพากันไปเที่ยว ไปถูกราษฎรรับเสด็จเป็นพระเจ้าอยู่หัวก็มี เพราะฉะนั้นในตอนหลังจะหาใครไม่รู้จักพระองค์สนิทอย่างนายช้าง ยายพลับ ไม่มีอีก อีกประการหนึ่งตั้งแต่เสด็จกลับจากยุโรปคราวหลัง มีเรือยนตร์เข้ามาใช้ในกระบวนเสด็จ ประพาสด้วยเรือยนต์เสียโดยมาก เมื่อเสด็จประพาสด้วยเรือยนต์แล้วก็ต้องเป็นอันรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวอยู่เอง จึงไม่ใคร่มีเรื่องขบขันอย่างคราวแรก
วันนี้เป็นวันทำบุญถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ในวันตรงกับวันสวรรคตครบ ๒ ขวบปี ดูคนในกรุงเทพฯตั้งแต่เจ้านายตลอดลงจนราษฎร ทำบุญให้ทานกันมาก ที่สำคัญนั้นฉันเห็นว่า ที่พากันถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าที่หน้าพระลาน ไม่ว่าใครต่อใคร ดูผู้คนล้นหลามตั้งแต่เช้าจนกลางคืน เห็นจะเป็นธรรมเนียมปีดังนี้เสมอไป
ที่จริงพระบรมรูปทรงม้าองค์นี้ควรนับว่าเป็นของวิเศษได้ ไม่เฉพาะแต่ที่เป็นของงดงามสง่าพระนคร หรือเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเท่านั้น ถ้าผู้รู้เรื่องราวของพระบรมรูปนี้ว่า เป็นของชาวสยามทุกชั้นบรรดาศักดิ์ทั่วทุกหนแห่งได้เข้าเรี่ยรายตามกำลังและใจสมัคร อย่างต่ำคนละ ๑๐ สตางค์ก็มี สร้างขึ้นด้วยความรักใคร่เป็นใจเดียวกันถวายสมโภชสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รวมเงินได้กว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เกินราคาพระบรมรูปนี้สัก ๕ เท่า ใช่แต่เท่านั้น พระบรมรูปนี้ได้แล้วสำเร็จทันถวายพระองค์ได้ทรงอนุโมทนาและประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า ความรักใคร่สวามิภักดิ์ของคนทั้งหลายมีมากมายกว้างขวางทั่วไปเพียงใด ผู้ใดรู้เรื่องที่กล่าวมานี้ก็จะเข้าใจได้ว่าพระบรมรูปทรงม้านี้ผิดกับอนุสาวรีย์ หรือวัดวาที่จะสร้างถวายเฉลิมพระเกียรติยศ เมื่อพระองค์ล่วงลับไปเสียแล้ว อันจะเป็นที่ระลึกและปรากฏแต่แก่ผู้อื่น แต่ส่วนพระองค์เองมิได้ทันทอดพระเนตรเห็น
ฉันได้ไปถวายบังคมพระบรมรูปแล้ว กลับมาก็เขียนจดหมายฉบับนี้ มาเกิดนึกขึ้นว่า บางทีการพิมพ์หนังสือเรื่องประพาสต้นครั้งนี้ จะมีส่วนกุศลบ้างกระมังเพราะเหตุที่จะให้ผู้อ่านเจริญความระลึกถึงในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ถ้าจะมีส่วนกุศลเพียงไรในการพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ ฉันตั้งใจอุทิศส่วนกุศลนั้นถวายสนองพระเดชพระคุณ แด่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตามสติกำลัง ขอให้พ่อประดิษฐ์จงอนุโมทนาด้วยเทอญฯ
นายทรงอานุภาพ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #216 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2557, 11:05:20 » |
|
เสด็จประพาสต้น เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพหนึ่งในผู้ตามเสด็จโดยทรงพระนิพนธ์ในรูปแบบ จดหมายจำนวน 8 ฉบับถึงนายประดิษฐ์ ซึ่งนายประดิษฐ์ก็คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) พระสหายสนิทของพระองค์ ส่วนพระองค์ทรงใช้พระนามแฝงว่า นายทรงอานุภาพ หุ้มแพรโดยคราวเสด็จประพาสครั้งที่ 1 เมื่อร.ศ.123 (พ.ศ. 2447) รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จเยี่ยมบ้านเกิดของท่านเจ้าพระยายมราชที่จ.สุพรรณบุรีและพระราชทานชื่อเล่นให้บ้านหลังนี้ว่า สุขุมาราม หลังจากสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์เสร็จก็โปรดให้ตีพิมพ์และต่อมาได้มีการตีพิมพ์มาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #217 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2557, 12:46:52 » |
|
จดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรจนถึงสวรรค พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ บันทึกเรียบเรียง เมื่อปลายปี ร.ศ.125 (พ.ศ. 2449) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุได้ 53 พรรษา บังเกิดพระโรคเบียดเบียน ไม่เป็นที่ทรงพระสำราญ ด็อกเตอร์เบอร์เมอร์ นายแพทย์ของกรมทหารเรือ ซึ่งเป็นผู้ถวายการอภิบาล ได้ตรวจพระอาการ ลงสันนิษฐานว่าพระโกฎฐาส ภายในพระวรกาย ไม่เป็นไปสม่ำเสมอ พระโรคเช่นนี้ ไม่ถูกกับอากาศชื้น เช่น ในฤดูฝนชุก และร้อนจัด เช่น ฤดูคิมหะ ประเทศที่จะรักษา พระโรคเช่นนี้ ได้เหมาะดีที่สุด ก็มีแต่ยุโรปเท่านั้น จึงกราบบังคมทูลถวายคำแนะนำ เพื่อเสด็จประพาสยุโรป บำรุงพระวรกาย ให้คืนเป็นปกติ แต่ในเวลาที่พระโรคยังไม่ทันจะเจริญขึ้น โดยคำแนะนำ ของนายแพทย์นี้ จึงได้เสด็จประพาสยุโรป ออกจากพระมหานคร เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2449 เสด็จกลับมาถึงพระนคร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ขณะประทับอยู่ที่เมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี ได้มีนายแพทย์เยอรมัน และอังกฤษ ชั้นโปรเฟสเซอร์ รวม 3 นาย ได้ประชุมตรวจพระอาการเห็นว่า พระอวัยวะทุกส่วนยังเป็นปรกติ ไม่มีสิ่งใดแสดงว่า จะเป็นไปในทางที่ร้ายแรง ได้ถวายคำแนะนำการเสวย และการบรรทมให้มากพอ และลดทรงการงานให้น้อย ให้งดการงานที่เป็นการหนักทุกอย่าง ได้มีการทำนายซึ่งทางลับว่า ถ้าพระอาการเป็นเช่นนี้ จะทรงพระชนม์ไปได้สัก 3 ปี แต่หมอก็ถวายการรับรองต่อพระองค์ว่า ถ้าผ่อนงานให้น้อย และบรรทมให้มากขึ้นอีก จะดำรงพระชนมายุไปได้ถึง 80 เว้นแต่ จะมีพระโรคอื่นใดมาแทรกแซง เมื่อเสด็จกลับสู่พระมหานครแล้ว ดูทรงพระสำราญดีกว่า เมื่อก่อนเสด็จประพาสยุโรป จะมีที่ไม่ปรกติเล็กน้อย ก็ในเรื่องพระนาภี เพราะพระบังคนหนักไปไม่สะดวก ต้องทรงใช้พระโอสถ ระบายอยู่เสมอๆ แต่การประชวรที่เรียกกันว่า ถึงล้มหมอนนอนเสื่อนั้นไม่ปรากฎเลย ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 16 ตุลาคม ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453) ในวันนั้นได้ทรงขับรถไฟฟ้า เสด็จออกประพาสทอดพระเนตร การเลี้ยงไก่พันธุ์ต่างประเทศที่พญาไท แต่มิได้เสด็จลงจากรถพระที่นั่ง มีรับสั่งว่า "ท้องไม่ค่อยจะสบายจะรีบกลับ" แล้วก็ทรงขับรถพระที่นั่ง กลับยังพระที่นั่งอัมพรทีเดียว วันที่ 17-18-19 ตุลาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศล ประจำปีถวายรัชกาลที่ 4 ในพระบรมมหาราชวัง แต่เนื่องด้วยพระนาภียังไม่เป็นปรกติ จึงได้โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร เสด็จไปแทนพระองค์ วันที่ 19 ตุลาคม เวลาค่ำมีรับสั่งให้มหาดเล็กไปเชิญ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ขึ้นไปเฝ้าบนพระที่นั่งอัมพรสถาน ชั้น 3 ในที่พระบรรทม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เสด็จมาทีหลัง ตามขึ้นไปเฝ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังตรัสราชการ และตรัสเล่นกับผู้ไปเฝ้า เหมือนเวลาทรงพระสำราญ วันที่ 20 ตุลาคม เวลา 3 โมงเช้า คุณพนักงานออกมาบอกว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีรับสั่งให้มหาดเล็ก ไปตามหมอเบอร์เกอร์ หมอไรเตอร์ และหมอปัวซ์ ให้รีบมาเฝ้าโดยเร็ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จออกมารับสั่ง แก่ข้าพเจ้า (พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ) ให้จัดอาหารเลี้ยงหมอ และจัดที่ให้หมออยู่ประจำ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เมื่อหมอมาเฝ้าตรวจพระอาการกลับลงมา ข้าพเจ้าได้ถามพระอาการ หมอไรเตอร์ตอบว่า เป็นเพราะพระบังคนหนักคั่งอยู่นาน เมื่อเสวยพระโอสถปัดพระบังคนหนักออกมา จึงอ่อนพระทัย พระกะเพาะอาหารอ่อน ไม่มีแรงพอที่จะย่อยพระอาหารใหม่ ควรพักบรรทมนิ่ง อย่าเสวยพระอาหาร สัก 24 ชั่วโมง ก็จะเป็นปรกติ หมอฉีดมอร์ฟีนถวายหนหนึ่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการมาฟังพระอาการ มากด้วยกัน ตั้งแต่ 5 ทุ่มได้บรรทมหลับเป็นปรกติ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ หมอฝรั่ง หมอไทย และมหาดเล็ก อยู่ประจำพรักพร้อมกันตลอดทุกเวลา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #218 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2557, 12:50:49 » |
|
วันที่ 21 ตุลาคม ย่ำรุ่งบรรทมตื่นตรัสว่า พระศอแห้ง แล้วเสวยพระสุธารสเย็น คณะแพทย์ไทยถวายพระโอสถ แก้พระเสมหะแห้ง รับสั่งว่าอยากจะเสวยอะไรๆ ให้ชุ่มพระศอ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ถวายน้ำผลเงาะคั้นผล 1 พอเสวยได้สักครู่ ทรงพระอาเจียนออกมาหมด สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตกพระทัยเรียกหมอทั้ง 3 คนขึ้นไปตรวจพระอาการ หมอกราบบังคมทูลว่า ที่เสวยน้ำผลเงาะ หรือเสวยอะไรอื่นในเวลานี้ไม่ค่อยจะดี เพราะพระกระเพาะว่าง และยังอักเสบ เป็นพิษอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อเสวยพระกระยาหาร หรือพระโอสถ จึงทำให้ทรงพระอาเจียนออกมาหมด และเสียพระกำลังด้วย สู้อยู่นิ่งๆ ดีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกริ้วหมอว่า อาหารก็ไม่ให้กิน ยาก็ไม่ให้กิน ให้นอนนิ่งอยู่เฉยๆ จะรักษาอย่างไรก็ไม่รักษา มันจะหายอย่างไรได้ และตรัสต่อไปว่า เชื่อถือหมอฝรั่งไม่ได้ ประเดี๋ยวพูดกลับไปอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่แน่นอนเป็นหลักฐานอะไรได้ เมื่อหมอกลับลงมาแล้ว มีรับสั่งกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถว่า ให้ไปตามใครๆ เขามาพูดจา ปรึกษากันดูเถิด สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จลงมารับสั่งกับข้าพเจ้า ให้มหาดเล็กไปเชิญ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์ฯ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ฯ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ ในเวลาย่ำรุ่งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จลงมาเล่าพระอาการให้เจ้านายทั้ง 4 พระองค์ฟัง แล้วเจ้านายซักถามหมอๆ ก็ยืนยันว่าไม่เป็นอะไร บรรทมอยู่นิ่งๆ ดีกว่า เจ้านายพากันเห็นจริง ตามหมอไปหมด รวมกันถวายความเห็นว่า ที่หมอรักษาอยู่เวลานี้ถูกต้องแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นไปกราบบังคมทูลว่า เจ้านาย 4 พระองค์เสด็จมาแล้ว ได้ซักถามหมอ และเห็นด้วยตามที่หมอชี้แจง ทรงนิ่งอยู่มิได้รับสั่งอะไร
เวลาที่เลี้ยงเครื่องอาหารเช้าเจ้านาย และหมอนั้น มีพระอาเจียนอีกครั้งหนึ่ง เป็นน้ำสีเขียวเหมือนข้าวยาคู ประมาณ 1 จานซุบ หมอว่าสีเขียวนั้นเป็นน้ำดี ตั้งแต่นี้ต่อไป ก็มีพระอาการซึม บรรทมหลับอยู่เสมอ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จลงมารับสั่งเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสว่า "การเจ็บครั้งนี้จะรักษากันอย่างไร ก็ให้รักษากันเถิด" ตามที่รับสั่งเช่นนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกใจหาย ให้หวั่นหวาดหนักใจไปเสียจริงๆ ตอนเที่ยงเจ้านายและหมอ ขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ ข้าพเจ้าก็ตามขึ้นไปด้วย กลับลงมาได้ความว่า มีแต่พระอาการเซื่องซึม บรรทมหลับอยู่ตลอดเวลา มีพระบังคนเบาครั้งหนึ่ง ประมาณ 1 ช้อนกาแฟ สีเหลืองอ่อน สังเกตดูกิริยาอาการของหมอและเจ้านาย ยังไม่สู้ตกใจอะไรมากนัก สมเด็จพระบรมราชินีนาถ รับสั่งให้เจ้านาย ผลัดเปลี่ยนกันประจำ ฟังพระอาการอยู่เสมอไป ตอนบ่ายมีความร้อนในพระองค์ปรอท 100 เศษ 4 แต่เป็นเวลาทรงสร่าง เพราะมีพระเสโท ตามพระองค์บ้าง มีพระบังคนเบาเป็นครั้งที่ 2 ประมาณ 1 ช้อนกาแฟเหมือนคราวก่อน ในเรื่องพระบังคนเบาน้อยเป็นครั้งที่ 2 นี้ เจ้านายออกจะสงสัย ทรงถามหมอๆ ก็ให้การว่า เป็นเพราะไม่ได้เสวยอะไร เสวยแต่พระสุธารสชั่ว 2-3 ช้อนเท่านั้น ก็ซึมซาบไปตามพระองค์เสียหมด เพราะฉะนั้น พระบังคนเบาจึงน้อยไปไม่เป็นไร เมื่อเสวยพระกระยาหาร และพระสุธารสได้มากแล้ว พระบังคนเบาก็คงจะมีเป็นปรกติ แต่พระอาการเซื่องซึมบรรทมหลับ ยังมีอยู่เสมอ ตอนเย็นเมื่อเจ้านายและหมอ ขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ ข้าพเจ้าได้ยินรับสั่ง กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ฯ ว่า "การรักษาเดี๋ยวนี้เป็นอย่างใหม่เสียแล้ว" แล้วก็ไม่ตรัสสั่งอะไรอีก เมื่อเจ้านายและหมอ กลับลงมาคราวนี้ พากันรู้สึกพระอาการมาก ไม่ใช่ทางพระธาตุพิการอย่างเดียว เป็นทางพระวักกะ (คิดนี) เครื่องกรองพระบังคนเบาเสียด้วย มีพระบังคนเบาอีกเป็นครั้งที่ 3 ประมาณ 1 ช้อนกาแฟ ตอนนี้หมอและเจ้านาย แน่ใจทีเดียวว่าเป็น พระวักกะพิการ หมอได้รีบประชุมกัน ประกอบพระโอสถบำรุงพระบังคนเบา และเร่งให้มี พระบังคนเบาโดยเร็ว และในที่สุดใช้เครื่องสวนพระบังคนเบา แต่ไม่ได้ผล เพราะไม่มีพระบังคนเบาเลย ตอนค่ำสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ฯ และหมอ ขึ้นไปเฝ้าตรวจ พระอาการ ข้าพเจ้าก็ขึ้นไปด้วยเช่นเคย เห็นพระพักตร์แต่ห่างๆ เข้าไปใกล้พระแท่นไม่ได้ เพราะข้างในอยู่เต็มไปหมด ได้ยินเสียงหายพระทัยดัง และยาวๆ มาก บรรทมหลับอยู่ ถ้าจะถวาย พระโอสถ พระอาหาร หรือพระสุธารส ก็ต้องปลุกพระบรรทม หมอกลับลงมาได้ความว่า การหายพระทัย และพระชีพจรยังดีอยู่ ความร้อนในพระองค์ลดลงแล้ว เห็นจะไม่เป็นไร หมอประชุมกัน ตั้งพระโอสถแก้พระบังคนเบาอีก ประมาณ 1 ทุ่มเศษ มีพระบังคนเบาเป็นครั้งที่ 4 ประมาณ 1 ช้อนเกลือ และเป็นครั้งสุดท้ายด้วย ค่ำวันนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย มาฟังพระอาการเต็มไปทั้งพระที่นั่ง เจ้านายก็ยังเชื่อกันว่าพระบังคนเบา คงจะมีออกมามากแน่ ตั้งแต่ยามหนึ่งแล้ว มีพระบังคนหนัก 3 ครั้ง เป็นน้ำสีดำๆ หมอฝรั่ง หมอไทย ตรวจดูก็ว่าดีขึ้น คงจะมีพระบังคนเบาปนอยู่ด้วย วันนี้เสวยน้ำซุบไก่เป็นพักๆ ละ 3 ช้อนบ้าง 4 ช้อนบ้าง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ชงน้ำโสมส่งขึ้นไปไว้ถวาย ให้ทรงจิบเพื่อบำรุง พระกำลัง หมอฝรั่ง หมอไทย ไม่คัดค้านอะไร คืนนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ กลับดึกกว่าคืนก่อนๆ วันเสาร์ ที่ 22 ตุลาคม เวลาเช้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ฯ และหมอฝรั่ง 3 คน ขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ ข้าพเจ้าก็ขึ้นไปด้วยตามเคย เมื่อกลับลงมาเห็นกิริยา ท่าทางของหมอ และเจ้านายไม่สู้ดี ได้ความว่า พระอาการหนักมาก พระบังคนเบาที่คาดว่าจะมีก็ไม่มี พิษของพระบังคนเบาซึม ไปตามเส้นพระโลหิตทั่วพระองค์ จึงทำให้เป็นพิษเซื่องซึมบรรทมหลับ อยู่เสมอ หมอตั้งพระโอสถถวาย เร่งให้มีพระบังคนเบาแรงขึ้นทุกที พวกหมอฝรั่งประชุมกัน เขียนรายงานพระอาการยื่นต่อเจ้านาย เสนาบดีว่าพระอาการมาก เหลือกำลังของหมอ ที่จะถวายการรักษาแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาแต่เช้า ได้ทอดพระเนตรรายงาน พระอาการที่หมอทำไว้ ทรงปรึกษาหารือเห็นพร้อมกันว่า ควรให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ มาเฝ้าตรวจพระอาการดูด้วย ข้าพเจ้าจึงให้ นายฉันหุ้มแพร (ทิตย์ ณ สงขลา) รีบเอารถยนต์ไปรับมาทันที พระองค์เจ้าสายฯ ขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น้ำพระเนตรไหลแต่ไม่ตรัสว่าอะไร พระองค์เจ้าสายฯ กลับลงมายืนยันว่า พระอาการยังไม่เป็นไร เชื่อว่าที่บรรทมหลับเซื่องซึม อยู่นั้น เป็นด้วยฤทธิ์ พระโอสถต่างๆ พอฤทธิ์พระโอสถหมดแล้ว ก็คงจะทรงสบายขึ้น เพราะพระชีพจรก็ยังเต้นเป็นปรกติดี พระองค์เจ้าสายฯ กลับไปนำพระโอสถมาตั้งถวาย แก้ทางพระศอแห้ง ขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ อีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ตรัสทักว่า "หมอมาหรือ" ได้เท่านั้นแล้วก็ไม่ได้รับสั่งอะไรอีกต่อไป พระอาการตั้งแต่เช้าไปจนเย็น ไม่มีพระบังคนหนัก และเบาเลย พระหฤทัยอ่อนลงมาก ยังบรรทมหลับเซื่องซึมอยู่เสมอ เวลาย่ำค่ำสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ฯ และหมอฝรั่งขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปด้วย และเห็นหายพระทัยดังยาวๆ และหายพระทัยทางพระโอษฐ์ พ่นแรงๆ จนเห็นพระมัสสุไหวได้แต่ไกล สังเกตดูพระเนตร ไม่จับใครเสียแล้ว ลืมพระเนตรคว้างอยู่อย่างนั้นเอง แต่พระกรรณยังได้ยิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ กราบทูลว่าเสวยน้ำ ยังทรงพยักพระพักตร์รับได้ และกราบทูลว่าพระโอสถแก้พระศอแห้ง ของพระองค์เจ้าสายฯ ก็ยังรับสั่งว่า "ฮือ" แล้วยกพระหัตถ์ขวาและซ้าย ที่สั่นขึ้นเช็ดน้ำพระเนตร คล้ายทรงพระกันแสง พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ซับเช็ดพระเนตรด้วยผ้าซับพระพักตร์ ชุบน้ำถวาย หมอฉีดพระโอสถถวาย ช่วยบำรุงพระหฤทัยให้แรงขึ้น ตั้งแต่เวลานี้ต่อไป หมอฝรั่งนั่งประจำคอยจับพระชีพจร ตรวจพระอาการผลัดเปลี่ยนกัน ประจำอยู่ที่พระองค์ การหายพระทัยค่อยเบาลงๆ ทุกที พระอาการกระวน กระวายอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่มีเลย คงบรรทมหลับอยู่เสมอ เจ้านายจะขึ้นไปเฝ้าอีกครั้ง ก็พอหมอรีบลงมาทูลว่า เสด็จสวรรคตเสียแล้วด้วยพระอาการสงบ เมื่อเวลา 2 ยาม 45 นาที สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ และ พระเจ้าน้องยาเธอ พร้อมกันเสด็จขึ้นไปเฝ้ากราบถวายบังคม ด้วยความเศร้าโศกอาลัย ทรงกรรณแสง คร่ำครวญสอึกสอื้นทั่วกัน ข้าพเจ้าก็อยู่ที่นั้นด้วย กราบถวายบังคมมีความเศร้าโศก อาลัยแสนสาหัส ร่ำร้องไห้มิได้หยุดหย่อนเลย ในที่พระบรรทม และตามเฉลียงเต็มไปด้วยฝ่ายใน และฝ่ายหน้า ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ระงม เซ็งแซ่และทุ่มทอดกายทั่วไป ประดุจต้นไม้ใหญ่ที่ถูกลมพายุใหญ่ พัดต้นและกิ่งก้านหักล้มราบไป ฉันใด บรรดาฝ่ายใน และฝ่ายหน้าทั้งหมด ล้มกลิ้งเป็นลมไปตามกันฉันนั้น ด้วยความเศร้าโศกาอาดูร เป็นอย่างล้นเหลือที่จะรำพันให้สิ้นสุดได้ ข้าพเจ้าต้องวิ่งลงไปตามหมอ ขึ้นไปแก้ท่านที่ประชวรพระวาโยกันเป็นการใหญ่ และต้องเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ขึ้นพระเก้าอี้หามกลับไปส่ง ที่พระตำหนักสวนสี่ฤดู เพราะประชวรพระวาโย และทรงชักกระตุกด้วย เจ้านายพระองค์อื่น และเจ้าจอมมารดา ที่เป็นลม ก็มีผู้ช่วยพากันไปส่งตำหนักที่อยู่กันเรื่อยๆไป ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ซึ่งประชวรพระวาโย บรรทมอยู่ที่เก้าอี้ปลายพระแท่นนั้น ก็ต้องใช้เก้าอี้หามเชิญเสด็จ ไปยังพระตำหนักของพระองค์ท่าน เวลานั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภานุพันธุวงศ์วรเดช ทูลเชิญเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ให้เสด็จกลับลงไปชั้นล่าง ประทับห้องแป๊ะเต๋ง พร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาผู้ใหญ่ องคมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งทรงกรรณแสง และร้องไห้กัน เสียงระงมเซ็งแซ่ทั่วไป ทั้งพระที่นั่ง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #219 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2557, 12:53:06 » |
|
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภานุพันธุวงศ์วรเดช ทรงคุกพระชงฆ์ ลงกราบถวายบังคมสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ อัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน สืบสนองพระองค์สมเด็จพระชนกาธิราช ต่อไป พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็กราบถวายบังคมทั่วกัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเรียกประชุมพร้อมกันในเวลานั้น เพื่อหารือที่จะจัดการสรงน้ำพระบรมศพ และเชิญไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันพรุ่งนี้ และออกประกาศข่าวการสวรรคต และอื่นๆ ในระหว่างที่ประชุมกันอยู่นี้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิ์ฯ และข้าพเจ้า พร้อมกับ เจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี (เพิ่ม ไกรฤกษ์) เจ้าหมื่นเสมอใจราช (อ้น นรพัลลภ) ขึ้นไปกราบถวายบังคม แล้วได้ฉลองพระเดชพระคุณ ช่วยกันเชิญพระองค์เลื่อนขึ้นไปหนุนพระเขนย จัดตกแต่งพระเขนย และผ้าลาดพระที่ ทั้งจัดแต่งพระองค์ให้เรียบร้อย แล้วพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิ์ฯ กับข้าพเจ้าถวายพระภูษา คลุมพระบรรทมคนละข้าง พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ประทับเป็นประธานอยู่ด้วย ครั้นจัดเรียบร้อย ปิดพระวิสูตรแล้วกราบถวายบังคมลากลับ ลงไปข้างล่าง พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย เพิ่งเสร็จการประชุม และกลับไปเมื่อจวนสว่าง ในคืนนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ประทับแรมอยู่ที่ห้องพระบรรทมขาว พระที่นั่งอัมพรสถาน มีตำรวจหลวง และทหารมหาดเล็ก ล้อมวงรักษาการ ตามราชประเพณีตลอดคืน วันอาทิตย์ ที่ 23 ตุลาคม เวลาเช้า ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปเฝ้า กราบถวายบังคมพระบรมศพ อีกครั้งหนึ่ง พร้อมด้วยเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี เจ้าหมื่นเสมอใจราช และหลวงศักดิ์นายเวร (ม.ร.ว. ลภ อรุณวงศ์) พร้อมกันเชิญพระบรมศพจากพระแท่นที่พระบรรทม ไปประทับพระแท่นสำหรับสรง แล้วรื้อพระแท่นที่พระบรรทมออก สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ประทับเป็นประธาน ในการถวายน้ำสรงพระบรมศพ เป็นส่วนฝ่ายใน ครั้นแล้ว จึงเชิญพระบรมศพ ขึ้นพระแท่นที่จัดไว้ใหม่สำหรับพระเกียรติยศ เพื่อถวายน้ำสรงพระบรมศพ เป็นพระราชพิธีตอนบ่าย ในเวลานี้ ข้าพเจ้าได้กราบถวายบังคมที่พระบาทยุคล ถวายน้ำหอมสรงพระบาท และซับพระบาทด้วยผ้าเช็ดหน้า ไว้เป็นที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นที่สักการบูชา ได้พิศดูพระพักตร์ในเวลานี้ เหมือนกำลังบรรทมหลับ พระพักตร์ยิ้มน้อยๆ ดูสง่างามเหลือเกิน กระทำให้ตื้นตันใจ ต้องร้องไห้ด้วยความอาลัยเศร้าทวียิ่งขึ้น มิใคร่จะจากพระบาทยุคลไปได้เลย ได้ทำหน้าที่ไปพลาง ร้องไห้คร่ำครวญไปพลาง จนแล้วเสร็จ กราบถวายบังคมลากลับลงไปข้างล่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระชนมายุ 58 พรรษา ดำรงสิริราชสมบัติมาได้ 43 พรรษา จบหมายเหตุบันทึกตอนทรงพระประชวร และสวรรคตเพียงนี้....จากหนังสือเล่มนี้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #220 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2557, 17:21:50 » |
|
จากบันทึกของมจ.พูนพิศมัย ดิศกุล
เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนนั้น เหตุการณ์วันสวรรคต รัชกาลที่ ๕ ครั้งนั้นมีความเล่าจากความจำของมจ.พูนพิสมัย ดิศกุล ไว้ตอนหนึ่งว่า
"กำหนดสรงน้ำพระบรมศพที่พระนั่งอัมพรสถานในที่พระบรรทม แล้วเชิญพระบรมศพลงพระโกศทองเชิญเสด็จขึ้นพระยานุมาศ เคลื่อนกระบวนจากพระราชวังดุสิตไปสู่พระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เวลาค่ำ ๗.๐๐ น. เศษ
เสด็จพ่อทรงสั่งราชการพลาง ทรงพระกรรณแสงพลางอยู่ที่วังตอนเช้าวันอาทิตย์ พวกพี่น้องของข้าพเจ้าเขาก็พากันกลับเข้าวังหมดแทบทุกคน ข้าพเจ้ายังมีไข้เข้าไปช่วยในวังไม่ได้ พอเสด็จพ่อทรงเครื่องเต็มยศใหญ่เข้าไปสวนดุสิตแล้ว ข้าพเจ้าก็ไปคอยเฝ้าพระบรมศพที่ริมถนนราชดำเนินแถวโรงเรียนนายร้อนทหารบก พวกราษฎรเอาเสื่อไปปูนั่งกันเป็นแถวตลอดสองข้างทาง จะหาหน้าใครที่จะยิ้มก็ไม่มีสักผู้เดียว ทุกคนแต่งดำน้ำตาไหลอย่างตกอกตกใจด้วยไม่รู้รส อาการมืดครึ้มมีหมอกขาวลงจัดเกือบถึงหัวคนเดือนทั่วไปผู้ใหญ่เขาบอกว่านี่แหละคือ "หมอกธุมเกตุ" (หมอกธุมเกตุนี้ ตามตำราโบราณว่า เป็นหมอกที่มีสีประดุจควันไฟดอกไม้เพลิง จะเห็นได้ตั้งแต่เช้าไปจนเที่ยง หรือตั้งแต่เที่ยงไปจนบ่ายหนึ่งบ่างสองโมง ถือว่าเป็นหมอกที่ร้ายนัก นัยว่าเกิดเพราะเพระเกตุสำแดงเหตุให้ปรากฏ ...ผู้เรียบเรียง) ที่ในตำราเขากล่าวถึง ว่ามักจะมีในเวลาที่มีเหตุใหญ่ๆ เกิดขึ้น
ไม่ช้าก็ได้ยินเสียงปี่ในกระบวนเสียงเย็นใสจับใจมาแต่ไกลๆ แล้วได้ยินเสียงกลองรับเป็นจังหวะใกล้เข้ามาในความมืดเงียบสงัด ที่มืดเพราะต้องตัดสายไฟฟ้าบางตอนให้กระบวนผ่านไปได้ และที่เงียบก็เพราะไม่มีใครพูดจากันว่ากระไร ข้าพเจ้าเคยได้ยินเสียงปี่เสียงกลองมาแล้ว เคยได้เห็นแห่พระศพเจ้านายมาแล้วหลายองค์ แต่คราวนี้ตกใจสะดุ้งทั้งตัว เมื่อเห็นพระมหาเศวตฉัตรกั้นมาบนพระบรมโกศสีขาวกับสีทองเป็นสง่า ทำให้รู้ทันทีว่า พระบรมศพ แล้วร้องไห้ออกมาโดยไม่ทันรู้ตัว เหลียวไปดูทางอื่น เห็นแต่แสงไฟจากเทียนที่จุดถวายสักการะอยู่ข้างถนนแวมๆ ไปตลอด ในแสงเทียนนั้นมีแต่หน้าเศร้าๆ หรือบิดหน้าอยู่เราหมอบลงกราบกับพื้นปฐพี พอเงยหน้าก็เห็นทหารยืนถือปืนเอาปลายลงดิน ก้มหน้าลงบนปืนอยู่ข้างหน้าเราเป็นระยะไปตลอด ๒ ข้างถนนนั้น น้ำตาของเขากำลังหยดลงแปะๆ อยู่บนหลังมือของเขาเอง ทหารซึ่งอยู่ในยูนิฟอร์มอันแสดงว่ากล้าหาญ ยังร้องไห้เพราะเสียดายประมุขอันล้ำเลิศของเขา"
กระบวนเกียรติยศอัญเชิญพระบรมโกศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอัมพรสถาน อัญเชิญเสด็จกลับสู่ พระบรมมหาราชวัง โดยผ่านถนนราชดำเนินไปอย่างช้าช้านั้น แตรวงทำเพลงพญาโศกนำขบวนพระบรมศพ ราษฎรทั้งสองข้างถนนที่มารอเฝ้ากราบพระบรมศพอยู่แน่นขนัด แสงเทียนในมือส่องสว่างเป็นแถวยาวเหยียด เมื่อพระโกศทรงพระบรมศพผ่านมาถึงตอนใด เสียงร้องไห้กระซิกสะอื้นไห้อยู่นั้น ก็พลันเปลี่ยนเป็นเสียงโฮอย่างสุดเสียง เป็นเช่นนี้ไปตลอดทาง แม้แต่ทหารที่ยืนนิ่งระวังเหตุอยู่สองข้างถนนก็อดไม่ได้ที่ร้องไห้ และเมื่อขบวนพระบรมศพผ่านมา เหล่าทหารได้ถวายความเคารพ น้ำตาก็หลั่งไหลอาบแก้ม ทั้งๆ ที่พยายามอดกลั้นมิให้เสียงสะอื้นออกมาจากปาก
เมื่อพระโกศพระบรมศพ อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทันทีนั้นได้เกิดพายุอื้ออึง ฝนตกอย่างหนัก สายฟ้าฟาดเปรี้ยงๆ แปลบปลาบอย่างน่ากลัว ราวกับว่าฟ้าจะพิโรธและโศกเศร้าที่กรุงสยามต้องสูญเสียพระราชาผู้เป็นที่รักของประชาชนทั้งแผ่นดิน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #222 เมื่อ: 23 ตุลาคม 2557, 17:07:59 » |
|
ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนของโรงเรียนทวีธาภิเศก“ประเพณีการถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า” หรือประเพณีการถวายบังคมและวางพวงมาลาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากที่พระบรมชนกนาถผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยเสด็จสวรรคต ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า เพื่อแสดงความจงรักภักดี ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2455 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลของพระองค์
ปีต่อมา มีพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนวันถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้ามาเป็นวันที่ 23 ตุลาคม และถือเป็นประเพณีที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #223 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2557, 12:09:34 » |
|
เริง
เตรียมซื้อตั๋ว ดอนเมือง-เชียงราย ไป/กลับ หากไปเที่ยวเช้า (พี่หลายคนไปเที่ยวนี้) มีรายการทัวร์เมืองเชียงรายด้วย (พี่ไปเที่ยว 11.15 น.) ขากลับส่วนใหญ่กลับเที่ยว 19.55 น. อย่าลืมส่งเงินมัดจำ, สำเนาบัตรและรูป รวม 3 ชุดให้พี่หลั่นอย่างด่วน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #224 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2557, 10:39:12 » |
|
ครับ
ดำเนินการบางเรื่องแล้ว
ไปเชียงตุงครั้งนี้เป็นครั้งทึ่สอง คงสนุกไม่น้อยกว่าครั้งที่หนึ่งแน่นอน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #225 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2557, 11:23:51 » |
|
ชวนตามไปเที่ยวเชียงตุงอีกครั้งอีกครั้งนะ เข้มข้นกว่าเดิมแน่ และไปถึงเมืองลาด้วยครับครั้งนี้
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #227 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2557, 20:26:24 » |
|
สวนแห่งนี้ไม่ได้ไปมาเกือบสิบปีแล้ว
มุ่งเน้นวันหยุดทางชะอำ หัวหิน เป็นส่วนใหญ่
เมื่อสงกรานต์ เพิ่งเข้าสวนผึ้งเป็นครั้งแรก ร้อนตับแตกเลย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #228 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2557, 10:46:04 » |
|
ประเทศสยาม
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ดังนี้ (๑)
แต่ชาวนานาประเทศทั้งปวงเรียกนามประเทศที่เราอยู่ว่า "ประเทศสยาม" มาแต่โบราณ มีในจดหมายเหตุจีนแต่โบราณนี้ว่า เดิมทีเดียว ประเทศนี้มีสองอาณาจักรเป็นอิสระแก่กัน อาณาจักรข้างใต้เรียกว่า "หลอฮกก๊ก" (ละโว้) อาณาจักรข้างเหนือเรียกว่า "เสียมก๊ก" (สยาม) ต่อมา สองอาณาจักรนั้นรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน จีนจึงเรียกนามรวมกันว่า "เสียมหลอฮกก๊ก" ต่อมา ละคำ "ฮก" ออกเสีย คงเรียกแต่ว่า "เสียมหลอก๊ก" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ พิเคราะห์ความตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนซึ่งกล่าวมา สันนิษฐานว่า เดิมทีเดียว ชาวต่างประเทศเห็นจะเรียกประเทศนี้ว่าสยามทั้งหมด ครั้นพวกขอมขยายอาณาเขตเข้ามาถึงประเทศนี้ มาตั้งเมืองลพบุรีเป็นราชธานี จึงปรากฏนามอาณาเขตขอมที่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า อาณาเขตละโว้ ตามนามเดิมของเมืองลพบุรี ดินแดนอันมิได้อยู่ในอาณาเขตละโว้พวกชาวต่างประเทศก็ยังคงเรียกว่าสยามอยู่อย่างเดิม ครั้นพระร่วงตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ ชาวต่างประเทศจึงเรียกราชอาณาจักรสุโขทัยตามนามเดิมว่า "สยามประเทศ" ครั้นเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้วรวมราชอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นอาณาจักรอันเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้จีนเปลี่ยนนามเรียกว่า "เสียมหลอฮกก๊ก"
จิตร ภูมิศักดิ์อธิบายเพิ่มเติมว่า (๒)
ในจดหมายเหตุพงศาวดารแห่งราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์หยวนหรือหงวน (พ.ศ. ๑๗๔๙-๑๙๑๑), ซึ่งจดเรื่องราวของเสียมกับละโว้ไว้ว่า เป็นประเทศสองประเทศคู่กันในภูมิภาคแหลมทองนี้ เรื่องในจดหมายเหตุจีนที่จดไว้นั้นหลังจารึกนครวัดราว ๒๐๐ ปี จารึกนครวัดจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า เสียม ได้มีมาก่อนที่จีนจะจดไว้มานานตั้งแต่ราวพ.ศ. ๑๖๕๐ ซึ่งสร้างนครวัดแล้ว
เรามาลองดูจดหมายเหตุจีนกันสักหน่อย :
จดหมายเหตุจีนเรียก เสียม (สฺยำ) ว่า เซียน และเรียกละโว้ว่า หลอหู เรื่องของเซียนเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในจดหมายเหตุพงศาวดารจีนเมื่อพ.ศ. ๑๘๒๕
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #229 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2557, 10:47:34 » |
|
ตามจดหมายเหตุจีนนั้นกล่าวว่า เมื่อกุบไลข่านได้ครองจีนแล้ว ก็ส่งทูตลงมาติดต่อกับประเทศทางทิศใต้, ในจำนวนนี้มีประเทศเซียน (อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า เซี้ยม หรือ เสี่ยม) และประเทศหลอหู (อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า หล่อฮก หรือ ล่อฮก), สองประเทศนี้โดยการเดินทางมาทางเรือ ส่วนประเทศที่อยู่เหนือเซียนขึ้นไปนั้น, คณะทูตเดินทางมาโดยทางบก, ติดต่อกับประเทศ ปาไป่ซีฟู และประเทศเช่อหลี่
ประเทศ ปาไป่ซีฟู ที่อยู่เหนือเซียนนั้น เป็นชื่อที่จีนเรียก, แปลว่า "สนมแปดร้อย", มีคำอธิบายไว้ด้วยว่าที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะประมุขของรัฐมีสนมแปดร้อยคน, ประชาชนชาวเมืองเองเรียกชื่อประเทศของตนว่า จิ่งไม่, ประเเทศนี้คือ เชียงใหม่ ของกษัตริย์เมงราย ส่วนประเทศเช่อหลี่นั้น ได้แก่อาณาจักรเชียงรุ้งในสิบสองปันนา, ซึ่งต่อมาเรียกว่า เชอหลี่ และยังคงเรียกเช่นนนั้นมาจนบัดนี้ (คำว่า เชอหลี่ มิใช่การถอดเสียงออกมาจาก เชียงรุ้ง หลี่ นั้นคือ ลื้อ อันหมายถึงพวกไตลื้อ ซึ่งจีนเรียกว่า หลี่ มาแต่โบราณ ส่วน เชอ นั้นคือ เชียง)
เซียนกับหลอหูนั้น อยู่ใต้เชียงรุ้งและเชียงใหม่ลงมา ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หยวนใหม่ เล่มที่ ๒๕๒ ซึ่งเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์หมิง ได้เขียนเล่าเรื่องเซียนและหลอหูไว้มีใจความดังนี้ :
เซียน อยู่ติดกับประเทศปาไป่ซีฟู ซึ่งอยู่นอกมณฑลยุนนาน, ทิศตะวันออกของเซียนติดต่อกับอันหนาน (คืออันนัมหรือเวียตนามกลางบัดนี้) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศเหมี่ยน (คือม่าน,ได้แก่พม่า) ประเทศเซียนนี้ที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวไม่ได้ผล ต้องอาศัยพิ่งพิงหลอหูในทางเศรษฐกิจ
หลอหู อยู่ใต้ประเทศเซียนลงมา, อาณาเขตติดริมทะเลคือทางทิศใต้เป็นอ่าวใหญ่ มีแม่น้ำใหญ่สายหนึ่งไหลผ่านจากเซียนลงมาถึงหลอหู, แล้วไหลออกทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ประเทศนี้ในฤดูร้อนมีน้ำไหลท้นจากอ่าวขุ่นเป็นสีโคลน น้ำจะไหลท้นเข้าคลองเล็กคลองน้อยทั่วพื้นที่จึงทำนาได้ผลดีมาก ข้าวราคาถูก
ต่อมาเซียนได้เข้ารวมกับหลอหูเป็นประเทศเดียวในระหว่างพ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๐ ทางจีนจึงเรียกประเทศนี้โดยรวมนามเข้าด้วยกันเป็น เซียนหลอ, (ซึ่งเป็นชื่อเรียกประเทศไทยสืบมา)
ตามจดหมายเหตุจีนนี้ เซียน คืออาณาจักรสุโขทัย และ หลอหู ก็คือ อาณาจักรศรีอยุธยา แรกตั้ง ซึ่งจีนยังคงเรียกว่า หลอหู ตามชื่อของแคว้นละโว้ที่จีนเคยรู้จักดีมาแล้ว
(๑) อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม อธิบายเรื่องนามประเทศสยาม
(๒) "ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #230 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 10:31:00 » |
|
ครับ พี่เหยง
ยิ่งเย็นมากในช่วงหนาว ช่วงร้อนก็ไม่เว้นครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #231 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 13:07:59 » |
|
ประเทศสยาม(ต่อ) อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์
"สยาม" นั้นเป็นภาษาสันสกฤต แปลนัยหนึ่งว่า คล้ำ หรืออีกนัยหนึ่งแปลว่า ทอง เมื่อใช้เรียกเป็นนามประเทศว่า "สยามประเทศ" จึงหมายความว่า เป็นประเทศที่อยู่ของมนุษย์จำพวกผิวคล้ำ หรือมิฉะนั้น หมายความว่า เป็นประเทศที่เกิดทองคำ ความอย่างข้างหลังสมด้วยเรื่องประวัติพระพุทธศาสนาซึ่งแต่งในภาษามคธกล่าวว่า พระเจ้าอโศกมหาราชให้พระโสณะกับอุตตระเชิญพระศาสนามาประดิษฐานใน "สุวรรณภูมิ" ประเทศ คือ ประเทศ "อู่ทอง" คำที่เรียกว่า สยามประเทศจะหมายความว่ากระไรก็ตาม แต่เป็นคำภาษาสันสกฤต ข้อนี้เป็นหลักฐานว่า เป็นนามที่ชาวมัชฌิมประเทศเรียกก่อน จะเป็นพวกที่อยู่ในอินเดียหรือพวกที่มาได้เป็นใหญ่อยู่ในเมืองขอมเรียกก่อนก็ได้ทั้งสองสถาน พิเคราะห์ดูเห็นมีเค้าเงื่อนว่า พวกชาวมัชฌิมประเทศที่มาเป็นใหญ่ในเมืองขอมจะบัญญัติขึ้น ด้วยมีอักษรจารึกที่รูปภาพในพระนครวัดแห่งหนึ่งว่า "รูปชาวสยาม" ดังนี้
แต่ชาวนานาประเทศทั้งปวงเรียกนามประเทศที่เราอยู่ว่า "ประเทศสยาม" มาแต่โบราณ มีในจดหมายเหตุจีนแต่โบราณนี้ว่า เดิมทีเดียว ประเทศนี้มีสองอาณาจักรเป็นอิสระแก่กัน อาณาจักรข้างใต้เรียกว่า "หลอฮกก๊ก"[1] (ละโว้) อาณาจักรข้างเหนือเรียกว่า "เสียมก๊ก"[2] (สยาม) ต่อมา สองอาณาจักรนั้นรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน จีนจึงเรียกนามรวมกันว่า "เสียมหลอฮกก๊ก" ต่อมา ละคำ "ฮก" ออกเสีย คงเรียกแต่ว่า "เสียมหลอก๊ก" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ พิเคราะห์ความตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนซึ่งกล่าวมา สันนิษฐานว่า เดิมทีเดียว ชาวต่างประเทศเห็นจะเรียกประเทศนี้ว่าสยามทั้งหมด ครั้นพวกขอมขยายอาณาเขตเข้ามาถึงประเทศนี้ มาตั้งเมืองลพบุรีเป็นราชธานี จึงปรากฏนามอาณาเขตขอมที่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า อาณาเขตละโว้ ตามนามเดิมของเมืองลพบุรี ดินแดนอันมิได้อยู่ในอาณาเขตละโว้พวกชาวต่างประเทศก็ยังคงเรียกว่าสยามอยู่อย่างเดิม ครั้นพระร่วงตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ ชาวต่างประเทศจึงเรียกราชอาณาจักรสุโขทัยตามนามเดิมว่า "สยามประเทศ" ครั้นเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้วรวมราชอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นอาณาจักรอันเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้จีนเปลี่ยนนามเรียกว่า "เสียมหลอฮกก๊ก"
ในเรื่องคำว่า "เมืองไทย" กับคำว่า "ประเทศสยาม" ที่อธิบายมานี้ มีความจริงที่ประหลาดอยู่อย่างหนึ่ง คือ คำว่า "เมืองไทย" เป็นคำพวกไทยเรียก แต่ชาวประเทศอื่นเขาไม่เรียก ส่วนคำว่า "สยาม" นั้นเป็นคำที่ชาวต่างประเทศเรียก แต่ไทยเองหาเรียกไม่ เป็นเช่นนี้มาแต่โบราณ ในศิลาจารึกครั้งราชวงศ์พระร่วงเป็นใหญ่ เมื่อจะกล่าวถึงนามประเทศนี้ ก็เรียกว่า "กรุงสุโขทัย" มาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระราชสารหรือทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ เมื่อจะกล่าวนามประเทศนี้ก็ใช้แต่ว่า "กรุงศรีอยุธยา" มีสำเนาตัวอย่างหนังสือครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแลทำหนังสือสัญญากับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กรุงฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสใช้คำว่า "สยาม" แต่ฝ่ายไทยก็ใช้คำว่า "กรุงศรีอยุธยา" ทุกแห่ง แม้จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ แลรัชกาลที่ ๓ ก็ยังคงใช้นามประเทศในภาษาไทยว่า "กรุงศรีอยุธยา" ต่อมา มีตัวอย่างอยู่ในหนังสือสัญญาซึ่งทำกับอังกฤษ (ครั้งเฮนรี เบอร์นี เป็นทูตเข้ามา) เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ ยังใช้คำว่า "กรุงศรีอยุธยา" เป็นนามประเทศ
ไทยเราพึ่งมาใช้คำ "สยาม" เป็นนามของประเทศในทางราชการต่อในรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ (ข้าพเจ้าไม่มีเวลาพอที่จะสอบให้รู้แน่ว่า เริ่มใช้มาแต่ปีใด) เข้าใจว่า ดูเหมือนจะใช้เมื่อทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นเดิมมา เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่ใช้คำว่า "กรุงศรีอยุธยา" เป็นแต่นามราชธานีเก่า ไม่ตรงกับนามประเทศ แลนานาประเทศเรียกนามอยู่ว่า "ประเทศสยาม" ทั่วกันแล้ว จะใช้นามอื่นหาเหมาะไม่ จึงได้ใช้นามว่า "ประเทศสยาม" ในทางราชการแต่นั้นมา
1.กระโดดขึ้น ↑ "หลอฮกก๊ก" สำเนียงกลางว่า "หลัวโวกั๋ว" (羅渦國, Luó Wō Guó) 2.กระโดดขึ้น ↑ "เสียมก๊ก" สำเนียงกลางว่า "เซียนกั๋ว" (暹國, Xiān Guó)[color]
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #232 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 18:57:38 » |
|
หนังสือน่าสนใจอีกเล่ม
ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์
ชีวิตและการผจญภัยของ หลุยส์ เลโอโนเวนส์ ที่สามารถนำพาเราทุกคนย้อนอดีตไปสู่มิติอื่นๆ ที่สำคัญในปูมประวัติศาสตร์แห่งสยามและล้านนา
ผู้เขียน จิระนันท์ พิตรปรีชา "หลุยส์ เลโอโนเวนส์" บุตรชายของแหม่ม "แอนนา" ผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ในราชสำนักสยามในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถูกเล่าขานไปทั่วโลก แต่กลับส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนคนไทย เนื่องเพราะเรื่องราวเหล่านั้นได้บิดเบือนจากความเป็นจริง อักทั้งยังตกแต่งเพิ่มเติมจนกลายเป็นเรื่องราวที่สนุกสนานในสายตาของชาวต่างชาติ หลุยส์ได้เดินทางเข้ามาราชอาณาจักรสยามพร้อมมารดาเมื่อครั้งยังเด็ก และเขาได้ย้อนกลับมายังแผ่นดินสยามอีกครั้งด้วยสองมือเปล่า วิถีชีวิตที่พลิกผัน ทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีจากการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ทางภาคเหนือของบ้านเราในยุคนั้น
นอกจากนี้ยังได้เจาะลึกเบื้องลึก ปูมหลังของชีวิตหลุยส์และแหม่มแอนนาไปพร้อมๆ กัน "ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์" หนังสือสารคดีชีวประวัติเล่มนี้นับว่าเป็นงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ายิ่งเพราะนอกจากอ่านสนุกแล้ว ยังได้ทราบการดำเนินชีวิตของคนไทยและความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ สมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
สารบัญ - นำร่อง - "คิงมงกุฎ" กับฝรั่งมิชชันนารี - ปอกเปลือก "แอนนา" - ท่องโลกวัยเยาว์ - สยามผลัดแผ่นดิน - ผจยภัยในแดนลาว - เรื่องวุ่นๆ ที่เชียงใหม่ - ขุมทรัพย์เมืองเหนือ - "หมอชิตกับมิตซ่าหลุย" - มรสุมชีวิต ฯลฯ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #233 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 19:11:01 » |
|
“ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์” เป็นหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งก็ได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี จนกระทั่งในปีนี้ สำนักพิมพ์ สยามบันทึก ได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ในวาระครบรอบ 155 ปีของ นายหลุยส์ เลโอโนเวนส์ และถือว่าเป็นการจัดพิมพ์โดยทิ้งเวลาห่างจากการพิมพ์ครั้งที่ 3 ยาวนานถึง 10 ปี จึงเห็นควรว่าน่าจะจัดพิมพ์ขึ้นมาอีกครั้ง เขียนโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา
หนังสือสารคดีชีวประวัติเรื่อง “ ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์ ” เป็นบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยจากสายตาชาวต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในเขตภาคเหนือของไทยเมื่อครั้งอดีต นามว่า “ หลุยส์ เลโอโนเวนส์ ” บุตรชายของ “แหม่มแอนนา” ผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆในราชสำนักสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ช่วงชีวิตต่างๆของนายหลุยส์ ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นเอาไว้อย่างเข้มข้น เจาะลึกเบื้องลึก ปูมหลังของชีวิต “ หลุยส์ เลโอโนเวนส์ ” และ “ แหม่มแอนนา ” ไปพร้อมๆกัน อีกทั้งสำนวนการเรียบเรียงของผู้เขียนยังสนุก ชวนให้อ่านอย่างถอนตัวไม่ขึ้น แม้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์แต่ก็มันส์ไม่แพ้นิยายขายดีเลยทีเดียว นอกจากความสนุกแล้วยังเปี่ยมสาระ และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปในคราวเดียว คงไม่เกินเลยนักที่จะบอกว่าหนังสือเล่มนี้ นักอ่านไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #234 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2557, 19:23:59 » |
|
ผู้เขียนพูด
"เพราะตอนทำหนังสือเล่มนี้ยังไม่มีลิขสิทธิ์อะไรที่เข้มงวดมากมาย แต่เราหวังดีอยากจะให้ได้เผยแพร่ ก็คือว่าหลังจากเรียนประวัติศาสตร์จนช่ำชองมาในระดับหนึ่ง เรารู้สึกว่าสิ่งที่ประเทศไทยต้องการและมีคนทำน้อย คือ แนวประวัติศาสตร์สมัครเล่นที่ข้อมูลแน่น ส่วนใหญ่นักประวัติศาสตร์สมัครเล่นของเราจะพูดในประเด็นเล็กประเด็นน้อย เช่น สำรับกับข้าว ชื่อบ้านนามเมือง ชีวิตในวัง เป็นเรื่องจุกจิก ซึ่งก็ดี
แต่เรื่องที่เห็นภาพใหญ่โดยผ่านประสบการณ์เล็กๆแทบไม่มีเลย ซึ่ง "นายหลุยส์" เป็นตัวอย่างที่ดี ประสบการณ์ของคนคนหนึ่งที่สะท้อนยุคสมัย ความเปลี่ยนแปลงและปัญหาทางการเมืองของสยามในยุครัชกาลที่ 5 ที่สำคัญ นายหลุยส์คืออดีตพระสหายของรัชกาลที่ 5 สมัยเด็กๆ เพราะเป็นลูกของแหม่มแอนนาที่ย้ายเข้ามาอยู่ในวังด้วยกัน พอย้ายไปกับแม่ ก็ร่อนเร่ แสวงโชคไปเรื่อย แต่ความผูกพันกับสยามลึกๆ ในที่สุดก็กลับมารับราชการ ตั้งกรมทหารม้ารักษาพระองค์ และอาศัยบารมี เงินทุน ทรัพย์สิน เขาก็ตั้งบริษัท ค้าขายไปเรื่อย ระหว่างที่ขายก็ผจญภัยตั้งแต่กรุงเทพฯ มีเหตุการณ์ที่เขาเมามายชกต่อยหน้าโอเรียนเต็ล ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่า โอเรียนเต็ลคือสถานที่ไฮโซในยุคแรกๆเลย"
เธอยังเล่าย้อนไปถึงเรื่องในเล่มอีกว่า ชีวิตของนายหลุยส์นั้นน่าสนใจมาก เพราะหลังจากนั้นก็ขึ้นเหนือไปทำไม้ ซึ่งฝรั่งนักแสวงโชคตอนนั้นเขามองแต่เรื่องไม้สักพม่า ล้านนา เพราะว่ารวยเร็วและอาศัยความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายปกครองจากการไม่ทำ อย่างกรุงเทพฯ ก็บอกว่ามณฑลล้านนาเป็นหัวเมืองแต่ระบบการปกครองยังไม่ลงตัว รัฐบาลอังกฤษอยู่ในอินเดียมาบริหารพม่าซึ่งเป็นติ่งหนึ่งของบริติชอินเดีย คือจะเอา จะยึดดีหรือไม่ดี พวกพ่อค้าก็ลุยก่อนแล้ว รัฐบาลก็คิดว่าดีหรือไม่ดี คุ้มหรือไม่คุ้ม ต้องใช้กำลังรบอีก ต้องอะไรอีก ซึ่งนั่นเป็นแค่ติ่งหนึ่งของอินเดีย
"คิดดูว่าทรัพย์สินของอินเดียมันขนาดไหนแล้ว เพราะฉะนั้นช่องว่างอำนาจตรงนี้ทำให้คนอย่างแมร์หลุยส์ซึ่งมี back up จากกรุงเทพฯเข้าไปก็ไปตั้งตัวได้เลยแล้ว back up 3 ประเทศก็ไปเจรจากับเจ้าเมืองเหนือขอเช่าสัมปทาน ซึ่งเจ้าตอนนั้นก็ถูกปราบจนหงอแล้ว ถูกกำราบ ก็ต้องมาทำสัญญากับรัฐบาลสยามอยู่ดี สมัยก่อนเจ้ามีสิทธิ์ปล่อยเช่าเองแล้วเจ้าเชียงใหม่บางทีก็ติดการพนัน ปล่อยเช่า มันทับซ้อน ไม่มีรังวัด ก็เกิดเรื่อง ฝรั่งก็ตีกันเอง มาฟ้องกรุงเทพฯ แมร์หลุยส์ก็อาศัย back up ราชสำนักกรุงเทพฯไปทำธุรกิจของตัวเอง"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #235 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2557, 20:23:36 » |
|
และเมื่อหลุยส์จากไป เขาได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์บางส่วนให้แผ่นดินสยามที่เขาได้มาใช้ชีวิตในวัยเด็กกับแหม่มแอนนา ผู้แม่และประกอบอาชีพในบางช่วงของชีวิต
เขาได้มอบอะไรบ้าง?
เห็นที่ต้องวันที่ 3 พย. จึงมีรายละเอียดครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #237 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557, 10:23:24 » |
|
เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
หลุยส์ โทมัส กุนนิส เลียวโนเวนส์ เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 เมื่ออายุได้เพียง 7 ปี หลุยส์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากมารดาพร้อมกับพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายในพระบรมมหาราชวัง
จนกระทั่งได้เดินทางกลับไปศึกษาต่อในยุโรปจนจบการศึกษา และต่อมาในปี พ.ศ. 2424 หลุยส์ซึ่งขณะนั้นอายุ 27 ปี ได้เดินทางกลับมายังแผ่นดินสยามอีกครั้งและได้รับราชการเป็นหัวหน้ากองทหารม้า และได้เคยไปซื้อม้าถึงประเทศออสเตรเลีย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายหลังลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2427 หลุยส์ได้เข้าทำงานในบริษัทบอร์เนียว โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลการบุกเบิกกิจการป่าไม้สักในภาคเหนือของสยาม หลังจากลาออกจากบริษัทบอร์เนียวในปี พ.ศ. 2429 หลุยส์ ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับ บริษัทบอมเบย์เบอร์มา เทรดดิ้ง ในการจัดการสัมปทานไม้สัก ก่อนที่จะร่วมกับหุ้นส่วนชาวอเมริกันจัดตั้งบริษัทของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2432
หลุยส์ได้นำผลประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจในส่วนของตนเองทั้งหมดมาเปิดบริษัทหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2448
ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 บริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมกับบริษัท Denny, Mott & Dickson จากประเทศอังกฤษจัดตั้งโรงเลื่อย ท่าเรือ รถยก และ โกดังสินค้าริมน้ำที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อบริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์ จำกัด
แม้ว่าหลุยส์จะมีบทบาทในบริษัทของตนเองน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 เป็นต้นมา แต่หลุยส์ก็ยังคงมีบทบาทเป็นอย่างสูงในสังคมกรุงเทพฯ
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2456 เมื่อเขาเดินทางออกจากสยามและถึงแก่กรรมที่ประเทศอังกฤษในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2462
ปี พ.ศ. 2529 บริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รวมกิจการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Getz และได้ปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินธุรกิจมาเป็นดังเช่นในปัจจุบัน
"บริษัท หลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์และเครื่องมือช่าง ประเภท กระดาษทราย ผ้าทราย เครื่องมือประเภทต่างๆ เครื่องเหล็กและปั๊มประเภทต่างๆ เคมีภัณฑ์ และเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ก่อตั้งในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนานกว่า 103 ปี "
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #238 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557, 10:28:30 » |
|
อนุสรณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรม
เสาชิงช้าซึ่งใช้ในพระราชพิธีตรียัมปวาย เพื่อบวงสรวงพระอิศวร ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองของไทย
บริษัทฯ ได้บริจาคไม้สักในการบูรณะเสาชิงช้าเมื่อปี พ.ศ. 2463 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ ที่ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2462 แม้ว่าพระราชพิธีดังกล่าวจะถูกยกเลิก ไปเมื่อปี พ.ศ. 2476 แต่เสาชิงช้าก็ยังคงเป็นอนุสรณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทยและเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทฯจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #240 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2557, 12:57:05 » |
|
วันนี้(3พ.ย.)ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กทม. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในงาน “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งที่ 26 และในวาระครบ 40 ปีบัณฑิตวิทยาลัย โดยมี ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว คณาจารย์ พร้อมพระสหายร่วมรุ่นขณะทรงศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ มศว เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายเรื่อง “อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ” ตอนหนึ่งว่า คนในอดีตที่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างดีคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่ปฏิรูปการศึกษา และจัดการศึกษาเพื่อมวลชน โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า ไม่ว่าใครจะเป็นลูกใคร หรือเป็นพระโอรสพระธิดาของพระองค์เอง หรือเป็นลูกใครที่ไหนในประเทศไทย ต้องจัดให้มีโอกาสด้านการศึกษาเท่าเทียมกันทุกคน เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ รู้หนังสือรู้วิชาชีพ และทำงานเพื่อประเทศชาติได้ ซึ่งคำพูดนี้ต่อไปในอนาคตอาจต้องขยายให้กว้างขึ้นมากกว่าเดิม โดยต้องไม่ใช่เฉพาะคนในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องเป็นทุกคนที่อยู่ในไทย และนอกประเทศ ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นหน้าที่ของทั้งรัฐบาลและเอกชน ที่ต้องร่วมจัดการศึกษาให้แก่ทุกคนทั้งที่อยู่ในประเทศและนอกประเทศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายต่อไปว่า ในอนาคตประชากรวัยเด็กจะลดลง และจำนวนผู้สูงอายุจะมากขึ้น เพราะการคุมกำเนิดได้ผล ทำให้โรงเรียนที่เคยเปิดให้การศึกษาทุกชั้นปี กลายเป็นเปิดปีเว้นปี จนกระทั่งมีการปิดโรงเรียนไป เพราะเราเชื่อนักเศรษฐศาสตร์กันมากว่า การมีเด็กน้อยจะไม่คุ้มกับการจัดการเรียนการสอน ผลของปรากฎการณ์นี้ทำให้เห็นชัดเจนว่า มีเด็กจำนวนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน บางคนกว่าจะเดินทางไปถึงโรงเรียนก็เย็น ซึ่งเด็กเรียนมา 4 ปี ปรากฏว่า ไม่รู้หนังสือเลย โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่พบเจอด้วยตนเอง ที่ผ่านมาปัญหานี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้ระบบไอซีที การเรียนการสอนทางไกล และศูนย์การเรียนชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะได้ผลมากน้อยเพียงใดยังไม่ทราบ แต่เมื่อถามเด็กว่าทำไมถึงคะแนนไม่ดี เด็กก็ตอบว่าจะเอาอะไรกับหนู เพราะหนูเรียนกับทีวี ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า โรงเรียนในเมืองกลับมีนักเรียนห้องละ 50-60 คน นั่งเบียดเสียดกัน ต้องเสียแป๊ะเจี๊ยะเป็นแสนๆ ซึ่งไม่สมดุลกันระหว่างห้องเรียนในเมืองกับชนบท
ดังนั้นปัญหาเรื่องเด็กน้อยหรือมาก จึงเป็นเรื่องของประชากรศาสตร์ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องติดตามตัวเลขอัตราการเกิด เพื่อวางแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ จากการได้คุยกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่า ขณะนี้มีเด็กตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวนมาก และในอนาคตอาจมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ต้องมาคิดว่าจะจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้อย่างไร โดยต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจทั้งตัวเด็กและเด็กที่ถูกทิ้ง ซึ่งสภาพจิตใจจะแย่มาก ดังนั้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลว่าจะประคับประคองดูแลอย่างไรเพราะบางทีสิ่งที่เขาคิดเราก็คาดไม่ถึง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายอีกว่า อีกเรื่องสำคัญที่ต้องเน้นในอนาคตคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจสีเขียว โดยต้องสอนให้คนรุ่นใหม่รู้จักรักสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นปัญหาหนัก ซึ่งต้องสอนเด็กไม่ให้ตัดต้นไม้ทำลายป่า รู้จักประหยัดเชื้อเพลิง ประหยัดไฟ และพลังงานทางเลือก นอกจากนี้ ต้องเน้นย้ำให้ทุกคนรู้จักเศรษฐกิจพอเพียงทั้งระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ ไม่อยากให้คิดว่าเรื่องนี้ต้องใช้สื่อการเรียนการสอนที่แพงๆ เพราะสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ ทั้งนี้การเรียนรู้ในอนาคตจะเรียนรู้อย่างเดียวไม่พอ ควรต้องให้เด็กเรียนรู้หลายอย่างจึงจะอยู่รอดได้ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุที่ขณะนี้คนมีอายุยืนขึ้น ดังนั้นต้องให้ผู้สูงอายุสามารถเรียนได้ในทุกหลักสูตร และทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อ หรือเรียนเพื่อความเพลิดเพลินก็ได้“เป็นการยากที่จะรู้ว่าอนาคตของการศึกษาจะเป็นอย่างไร แต่ก็การคาดเดาได้ ดังนั้นผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาควรต้องคำนึงถึงประเด็นโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะยุคโลกาภิวัตน์ เพราะขณะนี้เราพูดกันแต่ประชาคมอาเซียน แต่ขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่คำนึงถึงเรื่องนี้แล้ว เพราะเขาก้าวข้ามไปถึงโลกาภิวัตน์แล้ว ดังนั้นครู และนักเรียนต้องรู้ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อจะได้ใช้สื่อสารกับนานาชาติได้ นอกจากนี้ต้องให้เด็กเป็นสมาชิกชุมชนนานาชาติ เพราะต่อไปต้องทำมาหากินให้ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่รังเกียจงาน และที่สำคัญต้องเอื้อเฟื้อต่อกัน ไม่ใช่หวงวิชาความรู้ ไม่สนใจคนอื่น ต้องสนใจซึ่งกันและกัน สิ่งใดดีแล้วก็ไม่ควรเปลี่ยน แต่อาจเสริมเรื่องสื่อ และวิธีการสอนแทน”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยาย
ข่าวเดลินิวส์ วันจันทร์ 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา 17:49 น.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #241 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2557, 13:43:31 » |
|
วันนี้ 6 พย. เป็นวันลอยกระทงงานลอยกระทงที่ “วัดอรุณราชวราราม” ซึ่งความพิเศษของที่นี่ อยู่ที่เป็น งานลอยกระทงปลอดเหล้า – บุหรี่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคร้ายและส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่ผู้มาร่วมงาน
นอกจากนี้เสน่ห์สำคัญที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวพากันมาร่วมงานที่นี่มาจาก บรรยากาศของวัดเก่าริมน้ำ ที่มีความงดงาม ให้ความรู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในอดีต ภาพบรรยากาศพระปรางค์วัดอรุณยามค่ำคืนริมฝั่งเจ้าพระยาที่มีความงดงาม และสิ่งที่ขาดไมได้คือบรรดาร้านค้าต่างๆที่พากันมาออกร้านจำหน่ายสินค้า ทั้งอาหารคาว – หวาน , ของเล่น , เสื้อผ้า และอื่นๆ รับรองได้ว่า ไปงานนี้งานเดียว เที่ยว ชิม และช้อป
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #242 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2557, 09:03:46 » |
|
แชร์เยอะ ! ภาพนักเรียนก้มกราบนักศึกษาฝึกสอนทั้งห้องเรียนแชร์เยอะ ! ภาพน.ร.ก้มกราบ นศ.ฝึกสอนทั้งห้องเรียน เมื่อ 6 พ.ย. 57 14:24:39 17,873views
ภาพประทับใจที่แชร์กันในโลกออนไลน์เยอะมาก ภาพนักเรียนทั้งห้องก้มลงกราบนักศึกษาฝึกสอน ที่กำลังจะเสร็จสิ้นภารกิจกับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนนี้ เป็นภาพที่ทำให้รู้ซึ้งถึงคำว่า ครู จริงๆ
ยินดีกับนักศึกษาฝึกสอนคนนี้ด้วย เค้ากำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นครู อย่างแท้จริง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #243 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2557, 14:11:02 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #244 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2557, 16:05:12 » |
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #246 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2557, 21:24:22 » |
|
น้องเริง
วันนี้เห็นกูเกิ้ลออกรูปกำแพงเบอร์ลิน ในขณะที่มีข่าวว่า จะมีคนนับล้านคน ออกมาร่วมงานในครั้งนี้ แต่ก็มีคอมเม้นต์ว่า สองฝั่งยังมีรายได้ไม่ทัดเทียมกัน "ตะวันตก"ยังรุ่มรวยกว่า"ตะวันออก"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #247 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 09:01:58 » |
|
ยังมีข่าวตามมา"กอร์บาชอฟ" อดีตผู้นำโซเวียต เตือน! โลกกำลังเข้าสู่สงครามเย็นอีกครั้ง
นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ อดีตผู้นำของอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งจะเข้าร่วมฉลองวันครบรอบ 25 ปีการทำลายกำแพงเบอร์ลินประเทศเยอรมนีในคืนวันนี้ (9 พฤศจิกายน)ได้ให้ปาฐกถาเมื่อเช้าวานนี้ โดยได้เตือนว่าโลกกำลังเข้าสู่สภาวะเสี่ยงที่เกิดสงครามเย็นรอบใหม่ และวิจารณ์ประเทศตะวันตกอย่างรุนแรงว่าเป็นผู้บ่มเพาะเชื้อแห่งความขัดแย้งอันก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ต่างๆในขณะนี้ "แทนที่เราจะสร้างกลไกหรือองค์กรอะไรขึ้นมาเพื่อสร้างความมั่นคงและนำไปสู่การลดการใช้กำลังทหารในการเมืองภาคพื้นยุโรป ตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ กลับประกาศชัยชนะในสงครามเย็น ความเบิกบานใจในชัยชนะพลุ่งพล่านในหัวเหล่าผู้นำตะวันตกอาศัยจังหวะที่รัสเซียกำลังอ่อนแอ อ้างความเป็นผู้นำผูกขาดทิศทางการเมืองโลก การขยายพื้นที่ของนาโต เหตุการณ์ในโคโซโว โครงการต่อต้านอาวุธนำวิถี และสงครามในตะวันออกกลาง นำไปสู่การสิ้นความไว้วางใจระหว่างกัน กล่าวโดยเปรียบเทียบแผลถลอกที่เคยมีกำลังกลายเป็นแผลใหญ่ที่เรื้อรัง" กอร์บาชอฟ ในวัย 83 ปี ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการกลาสนอสต์เปเรสตรอยก้าของอดีตสหภาพโซเวียตกล่าว
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #248 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 09:49:19 » |
|
กอร์บาชอฟ ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการกลาสนอสต์ เปเรสตรอยก้าของอดีตสหภาพโซเวียต ที่ทั่วโลกต่างชื่นชม
"กอร์บาชอฟประสบผลสำเร็จในการนำนโยบายทั้ง 2 มาใช้ปฏิรูปการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีการจัดตั้งสมัชชาผู้แทนประชาชนขึ้นในพ.ศ.2532 ประกอบด้วยสมาชิก 2,250 คน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกตั้งบุคคลที่ตนเชื่อมั่นและศรัทธา ให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อ มวลชน ให้เสรี ภาพในการชุมนุม และเลือกนับถือศาสนา ปล่อยนักโทษการเมือง ที่สุดสมัชชา ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้กอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหารอย่างกว้างขวาง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ
นโยบายกลาสนอสต์ได้นำผลกระทบมาสู่โซเวียตโดยปริยาย โดยประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ คือ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย เชโกสโลวะเกีย โรมาเนีย และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งได้ถือโอกาสนี้ทำลายกำแพงเบอร์ลิน โดยเปิดและปรับตนเองเช่นกัน ทำให้ระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในยุโรปล่มสลาย ทั้งยังเกิดปัญหาเชื้อชาติในโซเวียตติดตามมา เนื่องจาก 15 สาธารณรัฐอันประกอบเป็นสหภาพโซเวียตนั้นประกอบด้วยประชาชนที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ที่ตลอดเวลาสามารถอยู่ร่วมกันได้ก็ด้วยกลไกการ บริหารและควบคุมที่เคร่งครัดเฉียบขาดของพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้นเมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกได้ ความรู้สึกเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมจึงปะทุขึ้นอย่างเปิดเผย
นอกจากนี้ สาธารณรัฐต่างๆ บนชายฝั่งทะเลบอลติกยังพากันเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชและขอแยกตัวเป็นอิสระจากการปกครองของโซเวียต ได้แก่ ลิทัวเนีย เอสโตเนีย และลัตเวีย
ท้ายที่สุดในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียตให้กับประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #249 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 10:28:03 » |
|
ครับ พี่เหยง
ยังคงไม่เท่าเทียมกัน หลังจากรวมชาติแล้ว ๒๕ ปี
๑๕ ปีก่อนที่ได้ไปเยอรมนี พักด้านตะวันออก ๑ เดือน ได้เห็นอย่างชัดเจน คนด้านตะวันออกพูดภาอังกฤษไม่ได้ เพราะในวัยเด็กโรงเรียนไม่ได้สอนตามผู้ปกครองคือรัสเซียไม่ให้สอน อาคาร วิถีชีวิตยังคงไม่ทันสมัยเท่าอีกด้านที่ปกครองโดยอีกกลุ่ม เชื่อว่าผู้ที่ถูกแบ่งประเทศเป็นเวลา ๒๘ ปี ยังจำอะไรๆได้แน่นอน ยากที่จะลืม
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #250 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 13:13:02 » |
|
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ราชอาณาจักรสยามประกาศสงครามต่อเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 1917 และตัดสินใจส่งกองทหารอาสา จำนวน 1,284 นาย ไปประเทศฝรั่งเศสแล้วกลุ่มทหารเหล่านี้ เป็นใครกันบ้างและไปฝรั่งเศสได้อย่างไร ?-กระทรวงกลาโหมได้ประกาศรับสมัครทหารอาสาและคัดเลือกจนเหลือ 1,284 นาย แบ่งเป็น 3 หน่วย คือกองทหารบกรถยนต์ กองบินทหารบก และกองพยาบาล
กองทหารอาสาทั้งหมดออกเดินทางจากท่าราชวรดิฐ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2461 โดยเรือกล้าทะเลและเรือศรีสมุทรเพื่อไปขึ้นเรือแอมไพร์ ซึ่งฝรั่งเศสส่งมารับที่เกาะสีชังเพื่อเดินทางต่อไปสิงคโปร์ ลังกา สุเอซ ถึงเมืองมาร์แชลล์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2461
ทหารอาสาของไทย โดยเฉพาะกองทหารบกรถยนต์ได้มีโอกาสเข้าร่วมปฏิบัติการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารฝรั่งเศสอย่างกล้าหาญและได้รับคำชมเชยอย่างมาก
กระทั่งวันที่ 6 พฤศจิกายน 2461 เยอรมนีได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก จากนั้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2461 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ประเทศฝรั่งเศส
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #251 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2557, 13:25:13 » |
|
การกลับสู่มาตุภูมิของวีรบุรุษไทยแห่งสงครามเป็นไปอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวต้อนรับกองทหารอาสาเสร็จแล้วทรงประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีพระราชทานแก่ธงชัยเฉลิมพล และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญที่ระลึกในราชการสงครามทวีปยุโรปแก่ทหารอาสาทุกนายเพื่อบำเหน็จความชอบ
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 บริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสนามหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงเกียรติประวัติทหารอาสาของไทย รวมทั้งเป็นที่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติการรบจำนวน 19 นาย ซึ่งพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาคารวะดวงวิญญาณของทหารกล้าของชาติด้วยพระองค์เอง เรื่องและภาพ....เดลินิวส์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #252 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2557, 14:25:39 » |
|
ข่าวจากออสเตรเลีย..โดย มติชนยิ่งกว่าละคร! ฮือฮา หญิงแต่งกับ"ผู้บริจาคอสุจิ"ผู้เป็นพ่อของลูก ดั้นด้นตามหา ก่อน"ตกหลุมรัก"สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หญิงออสเตรเลียรายหนึ่ง เตรียมแต่งงานกับผู้บริจาคอสุจิผู้เป็นพ่อของลูกเธอ ภายหลังได้ตามหาเขาและตกหลุมรักชายผู้นี้ ขณะที่ฮอลลีวุดเล็งจะนำเรื่องราวคล้ายละครนี้สร้างเป็นภาพยนตร์
รายงานระบุว่า นางอมินาห์ ฮาร์ท วัย 45 ปี ได้รับการบริจาคอสุจิเพื่อนำไปผสมเทียมให้กำเนิดลูก จากผู้บริจาคปริศนารายหนึ่ง หลังจากเธอมีเคยมีลูกกับสามีเก่า 2 คนแต่เสียชีวิตทั้งหมด เพราะเธอมีเชื้อพาหะของโรคทางพันธุกรรมบางประเภทที่จะส่งผลกระทบต่อลูกที่เป็นผู้ชาย โดยเธอได้เลือกอสุจิของผู้บริจาครายหนึ่งซึ่งศูนย์บริจาคระบุข้อมูลว่าเป็นโค้ชฟุตบอลและนักเพาะพันธุ์วัว
ต่อมา เธอได้พยายามค้นหาตัวชายเจ้าของอสุจิจากการสืบค้นทางอินเตอร์เนท เพื่อหาชื่อของชายผู้นี้ จากข้อมูลที่เธอได้จากศูนย์บริจาคอสุจิ และเธอได้ส่งรูปลูกสาวของเธอให้แก่ชายผู้นี้ ซึ่งปรากฎว่าเขารู้สึกซาบซึ้งผูกพันมาก เพราะหน้าตาของเด็กหญิงน้อยคล้ายกับเขามาก และทั้งสองได้พบกันครั้งแรกที่เมืองเมลเบิร์นหลัง 4 วันที่เธอให้กำเนิดลูกสาว ซึ่งชื่อว่า"ไลล่า"ก่อนที่ทั้งคู่จะตกหลุมรักซึ่งกันและกัน ก่อนประกาศหมั้นและเตรียมจะวิวาห์แต่งงานกัน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #253 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2557, 15:26:47 » |
|
นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์จริงๆ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #254 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2557, 15:29:32 » |
|
กรณีพระราชสงครามยุโรป (สงครามโลก ครั้งที่ 1) มีเหรียญที่ระฤกออกมาด้วยครับ แต่ราคาแพง เนื่องจากหายากมาก ได้แต่เฝ้ามองครับ ตกเหรียญละเกือบ 40,000 บาท เพราะถือว่า ไปแล้วได้กลับ เป็นเหรียญปลอดภัยเหรียญหนึ่งทีเดียวเพิ่มในห้องนี้ครับ เหรียญรูปเสมา มีห่วงด้านบน ด้านหน้า : รูปพระมหามงกุฎ มีตัว ร ประดับด้วยฉัตร 7 ชั้น ด้านหลัง : มีข้อความ "พระราชทาน สำหรับงาน พระราชสงคราม ๒๔๖๐" เป็นเงิน ขนาด กว้าง 25.25 มิลลิเมตร ยาว 32 มิลลิเมตร ส่วนภาพเหรียญที่เป็นเครื่องราชอิศริยาภรณ์ - ดูกระทู้ต่อไปของน้องเริงครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #255 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2557, 19:59:42 » |
|
พี่เหยง
ใช้เหรียญนี้ไหม ฯเหรียญงานพระราชสงครามยุโรป
ใช้อักษรย่อว่า ร.ส. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2461 สำหรับพระราชทานแก่ ผู้ไปพระราชสงครามในทวีปยุโรป คือสงครามโลกครั้งที่1 ลักษณะเป็นเหรียญเงินทรงกลม ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพักตร์เสี้ยว มีอักษรที่ริมขอบว่า รามาธิปติสฺยามินฺโท วชิราวุธวิสฺสุโต ด้านหลังมีรูปวชิราวุธมีรัศมี พานรองสองชั้น มีฉัตรสองข้าง และมีอักษรที่ริมขอบว่า งานพระราชทานสงครามในทวีปยุโรป พระพุทธศักราช 2461 ห้อยกับแพรแถบสีเลือดหมู มีริ้วสีดำสองข้าง กว้าง 3.5 เซนติเมตร เหรียญนี้มีชั้นเดียว ไม่มีประกาศนียบัตร ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย.
แต่ไม่มีภาพด้านหลังของเหรียญครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #256 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 08:54:10 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #257 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 08:58:17 » |
|
จากอุโมงค์ใต้กำแพงเบอร์ลิน สู่อุโมงค์ในกรุงเทพฯ
ราล์ฟ คาบิช ตัดสินใจว่าเขาต้องทำอะไรบางอย่างหลังจากเขาและครอบครัวเดินทางกลับจากเมืองกอร์ลิตซ์ ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในเยอรมันตะวันออกติดกับชายแดนประเทศฮังการี ในราวเดือนพฤษภาคม 1964
ในยุคนั้นถึงแม้เยอรมันถูกแยกออกเป็นสองส่วนแล้วก็ตาม แต่ชาวเยอรมันตะวันตกยังได้รับอนุญาตให้เดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องในฝั่งตะวันออกได้ด้วยการใช้หนังสือเดินทางพิเศษ แต่ชายแดนสู่ตะวันตกถูกปิดตายสำหรับชาวบ้านฝั่งตะวันออก
“ด้วยความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ไร้เสรีภาพ และเต็มไปด้วยการกดขี่ ญาติพี่น้องผมไม่มีทางมีชีวิตรอดได้เลยถ้ายังอยู่ในฝั่งตะวันออกต่อไป” ราล์ฟยังจำความรู้สึกตัวเองขณะนั้นได้
สิ่งแรกที่ราล์ฟทำหลังจากเดินทางกลับมาเบอร์ลินตะวันตกคือการหาใครก็ตามที่สามารถช่วยญาติพี่น้องของเขาได้ โชคชะตาพาให้ราล์ฟไปพบกับนักศึกษาคนหนึ่งที่เป็นแกนหลักในขบวนการช่วยเหลือชาวเยอรมันตะวันออกลี้ภัยมาฝั่งตะวันตก “ผมไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าเขาเป็นใคร แต่ทันทีที่ผมเอ่ยปาก เขาตอบทันทีว่า ผมคิดว่าผมสามารถทำอะไรบางอย่างที่ช่วยคุณได้” ราล์ฟยังจำครั้งแรกของการพบปะกับนักศึกษากลุ่มนี้ได้
ไม่กี่วันหลังจากนั้นราล์ฟก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักศึกษาประมาณ 20-25 คน ที่ร่วมกันสร้างวีรกรรมที่ถูกจารึกเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กำแพงเบอร์ลินมาจนถึงทุกวันนี้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #258 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 08:59:35 » |
|
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ราล์ฟและเพื่อนจะช่วยญาติๆ ให้ออกจากเบอร์ลินตะวันออกด้วยการหนีข้ามกำแพง มันสูงกว่าสามเมตร เป็นกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กที่วิ่งตลอดแนวแบ่งเขตแดนเกือบ 160 กม. แถมยังกั้นด้วยรั้วลวดหนาวอีกชั้น และยังมีป้อมยามและยามรักษาการณ์ตลอดแนว มีชาวเยอรมันตะวันออกนับสิบแล้วที่กลายเป็นศพขณะพยายามหนีข้ามกำแพง
เพราะฉะนั้นราล์ฟและเพื่อนจึงต้องคิดค้นวิธีที่ฝั่งตะวันออกนึกไม่ถึง นั่นคือการหนีด้วยการลอดใต้กำแพง และทางเดียวก็คือการขุดอุโมงค์
เกือบหกเดือนเต็มๆ ระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม 1964 นักศึกษาหนุ่มกว่า 20 คน ช่วยกันใช้เครื่องมือทุกอย่างขุดอุโมงค์ลอดใต้กำแพงจากฝั่งเบอร์ลินตะวันตกไปสู่ฝั่งตะวันออก
เป็นที่รู้กันดีว่าทุกความเคลื่อนไหวของชาวเบอร์ลินจะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากตำรวจลับของรัฐบาลเยอรมันตะวันออกที่สร้างเครือข่ายการข่าวไว้ในทุกวงการ เพราะฉะนั้นราล์ฟและเพื่อนตระหนักดีว่าจะต้องทำให้ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นความลับมากที่สุด แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
ปฏิบัติการนี้เริ่มจากการหาจุดที่จะเป็นปากอุโมงค์ ซึ่งโชคดีที่สามารถได้ร้านทำขนมปังเก่าร้านหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากกำแพงไม่มากนัก แต่ที่ยากคือการหาจุดที่จะเป็นปลายอุโมงค์ที่อยู่ฝั่งตะวันออก แต่ในที่สุดด้วยการประสานงานกับผู้ร่วมขบวนการในฝั่งตะวันออก ก็ได้บ้านเช่าหลังหนึ่งที่ดูแล้วน่าจะปลอดภัย
ราล์ฟเล่าให้ฟังว่า การขุดอุโมงค์ต้องทำในเวลางกลางคืนเท่านั้น เพราะกลางวันทุกคนต้องไปเรียนและพบปะผู้คนตามปกติเพื่อไม่ให้เกิดความสงสัย ที่สำคัญตำรวจลับฝั่งตะวันออกจะเฝ้ามองด้วยกล้องส่องทางไกลมายังฝั่งตะวันตกตลอดเวลาเพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวที่น่าสงสัย เวลาจะเข้าไปในบ้านก็ต้องแยกกันเข้าเป็นกลุ่มเล็กๆ ทีละสองสามคนเพื่อให้ดูเหมือนกับว่ากำลังเข้าบ้านเลี้ยงสังสรรค์กัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #259 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 09:00:48 » |
|
“อุโมงค์ที่เราขุดมีขนาดพอที่จะให้คนรอดผ่านได้ เพราะถ้าขุดใหญ่เกินไป เราก็ไม่รู้ว่าจะเอาดินและทรายที่ขุดขึ้นมาไปทิ้งที่ไหน” ราล์ฟเล่าถึงปฏิบัติการ ซึ่งในระหว่างนั้น ดินและทรายจากการขุดอุโมงค์ต้องเอาไปเก็บไว้ในตู้ลิ้นชัก และเครื่องอบขนมปังเก่า
หลังจากขุดลงไปลึกประมาณ 12 เมตรและเจอะน้ำ ทีมงานก็เริ่มขุดเส้นทางตรงลอดใต้กำแพงไปยังจุดเป้าหมายฝั่งตะวันออก ในที่สุดในกลางเดือนตุลาคมปฏิบัติการขุดอุโมงค์ความยาวทั้งสิ้น 145 เมตรก็สำเร็จ ราล์ฟและเพื่อนกำลังเข้าสู่ปฏิบัติการขั้นที่สอง ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง
ผู้ร่วมขบวนการในฝั่งตะวันออกเริ่มส่งสัญญาณไปยังผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นผู้ลี้ภัย ราล์ฟและทีมงานได้เตรียมรายชื่อของทุกคนไว้หมดแล้ว แต่การเคลื่อนไหวต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะตำรวจลับที่นั่นหูตาเป็นสับปะรด
บ้านเลขที่ 55 คือจุดนัดพบ เป็นจุดที่อุโมงค์จากฝั่งตะวันตกโผล่ขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางหลบหนี
“ผู้ลี้ภัยทุกคนจะได้รับการนัดแนะเวลาเพื่อเดินทางไปที่จุดนัดพบ เมื่อถึงหน้าบ้านเลขที่ 55 ก็จะเคาะประตู พร้อมเอ่ยรหัสลับ คือคำว่า โตเกียว” ราล์ฟยังจำรายละเอียดทุกอย่างได้เป็นอย่างดี
มีคำถามแน่นอนว่าทำไมต้องเป็นคำว่า “โตเกียว”
“ปีนั้นเป็นปีที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก โดยจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว เพราะฉะนั้นเราจึงเอาคำที่จำง่ายที่สุด เพราะอย่าลืมว่าในภาวะแบบนั้น ทุกคนจะอยู่ในภาวะกดดันและตื่นเต้น เราต้องเอารหัสลับที่ไม่ซับซ้อนเกินไป” ราล์ฟเฉลย
สองคืนเต็มๆ ที่ชาวเยอรมันตะวันออก 50 คน ซึ่งมีทั้งเด็ก ผู้หญิง คนหนุ่มสาว และผู้สูงอายุ ค่อยๆ ทยอยกันลอดใต้อุโมงค์ไปสู่เสรีภาพฝั่งตะวันตก ทุกอย่างดูจะเป็นไปตามแผนหมด แต่ในคืนที่สามเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #260 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 09:05:06 » |
|
ตำรวจลับของเยอรมันตะวันออกค้นพบแผนการหลบหนี และบุกเข้าไปในบ้านเลขที่ 55 ขณะที่ผู้ลี้ภัยกลุ่มสุดท้ายกำลังหย่อนตัวลงไปในอุโมงค์ เกิดการต่อสู้กันขึ้น นักศึกษาคนหนึ่งยิงใส่ตำรวจเยอรมันตะวันออก
“ตำรวจคนนั้นได้รับบาดเจ็บ แต่วันรุ่งขึ้นรัฐบาลเยอรมันตะวันออกประโคมข่าวว่าเพราะถูกนักศึกษายิงเสียชีวิต แต่การสอบสวนภายหลังพบว่าเขาตายเพราะลูกหลงจากตำรวจด้วยกันเอง” ราล์ฟเล่าถึงนาทีตื่นเต้น
ราล์ฟทราบภายหลังว่า ที่ตำรวจลับล่วงรู้ถึงปฏิบัติการนี้ก็เพราะมีสายลับแฝงตัวเข้าไปอยู่ในกลุ่มผู้ร่วมขบวนการนี้ด้วย
เหตุการณ์ในคืนนั้นทำให้ปฏิบัติการของราล์ฟและเพื่อนต้องปิดฉากลง “แต่ยังดีที่เราได้ช่วยญาติๆ และเพื่อนๆ 57 คน ให้ได้พบกับเสรีภาพ” ราล์ฟพูดถึงจำนวนคนที่ช่วยออกมาได้
ถึงแม้เหตุการณ์นั้นจะผ่านมาแล้วถึง 50 ปี แต่คนเยอรมันก็ไม่เคยลืมวีรกรรมอันกล้าหาญของเด็กหนุ่มกลุ่มนั้น ถึงแม้จะไม่เหลือเค้าโครงเดิม บ้านเลขที่ 55 ก็ยังได้รับการรักษาไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจคนรุ่นหลัง
ทุกวันนี้ ปฏิบัติการ “อุโมงค์ 57” ก็ยังเป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกขบวนการของราล์ฟและเพื่อน และยังเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการกลางแจ้งเกี่ยวกับความโหดร้ายของกำแพงเบอร์ลิน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #261 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 09:06:10 » |
|
ไม่น่าเชื่อว่าหลังเหตุการณ์นั้น 38 ปี ราล์ฟยังต้องมาขุดอุโมงค์อีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นอุโมงค์ในกรุงเทพฯ และไม่ใช่เพื่อการหลบหนี แต่เพื่อเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดิน
“เมื่อมองย้อนกลับไป ผมถือว่าการขุดอุโมงค์ลอดใต้กำแพงเบอร์ลินเป็นการฝึกงาน” ราล์ฟเล่าติดตลก
ราล์ฟใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ สองปีระหว่าง 2002-2004 ในฐานะวิศวกรโยธาดูแลฝ่ายปฏิบัติของบริษัทซีเมนส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทที่สร้างระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจถ้าเขาจะรู้จักเส้นทางรถไฟใต้ดินของบ้านเรามากกว่าคนไทยทั่วไป
ราล์ฟ ซึ่งปัจจุบันอายุ 72 ปี และครอบครัวยังกลับมาเที่ยวเมืองไทยเป็นระยะๆ เขาหลัก จ.พังงา เป็นสถานที่เที่ยวที่ราล์ฟโปรดปรานมากที่สุด
เขาไม่เคยรู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 50 ปีที่แล้วให้ทุกคนที่สนใจฟัง เพราะราล์ฟเชื่อว่ามันจะช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นถึงความเลวร้ายของสงครามและการปกครองประเทศแบบเผด็จการ เพื่อที่ความเลวร้ายแบบนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก
---------------------------------------------
(หมายเหตุ : จากอุโมงค์ใต้กำแพงเบอร์ลิน สู่อุโมงค์ในกรุงเทพฯ : เทพชัย หย่อง รายงาน)
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #262 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 09:20:59 » |
|
ภาพเหรียญ อยู่ด้านบนครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #263 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 14:01:11 » |
|
หนังสือเล่มนี้น่าสนใจนะครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #264 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 14:42:04 » |
|
ภาพสมัยที่ยังไม่มีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ด้านประตูชุมพล
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #265 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 18:10:30 » |
|
ต้องตามไปชิม....ไม่ไกลจากบ้านนัก
ฮือฮา ก๋วยเตี๋ยวปทุมธานีชามละ 6 บาท คนแน่นร้านทุกวัน เผยขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 800 ชาม เสาร์-อาทิตย์ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชาม
วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบก๋วยเตี๋ยวในราคา 6 บาท แม้ราคาสินค้าต่าง ๆ จะขึ้นราคาตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันก็ตาม ทราบชื่อเจ้าของร้านคือ น.ส.มานัส บุญตา อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 87 ซอยสมประสงค์ 8 ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่ง น.ส.มานัส บอกว่า ตนขายก๋วยเตี๋ยวมา 18 ปีแล้ว เมื่อ 3 ปีก่อนตนขายในราคา 5 บาท เพราะอยากให้เด็ก ๆ ซื้อหารับประทานได้
ต่อมาปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ จึงเพิ่มราคาเป็น 6 บาท เพราะราคาสินค้าแพงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ก็ยังสามารถขายได้กำไรอยู่ ปริมาณวัตถุดิบที่ใส่ในแต่ละชามก็ยังคงเท่าเดิมไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด และมีลูกค้ามาอุดหนุนมากทุกวัน ซึ่งทุกวันนี้ขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 800 ชามต่อวัน หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ จะขายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชาม
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #266 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2557, 23:43:09 » |
|
มีคนเปรียบเทียบให้ฟังครับ.........
เขาบอกว่า กาแฟรถเร่ (จยย.สองล้อเครื่องมีข้างอีก 1 ล้อ) แก้วละ 20 บาท กำไรครึ่ง/ครึ่ง แล้วกาแฟสตาร์บั๊ค, กาแฟนกแก้ว อเมซอน แก้วละ 55 - 65 บาท กำไรเท่าไหร่ ??
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #268 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2557, 20:49:47 » |
|
พรุ่งนี้ไปงานหอฯช่วงภาคกลางคืน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #270 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2557, 16:20:37 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #271 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2557, 16:32:34 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #272 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2557, 16:43:04 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #273 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2557, 16:47:33 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #274 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2557, 16:56:25 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #279 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2557, 14:28:03 » |
|
น้องเริง แม้จะไปร่วมงานหอทั้งสองช่วงแต่ก็สู้มาดูในเวป ตามครูไปเที่ยวไม่ได้ เห็นภาพตึกหอใหม่และๆอาคารอื่น ดีจริง วัดชลอ ชื่อนี้มีความหมาย ที่มาอย่างไรค่ะดูจากอายุวัดตั้ง257 ปีมาแล้ว
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #280 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2557, 14:45:46 » |
|
ครับ
ประวัติวัดชลอ วัดชลอ ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ริมถนนบางกรวย-ไทรน้อย วัดนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. ๒๓๐๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จทางชลมารคมาตามลำน้ำเจ้าพระยาผ่านเมืองนนทบุรีเรื่อยมาทางคลอง "ลัด" ในปัจจุบันเรียกว่า "คลองบางกรวย" พระองค์ทรงเห็นว่า ที่ตรงนี้น่าจะมีการสร้างวัดขึ้นมาสักวัดหนึ่ง แต่เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเคยมีเรือสำเภาจากเมืองจีนล่มและจมลง มีลูกเรือล้มตายมาก มีความเชื่อว่าเป็นที่อาถรรพ์ ในระหว่างการก่อสร้างก็มีอุปสรรคนานัปการ จึงทรงเสี่ยงสัตยาธิษฐานกับเทพยดาและมีพระสุบินนิมิตไปว่า ชายจีนชรามากราบทูลว่า ต้องสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภาเพื่อการแก้เคล็ด จึงทรงสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้พระราชทานนามวัดดังกล่าวว่า "วัดชลอ" วัดชลอถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาโดยตลอด เพิ่งจะมีพระภิกษุมาจำพรรษาในรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 4
หมายเหตุ อุโบสถแอ่นเป็นท้องเรือสำเภา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #281 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2557, 18:39:49 » |
|
ฮิตเลอร์ ในด้านอื่นที่เป็นไปได้ ?
จากหนังสือพิมพ์ M2F วันที่ 19พย.
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #284 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2557, 18:59:10 » |
|
กศน.ไคโรจัดโครงการ'ศพยิ้มได้' เปิดโลกการศึกษามุสลิม ตอน: กศน.ไคโรจัดโครงการ'ศพยิ้มได้'
ในรั้วสถาบัน “อัลอัซฮัร” สถานสอนศาสนาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งยังมีนักศึกษาอีกหลายร้อยคนที่ไม่จบการศึกษาสามัญมาจากเมืองไทย ส่วนใหญ่จะจบสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 6 และมัธยมต้นโดยเฉพาะนักศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่เน้นหนักทางด้านศาสนา แต่ไม่ใช่ทางของตัวเองที่จะศึกษาด้านสามัญ พวกเขาจึงต้องพึ่งพา "ศูนย์การเรียนทางไกล” อีกหนึ่งสถานที่ที่สำคัญสำหรับนักศึกษาไทยในประเทศอียิปต์ ที่เดินทางมาศึกษาด้านศาสนากว่า 2,000 คน
แต่เมื่อมีการเปิดการศูนย์การศึกษานอกระบบ หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า “กศน.” ได้มาเปิดที่ไคโร ประเทศอียิปต์ ทำให้มีนักศึกษาเข้ามาศึกษาในระดับประถมจำนวนมาก เพราะมีนักศึกษาไทยซึ่งถือกำเนิดในต่างประเทศ ที่พูดไทย และเขียนไทยไม่ได้ การเปิดศูนย์การเรียน กศน. จึงเปิดโอกาสให้เด็กสัญชาติไทยในต่างแดนได้ศึกษาภาษาไทยทั้งการเขียน การพูด และการจัดกิจกรรม กศน.จึงเป็นหนึ่งสำนักงานส่งเสริมการศึกษาได้ดีทีเดียวในประเทศอียิปต์
เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสไปร่วมการทำกิจกรรมของกศน. ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญในพิธีกรรมด้านศาสนา งานนี้ "พีรศักย จันทวรินทร์" เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร และข้าราชการ ได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดพิธี “การสาธิตการอาบน้ำศพในศาสนาอิสลาม” หรือเราเรียกกันว่า “ศพยิ้มได้” ซึ่งเป็นการสอนเรื่องการอาบน้ำให้ศพ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเข้าสู่วิธีการฝัง จากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก
"กิตติพร ฤทธิ์โต" นักศึกษามัธยมตอนปลาย บอกว่า รู้สึกได้เลยว่าวันนี้ได้รับความรู้เรื่องศาสนาอีกเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด และเป็นความรู้ที่ดูไปพร้อมการปฏิบัติ โครงการดีๆ และมีประโยชน์ต่อสังคมในวันข้างหน้า ขอบคุณ กศน. ที่จัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ นอกจากได้รับความรู้แล้ว ยังทำให้ความคิดเปลี่ยนไป ในเรื่องการดำเนินชีวิตที่จะต้องระวังให้มาก เพราะอนาคตที่แท้จริง ที่เราทุกคนต้องพบคือ วันตาย ซึ่งต้องทำความดีในทุกวันให้ตัวเองและสังคม ขอบคุณโครงการศพยิ้มได้ ที่ทำให้ผมเองยิ้มได้ในวันนี้
กศน.แม้จะเป็นการเปิดเรียนให้สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในชั้นเรียนแบบเต็มหลักสูตร แต่เนื้อหาสาระไม่ต่างจากการเรียนเต็มหลักสูตรแม้แต่น้อย ที่สำคัญจะทำให้ก้าวหน้าและเป็นคนดีได้เช่นกัน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #286 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2557, 20:23:17 » |
|
ไปงานนี้
ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารสำนักงาน กศน.ทุกระดับ ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้แก่ครู นักศึกษา กศน.และประชาชนอย่างถูกต้อง ในการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันอภิปรายเรื่อง ประวัติศาสตร์ชาติไทย และความเป็นเอกราชของชาติไทย และเรื่องความเสียสละของบูรพมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวิทยากรบรรยาย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #287 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2557, 15:20:43 » |
|
โอ้โอ! ใช้เงินลงทุนเยอะจัง
"ยักษ์ใหญ่ "เซ็นทรัล" เดินหน้าสร้างความฮือฮาให้กับแวดวงธุรกิจเมืองไทยอีกครั้งเมื่อบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ฉายภาพแผนการลงทุนที่จะเกิดขึ้นใน 3 ปีนับจากนี้ถึง 8 สาขา รวมเงินลงทุนถึง 5.3 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการลงทุนครั้งนี้เซ็นทรัลได้ให้ความสำคัญกับโคราช หัวเมืองสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่แพ้กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีกำลังซื้อมหาศาล เดินเกมยึดตลาดเต็มรูปแบบ ด้วยการตัดสินใจลงทุนรองรับอนาคตบนที่ดินทั้ง 2 แปลงยักษ์
ในช่วงต้นปี "กลุ่มเซ็นทรัล" ได้ประกาศแผนลงทุน 7,000 ล้านบาท เปิดโครงการเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา บริเวณถนนบายพาสเส้นเลี่ยงเมือง บนพื้นที่ 52 ไร่ และกำหนดเปิดให้บริการในต้นปี 2559 ต่อมาในเดือนเมษายนเซ็นทรัลได้กว้านซื้อที่ดินแปลงใหม่ 70 ไร่บนถนนมิตรภาพ ทำเเศรษฐกิจหลักของโคราช ย้ายพื้นที่การก่อสร้าง มาอยู่บนถนนเส้นเดียวกันกับเดอะมอลล์ เทอร์มินอล 21 แม็คโคร และบิ๊กซี"
เขาใจดีให้ทุนการศึกษา แต่ต้องทำงานกับเขา
บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด มอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2558 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จำนวน 500 ทุน
หลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร นักศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หรือหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต และมีงานในกลุ่มธุรกิจ CRC รองรับทันทีที่สำเร็จการศึกษา
คุณสมบัติของผู้สนใจ 1. อายุไม่เกิน 25 ปี มีบุคลิกภาพดี 2. สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6, ปวช., ปวส, (มหาวิทยาลัยบูรพา รับเฉพาะสายวิทย์-คณิต และศิลป์-คำนวณเท่่านั้น) 3. เกรดเลี่ยสะสมตั้้งแต่ 2.75 ขึ้นไป 4. สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว 5. สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดหลักสูตร
สถาบันอุดมศึกษา 12 แห่งที่เข้าร่วมโครงการกรุงเทพฯ และปริมณฑล - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ - มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ต่างจังหวัด - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา - มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา - มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.centralsmartjobs.com และสมัครด้วยตนเองที่ มหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการ หรือส่ง E-mail : youngretailer@central.co.th หรือส่งไปรษณีย์มาที่ ศูนย์บริการการศึกษา (สมัครรับทุนเรียนฟรี) บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เลขที่ 306 อาคารเซ็นทรัลสีลมทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #291 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2557, 20:26:55 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #293 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2557, 20:45:12 » |
|
และวัดชนะสงคราม
วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพที่ทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2328 และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #294 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2557, 14:22:11 » |
|
ปีนัง. จาก..เดลินิวส์
“ปีนัง” เดิมชื่อ “เกาะหมาก” เป็นส่วนหนึ่งของรัฐปีนัง 1 ใน 13 รัฐของมาเลเซีย ดินแดนที่ได้รับสมญานามว่า “ไข่มุกแห่งตะวันออก” เพราะเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวเป็นอันดับต้น ๆ ของมาเลเซีย มีเมืองหลวงเป็นหนึ่งในเมืองมรดกโลกอย่าง “จอร์จทาวน์”
เสน่ห์ของเมืองจอร์จทาวน์ อยู่ที่ความโดดเด่นทางวัฒนธรรม อาหาร และสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งรวมผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งจีน มาเลย์ อินเดีย และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ โดยสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้มากที่สุดคือการตามหา “สตรีตอาร์ต” ภาพวาด 3 มิติ ที่แฝงอยู่บนถนนแทบทุกเส้นในเมืองจอร์จทาวน์ ผลงานของ นายเออร์เนสต์ ซาคาเรวิก ศิลปินชาวลิทัวเนีย เป็นภาพวาดตามผนังกำแพงและศิลปะเหล็กดัดในรูปแบบภาพ 3 มิติ สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น
ความโดดเด่นของจอร์จทาวน์ คือสถาปัตยกรรมอายุร้อยกว่าปี อาคาร บ้านเรือนแบบคลาสสิกสไตล์ชิโนโปรตุกีสคล้ายเมืองภูเก็ต ซึ่งหากลองนั่งพาหนะท้องถิ่นเป็นสามล้อถีบพื้นเมืองก็จะได้อารมณ์ไปอีกแบบในการชมความงามของทัศนียภาพเมืองเก่าที่มีเสน่ห์แปลกตา
มนต์เสน่ห์ของเมืองมรดกโลกปีนังเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่ยากจะอธิบาย ทำให้ปีนังกลายเป็นสถานที่สุดพิเศษหลากอารมณ์ เหมาะสำหรับการเที่ยวชมเก็บความทรงจำ สัมผัสมนต์ขลังที่จะไม่มีวันลืม “ปีนัง"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #295 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2557, 13:20:49 » |
|
ทรงพระเจริญ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #296 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2557, 18:22:03 » |
|
พระเจ้ากรุงธนบุรี
"ในปัจจุบันพระราชวังเดิมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือและผู้บริหารพิพิธภัณฑ์คือมูลนิธิสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งมีการบริหารจัดการที่ทันสมัย เช่นมีของที่ระลึกจำหน่ายตามแบบพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ทั่วไป ตัวพระราชวังเดิมมีความร่มรื่น ได้รับการดูแลภูมิทัศน์อย่างดี เป็นอีกแห่งที่น่าเข้าเยี่ยมชม
อาคารท้องพระโรง:เป็นทรงไทยก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยพระที่นั่งองค์ทิศเหนือและองค์ทิศใต้เชื่อมต่อกัน ปัจจุบันเป็นสถานที่จัดงาน ประกอบพิธีสำคัญ รับรองบุคคลสำคัญและห้องประชุม
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าพิพิธภัณฑ์ใดจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้นอยู่กับหน่วยราชการที่สังกัดซึ่งมีงบประมาณและบุคลากรเพียงพอคอยดูแลอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแห่งนี้ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ หรือวังจิตรลดาในบริเวณวังปารุสกวันซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ในที่นี้ว่า __วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี___ พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม ในวันอื่นๆ หากต้องการเข้าชมต้องทำจดหมายเป็นหมู่คณะถึงกองทัพเรือ
ผู้ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและอ่านข้อมูลต่างๆจะค่อยๆซึมซับคุณูปการของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีต่อชาติไทยทุกวันนี้ การทำศึกตลอดระยะเวลายาวนาน 15 ปีเพื่อรักษาและขยายอาณาเขตของไทยเพื่อส่งต่อให้กับราชวงศ์จักรี
ในสมัยของพระองค์อาณาเขตของประเทศไทยทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนาทิศใต้จรดเมืองไทรบุรี ทิศตะวันออกจรดญวณใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเวียงจันท์ หัวเมืองพวน และหลวงพระบาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดเมืองพุทไธมาศ ทิศตะวันตกจรดมะริดและตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย
จุดเด่นของพระเจ้ากรุงธนบุรีคือความเป็นนักรบ แต่จุดด้อยคือความเป็นนักปกครอง และจุดอ่อนอีกประการหนึ่งคือชาติกำเนิดซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จุดด้อยและจุดอ่อนสองประการหลังนั้นได้พาท่านไปสู่จุดจบของแผ่นดิน
ความเป็นนักรบความกล้าหาญและความเสียสละของท่านทำให้พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นวีรบุรุษในดวงใจของคนไทย แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสรรเสริญยิ่งคือการรู้จักเวลาของตนเอง " ..จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #297 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2557, 18:36:28 » |
|
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม ปีนี้ หากไม่มีภารกิจ จะไปเยี่ยมชมวัดแจ้งและพระราชวังเดิมแห่งนี้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #298 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2557, 18:51:25 » |
|
บูรณะวัดแจ้ง
วันนี้(4ธ.ค.)พระศากยปุตติยวงศ์ (ต่อศักดิ์ สุนฺทรวาที) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กล่าวว่า วัดอรุณฯได้รับงบประมาณโครงการบูรณะศาสนสถานภายในวัดที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้การสนับสนุนจากทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินการบูรณะพระอุโบสถวัดอรุณฯ ซึ่งมีความทรุดโทรม โดยขณะนี้ทางวัดได้ดำเนินการบูรณะเครื่องชุดประกอบบนหลังคาพระอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางวัดจึงใช้โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค.2557 จัดพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดอรุณฯ
ทั้งนี้พระอุโบสถวัดอรุณฯ เคยมีการบูรณะครั้งใหญ่มาแล้ว 1 ครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และครั้งนี้ถือเป็นการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 9 โดยงบฯที่ทางสำนักงานทรัพย์สินฯ จะนำมาดำเนินการบูรณะศาสนสถานตามโครงการดังกล่าวนั้น คาดว่าจะต้องใช้งบฯ 400 ล้านบาท โดยจะนำไปบูรณะพระอุโบสถ พระวิหารหลวง หอไตร 2 หลัง มณฑปพระพุทธบาทจำลอง และประตูซุ้มยอดมงกุฏ ตลอดจนการปรับภูมิทัศน์โดยภาพรวม จะเริ่มจากการบูรณะพระอุโบสถก่อน
ในส่วนขององค์พระปรางค์วัดอรุณฯนั้น ทางกรมศิลปากรได้เข้ามาดำเนินการบูรณะ โดยรัฐบาลอนุมัติงบฯในการดำเนินการบูรณะ 150 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในระหว่างการบูรณะองค์พระปรางค์ประกอบซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 จากนั้นในปี 2559 จะมีการบูรณะองค์พระปรางค์หลักต่อไป..ข่าวเดลินิวส์
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #299 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2557, 23:21:17 » |
|
วันนี้
ช่วงเช้า อยู่ที่ ตลาดซอย 2 เมืองนครปฐม (ถนนทิพากร ซอย 2) วันนี้ถือเป็นวันสุกดิบ ของการซื้อเสื้อเหลือง พรุ่งนี้ 5 ธ.ค. ใส่เสื้อเหลืองทั้งประเทศ
พบผู้คนเลือกซื้อเสื้อเหลืองหลายรูปแบบ เสียดายที่ถ่ายแบตฯของกล้องหมดพอดี) สินค้าเสื้อสีเหลืองหลายหลาก ขายดี แถมราคาค่อนข้างแพงด้วย
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #303 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2557, 08:29:30 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #304 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2557, 08:57:49 » |
|
โลกโซเชียลแชร์ภาพพระอาทิตย์ทรงกลด เหนือพระสาทิสลักษณ์ในหลวง ครูถ่ายภาพได้สุดปลื้ม!
วันที่ 5 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ในโลกออนไลน์ เฟซบุ๊กชมรมคนรักมวลเมฆ ได้แชร์ ภาพพระอาทิตย์ทรงกลด เหนือพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว ในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ กันเป็นจำนวนมาก โดยบันทึกถ่ายภาพได้ในวันเฉลิมพรรรษา 87 พรรษา
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #305 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2557, 10:57:18 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #306 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2557, 13:21:12 » |
|
ขอแสดงความยินดีกับคุณพ่อตัวอย่างค่ะน้องเริง ชอบรูปพิธีต่างๆจัง เลือดข้าราชการยังเข็มอยู่ พี่ต้อยน่ะ วันมหามงคล 5 ธ.ค กลางวันพระอาทิตย์ทรงกลด กลางคืนพระจันทร์ก็ทรงกลดด้วย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #307 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2557, 17:41:25 » |
|
ครับ พี่เหยง พี่ต้อย
ยังไม่อยากจบเรืองคลองเจดีย์บูชา ๕ ๕
ร. ๔ ได้ทรงขุดคลองมหาสวัสดิ์จากกรุงเทพฯเพื่อย่นระยะทางและเวลาจากกรุงเทพฯไปองค์พระปฐมเจดีย์ด้วยเช่นกัน
มีรายละเอียดตามที่ค้นคว้ามาว่า
"คลองมหาสวัสดิ์ หรือ คลองชัยพฤกษ์ เป็นคลองที่เริ่มต้นจากคลองลัดบางกรวยหรือคลองบางกอกน้อย ใกล้วัดชัยพฤกษมาลา ไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับเขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผ่านอำเภอพุทธมณฑล ไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมความยาว 28 กิโลเมตร
คลองสายนี้เริ่มขุดตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2402 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อย่นระยะทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ หลังจากที่ทรงให้ขุดคลองเจดีย์บูชา เมื่อ พ.ศ. 2401 โดยจากแม่น้ำนครชัยศรีไปจนถึงองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว"
อาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงการ 1 และ 2 ต่อกันไปเลยครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #312 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2557, 18:27:59 » |
|
พายเรือขายของ อย่าให้หมดไป..เด็ดขาด เป็นวิถีชีวิตที่ยังคงอยู่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #313 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2557, 18:35:32 » |
|
สายๆจะมีเรือขายก๋วยเตี๋ยวด้วยครับ
นอกจากนั้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวยที่เป็นชุมชนใหญ่ จะมีเรือหางยาวโดยสารจากคลองมหาสวัสดิ์ที่กำหนดเวลาเช้า และเย็นไปและกลับท่าช้างที่กรุงเทพฯด้วย ไม่ได้ถ่ายภาพมา
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #315 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2557, 19:18:40 » |
|
จันทบุรีอากาศเย็น ลมพัดสดชื่นดี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #316 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2557, 16:18:54 » |
|
ที่ท่าเรือของชุมชน เรือกลับจากจับกุ้งปลามาตอนเช้ามืดแล้ว คืนนี้จะไปจับกุ้ง ปลาที่โพงพางอีก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #322 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2557, 18:40:03 » |
|
จุฬาฯ แจงเหตุ สั่งนิสิตหอพักออกทั้งหมด เพราะต้องจัดกีฬานักเรียนสาธิตฯ
กรณีที่มีกระทู้พันทิปตั้งคำถามถึงกรณีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศให้นิสิตหอพักของมหาวิทยาลัยเก็บของเเละย้ายออกจากหอพัก เนื่องจากทางโรงเรียนสาธิตจุฬา ได้เป็นเจ้าจัดงานกีฬาสาธิตสามัคคี วันที่ 17 - 28 ธันวาคมจึงทำให้ต้องมีนักกีฬาจำนวนจากโรงเรียนสาธิตทั่วประเทศไทยมาพักที่จุฬา ซึ่งได้ใช้หอพักของนิสิตจุฬาเป็นที่พักแก่นักกีฬาทั้งหมดถึง 3,800 คน ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ ทำให้มีนิสิตที่เดือดร้อนเป็นจำนวนมากเพราะว่าไม่มีที่อยู่ โดยทางหอพักประกาศให้นิสิตที่สามารถอยู่หอได้คือนิสิตที่ฝึกงานหรือติดการฝึกสอนอยู่เท่านั้น และให้อยู่รวมกันห้องละ 7 คน จากปกติที่สามารถรองรับได้เพียง 4 คน โดยจากคำสั่งดังกล่าวทำให้ นิสิตจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เพราะต้องขนของออกจากหอนำไปเก็บไว้ที่อื่น ซึ่งนิสิตหอพักส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด หลายคนไม่มีญาติในกรุงเทพฯ
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศ ชี้แจง ปัญหาดังกล่าว โดยระบุว่า การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคีครั้งนี้เป็นความจำเป็น เเละถือเป็นศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย โดยนักกีฬาฯของโรงเรียนสาธิตฯทุกคนที่จะเข้าร่วมถือเป็น "แขกคนสำคัญฯ" ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ หอพักของมหาวิทยาลัย ถือเป็นสวัสดิการของนิสิตจุฬาฯ และในกระบวนการคัดเลือกก็มีเงื่อนไขระบุชัดเจนว่า นิสิตต้องปฏฺบัติตามระเบียบของหอพัก และต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตในด้านต่างๆ รวมถึงนิสิตจะต้องย้ายออกจากหอพักนิสิตในวันถัดจากวันปิดภาคการศึกษา โดยนิสิตที่จะสมัครเข้าหอพักต้องยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวอยู่แล้ว หากไม่สามารถปฏฺบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ ก็ต้องออกไปอยู่อาศัยในหอพักเอกชนที่ไม่เคร่งครัดกับระเบียบดังกล่าวเพื่อ เปิดโอกาสให้นิสิตอีกจำนวนมากที่ต้องการได้รับสวัสดิการนี้ นอกจากนี้ทางหอพักยังได้เเจ้งให้กับนิสิตหอพักทราบเพื่อเตรียมตัวย้ายออกจากหอพักล่วงหน้ากว่า 2 เดือนแล้ว ....ข่าวมติชน
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #323 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2557, 20:24:26 » |
|
ช่วงนั้นปิดเทอมมหาวิทยาลัยหรือค่ะ จริงซิเดี๋ยวนี้ปิดตามอาเซียน สมัยเราปิดเทอมก็กลับบ้านทิ้งหอเหมือนกัน บางคนไม่กลับก็ได้ อาทิตย์ที่ผ่านมาพาแขกแวะไปธารโบกอ่าวลึก แบบตามครูไปเที่ยวพอได้เห็น ส.ก บนแผ่นหิน ครั้งในหลวง ราชินีเสด็จ นานจริงๆ2502
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #324 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2557, 20:31:10 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #325 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2557, 20:34:31 » |
|
อ้าวรูปธารโบกอยู่ในเครื่องมือถือ นี่คือแหลมสัก ตำบลหนึ่งของอ่าวลึก เงียบๆเหมาะกับคนชอบทิวทัศน์ที่มองเห็นเกาะเล็กเกาะน้อย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #326 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2557, 19:57:34 » |
|
ภาพต้นไม้ชายทะเลหลังฝนดูดีได้ครับ. ฝีมือดี
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #327 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2557, 13:02:15 » |
|
หลายที่หลายจุดที่น่าสนใจในมุมของความเป็นอยู่ผู้คนแหลมสัก พี่ไม่ได้เก็บภาพมาค่ะน้องเริง ต้องใช้สายตาครูเริง เวลาออกไปข้างนอกบ้าน
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #328 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2557, 13:04:57 » |
|
เล่นน้ำได้ แต่เก็บตังส์ค่าเข้า เลยมีแต่วิว
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #329 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2557, 13:59:44 » |
|
ที่ไหนเนี่ย
ยังมีน้ำเยอะอยู่เลย
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #330 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2557, 14:50:36 » |
|
ธารโบกขรณีค่ะเหยง ก็คือน้ำตกน่าจะเป็นน้ำตกที่ไม่ต้องปีนป่าย ดั้นด้นเหมือนที่อื่น เป็นอุทยาน น้ำน่าเล่นมาก
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #331 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2557, 14:52:06 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #332 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2557, 14:54:02 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #333 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2557, 21:13:35 » |
|
มาอยู่หัวหิน 5 วัน. ถึงวันศุกร์ที่26 นี้ คงมีภาพตามมาครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #334 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2557, 20:29:34 » |
|
ช่วงปีใหม่จะไปพักที่ชะอำแกรนด์คอนโดเทลครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #335 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2557, 16:28:29 » |
|
ช่วงนี้ห้วหินอากาศเย็น ลมแรง คลื่นสูงครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #336 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2557, 07:59:04 » |
|
และยังคงเป็นเช่นนี้มาสี่วันแลัว ...คงเป็นเพราะทะเลเดียวกันที่ต่อมาจากทางใต้
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #337 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2557, 20:33:44 » |
|
ภาคใต้และรัฐกลันตันยังจมน้ำอยู่เลยครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #342 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2557, 10:09:04 » |
|
เมื่อวานนี้
อากาศเริ่มอบอุ่นขึ้นแล้ว ฝนในภาคใต้ลดลง แต่น้ำฝนสะสมอาจไหลลงมาท่วมในหลายพื้นที่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #343 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2557, 11:11:51 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #346 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2557, 16:22:23 » |
|
โผน กิ่งเพชร (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 — 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2525) ชื่อจริงว่า มานะ สีดอกบวบ ชื่อเล่น "แกละ" เป็นแชมป์
โลกชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ โผนเป็นนักมวยรูปร่างผอมบาง มีช่วงขาที่ยาว ถนัดขวา และเป็นแชมป์โลกชาวไทยคนแรกที่ได้ครองแชมป์โลก
ถึง 3 สมัย โผนถือเป็นตำนานของวงการมวยสากลคนหนึ่งของไทย วันที่โผนชิงแชมป์โลกได้ถูกกำหนดให้เป็นวันนักกีฬาไทย
และมีการสร้างอนุสรณ์สถานของเขาที่หัวหิน หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว 10 ปี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #347 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2557, 16:29:20 » |
|
การชิงแชมป์โลกของโผนได้กระทำต่อหน้าพระพักตร์ กับ ปาสคาล เปเรซ แชมเปี้ยนชาวอาร์เจนตินา ณ เวทีมวยลุมพินี เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503 โดยในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรด้วย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #348 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2557, 16:32:20 » |
|
ก่อนถึงวันชก มีการโปรโมตตามสถานที่ต่าง ๆ มีการแต่งเพลงเชียร์โผนเป็นการเฉพาะหลายต่อหลายเพลง เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุทั่วประเทศและตามรถแห่ เช่น เพลงเชียร์โผนที่ร้องโดยทำนองเพลงกราวกีฬาว่า
"....วันที่ 2 เมษา มหาฤกษ์ ชาวไทยเอิกเกริกกันทั่วหน้า โผนจะได้ชิงมงกุฎสุดโสภา เป็นมิ่งขวัญประชาชาติไทย ฮึม..ฮึม..ฮึม..หึ่ม..ฮึม...." (เลื่อนมาชกวันที่ ๑๖ เมษายน )
นอกจากนั้น คุณสุรพล โทณะวณิก ยังแต่งเพลงเชียร์โผนเป็นทำนองเพลงมาร์ชปลุกใจให้ฮึกเหิม โดยมี คุณมีศักดิ์ นาครัตน์ เป็นผู้ขับร้อง โดยมีเนื้อเพลงบางช่วงคือ...
"....เราเชียร์โผน...เราเชียร์โผน... เราเชียร์โผน..โผน...โผน...โผน...โผน เปเรซจะแข็งอย่างไร แต่โผนเลือดไทย.... ต้องเชียร์ไว้ดีกว่า....."
แต่ก็มีเด็ก ๆ ไปแปลงเนื้อเป็น " โผน กิ่งเพชร เปเรซกิ่งไผ่ โผนมือไว ต่อยไข่เปเรซ"
เด็กๆอย่างเราเมื่อ ๕๐ ปีก่อนก็พอจำได้อยู่ ๕๕๕
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #349 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2557, 20:19:09 » |
|
ช่วงนั้นพวกเราอายุยังไม่ได้ 5-6 ขวบ แต่มีการถ่ายเป็นภาพยนต์ 16 มิล เก็บไว้ฉาย ทั้งฉายในโรงและฉายหนังกลางแปลง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #350 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2557, 07:17:51 » |
|
ครับ. ตอนนี้หากพิมพ์คำว่าโผน. กิ่งเพชร. ในกูเกิ้ล. จะเจอการชกครั้งนั้นจากยูทูปด้วย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #351 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2557, 18:06:15 » |
|
พรุ่งนี้ วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม..จะไปวัดแจ้งและเยี่ยมชมพระราชวังเดิม
วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี___ พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม ในวันอื่นๆ หากต้องการเข้าชมต้องทำจดหมายเป็นหมู่คณะถึงกองทัพเรือ
ผู้ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและอ่านข้อมูลต่างๆจะค่อยๆซึมซับคุณูปการของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีต่อชาติไทยทุกวันนี้ การทำศึกตลอดระยะเวลายาวนาน 15 ปีเพื่อรักษาและขยายอาณาเขตของไทยเพื่อส่งต่อให้กับราชวงศ์จักรี
ในสมัยของพระองค์อาณาเขตของประเทศไทยทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ทิศใต้จรดเมืองไทรบุรี ทิศตะวันออกจรดญวณใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเวียงจันท์ หัวเมืองพวน และหลวงพระบาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดเมืองพุทไธมาศ ทิศตะวันตกจรดมะริดและตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย
จุดเด่นของพระเจ้ากรุงธนบุรีคือความเป็นนักรบ แต่จุดด้อยคือความเป็นนักปกครอง และจุดอ่อนอีกประการหนึ่งคือชาติกำเนิดซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จุดด้อยและจุดอ่อนสองประการหลังนั้นได้พาท่านไปสู่จุดจบของแผ่นดิน
ความเป็นนักรบความกล้าหาญและความเสียสละของท่านทำให้พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นวีรบุรุษในดวงใจของคนไทย แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสรรเสริญยิ่งคือการรู้จักเวลาของตนเอง " ..จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม
รอชมภาพนะครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #353 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2557, 19:26:45 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #354 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2557, 20:38:51 » |
|
ช่วงนี้คงไปเดินบริเวณนี้ไม่ได้ ที่จอดรถไม่มี คนเดินกันเยอะมาก-แน่นอน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #355 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2557, 15:45:40 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #356 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2557, 15:50:30 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #358 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2557, 18:36:13 » |
|
คั่นเวลา..โผน กิ่งเพชร จากไทยโพสต์ 28 ธันวาคม 57
เฟซบุ๊ก ต่อตระกูล ยมนาค" ไอ้แกละ.....ในหลวงมาแล้ว!......... "
ปี 2506 ในหลวงทรงฝ่าฝูงชนเข้าไปเชียร์ โผน กิ่งเพชร ป้องกันแชมป์โลก มวยรุ่นฟลายเวท
" ไอ้แกละ.....ในหลวงมาแล้ว!......... " พี่เลี้ยงโผนตะโกนจากข้างเวที
โผน ตอนนั้นผ่านมา 6 ยกแล้ว กำลังถูก ฮาราด้า นักชกหนุ่มจากญี่ปุ่นไล่ชกจนเกือบจะล้มลงกับพื้น เมื่อได้ทราบว่าในหลวงเสด็จมาแล้ว กลับมีกำลัง
ใจมหาศาล.......เรี่ยวแรงคืนมา กลายเป็น โผนกิ่งเพชรคนเก่าที่มีจังหวะและฝีมือที่เหนือกว่าหลอกล่อชกใบหน้าฮาราด้า จนแทบจะเป็นผู้ชกอยู่ข้าง
เดียว จนครบ15ยก จึงชนะคะแนนไป
คุณพ่อ ของผมซึ่งเป็นตำรวจราชองครักษ์ติดตามเสด็จในวันนั้นเล่าให้ผมฟังว่า......ความจริงทั้งในหลวงและสมเด็จฯ เสด็จมาก่อนตามกำหนดแล้ว
แต่ไม่สามารถเข้ามาถึงเวทีมวยได้ เพราะฝูงชนแห่กันมาเต็มสนามและล้นออกมารอบๆจนแทบจะเกิดจลาจล
ในหลวงจึงพาสมเด็จฯกลับไปส่งที่สวนจิตรลดา แล้วเสด็จกลับมาใหม่พระองค์เดียว....... แจ้งมาให้คุณพ่อผม นำเปิดทางท่านให้เข้าไปนั่งใน
ยิมเนเซียม 1 และไม่ต้องเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี เวลาเสด็จเข้ามา ทรงเข้ามาเงียบๆและได้ที่นั่งธรรมดาๆ อยู่แวดล้อมไปด้วยแฟนมวย ในกลาง
ยกที่7 .... หมายเหตุ สามปีต่อมาจากการชกกับเปเรซ ซึ่งชกที่เวทีมวยลุมพีนี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #359 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2557, 21:25:19 » |
|
วันนี้ 28 ธันวาคม วันตากสินมหาราช วันนี้ปกติจะเป็นวันพระราชทานเหรียญรามาธิบดี เฉพาะปีเลขคู่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #360 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2557, 08:13:09 » |
|
ค่ำนี้มีภาพต่อๆไป
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #361 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2557, 14:02:12 » |
|
ภาพหัวหินทุกยุค จนปัจจุบันน่าดูและมีเรื่องราว ชอบค่ะ ให้ดูซ้ำๆได้อย่างภาพร้านโขมพัตร ม้าที่ชายหาด
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #362 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2557, 18:41:47 » |
|
ครับ พี่ต้อย
ฝีมือคนไทยที่น่าภูมิใจ มีทุนทรัพย์ มีสมองและสองมือ สำเร็จได้
"โขมพัสตร์" สานตำนานผ้าพื้นเมืองของหัวหิน
ถ้าเอ่ยถึงชื่อร้าน โขมพัสตร์ หลายคนคงจะคุ้นเคยกันดี ในฐานะที่เป็นร้านขายผ้าฝ้ายพื้นเมือง เก่าแก่ตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และแม้จะผ่านเลยไปกี่ทศวรรษ "โขมพัสตร์" ก็ยังคงยืนหยัด อยู่คู่อำเภอหัวหินมาทุกยุคทุกสมัย โดยปัจจุบันได้แตกหน่อออกยอดเติบใหญ่ขึ้นอย่างงดงามน่าภูมิใจ
ม.ร.ว.ภรณี รอสส์
"คุณ กจง-อัสสยา คงสิริ ทิมบลิค" ทายาทรุ่นที่สามของราชสกุลกฤดากร ซึ่งเข้ามาช่วยสืบสานตำนานร้านโขมพัสตร์ให้ดูทันยุคทันสมัยขึ้น และเป็นผู้ดูแลโครงการโขมพัสตร์ วิลล่า มาร์เก็ต บริเวณใจกลางเมืองหัวหิน ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อปี 2551 เล่าถึงประวัติเก่าแก่ของร้านว่า "โขมพัสตร์" ถือกำเนิดตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยท่านตาคือ พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และท่านยายคือ หม่อมเจ้าหญิงผจง–รจิตร กฤดากร ได้ทรงสร้างโรงงานย้อมและพิมพ์ผ้าขึ้นที่หัวหิน บนพื้นที่ผืนเดียวกับที่ตั้งร้านปัจจุบัน แต่เป็นโรงงานเล็กๆมีคนงานเพียง 20 คน จำลองรูปแบบมาจากโรงงานที่ทรงเคยทำสมัยลี้ภัยการเมืองไปประทับที่ไซง่อน ประเทศเวียดนาม ทรงเลือกหัวหิน เพราะทรงมีที่ดินอยู่ แล้ว และทรงมีเจตนาให้ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
คุณกจง
สำหรับ ลายผ้าที่สวยงามมีเอกลักษณ์นั้น "คุณกจง" เล่าว่า ตั้งแต่แรกเริ่ม "โขมพัสตร์" จะเน้นการพิมพ์ลายไทยลงบนผ้าฝ้ายเป็นหลัก โดยท่านตาและท่านยายได้ ทรงศึกษาเรื่องลายไทยโบราณจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมัยก่อนทุกอย่างต้องเขียนด้วยมือทั้งหมด ท่านตาก็เป็นคนแรกๆของเมืองไทย ที่ประยุกต์นำระบบซิลค์ สกรีน พรินติ้ง มาใช้พิมพ์ลายผ้า เริ่มจากพิมพ์ลายไทยเพียงอย่างเดียว แล้วจึงทดลองพิมพ์ผ้าพันคอเป็นรูปภาพเมืองไทยต่างๆ เช่น ลายวัดอรุณ, เรือหงส์, บ้านชาวนา ปรากฏว่าขายดีมาก เลยดัดแปลงทำผ้ารองจานอาหาร กระทั่งท่านตาสิ้นพระชนม์ในปี 2496 ท่านยายได้รับสืบทอดกิจการต่อพร้อมขยายกิจการ และปรับปรุงโรงงานให้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ได้ประยุกต์ลายผ้าพิมพ์ และคิดค้นลวดลายใหม่ๆขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ต่อ มา เมื่อท่านยายอายุมากขึ้นได้ทรงมอบหมายให้ลูกสาวทั้ง 3 คน คือ คุณป้า ม.ร.ว.ภรณี รอสส์, คุณแม่ ม.ร.ว.อัจฉริยา คงสิริ และคุณน้า ม.ร.ว.วิภาสิริ วุฒินันท์ ช่วยดูแลกิจการต่อ โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ ของผ้าพิมพ์ลายไทยของหัวหินไว้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เรามีคนงานเพิ่มจาก 20 คน เป็น 80 คนแล้ว แต่ทุกอย่างก็ยังผลิตด้วยมือตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มจากการผสมสี, ทำกรอบเขียนลาย, ถ่ายลงกรอบ, ใช้มือพิมพ์ ยกเว้นขั้นตอนฟินิชชิ่ง คือซักรีดและอบผ้า ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
"คุณ กจง" ยืนยันว่า สินค้าของร้านเราอาจจะไม่ เพอร์เฟกต์ทุกชิ้น แต่ก็เป็นงานฝีมือเก่าแก่ที่หาได้ยาก ในยุคปัจจุบัน โดยลวดลายไทยโบราณ และลายพิมพ์ดั้งเดิมส่วนใหญ่ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย เช่น ลาย ดอกจิก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของร้าน, ลายเทพนม, ลายหัวโขน และลายผ้าเกี้ยวพิมพ์ทอง ที่นำไปใช้ตกแต่ง พระที่นั่งวิมานเมฆ ขณะเดียวกัน ก็มีการคิดค้นลวดลายและสีสันใหม่ๆออกมาต่อเนื่อง รวมถึงปรับปรุงสินค้า ให้หลากหลายขึ้น นอกเหนือจาก ผ้าตัดเสื้อ, ผ้าม่าน, ผ้าตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อประจำร้าน ในอนาคตตั้งใจว่าจะออกโปรดักส์ไลน์ใหม่ ที่ดูวัยรุ่นขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เด็กรุ่นใหม่หันมาใช้ผ้าฝ้ายของไทย ลองแล้วจะติดใจ เพราะยิ่งซักยิ่งนุ่มใส่สบาย ไม่หนาเทอะทะเหมือนสมัยก่อน แถมยังมีความยูนิคไม่ซ้ำใคร.....ไทยรัฐ
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #364 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2557, 19:41:05 » |
|
ของใหม่ อย่างจังซีลอน ป่าตองภูเก็ตก็ทำจำลองจากเรือเก่าสมัยโบราณ ให้คนนึกถึง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #365 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2557, 09:23:39 » |
|
เริง
มีภาพกำแพงวังเดิมที่กองทัพเรือจะรื้อไหม?
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #367 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2557, 14:57:08 » |
|
จังซีลอน สวยนะครับ น่าจะมีคนสนใจกันมาก
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #369 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2557, 07:10:53 » |
|
สวัสดีปีใหม่ทุกๆท่าน...ด้วยดอกไม้ที่บ้าน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #370 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2557, 08:02:06 » |
|
วัดแจ้ง เดิมเป็นวัดประจำพระราชวังแต่เมือได้รื้อกำแพงพระราชวัง จึงไม่ใช่แล้ว ทำให้มีพระประจำพรรษาได้
พระแก้วมรกตได้เคยประดิษฐานที่วัดนี้ ก่อนจะย้ายไปวัดพระแก้วในเวลาต่อมา... ตามนี้
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #372 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2557, 08:16:11 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #373 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2557, 08:24:12 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #374 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2557, 08:29:55 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #375 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2557, 08:36:55 » |
|
อุโบสถน้อยในวัด ..คนเยอะ ถ่ายได้เท่านี้ ถ่ายพระแท่นบรรทมของพระองค์ท่านไม่ได้
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #377 เมื่อ: 01 มกราคม 2558, 06:59:52 » |
|
ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารสำนักงาน กศน.ทุกระดับ ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้แก่ครู นักศึกษา กศน.และประชาชนอย่างถูกต้อง ในการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันอภิปรายเรื่อง ประวัติศาสตร์ชาติไทย และความเป็นเอกราชของชาติไทย และเรื่องความเสียสละของบูรพมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวิทยากรท่านนี้ ได้เล่าความจริงในประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าตากสินได้ตรัสกับร. ๑ ว่าจะทรงแกล้งเป็นบ้า และ ร. ๑ ไม่ได้ทรงประหาร
ชีวิตพระเจ้าตากสินพระองค์จริง นั่นตัวปลอม พระองค์จริงทรงไปผนวชที่ขุนเขาพนม นครศรีธรรมราช
เมื่อมีสงครามเก้าทัพ พระภิกษุพระเจ้าตากสินได้มาที่กรุงเทพฯ ร่วมบัญชารบด้วย
วิทยากรได้เล่าว่าบรรพบุรุษท่านเป็นมอญ ประวัติศาสตร์มอญได้บันทึกไว้อย่างนั้น(เฉพาะตอนช่วยบัญชาการรบ ว่ามีพระภิกษุอยู่ในเหตุการณ์นั้น)
หลังจากสงครามสิ้นสุด ท่านได้กลับนครศรีธรรมราช ได้ลาสิกขาบท และมีครอบครัวที่นั่น และสืบเชื้อสายเป็นผู้ใช้นามสกุล ณ นคร ในเวลาต่อมา
ที่วิทยากรได้เล่าเพราะต้องการให้ไปเล่าต่อความจริงในประวัติศาสตร์ แต่ที่ต้องบันทึกไปอย่างนั้นเพราะมีความจำเป็นรวมทั้งปลดหนี้จากเมืองจีนที่
เปลี่ยนแผ่นดินแล้ว หนี้ย่อมหมดไปด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #383 เมื่อ: 07 มกราคม 2558, 19:20:47 » |
|
เป็นเชียงใหม่ เชียงราย ๒๓ มกราคม และเชียงตุง ๒๔ - ๒๗ มกราคม ๕๘
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #384 เมื่อ: 08 มกราคม 2558, 20:26:27 » |
|
วันนี้และพรุ่งนี้อยู่แปดริ้ว. ภาพจะตามมาครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #390 เมื่อ: 10 มกราคม 2558, 16:31:54 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #394 เมื่อ: 11 มกราคม 2558, 19:39:31 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #395 เมื่อ: 11 มกราคม 2558, 21:13:08 » |
|
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #398 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 11:11:02 » |
|
ตามชมครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #399 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 11:13:55 » |
|
ไป แปดริ้ว-ฉะเชิงเทรา ก็ไปแต่วัดหลวงพ่อโสธร และรถมักแน่นวัด การเดินทางไม่ค่อยจะสะดวก การไปวัดอื่น, ตลาด 100 ปี หรือโบราณสถานจึงเป็นเรื่องยากไปเลย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #400 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 17:20:41 » |
|
ที่แปดริ้วมีทีน่าสนใจหลายที่ครับ. คราวนี้ได้มาแค่นี่ก่อน
วันนี้ถึงวันพฤหัสฯมาระยอง.......แต่ไม่มีภาพตามมาด้วย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #401 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 19:36:20 » |
|
ไม่มีวาสนาอยู่เรื่องหนึ่ง
เข็มที่ระลึกงานพระราชทางเพลิงศพ วัดสามป่าง่าม ปี 2493
เห็นแล้วไม่เชื่อตาตัวเอง ว่ายังจะมีเหลืออยู่ในฉะเชิงเทรา
จึงลอยไปอยู่ในมือคนอื่นเลย ??!!
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #402 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 19:39:17 » |
|
น้องเริงไปแปดริ้วเดินเกือบถึงบ้านพี่ต้อย ตรงตลาดทรัพย์สิน ที่ประกาศเช่าเจ็ดร้อยต่อเดือน ผู้หญิงเสื้อแดงกำลังผัดหอยทอดก็อร่อยน่ะค่ะ รูปแจ่มชัดได้อารมณ์nostalgie คิดถึงบ้านเยาว์วัย ปัจจุบันตัวบ้านที่ดินรฟท.กำลังไล่ที่เพื่อพัฒนาที่ดินให้บริษัทที่ได้รับสัมปทานมาดำเนินก่าร มีน้องชายกับคุณอาอยู่ ส่วนคุณแม่น้องสาวมาอยู่กทม. ถ่ายภาพได้บรรยากาศมากและเก่งที่ได้เข้าถึงจุดที่ไม่ค่อยมีใครแวะ มักจะข้ามไปตลาดน้ำ หรือวัดหลวงพ่อโสธรกัน ดูภาพให้ฟินอีกทีค่ะ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #403 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 20:13:01 » |
|
ครับผม
ภาพยังมีอีกชุดครับ หากพี่ต้อย พี่เหยงชอบ.
. กลับจากระยอง ขอลงภาพอีกนะ ทีเดียวกัน แต่ถ่ายหลากหลาย
อารมณ์ครับ.
ขอลงอีกครั้ง ฮ่าฮ่า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #404 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 20:19:41 » |
|
งั้นพี่ต้อยก็รู้จักโรงแรมไม้นั้น
และพี่เคยเดินตามแม่ไปตลาดนั้นด้วย
เยี่ยมเลย
ภาพต่างๆในอดีตผุดขึ้นมาอย่างแน่นอน
ดีใจด้วยครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #405 เมื่อ: 12 มกราคม 2558, 20:42:27 » |
|
พี่ต้อย. วันนั้นเดินจากตลาด. (ใช่ตลาดบางบัว หรือบ่อบัว ไหม
จำไม่ได้ แต่ถ่ายภาพไว้ด้วย) แล้วเลี้ยวขวาทางที่ตรงไปสี่แยกและ ขวาไปถนนพานิชครับ
แต่ผมเลี้ ยวซ้ายขี้นสะพาน จึงเห็นโรงแรมไม้
ก่อนที่เดินใต้สะพานมาตลาดเก่า
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #406 เมื่อ: 13 มกราคม 2558, 20:06:35 » |
|
น้องเริง บรรยายได้เหมือนตามครูไปเที่ยวเลย ตลาดนั้นชื่อตลาดบ่อบัว สะพานวรรณยิ่งที่อยู่ใกล้โรงแรมไม้ อีกสะพานก็มิตรสัมพันธ์เพราะมีร.รชื่อเดียวกันอยู่ ว่าแต่สมัยเด็กน้องเริงพูดเหมือนเคยมาหรือค่ะ ตลาดเก่าที่ว่าคือตลาดทรัพย์สินค่ะ คงมีภาพมาแชร์ค่ะ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #407 เมื่อ: 13 มกราคม 2558, 20:19:00 » |
|
ผมทำงานที่ระยอง 20 ปี ไปแปดริ้วบ่อย
ตัวเมืองขยายไปสถานีขนส่งแล้ว หน้าโรงเรียนเบญจมฯ เงียบไปเลย
ตอนนี้สำนักทรัพย์สินฯ เร่งสร้างอาคาร ขนส่งเดิมรื้อแล้ว แต่ยังไม่ทำอะไร
ชอบใจสวนหมากยังมีเยอะอยู่
โดยรวมแปดริ้วยังสงบ อุดมไปด้วยอาหาร และปลาตัวใหญ่ทำริ้วได้ถึงแปดเหมือนเดิมครับ ฮ่า ฮ่า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #408 เมื่อ: 15 มกราคม 2558, 13:02:52 » |
|
อากาศเย็น. พักสักสองสามวัน. ค่อยเที่ยวต่อ. แต่จะมีภาพแปดริ้วเพิ่มอีกซักหน่อย
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #410 เมื่อ: 15 มกราคม 2558, 15:43:47 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #411 เมื่อ: 15 มกราคม 2558, 15:54:03 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #412 เมื่อ: 15 มกราคม 2558, 16:05:25 » |
|
กลับล่ะ..ผ่านประตู่กั้นน้ำจืดและน้ำเค็ม
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #413 เมื่อ: 16 มกราคม 2558, 21:33:13 » |
|
เดี๋ยวนี้รูปหล่อหลวงพ่อต่างๆ หล่อได้ทั้งเรซิน ปูน ส่วนทองเหลืองไม่นิยมเพราะมีราคาแพง
ทำให้หลายวัด หลายสถานที่ใช้เป็นแหล่งรับบริจาคเงินกัน
ทั้งๆที่วัดดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้อง
ดังเช่นภาคเหนือ หล่อหลวงพ่อทวด ซึ่งน่าจะเป็นของภาคใต้
ที่ประจวบคีรีขันธุ์หล่อครูบาศรีวิชัย ซึ่งท่านเป็นพระล้านนา
เหมื่อนหนังคนละเรื่อง-คนละม้วนเลย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #414 เมื่อ: 17 มกราคม 2558, 06:23:48 » |
|
วัดรับแลกเหรียญบาทชุดละยี่สิบบาทเพื่อใส่บาตรพระเกจิต่างๆ ตามรูปหล่อๆของท่าน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #416 เมื่อ: 17 มกราคม 2558, 18:57:13 » |
|
ฮือฮาไม่น้อยเมื่อ "นิวคาสเซิ่ล เจ็ตส์" สโมสรชั้นนำในศึก เอลีก ออสเตรเลีย ยื่นข้อเสนอยืมตัว "เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์" ปีกซ้ายตัวจี๊ดของ ชลบุรี เอฟซี ไปร่วมทัพด้วยสัญญายืมตัว 3 เดือน
"นิวคาสเซิ่ล เจ็ตส์" ทีมดังใน เอลีก ออสเตรเลีย แสดงความสนใจในตัว “ก้อง” เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ ปีกซ้ายตัวเก่งทีมชาติไทยของ “ฉลามชล” ชลบุรี เอฟซี ที่โชว์ฟอร์มสะเด่าต่อเนื่องนับตั้งแต่เอเชียนเกมส์ จนล่าสุดในทัวร์นาเม้นต์ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอให้ ชลบุรี พิจารณา ด้วยสัญญายืมตัวระยะสั้น 3 เดือน ให้บอร์ดฉลามชลพิจารณา
โดยมีรายงานเพิ่มเติมด้วยว่าทาง นิวคาสเซิล เจ็ตส์ เสนอทุ่มค่าเหนื่อยให้ "เจ้าก้อง" ถึงเดือนละ 3 แสนบาท ซึ่งตอนนี้บอร์ดบริหารของทีม ชลบุรี ได้รับข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว และกำลังพิจารณา รวมไปถึงสอบถามความต้องการของตัว เกริกฤทธิ์ เองด้วยว่าพร้อมไปแสดงฝีเท้าที่ออสเตรเลียหรือไม่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #417 เมื่อ: 18 มกราคม 2558, 15:13:29 » |
|
18 มกราคม วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช “ วันยุทธหัตถี ” หรือที่เรียกว่า “ วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ ต่อสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อ วันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 อัน ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 กำหนดให้วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็น “ วันยุทธหัตถี ” (แทนวันที่ 25 มกราคม เนื่องจาก นายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 ที่กำหนดเป็นวันที่ 25 มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง) และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #418 เมื่อ: 24 มกราคม 2558, 06:02:50 » |
|
24_27 มค. เที่ยวเชียงตุง
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #419 เมื่อ: 24 มกราคม 2558, 15:12:03 » |
|
ตามน้องเริงมาเที่ยวแปดริ้วแล้วค่ะ เมื่อวานแวะไปทำเรื่องที่ดินแล้วแวะตลาดทรัพย์สิน เพื่อขอเช่าให้อาแล้วพาอาๅปเที่ยววัดสมาน ตามเส้นทางตามครูไปเที่ยวเปี๊ยบเลย
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #420 เมื่อ: 24 มกราคม 2558, 15:13:39 » |
|
เที่ยวเชียงตุงให้สนุกน่ะน้องเริง เปิดดูภาพเหยงโพสมาแล้วค่ะ แต่ละท่านเบิกบานดีจัง
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #421 เมื่อ: 24 มกราคม 2558, 15:16:18 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #422 เมื่อ: 24 มกราคม 2558, 15:19:52 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #423 เมื่อ: 24 มกราคม 2558, 15:26:24 » |
|
สีสันของแปดริ้ว ย่านเก่าแก่เมื่อห้าสิบปีที่แล้วที่ทิ้งร่องรอยในวันนี้ ยังมีของกินอร่อยๆอยู่มากมาย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #424 เมื่อ: 25 มกราคม 2558, 18:01:04 » |
|
ไปสามเชียง เชียงใหม่ เชียงรายและเชียงตุงภาพจะตามมา หลังภาพของท่านอื่นๆครับ
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #427 เมื่อ: 28 มกราคม 2558, 09:47:35 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #439 เมื่อ: 29 มกราคม 2558, 19:26:42 » |
|
และภาพนี่ใช่ถนนสายเดียวกันไหมหนอ สุดถนนมีวัดเดียวกันผมว่าใช่ เป็นมุมเดียวกัน. ขวามือเป็นที่ตั้งโรงแรมที่พัก. ซ้ายม่ือเป็นอาคารโรงพิมพ์"๕ มิถุนายน ๒๔๘๕
เวลา ๐๘๐๐ กองพลที่ ๓ จัดขบวนยาตราทัพ จากดอยเหมย เข้าเมืองเชียงตุง ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร "
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #440 เมื่อ: 29 มกราคม 2558, 19:42:17 » |
|
ตอนต่อไป เดินตลาด
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #441 เมื่อ: 30 มกราคม 2558, 19:55:20 » |
|
ตลาดเมืองเชียงตุงที่มีคู่กับหนองตุงมานาน
จากภาพโบราณ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #442 เมื่อ: 30 มกราคม 2558, 20:04:56 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #445 เมื่อ: 30 มกราคม 2558, 20:51:57 » |
|
. ออกจากตลาด ไปชมกำแพงเมืองเชียงตุงกันต่อ
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #450 เมื่อ: 31 มกราคม 2558, 07:19:01 » |
|
กรมพระยาดำรงฯ พระนิพนธ์การไปตีเชียงตุง ตีกำแพงเมืองนี้ ในครั้งที่สองไว้ว่า
เรื่องราวที่กรมหลวงวงศาสฯ เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงตุงครั้งที่สอง เมื่อปีฉลู พ.ศ ๒๓๙๖ รายการจะอย่างไร ยังไม่พบสำเนาใบบอกและท้องตรา เหมือนเรื่องที่ยกไปคราวแรกในปีชวด แต่ได้ความในจดหมายเหตุเรื่องอื่น พอทราบเรื่องราวเป็นเค้าเงื่อนได้ว่าข้อที่กรมหลวงวงศาฯ ทรงขอผู้คนและเครื่องศัสตราวุธเพิ่มเติมไปจากกรุงเทพฯ นั้น ได้รี้พลคนหัวเมืองชั้นใน กับทั้งปืนใหญ่และปืนครกและกระสุนดินดำ ส่งเพิ่มเติมขึ้นไป แต่เห็นจะไม่ได้เท่าจำนวนที่ขอ ข้อที่จะขอเกณฑ์คนตั้งแต่เมืองอุบล จนถึงเมืองหลวงพระบางมาใช้นั้นไม่โปรดอนุญาต แต่เมืองเชียงรุ้งรับอาสาจะส่งเสบียงอาหารมาให้ถึงแดนเมืองเชียงตุงอีกทาง ๑ กำลังผู้คนและพาหนะต้องเกณฑ์ในมณฑลพายัพเป็นพื้นเหมือนเมื่อคราวก่อน
พอสิ้นฤดูฝนกรมหลวงวงศาฯ ก็เสด็จขึ้นไปจากเมืองอุตรดิตถ์ ไปจัดกองทัพที่เมืองน่าน เจ้าพระยายมราชก็กลับขึ้นไปจัดกองทัพที่เมืองเชียงใหม่ กำหนดจะขึ้นไปประชุมทัพพร้อมกันที่เมืองเชียงรายในต้นเดือน ๓ แต่การเกณฑ์ทัพคราวนี้เกิดขัดข้องมากไม่สะดวกเหมือนคราวก่อน ทำนองจะเป็นผู้คนเคยไปลำบากมาแล้ว ครั้นมาถูกเกณฑ์ซ้ำเป็นคราวที่สองก็เบื่อหน่ายพากันหลีกเลี่ยงมิใคร่จะได้ตัวคน กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ได้ยกจากเมืองน่านเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ เดินทาง ๒๑ วัน จึงไปถึงเมืองเชียงราย กองทัพหลวงไปถึงเมืองเชียงรายแล้ว เสบียงพาหนะและผู้คนซึ่งเกณฑ์ทางอื่นก็ยังไม่ได้พร้อมตามเกณฑ์ เจ้าพระยายมราชก็ยังเร่งรัดผู้คนอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ กรมหลวงศาฯ จึงต้องประทับรออยู่ที่เมืองเชียงราย เสียเวลาตอนนี้ถึงเดือนหนึ่ง เพราะฉะนั้นข้อที่หมายว่าจะได้เวลาทำการสงครามนานกว่าครั้งก่อน ก็เป็นอันไม่สำเร็จเสียแต่ต้น กว่ากองทัพจะพร้อมกันที่เมืองเชียงราย เวลาล่วงเข้าไปจนถึงเดือน ๔ จึงได้ยกออกจากเมืองเชียงราย เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #451 เมื่อ: 31 มกราคม 2558, 07:20:46 » |
|
ฝ่ายข้างเมืองเชียงตุงสืบสวน รู้ความแต่ในฤดูฝนว่า ไทยจะยกกองทัพขึ้นไปอีกในฤดูแล้งปลายปีฉลู และในปีฉลูนั้นพระเจ้ามินดงได้ราชสมบัติเมืองพม่า เลิกการสงครามกับอังกฤษ เจ้าเมืองเชียงตุงบอกไปขอกองทัพพม่ามาช่วย พระเจ้ามินดงจึงให้กองทัพพม่ามีจำนวน ๓,๐๐๐ แต่ผู้ใดจะเป็นนายทัพหาปรากฏชื่อไม่ มาเกณฑ์กองทัพพวกไทยใหญ่เข้าสมทบอีก ๖,๐๐๐ ยกมาช่วยเมืองเชียงตุง ส่วนเมืองเชียงตุงเองมีจำนวนพล ๗,๐๐๐ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนข้าศึก ที่คอยต่อสู้กองทัพไทยที่ยกขึ้นไปคราวนี้ประมาณ ๑๖,๐๐๐ จึงกล้าออกมาตั้งรักษาตามหัวเมืองหลายแห่ง
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปพอเข้าแดนเมืองเชียงตุงก็ได้รบกับข้าศึกขึ้นไปทุกระยะ คราวนี้ที่ได้รบกับพม่า แต่พวกพม่าสู้ไทยไม่ได้ ต้องถอยหนีไปโดยลำดับ ถึงกระนั้นก็พอเป็นเหตุหน่วงเวลากองทัพไทยจนเดือน ๖ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ จึงยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุง เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ กองทัพหน้าเข้าไปตั้งถึงชานเมืองเหมือนคราวก่อน ส่วนกองทัพหลวงตั้งอยู่ที่เมืองเหล็ก ห่างเมืองเชียงตุงออกมาประมาณ ๑๒๐ เส้น รอกองทัพพระยายมราชซึ่งยกขึ้นมาทางเมืองหัวโป่ง แต่ทางนั้นเป็นหนทางเป็นแต่ทางกันดารยิ่งกว่าทางที่กรมหลวงวงศาฯเสด็จไป หนทางเป็นแต่ภูเขา ทั้งผู้คนช้างม้าพาหนะต้องเดินเรียงตัวกันไป เสบียงอาหารยิ่งขนส่งยาก กองทัพเจ้าพระยายมราชยกไปไม่ได้เท่าใด ก็เกิดอัตคัดต้องหยุดคอยเสบียงเสียเวลาร่ำไป จึงไปไม่ถึงเมืองเชียงตุงทันกำหนด
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปพอเข้าแดนเมืองเชียงตุงก็ได้รบกับข้าศึกขึ้นไปทุกระยะ คราวนี้ที่ได้รบกับพม่า แต่พวกพม่าสู้ไทยไม่ได้ ต้องถอยหนีไปโดยลำดับ ถึงกระนั้นก็พอเป็นเหตุหน่วงเวลากองทัพไทยจนเดือน ๖ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ จึงยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุง เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ กองทัพหน้าเข้าไปตั้งถึงชานเมืองเหมือนคราวก่อน ส่วนกองทัพหลวงตั้งอยู่ที่เมืองเหล็ก ห่างเมืองเชียงตุงออกมาประมาณ ๑๒๐ เส้น รอกองทัพพระยายมราชซึ่งยกขึ้นมาทางเมืองหัวโป่ง แต่ทางนั้นเป็นหนทางเป็นแต่ทางกันดารยิ่งกว่าทางที่กรมหลวงวงศาฯเสด็จไป หนทางเป็นแต่ภูเขา ทั้งผู้คนช้างม้าพาหนะต้องเดินเรียงตัวกันไป เสบียงอาหารยิ่งขนส่งยาก กองทัพเจ้าพระยายมราชยกไปไม่ได้เท่าใด ก็เกิดอัตคัดต้องหยุดคอยเสบียงเสียเวลาร่ำไป จึงไปไม่ถึงเมืองเชียงตุงทันกำหนด
ฝ่ายกองทัพกรมหลวงวงศาฯ ยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุงในเดือน ๖ พอเข้าฤดูฝน กองทัพไปตั้งไม่ได้กี่วันฝนตกหนักลงมา พวกเมืองเชียงตุงยกออกมารบหลายครั้ง กองทัพไทยมีอาวุธดีกว่าก็ตีพม่าถอยกลับเข้าเมืองไปทุกที แต่ฝ่ายกองทัพไทยก็ไม่สามารถจะบุกรุกติดตามเข้าไปตีเมืองเชียงตุงได้ ด้วยตั้งแต่ฝนตกชุกลง ผู้คนในกองทัพก็พากันเจ็บป่วยชุกชุม เป็นไข้จับบ้าง เป็นบิดบ้าง ตายวันหลายๆคนไม่ขาด ที่เจ็บป่วยอยู่ก็มาก ซ้ำช้างและโคต่างพาหนะกองทัพก็เกิดโรคระบาดล้มตายลงด้วย การลำเลียงเสบียงอาหารก็เลยติดขัด
ส่วนกองทัพเจ้าพระยายมราช ก็ไปติดฝนอยู่กลางทาง ตามขึ้นไปยังไม่ถึง กรมหลวงวงศาฯ ตั้งล้อมเมืองเชียงตุงอยู่ได้ ๒๑ วัน ทรงพระดำริเห็นว่า ถ้ากองทัพตั้งรออยู่ที่เมืองเชียงตุง ต่อไปเห็นจะทีข้าศึก ด้วยกองทัพอ่อนกำลังทั้งขัดสนเสบียงและพาหนะ จะถอยกลับได้ด้วยยาก จึงมีรับสั่งให้ถอยกองทัพมาจากเมืองเชียงตุง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีขาล พ.ศ ๒๓๙๗
กองทัพกรมหลวงวงศาฯ ถอยลงมาคราวนี้ลำบากมาก ด้วยกำลังเป็นฤดูฝน ผู้คนและพาหนะก็เจ็บป่วยทรุดโทรม ต้องเสียทรัพย์สิ่งของแก่ข้าศึกหลายอย่าง ฝ่ายกองทัพเจ้าพระยายมราชยกขึ้นไปได้สักครึ่งทาง ทราบว่ากองทัพกรมหลวงวงศาฯ ถอยลงมาแล้ว เจ้าพระยายมราชก็ถอยกลับตามลงมา เป็นเสร็จเรื่องรบพม่าที่เมืองเชียงตุงเพียงเท่านี้
******สงครามคราวรบพม่าที่เมืองเชียงตุงที่กล่าวมานี้ เป็นครั้งที่สุดท้าย ที่ไทยกับพม่าได้ทำสงครามกัน แต่นั้นมาก็มิได้รบพุ่งกันอีกจนตราบเท่าที่พม่าเสียอิสระภาพแก่อังกฤษ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #452 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2558, 11:26:10 » |
|
อีกสอง สามวัน. จะมีภาพและเรื่องราวที่เชียงตุง ต่อครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #454 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2558, 19:14:16 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #455 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2558, 19:28:13 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #458 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2558, 19:49:23 » |
|
ยังมีอีกหลายตอนครับ
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #461 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2558, 10:13:48 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #465 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2558, 10:58:25 » |
|
และใกล้กันเห็นอาคารที่จอมพลผิน ใช้เป็นสำนักงานทีมาทำงานที่นี่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #466 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2558, 17:40:29 » |
|
พาไปชมวัด...และ.วัดครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #472 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2558, 21:14:12 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #481 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2558, 09:47:16 » |
|
ตอนหน้า... จบแล้วครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สมชาย17
|
|
« ตอบ #489 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2558, 16:26:54 » |
|
สวัสดีครับ น้องเริง
ได้รายละเอียดทั้งภาพและคำบรรยาย ภาพคมชัดมาก
อ่านแล้ว เสมือน ไปเที่ยวด้วยตัวเองเลยครับ
|
|
|
|
KUSON
|
|
« ตอบ #490 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2558, 11:24:25 » |
|
ผมได้เจอพวกเราคนละนิดในวันบอลประเพณี กลุ่มครุมีวรสฤทธิ์ ปิงเมืองเข้ามาทักนอกนั้นเป็นน้องๆก่างกันมาก ตอนกลับมีน้องสูงๆคลำ้ๆแต่ไม่รู้ใครเข้ามาทักเหมือนรู้จักกันดี มีรูปพวกครุใกล้เคียงรุ่นสำเริงขอดูภาพน่อยสิ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #491 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2558, 11:57:18 » |
|
ไม่มีภาพเลยครับ ไม่ได้มีเครื่่องมือไปเลย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #492 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2558, 12:16:37 » |
|
ครับผม พี่สมชาย
ไปกัน26 คน
แต่ภาพออกมาเหม่ือนว่าไปคนเดียวครับ
|
|
|
|
สมชาย17
|
|
« ตอบ #493 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2558, 21:46:39 » |
|
สวัสดีครับ น้องเริง
ผมได้ดูของทุกๆคนครับ แต่การจัดเรียงลำดับภาพสลับไปมาเพราะหลายคน เลยดูไม่ต่อเนื่อง
ดูของน้องเริง เรียงลำดับดีเข้าใจง่าย ครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #494 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2558, 22:16:10 » |
|
ขอบคุณครับ พี่สมชาย
เหมือนสอนหนังส่ือ นำมาทำใหัง่ายต่อการเข้าใจครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #495 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2558, 12:17:54 » |
|
. ปีหน้าจะะมีรถบัสโดยสารบขส.ปรับอากาศ
จากเชียงใหม่ไปเชียงตุงและกลับเชียงใหม่ครับ
ทำให้ไปและมาสะดวกขึ้น
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #496 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 11:41:15 » |
|
จะมีเก็บตกเที่ยวเชียงตุง อีกเล็กน้อยครับ
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #499 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 17:50:54 » |
|
ที่วัดจอมทอง พระพุทธสิหิงส์ยุคแรกๆ (องคใหญ่) ผ้าคาดบ่าด้านหน้าจะสั้นต่อมา(องค์เล็กซ้ายมือ) ผ้าคาดบ่าจะยาวเหมือนปัจจุบัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #500 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 18:13:58 » |
|
เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง มีชายา 6 พระองค์ มีโอรส-ธิดารวม 19 พระองค์ ได้แก่
1.เจ้าแม่ปทุมามหาเทวี ราชธิดาเจ้าเมืองสิงห์ เป็นมหาเทวี(มเหสีเอก) มีราชธิดา 1 องค์ และราชบุตร 1 องค์ คือ
เจ้าหญิงทิพย์เกษร เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) (ต้นสกุล ณ เชียงตุง ได้สมรสกับเจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง (พ.ศ. 2446-2532) หลานสาวของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงลำปางองค์ที่ 13 (มารดาคือเจ้าหญิงฝนห่าแก้ว เป็นธิดาเจ้าหลวงลำปาง)
2.เจ้านางจามฟอง เดิมเป็นสามัญชนมีราชบุตร-ราชธิดารวม 6 องค์ คือ
เจ้าฟ้ากองไท (ได้เป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงต่อจากเจ้าพ่อ) เจ้าอินทรา (ได้เป็นบุตรบุญธรรมเจ้าฟ้าเมืองสีป้อ) เจ้าปราบเมือง เจ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม (ต้นสกุล ขุนศึกเม็งราย ได้สมรสกับนางสาวธาดา พัฒนถาบุตร ธิดาของแม่บัวจันทร์และนายดาบแดง พัฒนถาบุตร (2430-2523) คหบดีบ้านวัวลาย เชียงใหม่) เจ้านางบัวสวรรค์ เจ้านางฟองแก้ว
3.เจ้านางบัวทิพย์หลวง หรือเจ้านางทิพย์หลวง มี 5 องค์ ได้แก่
เจ้านางแว่นแก้ว (เป็นมหาเทวีเจ้าฟ้าลอกจอก) เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง (สมรสกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9) เจ้านางแว่นทิพย์ (เป็นชายาเจ้าฟ้าแสนหวี แต่ภายหลังหย่าร้าง) เจ้าสิงห์ไชย เจ้าแก้วมาเมือง
4.เจ้านางแดงหลวง มี 2 องค์ ได้แก่
เจ้าสายเมือง เจ้านางจันทร์ฟอง (สมรสกับข้าราชการป่าไม้ชาวไทย)
5.เจ้านางบุญยวง มี 2 องค์ ได้แก่
เจ้านางฟองนวล เจ้าบุญวาทย์วงศา (ท่านผู้นี้มีบทบาทในการต้อนรับกองทัพไทยที่บุกเข้าเชียงตุงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพพายัพของไทย ซึ่งนำโดยหลวงเสรีเริงฤทธิ์(พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) ได้ใช้คุ้มของท่านผู้นี้เป็นกองบัญชาการ)
6.เจ้านางบัวทิพย์น้อย ได้แก่
เจ้านางบัวน้อย เจ้ายอดเมือง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #501 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 18:20:07 » |
|
แล้วเจ้าฟ้าเชียงตุงและลูกหลานตอนนี้อยู่ไหนกันบ้าง
บางส่วนอยู่ในประเทศไทย
สายของเจ้าฟ้าพรหมลือ
เมื่อเจ้าทิพวรรณอายุได้ 17 ปี ก็ได้พบรักกับเจ้าฟ้าพรหมลือ ราชโอรสในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ซึ่งได้เสด็จเดินทางมาเยือนนครลำปาง และได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง แต่การที่เจ้าต่างนครจะอภิเษกสมรสกันได้ จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสียก่อน และเนื่องจากขณะนั้นเชียงตุงอยู่ในบังคับของอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเกรงว่าจะมีปัญหาระหว่างประเทศได้ จึงไม่ทรงอนุญาต แต่ต่อมาก็ได้มีการหมั้นกันไว้ก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 2465 เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย เจ้าฟ้าพรหมลือได้เสด็จเดินทางมาเคารพพระศพ และถือโอกาสนี้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าทิพวรรณ จากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เดินทางกลับนครเชียงตุง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #502 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 18:57:21 » |
|
ต่อมาไม่นานเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในนครเชียงตุง ทำให้เจ้าฟ้าพรหมลือถูกส่งตัวไปช่วยราชการที่เมืองตองยี และเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นก็ถูกส่งไปควบคุมตัวที่เมืองโหม่วหยั่ว แต่ภายหลังเจ้าฟ้าพรหมลือก็ได้พาครอบครัวหนีการควบคุมของอังกฤษเข้าหาฝ่ายไทย ที่ตำบลท่าก้อ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และเมื่อรัฐบาลประกาศให้รวมแคว้นสหรัฐไทยเดิมเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้าพรหมลือเป็นเจ้านครเชียงตุง และให้เป็นผู้ช่วยข้าหลวงปกครองฝ่ายทหาร ช่วยราชการสนามนครเชียงตุงด้วย ซึ่งท่านก็ได้สนับสนุนและช่วยเหลือกองทัพไทยเป็นอย่างมาก
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เจ้าฟ้าพรหมลือได้อพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 โดยประทับที่จังหวัดลำปางก่อน จากนั้นจึงได้เสด็จย้ายมาอยู่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2488 หลังจากเจ้าฟ้าพรหมลือเสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ. 2498 เจ้าทิพวรรณ ได้ประกอบอาชีพทำไม้สัก และโรงเลื่อย โดยได้รับสัมปทานป่าไม้จากรัฐบาล
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #503 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:02:09 » |
|
เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง มีโอรสธิดา 7 คน คือ เจ้าวรจักร พันเอกเจ้าวรเดช เจ้าหอมนวล เจ้าพิไลลักษณ์ เจ้าวิลาวรรณเจ้าวรจักร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตร
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #504 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:23:41 » |
|
"เจ้าพิไลลักษณ์ อายุ ๗๕ ปี ยังคงอยู่ที่กรุงเทพฯ
จากเชียงตุงมาประเทศไทย เมื่ออายุ ๔ ปี พี่น้องมากัน ๖ คน คนโตเสียชีวิตที่เชียงตุงก่อนมา
ท่านกลับมาเชียงตุงบ้าง แต่จำอะไรไม่ได้เลย เพราะยังเล็กมากตอนไป ในแต่ละปี ท่านและลูกหลานจะมาเจอกันที่กรุงเทพฯรวมทั้งเจ้าวรจักรด้วย "
ผู้เล่าเอ่ยถึงเจ้าวรจักร์ ผู้เป็นน้าและเจ้าพิไลลักษณ์ ผู้เป็นแม่เท่านั้น คาดว่าท่านอื่นคงไม่อยู่แล้ว
ผู้เล่าได้ไปเที่ยวเชียงตุงครัังนึ้ดัวย
ในภาพคนขวามือ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #505 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:34:22 » |
|
สายเจ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม
เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งราย กงศุลอังกฤษคนแรก ของเชียงใหม่ เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายเป็นราชบุตรของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง และ เจ้าแม่จามฟอง ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง รัฐฉานตอนใต้ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1915 ได้รับการศึกษาจากโรงเรียน Government English High School เมือง Maymyo ประเทศพม่า และโรงเรียน Government High School for the Sons of Chief เมืองตองหยี รัฐฉาน หลังจากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในย่างกุ้ง แต่ขณะกำลังศึกษาอยู่นั้น ถูกเรียกตัวกลับเชียงตุงเพื่อไปบริหารประเทศ เพราะเจ้าฟ้ากองไต ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุงถูกลอบปลงพระชนม์
เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายได้เลื่อนยศเป็นพันตรี และเป็นทูต 207 Military Mission มาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย (ภาคเหนือ) ค.ศ.1946 ได้มีการเปิดสถานกงสุลอังกฤษในจังหวัดเชียงใหม่หลังจากที่ปิดตอนช่วงสงคราม
เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายจึงได้ รับตำแหน่งเป็นกงสุลอังกฤษคนแรก ต่อมาได้แต่งงานกับนางสาวธาดา พัฒนถาบุตร เป็นบุตรของนายดาบแดง และนางบัวจันทร์ พัฒนถาบุตร มีราชบุตรและราชธิดา 3 องค์ คือ
๑.แพทย์หญิงเจ้านางเขมรัสมี ขุนศึก-เม็งราย เคยรับราชการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่
๒.เจ้านางเขมวดี ขุนศึก-เม็งราย จิตรดอน เคยทำงานเป็นรองประธานกรรมการบริษัท พรีเมียร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
๓.เจ้าชายเขมรัฐ ขุนศึก-เม็งราย เคยทำงานตำแหน่งผู้จัดการภาค บริษัทสำรวจน้ำมันชลัมเบอเช่ ที่กรุงเทพฯ
เจ้าฟ้าขุนศึก เม็งรายถึงแก่พิราลัย วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535
จากคอลัมน์ของ คุณสุทธิศักดิ์ และ คุณมนตรี ปัญญาฟู
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #506 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2558, 19:53:29 » |
|
ที่เชียงใหม่ ฝั่งตรงกันข้ามเยื้องกับห้างสรรพสินค้ากาดสวนแก้ว ถนนห้วยแก้ว มาทางทิศตะวันออก เป็นบ้านของเจ้าเชื้อสายเชียงตุง ชื่อ เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งราย ตระกูล “ขุนศึกเม็งราย”
บ้านหลังนี้อยู่ในที่ดินรวม ๕ ไร่เศษ เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งรายซื้อไว้ขณะยังพักอาศัยอยู่ที่นครเชียงตุง ต่อมาเปิดขายเครื่องเงินตามต้นตระกูลของภรรยา คือ หม่อมธาดา บริเวณบ้านปลูกไม้ดอก เมื่อปลูกบ้านได้บ้านเลขที่ ๑๒ ถนนห้วยแก้ว
บ้านของเจ้าฟ้าขุนศึก เรียกว่า หอ ต่อมาเมื่อมีการเวนคืนจากราชการเพื่อขยายถนนห้วยแก้ว จึงได้รื้อบ้านเดิมและสร้างใหม่ ใช้ชื่อว่า หอบ้านเม็งราย บริเวณด้านหน้าบ้านเปิดขายเครื่องเงิน ใช้ชื่อว่า “ร้านธาดา” ตามชื่อภรรยา คือ หม่อมธาดา ขุนศึก-เม็งราย
..สำเนาภาพไม่ได้..
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #508 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2558, 09:27:24 » |
|
สายเจ้านางสุคันธา
เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง (สมรสกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9)
เมื่อก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ท่านให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่ง
"เจ้านนท์ เพิ่งเสียไปได้สองปีที่แล้ว อยู่ได้แปดสิบเอ็ดปี เรามีลูกด้วยกันห้าคน เป็นชายสามหญิงสองชื่อ รัตนินดนัย วิไลวรรณ สัมภสมพล ไพฑูรย์ศรี วีรยุทธ ที่ชื่อคล้องจองกัน เจ้านนท์ไปขอให้เจ้าคุณวัดเทพศิรินทร์ตั้งชื่อให้ลูกทุกคน"
ภาพ ท่านวิไลวรรณ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #509 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2558, 09:41:10 » |
|
ปิดท้ายด้วย บรรยากาศเชียงตุงเมื่อร้อยปีก่อน
เมื่อ ๑๐๐ ปีที่่ผ่านมา มีชาวอังกฤษเดินทางไปเที่ยวเมืองเชียงตุง เเละเขียนหนังสือนำเที่ยวเมืองเชียงตุงซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเล่มเเรกๆของเมืองเชียงตุงเลยก็ว่าได้
"เมืองเชียงตุงในหน้าหนาวนั้นต้นไม้เหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาล แต่เมื่อถึงหน้าน้ำหลากในเดือนสิงหาคมทุกแห่งก็กลับเขียวขจี นาข้าวแลดูราวทะเลสีมรกตไปจรดเทือกเขาด้านหน้า
เมืองเชียงตุงมีกำแพงและคูเมืองล้อมรอบ กำแพงส่วนใหญ่พังทลายและมีหญ้าขึ้นปกคลุมจนสิ้น เราจะเห็นแนวกำแพงได้ชัดเจนในหน้าแล้งที่ต้นหญ้าแห้งตายแล้วเท่านั้น ภายในกำแพงเมืองเชียงตุงนั้นมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ภายในกำแพงเป็นที่ตั้งของหอเจ้าฟ้า ตลาด หนองน้ำ และวัดวาอารามขนาดใหญ่ แต่หากคุณคาดหวังจะได้เห็นถนนหนทางที่พลุกพล่านในเมืองเชียงตุง คุณจะผิดหวัง เพราะเมืองเชียงตุงนั้นหลับใหลอยู่ตลอดการ เงียบเชียบเหมือนนครเกียวโต
เมื่อเดินแยกออกจากถนนหลักในตัวเมืองก็จะเป็นเจดีย์วัดอินทร์ที่เงียบเหงา มีเพียงแต่เสียงระฆังกังสดาลแว่วตามสายลมมาเท่านั้น ภายในบริเวณเจดีย์นั้นอยู่ภายใต้เงาไผ่ที่ร่มครึ้ม และดงต้นซากุระที่กลีบดอกร่วงหล่นลงสู่พื้นดินราวกับสายฝนพรำ
เสน่ห์ของเมืองเชียงตุงนั้นซ่อนเร้นซึ่งคุณต้องค้นหาเอาเอง ความประทับใจครั้งแรกของเมืองเชียงตุงนั้นคือความผิดหวัง คุณต้องหามุมสงบนั่งชมหลังคาบ้านเรือนที่งดงาม พระเจดีย์เก่าแก่ บานพระตูและฝาผนังของวัดที่วิจิตรรวมถึงหมู่พระพุทธรูปที่มีอย่างมากมาย
ผมจะนำเสนอเรื่องธุรกิจการค้าหรือตลาดของเมืองเชียงตุงซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด หากพ่อค้าแม่ค้าและนักเดินทางได้เดินทางออกจากเมืองเชียงตุงไปหมดแล้ว เมืองทั้งเมืองก็จะเงียบเหงา วังเวง ราวกับเวทีที่ไร้นักแสดง
ในเวลากลางวันมีเพียงแสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงสาดส่องคอกสัตว์ เศษขยะและใบไม้ในตลาดที่ว่างเปล่าเท่านั้น ในตลาดมีเพียงหมาขี้เรื้อนนอนเลียแผลพุพองและเห่าหอนต้อนรับแสงจันทร์ในยามค่ำ ม้ากลับมาจากทุ่งหญ้านอกเมืองเดินผ่านถนนทำให้ฝุ่นกระจายคละคลุ้ง ส่วนม้าที่เป็นโรคหมดแรงก็เดินหาสถานที่เงียบสงบเพื่อนอนพักและสิ้นใจ
ตลาดจัดขึ้นทุก ๕ วัน ซึ่งครึกครื้นราวกับงานฉลอง ผู้คนเบียดเสียด และหากคุณต้องการไปชมชาวเมืองเชียงตุงก็ควรจะไปให้ตรงกับวันตลาดหรือกาดนัดนี้
ท่ามกลางชาวเชียงตุงที่มาตลาดก็ยังมีชาวเขาเดินปะปนเบียดเสียดเยียดยัดอยู่ด้วย ในตลาดมีทั้งชาวไท ชาวพม่า ชาวจีน ชาวก้อ ชาวว้า ชาวมูเซอและชาวสยาม คุณอาจว่าจ้างจิตรกรสำหรับวาดภาพบรรยากาศและผู้คนแต่ละเผ่าพันธุ์ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นหากคุณต้องการเรียนรู้เรื่องราวของเพื่อนบ้านอย่างละเอียด และคุณก็จะเข้าใจว่าเหตุใดรัฐบาลอังกฤษใช้เวลาถึง ๓๐ปีในการเก็บข้อมูลและภาษาของชนกลุ่มน้อยต่างๆในพม่าตอนเหนือ
และที่เมืองเชียงตุงก็มีทั้ง ไท ลื้อ เขิน แลม ลาว และโยน นอกจากนี้ยังมี ก้อ มูเซอ กวี ปะหล่อง แอ่น ว้า ไทดอย ฯลฯ"....สุทธิศักดิ์ถอดความ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #510 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2558, 12:46:54 » |
|
ภาพชุด"เที่ยวกรุงเก่า" วัดพนัญเชิง ริมแม่น้ำป่าสัก เจดีย์วัดสามปลื้ม ปัจจุบันไม่มีวัดนี้แล้วมาอยู่อยุธยาถึงวันพฤหัสฯครับ. จะมีภาพชุด"เที่ยวกรุงเก่า"
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #511 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2558, 19:09:41 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #512 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 04:17:24 » |
|
ย่านป้อมเพชรเป็นชุมชนใหญ่ในสมัยก่อน
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #515 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 09:38:22 » |
|
หากพอมีเวลาจะไปที่อื่นบ้าง...สองแห่งนี้ใกล้ที่พัก
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #516 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 19:36:11 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #517 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 19:58:28 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #518 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 20:30:48 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #519 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 20:41:20 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #521 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2558, 20:58:27 » |
|
ยังมีต่ออีกสามวัดงาม..งามทุกวัดครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #523 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 06:31:05 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #524 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 06:53:39 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #526 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 16:12:10 » |
|
จึงเดินชมพระราชวังหลวงเดิมที่อยู่ติดกัน ยังคงมีแนวกำแพง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #527 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 18:07:02 » |
|
ภายในกำแพงมีวัด..วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย,วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ "สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2035 รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ผู้เป็นพระเชษฐา
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042 พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้น
ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยิน รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4(พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา
ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมพระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง พระที่นั่งจอมทอง ตั้งอยู่ใกล้ๆ กำแพงทางด้านติดกับ วิหารพระมงคลบพิตร เพื่อให้เป็นสถานที่ให้พระสงฆ์บอกเล่าหนังสือพระสงฆ์
ราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลวงแห่งนี้เป็นครั้งแรก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ดำเนิน การขุดสมบัติจากกรุภายในเจดีย์ พบพระพุทธรูป เครื่องทอง มากมาย และในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการบูรณะวัดนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #528 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2558, 18:17:38 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #532 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2558, 14:22:05 » |
|
หมายเหตุ ภาพชุด"เที่ยวกรุงเก่า" นี้ถ่ายจากแท๊ปเล็ต ภาพไม่คมชัดครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #533 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2558, 15:10:13 » |
|
กล้องที่เป็นเพื่อนเที่ยวไม่สามารถถ่ายได้แล้วถูกน้ำตอนไปน้ำตกหัวยขมิ้น ครั้งที่ไปอุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพที่กาญจนบุรีไปตกกระจกร้าว ครั้งที่ไปอำเภอปายแต่ยังใช้งานได้ครั้งล่าสุดถอดแบตฯมาชาร์ตไม่ได้ได้เขามาจากโลตัสโคราช ครั้งที่ไปอุทยานประวัติศาตร์พิมาย เมื่อสามปีก่อนวันนี้...เขาไปแล้วครับ.....
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #534 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2558, 14:50:01 » |
|
จึงถ่ายภาพ"เที่ยวกรุงเก่า" ไม่คมชัด.....คงได้ไปอีก
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #536 เมื่อ: 02 มีนาคม 2558, 07:41:57 » |
|
สวัสดีน้องเริง
เข้าเว็ปวันนี้เอง ขอบคุณมากที่เฝ้าติดตาม ยังไม่ได้อ่านตั้งแต่หน้า 17 เลย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #537 เมื่อ: 04 มีนาคม 2558, 15:09:33 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #538 เมื่อ: 04 มีนาคม 2558, 19:31:45 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #539 เมื่อ: 04 มีนาคม 2558, 19:37:10 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #541 เมื่อ: 04 มีนาคม 2558, 20:03:18 » |
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #544 เมื่อ: 07 มีนาคม 2558, 06:33:13 » |
|
ห้องนี้ปิดทำการชั่วคราวครับ
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #548 เมื่อ: 10 มีนาคม 2558, 18:06:45 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #550 เมื่อ: 10 มีนาคม 2558, 18:46:47 » |
|
ค่ำแล้ว ไม่ได้ไป..กลับก่อน
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #552 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558, 21:26:06 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #553 เมื่อ: 13 มีนาคม 2558, 21:37:14 » |
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #557 เมื่อ: 14 มีนาคม 2558, 09:10:39 » |
|
และซื้อสินค้าชุมชนกลับด้วย
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #559 เมื่อ: 14 มีนาคม 2558, 20:21:31 » |
|
สวัสดีเริง
ไม่ได้เข้า "มาตามครูไปเที่ยว" นานเป็นครึ่งเดือนทีเดียว ภาระนอกบ้านยังมากอยู่ครับ ต้องออกจากบ้านก่อน 8 โมงเช้าเป็นประจำ กลับก็มีย่ำค่ำเช่นกัน ถึงวันพุธหน้าทีเดียว
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #560 เมื่อ: 14 มีนาคม 2558, 20:23:02 » |
|
เวลาเปิดไลน์ยังไม่มีเลยครับ เป็นการทำงานในฐานะ กรรมการธรรมภิบาลจังหวัดนครสวรรค์ ออกไปสอดส่องการใช้งบประมาณปี 2558 ของงบจังหวัดนครสวรรค์ ในการก่อสร้าง 15 อำเภอของจังหวัด
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #561 เมื่อ: 15 มีนาคม 2558, 15:39:42 » |
|
ถนนจุฬาลงกรณ์ที่สวีเดน. ตั้งชื่อตามที่พระองค์ได้เสด็จเมื่อพ.ศ.2440
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #562 เมื่อ: 16 มีนาคม 2558, 09:16:34 » |
|
รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ในครั้งแรกพ.ศ.2440 เสด็จประพาสสวีเดนด้วย พระองค์เสด็จยังกรุงสต็อกโฮล์ม (Stockholm) เมืองหลวงของสวีเดน แล้วเสด็จขึ้นไปทางตอนเหนือด้วยเรือและรถไฟ กระทั้งถึงบิสโกเด้น (Bispgarden) เมืองเล็กๆ ในรากุนดา ซึ่งมีถนนสายหนึ่งที่พระองค์ท่านเคยเสด็จพระราชดำเนินผ่านในขณะนั้น เป็นเพียงถนนสายเล็กๆ เรียกกันว่า ถนนจุฬาลงกรณ์ (King Chulalongkorn’s Road) ซึ่งเป็นการเรียกขานชื่ออย่างไม่เป็นทางการในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นราวอีก 50 ปี ทางรัฐบาลสวีเดนร่วมกับหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชนได้ทำการบูรณะ ติดตั้งป้ายชื่อถนนจุฬาลงกรณ์ไว้อย่างเป็นทางการ ต่อมาเมื่อมีคณะนักศึกษาระดับปริญญาเอกเดินทางไปศึกษาต่อที่สวีเดน ด้วยความที่เป็นนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางคณะอาจารย์ที่มหาลัยสวีเดนจึงบอกกับนักศึกษากลุ่มนั้นว่า ที่นี่มีถนนชื่อจุฬาลงกรณ์ด้วย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #563 เมื่อ: 16 มีนาคม 2558, 14:41:46 » |
|
ถนนสยามที่ฝรั่งเศสถนนสยาม (ฝรั่งเศส: Rue de Siam) เดิมชื่อ ถนน Saint-Pierre (ถนนนักบุญปีเตอร์) เป็น ถนนที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นอนุสรณ์ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงส่งคณะทูต (นำโดย โกษาปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซาย โดยมีกำหนดการเข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2229
คณะราชทูตสยามเดินทางมาโดยทางเรือ มาขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองแบร็สต์นี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2229 ถือเป็นจุดแรกที่เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส และเดินทางผ่านถนนสายดังกล่าว ต่อมา ชาวเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนสยาม เพื่อระลึกถึงการเดินทางของคณะราชทูตครั้งนี้ โดยเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2354
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #564 เมื่อ: 16 มีนาคม 2558, 14:52:07 » |
|
ครับ ชื่อถนนทั้งสามสายต่างมีที่มาในประวัติศาสตร๋อย่างน่าสนใจยิ่ง .ต่างประเทศ..ต่างเวลาและต่างที่มาของชื่อ
_ถนน ร.5 เสด็จ _ถนนจุฬาลงกรณ์ _ถนนสยาม
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #566 เมื่อ: 21 มีนาคม 2558, 06:06:32 » |
|
การปฏิรูปการศึกษาของไทย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานมากสำหรับสถาบันการศึกษาไทย ไม่ว่าจะมองในมิติใดก็กลายเป็นเรื่องที่ล้มเหลวและเหลวไหลในทุกๆ มิติ มองเห็นว่าเป็นเรื่องที่ล้าหลัง เป็นเรื่องของความด้อยพัฒนา เป็นเรื่องของการให้เสมียนบริหารการศึกษา เพราะว่ามีเสมียนเป็นใหญ่ พยายามที่จะทำให้นักวิชาการกลายเป็นเสมียน ความเหลวไหลนำการศึกษาไปผูกกับประเพณีและพิธีกรรม การศึกษาไทยมีรสนิยมต่ำ มิติของการศึกษาที่สร้างคนให้เป็นขอทาน มิติของการวิ่งตามโลก "ตามเขาว่าเก่ง ทำเองว่าโง่" สรุปรวมๆ แล้วเห็นว่าการปฏิรูปศึกษาไทยเป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
สิ่งสำคัญก็คือ ผู้บริหารการศึกษาไม่รู้จักการศึกษาที่มีคุณภาพ ไม่รู้ว่าคุณภาพที่ดีนั้น จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา คนที่มีอำนาจกลับเป็นบุคคลที่ล้าหลัง อยู่ในโลกอดีต เชย ไม่มีรสนิยม ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาไทยจึงเป็นการสร้างปัญหา สร้างระเบียบมากกว่า เป็นการสร้างภาระต่อทุกคน และเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง พูดอีกกี่ครั้ง พูดอีกกี่ปี ก็ไม่สามารถปฏิรูปได้สำเร็จ
ความล้าหลังของกระทรวงศึกษาธิการ มีตั้งแต่ความล้าหลังของคนทำงานที่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ ความล้าหลังของโครงสร้างกระทรวง ความล้าหลังของประเพณีและพิธีกรรม ความล้าหลังเรื่องวิถีชีวิตของคนในกระทรวง ความล้าหลังของความรู้เทคโนโลยีในกระทรวง ความล้าหลังของสิ่งแวดล้อมทั้งในและรอบๆ กระทรวง และความล้าหลังของขั้นตอนในการทำงานของคนในกระทรวง เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการศึกษาทั้งสิ้น
เมื่อเวลาผ่านไป การปฏิรูปการศึกษาก็กลายเป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย ไม่น่าเชื่อถือและไม่มีใครฟังอีกต่อไป
การศึกษาไทยเป็นเมืองขึ้นตะวันตก เป้าหมายของการศึกษาไทยคือเพื่อความสำเร็จ ความสำเร็จคือให้ได้กำไร "เรียนเพื่อให้รวย" ความร่ำรวยก็คือกำไร และกำไรก็คือเงิน คนมีเงินได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จ คนมีเงินทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด ความจริงของการศึกษาไทย ศึกษาเพื่อหาความร่ำรวย แม้ทำโดยการเอาเปรียบคนอื่นก็ทำ ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงิน เมื่อมีเงินแล้วก็จะแสวงหาเกียรติ เมื่อได้เกียรติแล้วก็จะแสวงหาอำนาจ เมื่อคนได้เงิน ได้เกียรติ และได้อำนาจแล้ว ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แม้ว่าคนที่มีอำนาจจะนั่งตายบนอำนาจก็ตาม
เมื่ออยากรวยเร็ว ก็ต้องจัดการศึกษาที่จะประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุด ก็คือ "การซื้อความสำเร็จ" นำความสำเร็จมาใช้ ซื้อทั้งความรู้ ซื้อทั้งระบบ บางครั้งการศึกษาก็ไม่เหลือตัวตนอีกต่อไป
การศึกษาไทยจึงต้องปีนป่ายเพื่อไปอยู่ในที่สูงๆ ให้ได้ เพื่อให้อยู่เหนือคนอื่นๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่จะฉกฉวยโอกาสได้มาก ฉกฉวยทุกอย่างในชีวิต ทั้งเงิน เกียรติ และอำนาจ การใช้เงินซื้ออำนาจ ซื้อความรู้ ซื้อเกียรติ วิธีการที่นิยมใช้มากคือการซื้อความรู้ ไทยจึงตกเป็นเมืองขึ้นทางการศึกษา แม้แต่ความฝันก็ยังฝันเป็นเมืองขึ้น
ปรัชญาการศึกษาไทย "ตามเขาว่าเก่ง ทำเองว่าโง่" เนื่องจากการจัดการศึกษาเป็นเรื่องของโอกาส "มือใครยาว สาวได้สาวเอา" คนที่มีโอกาสก็จะทำอะไรได้ง่ายกว่าและมากกว่า เมื่อคนที่มีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างดีจากประเทศมหาอำนาจ คนที่มีโอกาสเหล่านั้นก็จะนำโอกาสน้อยๆ มาให้กับเด็กไทยทั่วไป เด็กไทยได้รับการศึกษาแบบอาณานิคม โดยมีความรู้สึกที่อยู่เหนือกว่าผู้อื่นโดยธรรมชาติ คนที่ได้รับการศึกษาที่สูงส่งเหล่านั้นก็พยายามที่จะรักษาสภาพความเหนือกว่า จึงต้องชื่นชมการศึกษาของมหาอำนาจ ชื่นชมรสนิยมมหาอำนาจ ทำให้การศึกษาไทยตกเป็นเมืองขึ้น ตกเป็นอาณานิคมทางการศึกษา ตกเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม และตกเป็นอาณานิคมวิถีชีวิต รู้สึกภาคภูมิใจเมื่อได้เลียนแบบ รังเกียจตัวเองแต่กลับชื่นชมความเป็นอื่น
การจัดการศึกษาไทยสร้างคนให้เป็นขอทาน เมื่อการศึกษาถูกตัดรากเหง้าของการเรียนรู้ ก็ต้องรอคอยความรู้ รอคอยทุกอย่างให้คนอื่นมาช่วยเหลือ คอยหนังสือแจก คอยนมแจก คอยดินสอแจก คอยคอมพิวเตอร์แจก คอยเสื้อผ้าแจก คอยอาหารกลางวันแจก คอยความรู้ทางไกลแจก ฯลฯ ครูไม่สามารถช่วยตัวเองได้ นักเรียนก็ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ครูอ่านหนังสือไม่ออก นักเรียนก็อ่านหนังสือไม่ออก ต้องคอยเครื่องมือที่จะช่วยให้อ่านออก ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาอย่างยถากรรม สร้างให้เด็กไทยเป็นขอทานคอยของแจก เมื่อไม่มีใครแจกก็จะร้องเรียกสิทธิ โดยไม่คิดที่จะช่วยตัวเอง สร้างให้เด็กไทยงอมือและงอเท้า
การจัดการศึกษาเพื่อให้คนออกไปหางานทำ เด็กจึงตกงาน แต่การศึกษาไม่ได้สร้างคนที่ฝีมือเพื่อให้คนช่วยตัวเองได้ สร้างคนออกไปหางาน ซึ่งจะต้องมีฝีมือ มีความคิดสร้างสรรค์ ขยันเรียนรู้ เอาใจใส่และตั้งใจทำงาน
การศึกษาไทยสอนให้คน "ชั่วจนโง่" การศึกษาของเด็กที่โรงเรียน พบว่าเด็กเรียนแล้วเป็นคนดีน้อยลง เห็นแก่ตัวมากขึ้น ชั่วมากขึ้น ทั้งๆ ที่เด็กทุกคนเกิดมาเป็นเด็กที่บริสุทธิ์สดใส เมื่อไปโรงเรียนแล้วเด็กติดเชื้อความชั่วมาจากโรงเรียน ทั้งๆ ที่พ่อแม่จะต้องใช้เงินซื้อการศึกษาให้กับลูก เมื่อส่งลูกให้ได้รับการศึกษาแล้ว พ่อแม่มีฐานะยากจนลง ไปโรงเรียนมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เด็กมีแต่ค่าใช้จ่าย เด็กไม่สามารถสร้างงานเพื่อเป็นรายได้ให้กับครอบครัวได้ ครอบครัวกลับยากจนลง และเด็กไม่สามารถเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น กลับเอาตัวไม่รอด ช่วยชีวิตตัวเองไม่ได้ มีแต่จะโง่มากขึ้น
ในขณะที่ผู้บริหารการศึกษากลับมีฐานะดีขึ้น มีตำแหน่งสูงขึ้น มีเงินเดือนมากขึ้น มีความสะดวกสบายขึ้น มีอำนาจมากขึ้น ได้สิ่งตอบแทน ได้เรียนต่อสูงขึ้น อยู่ห่างไกลจากชาวบ้านมากขึ้น ส่วนการศึกษาของเด็กส่วนใหญ่กลับแย่ลง ครูที่สอนเด็กก็มีความรู้น้อย รายได้น้อย ไม่มีแม้แต่ตำแหน่ง ไม่มีหลักประกัน
นโยบายการศึกษาไทย โง่อย่างมีหลักการ ทำให้การศึกษาล้มเหลวอย่างเป็นระบบ กระบวนการจัดการศึกษาของไทยเป็นเรื่องของคำสั่งและอำนาจจากข้างบนลงข้างล่าง ในขณะที่ธรรมชาติของการศึกษาเป็นเรื่องของความเจริญงอกงาม เกิดจากข้างล่างขึ้นไปข้างบน ค่อยๆ โตขึ้นๆ เมื่อกระบวนการสวนทางกับธรรมชาติก็ทำให้การศึกษาชุลมุนชนกัน สูงขึ้นก็ไม่ถึงยอด ต่ำลงก็ไม่ถึงดิน ชนกันหน้าเยินอยู่ตรงกลาง ผู้มีอำนาจก็มีผู้นำอยู่คนเดียว ที่เหลือเป็นหน้าที่ของเสมียนที่จะต้องทำตามคำสั่ง
หากผู้นำการศึกษาเป็นผู้รู้ "ผู้รู้เป็นผู้ชี้" รับรองได้ว่าการศึกษาไทยต้องเจริญ แต่ผู้นำการศึกษาไทยส่วนใหญ่แล้วไม่รู้ คือ "ไม่รู้ไม่ชี้" และ "ไม่รู้แล้วชี้" ซึ่งเป็นอันตรายต่อการศึกษาชาติอย่างรุนแรง เพราะโง่อย่างเรื้อรัง จึงไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาให้การศึกษาชาติก้าวไปข้างหน้าได้
เด็กที่มีพ่อแม่แข็งแรงก็จะก้าวไปได้ตามกำลังของพ่อแม่โดยไม่ต้องง้อหน่วยงานการศึกษาของรัฐ ส่วนเด็กที่เป็นชนชั้นล่าง ก็ต้องอาศัยการศึกษาของรัฐ ซึ่งก็จะได้รับการศึกษาที่พัฒนาไปอย่างยถากรรม เพราะต้องขึ้นกับนโยบายรัฐ การศึกษาไร้ความแน่นอน เชื่อถือไม่ได้ คาดเดาไม่ได้ การศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร จะไปทางไหน เรียนจบแล้วจะออกไปทำอะไรไม่รู้ บอกได้แต่เพียงว่าเด็กได้ไปโรงเรียนแล้ว เรียนรู้อะไรบ้างก็ไม่รู้ จบออกไปทำมาหากินอะไรก็ไม่รู้
หากผู้นำการศึกษาไทยใจกว้างพอ ยอมปล่อยให้แต่ละชุมชนจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ตามความจำเป็นและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยรัฐให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ แน่นอนว่าการศึกษาจะเติบโตในอัตราที่แตกต่างกันและไม่เหมือนกัน ในที่สุดการศึกษาทุกท้องถิ่นก็จะเจริญตามความต้องการของชุมชน ผู้บริหารการศึกษามีหน้าที่เพียงให้การสนับสนุนให้เจริญเท่านั้น
หากขาดเงินในการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขอเสนอให้ยุบกระทรวงศึกษาธิการให้เล็กลง จาก 6,000 คน ให้เหลือ 600 คน เอาไว้เฉพาะฝ่ายนโยบายและเสมียน ที่เหลือส่งให้ไปสอนหนังสือเด็กให้หมด ต่อมาก็ยุบสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยกให้สภามหาวิทยาลัยต่างๆ ทำงานแทน ยุบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ปล่อยให้โรงเรียนและชุมชนจัดการเรื่องคุณภาพการศึกษา ยุบสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยมอบให้ทุกโรงเรียนและชุมชนทำหน้าที่ประกันและประเมินแทน
และสุดท้ายขอให้ยุบสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเสีย เพราะไม่มีงานทำมานานแล้ว หากทำได้เช่นนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะมีงบประมาณเหลือให้กับโรงเรียนอีกจำนวนมาก
โดยสุกรี เจริญสุข มติชน. 20 มีค.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #567 เมื่อ: 22 มีนาคม 2558, 11:02:43 » |
|
ศาสตราจารย์ศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่ควรจะมีซูเปอร์บอร์ดเข้ามาบริหารจัดการระบบ แต่จะต้องปราศจากนักการเมือง เพราะนักการเมืองทำระบบการศึกษาเสีย ทุกวันนี้กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงเกรดเอ เพราะเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณสูงสุด แต่มีคุณภาพต่ำ เพราะทุกครั้งที่มีการปรับรัฐบาลก็จะมีการปรับเงินเดือนข้าราชการครู ทำให้ครูและนักการเมืองเป็นพวกเดียวกัน ดังนั้น ในการจะปฏิรูปการศึกษาจะต้องมีการล้มล้างระบบเดิมทิ้งไปให้หมด และพัฒนาโรงเรียนและครูให้มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะระบบการศึกษาในท้องถิ่น
นอกจากนี้ ส่วนตัวยังเห็นว่าควรจะเลิกระบบการกวดวิชา และดึงบุคลากรเหล่านั้นมาช่วยผลิตสื่อการเรียนการสอนป้อนให้กับการศึกในระบบ เพราะถือเป็นผู้ที่มีคุณภาพ
มติชน..21 มีค.
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #568 เมื่อ: 24 มีนาคม 2558, 12:33:36 » |
|
ตามครูมาเที่ยวไม่ทันเที่ยวตั้งหลายๆวัน ด้วยงานๆๆแต่ที่ปลื้มคือเจอน้องหอ2520 ที่งานรับเสด็จพระเทพ และส่งมอบศูย์การเรียนรู้ ร.รเขาส่องกล้อง บ้านนา นครนายก
จะเป็นใตร น้องน่ารักมากพอบอกเป็นพี่ซีมะโด่งหอ ดร.กมล รอดคล้าย
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #570 เมื่อ: 26 มีนาคม 2558, 10:58:06 » |
|
สวัสดี เริง
เข้ามา"ตามครูไปเที่ยวอีก" หลังจาก หายหน้า-หายตา ไปหลายวัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #571 เมื่อ: 26 มีนาคม 2558, 10:59:43 » |
|
ืครับ เข้ามาชมบ่อยๆนะครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #572 เมื่อ: 26 มีนาคม 2558, 11:03:22 » |
|
ภาพบ้านเคยอยู่ประจำจนถึงอายุ16 ปี ก่อนมาเรียนที่โรงเรียนทวีธาภิเศก ใกล้วัดแจ้ง
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #573 เมื่อ: 26 มีนาคม 2558, 11:19:14 » |
|
คงเข้าได้บ่อยครั้งขึ้นครับ
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้สายโทรศัพท์ยังเร่ยดินอยู่เลย ไฟฟ้ากำลังเปลี่ยนเสาไฟอยู่ครับ ระยะทางนับสิบกิโล
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #574 เมื่อ: 26 มีนาคม 2558, 18:21:32 » |
|
26 มีนาคม
วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2558 เป็นวันครบรอบ 98 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ
ผมได้รับเอกสารจากศูนย์สื่อสารองค์กรจุฬาฯแจ้งว่าจะมีการจัดงานเช่นเดียวกับทุกปีที่ผ่านมา จึงขออนุญาตนำมาสรุปให้ชาวจุฬาฯได้รับรู้รับทราบไว้ เผื่อจะมีใครแวะกลับไปเยี่ยมเยียนสถาบันเก่าตามห้วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งผมจะขอไล่เรียงไปตามลำดับ ตั้งแต่เช้าจดคํ่าดังที่เคยปฏิบัติมานะครับ
จริงๆแล้วผมตั้งใจจะเขียนให้ตั้งแต่เมื่อวาน เพื่อให้ศิษย์เก่าเตรียมตัวล่วงหน้า...เผอิญมีข่าวด่วนเข้ามาว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ลี กวนยู รัฐบุรุษของสิงคโปร์ถึงแก่อสัญกรรม ผมก็เลยต้องรีบเขียนถึงท่านเสียก่อนเพื่อไม่ให้ตกข่าวใหญ่
แต่ยกมาเขียนวันนี้ก็ยังทันครับ สำหรับท่านที่อ่านกรอบล่วงหน้า หรือแม้แต่อ่านกรอบประจำวันก็ยังทันอยู่ดี เพราะเขามีงานตลอดทั้งวัน
เริ่มจาก 07.00 น. จะมีพิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปิยมหาราช และ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯทรงบาตรด้วยในเวลาดังกล่าว
เวลา 08.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้เข้าร่วมบรรพชาและอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เข้าเฝ้า เพื่อกราบถวายบังคมลาบรรพชาและอุปสมบท ณ ห้อง 114 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จากนั้นเวลา 10.00 น. เสด็จฯทอดพระเนตรการแสดงดนตรีไทยป่ีพาทย์ดึกดำบรรพ์ ณ หอประชุมจุฬาฯ
ในช่วงบ่ายเริ่มจาก 13.00 น. ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้าย ศูนย์ “เพชรรัตน์” นิติทรัพยากร ณ คณะนิติศาสตร์ เวลา 13.30 น. ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “อาคารมูลนิธิสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และ เวลา 14.00 น. ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา”
ส่วนในช่วงเย็นตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณลานรอบศาลาพระเกี้ยว จะมีงาน “98 ปีคืนเหย้า เพราะใจเราคือจุฬาฯ” มีทั้งอาหารการกิน และการแสดงรื่นเริงบันเทิงใจไปเรื่อยๆ เหนื่อยเมื่อไรก็เลิกเมื่อนั้น. ไทยรัฐ 26. มีนาคม
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #575 เมื่อ: 27 มีนาคม 2558, 15:55:11 » |
|
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย 2. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่ามหาวิทยาลัย 3. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต 4. เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง 5. จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ บ่งบอกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระประสงค์อยากให้สถานที่แห่งนี้เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตกาล 6. เหตุที่ให้ชื่อมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณ์" เพราะว่า มีการสืบต่อเนื่องมาจากโรงเรียนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ชื่อแรกคือ " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " --> "โรงเรียนมหาดเล็ก" -->" โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " --> " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่าใช้ชื่อเกี่ยวกับพระราชบิดาของพระองค์มาโดยตลอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ University of Prince Chulalongkorn 7. เมื่อก่อนชื่อ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-" 8. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป (ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน 5 พระองค์) 9. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือ เงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า" 10. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาฯ นอกจากนี้ ได้พระราชทานเงินทุน เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน 11. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปีพ.ศ.2442 ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า "สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน" (ร้อยกว่าปีผ่านมา...) 12. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรก คือ รัฐศาสตร์,วิดวะ ,แพทย์ และ อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 13. คณะรัฐศาสตร์ มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2442 (ร.ศ.118) ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า "คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์” ในปี พ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์มาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย 14. เมื่อก่อน ศิริราช คือ คณะแพทย์ของจุฬาฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬา ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกตั้ง คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ดังนั้น คณะแพทย์ ที่สังกัดจุฬาจึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง(พ.ศ.2490) และนับเป็นรุ่นที่ 1(พ.ศ.2496) ตั้งแต่นั้นมา 15. จะเห็นได้ว่า ชาวคณะรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์/ทันตะ/เภสัช จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล 16. “พระเกี้ยว” พระพิจิตรเลขาประจำรัชกาลที่ 5 เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ทุกคน 17. เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน (ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา) 18. เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์ 19. สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ 20. จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาปลูกด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เอง และมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่า “ดอกสีชมพู” เป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล" 21. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต นอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 (เป็นเกียรติ เป็นศรี เป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่า “จุฬาลงกรณ์”) 22. จุฬาฯ แทบจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่บังคับให้นิสิตแต่งกายถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เพราะถือว่าที่นี่เป็น Original เอามาก ๆ ทำกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2459 จนถึงปัจจุบันนี้ พอน้อง ๆ ที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ พวกรุ่นพี่ก็จะต้องอบรมสั่งสอนเรื่องการแต่งกายแบบเข้มงวดมาก ๆ โดยเฉพาะน้องปี 1 หญิง-จะบังคับให้ใส่กระโปรงพลีตและรองเท้าหนังสีขาวล้วนเท่านั้น ชาย-ต้องผูกเน็คไทด์ ส่วนพวกรุ่นพี่ก็ต้องคอยดูแล ควบคุมการแต่งกายของทั้งน้องปี 1 และของตัวเอง ให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด พวกเราชาวจุฬาฯ ควรจะภาคภูมิใจในเครื่องแบบนิสิตซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานมาให้และรักษากฎระเบียบเพื่อความเรียบร้อย สวยงามและได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ว่าที่นี่นิสิตมีวินัย ให้เกียรติสถาบัน ดูงามตาน่ามอง (สมกับคำขวัญที่ว่า " แต่งกายสง่างาม สมพระนามจุฬาลงกรณ์ ") 23. จีบด้านหลังของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนสไบ (สะ-ไบ) แปลว่า ผ้าแถบ,ผ้าห่มผู้หญิง ส่วนที่ตลบกลับตรงท้องแขนของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนพาหุรัด แปลว่า เครื่องประดับ,กำไลแขน,ทองต้นแขน ซึ่งเป็นเครื่องประดับชั้นสูง 24. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดขึ้นที่จุฬาฯ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก 25. เป็นประเพณีในวันที่พี่บัณฑิตได้รับพระราชทานปริญญานั้น พี่ ๆ เขาจะให้สตางค์แก่น้องปี 1 ด้วย 26. ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อหลายสิบปีผ่านมาแล้ว ผู้ร่วมเหตุการณ์หลาย ๆ คนคงยังจำได้แม่นยำขึ้นใจ โดยเฉพาะนิสิตชายคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ปี 5 ที่โดนคัดชื่ออกจากจุฬาฯ ในปีการศึกษาสุดท้ายของตนคนนั้น ...ในขณะรถยนต์พระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคลื่อนที่ผ่านพิธีตั้งซองรับเสด็จฯ ของนิสิตปี 1 ... นิสิตชายคนนั้นได้วิ่งเข้ามาขวางรถยนต์พระที่นั่งและหมอบกราบลงกับพื้นถนน ... ท่ามกลางความตื่นตกใจของทุกคน ณ ตรงนั้น ... นิสิตชายคนนั้นได้ถวายฎีกาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเขาถูกคัดชื่อออกเพราะมีเรื่องวิวาทกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งโดนคัดชื่อออกจากจุฬาฯ เช่นกัน ... เขาขอศึกษาต่อ เพราะเป็นปีสุดท้ายแล้ว ในปีนี้เพื่อน ๆ ร่วมชั้นปีได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรกันหมด แต่เขาถูกเพิกถอนสิทธิ์ศึกษาต่อในจุฬาฯ ... ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำความนี้เข้าที่ประชุม และให้นิสิตชายคนนั้นได้ศึกษาต่อ ... ในปีการศึกษาถัดมา เขาได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... เขาได้เข้าถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถาปนิก ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดีตลอดอายุการทำงานของเขา ... เมื่อปลายปี 2547 เขาคนนี้เพิ่งเกษียณอายุงานจากการเป็นสถาปนิกในพระบรมมหาราชวังตลอดมา 27. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา" 28.สมเด็จพระเทพฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 29. สมเด็จพระเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งพระยศเป็นเจ้าฟ้า ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 (สำหรับเรื่องนี้ก็ไปดูที่หอประวัติชั้นสองได้เช่นกัน มีพระฉายาลักษณ์ของท่านที่ติดอยู่กับบัตรห้องสมุดและบัตรประจำตัวนิสิตด้วย มีคำบรรยายประกอบพร้อมสรรพ) 30. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา 2548 31. จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวที่มีสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ 4 พระองค์ ได้แก่ - 4 ตุลาคม 2461 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เสด็จมารับราชการที่จุฬาฯ นับเป็นเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาฯ ในครั้งนั้นท่านทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ - พ.ศ. 2467-2468 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสอนวิชา vertebrate anatomy แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทรงริเริ่มและสอนวิชาอารยธรรมและประวัติศาสตร์แก่นิสิตทุกคณะที่ลงทะเบียน ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สอง - มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศส และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อพระองค์ท่านมีทรงงานเยอะขึ้น จึงต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย) พระองค์ท่านทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สาม - พ.ศ. 2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอนวิชาอารยธรรมแก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามโครงการการศึกษาทั่วไป ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สี่ 32. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอน-หลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่น ๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้ 33. จุฬาฯ มี 5 ฝั่งนะ ฝั่งแรก คือ ฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ.....ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ...ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช...ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งหลังมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวช,จิตวิทยา,วิทย์ฯกีฬา และคณะพยาบาล ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่ง ร.พ. จุฬาฯ คือ ที่ตั้งของ คณะแพทยศาสตร์ 34. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่ใช่ของจุฬาฯ แต่เป็นของสภากาชาดไทย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #576 เมื่อ: 28 มีนาคม 2558, 19:27:50 » |
|
พระบรมราชานุสาวรีย์ที่ให้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน [ สวัสดิ์ จงกล ] “...เมื่อได้กล่าวถึงโรงเรียนนี้ ว่าจะเปนการสงเคราะห์แต่ตระกูลเจ้านายดังนี้ ใช่ว่าจะลืมตระกูลข้าราชการและราษฎรเสียเมื่อไร โรงเรียนที่มีอยู่แล้วแลที่จะตั้งขึ้นต่อไปภายน่า โดยมากได้คิดจัดการโดยอุส่าห์เต็มกำลังที่จะให้เป็นการเรียบร้อย พร้อมเพรียง เหมือนอย่างโรงเรียนนี้ แลคิดจะให้แพร่หลายกว้างขวาง เปนคนที่ได้เรียนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งจะมีโรงเรียนวิชาอย่างสูงขึ้นไปอีกซึ่งกำลังคิดจัดอยู่บัดนี้ เจ้านายตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้าว่าขุนนางว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึ่งขอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุส่าห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่พระราชวงศ์ และข้าราชการซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานของโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ที่อัญเชิญมาข้างต้นนี้เป็นพระราชปณิธานซึ่งแสดงให้ว่าทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา (ทรงใช้คำโรงเรียนวิชาอย่างสูง) ให้มีขึ้นในกรุงสยามเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยทุกคนมีโอกาสเล่าเรียนเสมอกันพระราชปณิธานนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งดังปรากฏในพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ผู้ที่ชุมนุมงานพระราชพีธีวาง ศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตึกอักษรศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน) เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ดังนี้ “วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้วในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีเหตุติดขัด ซึ่งการจะยังดำเนินไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์โดยรู้ว่าเมื่อทำได้สำเร็จแล้วจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเรา เป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์อันใหญ่และถาวรเช่นนี้ ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย” พระราชปณิธานและพระราชดำรัสที่อัญเชิญมานี้ชี้ให้เห็นพระราชปรารถนาที่จะให้พสกนิกรของพระองค์มีโอกาสศึกษาหาความรู้เท่าเทียมกันนับตั้งแต่การศึกษาขั้นต้นจนถึงระดับอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยพระราชทานพระราชดำริว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมี 2 แนวทางคือตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเลย กับค่อย ๆ พัฒนาสถาบันซึ่งทรงมีพระราชปณิธานจะให้เป็นมหาวิทยาลัยตามกำลังจะประมาณ การจัดตั้งอย่างแรกทรงเห็นว่าสิ้นเปลืองมากและจะไม่มีงบประมาณดำเนินงานกิจการอื่นเลย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งและเตรียมการให้สำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็ทรงสนับสนุนให้เปิดโรงเรียนวิชาชีพชั้นสูงในหลายสาขาวิชาขึ้นเพื่อผลิตคนเข้าทำงาน เหตุที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะอนุมานจากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นองค์รัชทายาทผู้ทรงรับพระบรมราโชบายและทรงทราบพระราชปรารถนาในสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นอย่างดี จึงทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นมหาวิทยาลัยตามพระบรมราโชบายแลพระราชปรารถนาแห่งสมเด็จพระชนกธิราชของพระองค์ และในที่สุดก็ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำเสนอเรื่องนี้เพื่อประสงค์จะให้นิสิตใหม่ทุกท่านได้ตระหนักถึงเกียรติประวัติของมหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักเคารพของเราว่าสถาบันนี้ไม่ใช่เป็นเพียงมหาวิทยาลัย แต่เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระปิยมหาราชให้เจริญก้าวหน้ายั่งยืนตลอดไป จุดประสงค์อันสำคัญและยิ่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยนี้ก็คือจะต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้ามาศึกษาหาความรู้ ขอให้นิสิตใหม่ทุกท่านแสวงหาความรู้ฝึกทัศนคติและทักษะในวิชาชีพของท่านให้เต็มตามศักยภาพของท่านแล้วทำงานรับใช้บ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากท่านเข้าใจและทำสำเร็จท่านก็จะเป็นผู้ที่ถวายความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระบรม ราชูปถัมภกทั้งสองพระองค์ รวมทั้งจะเป็นการแสดงความรักจุฬาฯ ที่มีคุณค่าทั้งต่อตัวท่านเองและสถาบันแม่ของเรา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #577 เมื่อ: 28 มีนาคม 2558, 19:39:46 » |
|
พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงมีคุณานุปการต่อจุฬาฯ : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม " ด้วยวันที่ 25 ตุลาคม ศกนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การพระราชทานปริญญาครั้งนี้เป็นครั้งแรกอันพึงบังเกิดขึ้นในประเทศสยาม สำนักท่านเป็นสำนักศึกษาแห่งหนึ่ง ถ้าท่านสนใจในเรื่องนี้จะแต่งผู้แทนไปประชุมในการนี้แล้ว มหาวิทยาลัยยินดีต้อนรับ และขอเชิญไป ณ ตึกมหาวิทยาลัยด้านถนนสนามม้า เวลา 16.30 นาฬิกา......" จดหมายเชิญฉบับนี้มหาวิทยาลัยส่งไปยังหน่วยงาน 11 แห่ง อาทิ สยามโซไซเอตี อัลลิยะ อังซ์ ฟรังเซส์ โซซิเอตา อันเตลิเฆียรี กรมยุทธศึกษาทหารบก กรมยุทธศาสตร์ทหารเรือ สภากาชาดสยาม วชิรพยาบาล มหามงกุฎราชวิทยาลัย ราชบัณฑิตยสภา กรมร่างกฎหมายและโรงเรียนกฎหมาย ผู้ที่ได้รับเชิญครั้งนั้นมีหลายกลุ่ม ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม กระทรวงวัง กรมราชเลขาธิการ กรมพระคลังข้างที่ เอกอัครราชทูตของประเทศที่ส่งมาประจำในประเทศไทย อาจารย์พิเศษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์เก่า บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ และผู้เกื้อหนุนโรงพยาบาลศิริราช พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 นี้ จัดให้มีขึ้นที่ห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ในปัจจุบัน) พระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิตหรือแพทยศาสตรบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิธีเริ่มเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์และผู้ร่วมพิธีเข้าสู่ห้องประชุมแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม ทรงจุดเทียนชะนวนที่พระพุทธรูปและพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ (มหาอำมาตย์เอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรครั้งนั้นยังไม่ได้ทรงกรม) ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัยสองท่าน คือ บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชาผู้บัญชาการ (อธิการบดีในปัจจุบัน) และบัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ ศ.นพ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่าง พ.ศ.2478 - 2479) ต่อจากนั้นผู้บัญชาการของมหาวิทยาลัยกล่าวกถาญัตติกรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานประกาศนียบัตร (ปริญญาบัตรในปัจจุบัน) บัณฑิตใหม่กล่าวคำปฏิญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรางวัลเหรียญทองคำและเหรียญเงินสำหรับผู้ได้คะแนนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตร 4 ปี เหรียญทองแดงสำหรับผู้ได้คะแนนเป็นที่ 1 ในแผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์ แผนกพยาธิวิทยา แผนกสรีรวิทยาและแผนกกายวิภาควิทยา ทั้งในปี พ.ศ. 2471 และ 2472 ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2471 จำนวน 18 คน ใน พ.ศ. 2472 จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้นเป็นเวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน) 34 คน ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาท จากนั้นจึงถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ถวายอดิเรกและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินกลับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #578 เมื่อ: 29 มีนาคม 2558, 07:32:51 » |
|
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๔๙๒ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ อธิการบดี และสมาชิกแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่มีโอกาสมางานแจกปริญญาบัตรในวันนี้ และขอบใจที่ทางมหาวิทยาลัยให้ปริญญากิตติมศักดิ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตอันเป็นปริญญาสูงสุดแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะรักษาเกียรติแห่งปริญญานี้ไว้ทุกประการ ตามรายงานที่อธิการบดีได้อ่านมาแล้ว แสดงว่าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้เจริญขึ้นมากทั้งนี้เนื่องจากผลงานที่บรรดาศาสตราจารย์ อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทุกๆคนได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าสถานศึกษานี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบ้านเมือง เมื่อพิจารณาดูจาก "ทุนอุดหนุนการศึกษา" ก็เห็นได้ชัดว่า จำนวนผู้อุปการะให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยมีมากอย่างน่าปลื้มใจ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาและอนุปริญญาในวันนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีด้วย เพราะการที่จะบรรลุถึงผลขั้นสุดท้ายของการศึกษา เช่นที่ได้ปฏิบัติมานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและน่าสรรเสริญ แต่ขอให้นึกอยู่เสมอว่า เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่เอาใจใส่เฝ้าดูการกระทำของท่านอยู่ต่อไป ใครทำดีก็ได้รับคำชมเชยและสรรเสริญ ใครทำไม่ดีเขาก็จะพากันติ และพลอยติชมถึงสถานศึกษาของท่านด้วย ชื่อมหาวิทยาลัยของท่านคือ "จุฬาลงกรณ์" จะติดตัวท่านไปด้วยเสมอไม่ว่าจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ฉะนั้น ทุกๆครั้งที่ท่านจะกระทำการสิ่งใดลงไปจงคิดแล้วคิดอีก ทบทวนดูทั้งทางได้ทางเสียให้แน่ชัดเสียก่อน "จุฬาลงกรณ์" หาได้เป็นแต่เพียงชื่อของมหาวิทยาลัยนี้เท่านั้นไม่ ยังเป็นนามของผู้พระราชทานกำเนิดของสถานที่แห่งนี้ด้วยฉะนั้น จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนไปจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนี้ ข้าพเจ้าขออวยพร ให้ท่านทั้งหลายที่มาประชุมอยู่ ณ ที่นี้ จงมีความสุขความเจริญโดยทั่วกัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #579 เมื่อ: 30 มีนาคม 2558, 07:55:44 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #580 เมื่อ: 30 มีนาคม 2558, 13:20:34 » |
|
นักโบราณคดีจากประเทศสเปน ที่ศึกษาวิจัยโครงกระดูกที่ค้นพบที่เมืองอัสวาน ประเทศอียิปต์ พบว่าโครงกระดูกที่พบ เป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่มีอายุเก่าแก่ถึง 4,200 ปี และยังพบด้วยว่า หญิงรายนี้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งถือเป็นการค้นพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่าโรคมะเร็ง ไม่ใช่โรคสมัยใหม่แต่อย่างใด โดยกระทรวงดูแลกิจการโบราณคดีของอียิปต์ ออกแถลงการณ์ถึงการค้นพบดังกล่าวว่า โครงกระดูกของผู้หญิงที่นักโบราณคดีขุดค้นพบว่าถูกตรวจพบว่า กระดูกมีส่วนที่ถูกทำลายอันเนื่องมาจากการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งเต้านม จากการตรวจสอบหลังกฐานเบื้องต้นพบว่าหญิงรายนี้น่าจะเป็นหญิงสูงศักดิ์ที่อาศัยอยู่บนเกาะเอเลฟานทีนี บริเวณริมแม่น้ำไนล์ ในช่วงราชวงศ์ที่ 6 ของอียิปต์ คือช่วง 2325-2150 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพบหลักฐานว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในยุคโบราณ เพราะเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา นักโบราณคดีได้ค้นพบโครงกระดูกเก่าแก่อายุถึง 3,000 ปี ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ที่สุสานแห่งหนึ่งในประเทศซูดานปัจจบัน และเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการทำเอ็มอาร์ไอมัมมี่ไซบีเรียตนหนึ่ง ที่มีอายุเก่าแก่ 2,500 ปี และพบว่ามัมมี่ตนนั้นเป็นโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเท่ากับว่าการค้นพบโครงกระดูกของผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมล่าสุดนี้ เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก เพราะมีอายุถึง 4,200 ปี...เดลินิวส์ 30. มีนาคม 2558
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #581 เมื่อ: 30 มีนาคม 2558, 17:36:57 » |
|
พระราชทานอภัยโทษ 5 รอบ 'สมเด็จพระเทพฯ' “อภัยโทษ” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ สมเด็จพระเทพฯ ปล่อยทันที นักโทษทุพลภาพ ป่วยโรคร้าย ชรา นักโทษหญิงจำคุกครั้งแรกอายุไม่ครบ 20 ปี ลดโทษประหารชีวิตเหลือจำคุกตลอดชีวิต จำคุกตลอดชีวิตเหลือ 50 ปี นักโทษยาเสพติดโทษไม่เกิน 8 ปี ให้ลดโทษตามลำดับชั้น วันจันทร์ 30 มีนาคม 2558 เวลา 16:09 น. เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 30 มี.ค. พระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เม.ย. 58 ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยหลักเกณฑ์ผู้ต้องขังที่มีสิทธิได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวมีดังนี้ ต้องเป็นผู้ต้องขังที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ หรือเป็นผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ พิการ ทุพลภาพอย่างเห็นได้ชัด เจ็บป่วยด้วยโรคที่ได้รับการตรวจรับรองเอกฉันท์ว่าไม่สามารถรักษาในเรือนจำให้หายได้ เช่น โรงเรื้อน ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง เอดส์ โดยจะต้องเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนด กรณีหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรกไม่ว่าความผิดเดียวหรือหลายคดีซึ่งต้องรับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนด เป็นคนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปี ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือคนที่มีอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป เป็นผู้ต้องโทษจำคุกครั้งแรกและมีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยต้องได้รับโทษาจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นดีเยี่ยม ซึ่งมีโทษจำคุกเหลือไม่เกิน 2 ปี สำหรับผู้ต้องขังเด็ดขาดที่ไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษมีดังนี้ ผู้ต้องขังเด็ดขาดต้องโทษประหารชีวิต ให้เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เปลี่ยนเป็นจำคุก 50 ปี แล้วให้ลดโทษตามลำดับชั้น ประกอบด้วย ชั้นเยี่ยม 1 ใน 5 ชั้นดีมาก 1 ใน 5ชั้นดี 1 ใน 6 ชั้นกลาง 1 ใน 7 ส่วนผู้ต้องขังคดียาเสพติดโทษจำคุกไม่เกิน 8 ปี มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ชั้นเยี่ยมลดโทษ 1 ใน 7 ชั้นดีมาก 1 ใน 8 ชั้นดี 1 ใน 9 และชั้นกลาง 1 ใน10...... .มติชน 30 มีนาคม
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #583 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558, 11:09:15 » |
|
ตามไปเที่ยว รร.สวนกุหลาบ นนทบุรีแล้ว
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #584 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558, 13:42:20 » |
|
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี : Suankularb Wittayalai Nonthaburi School (อักษรย่อ: ส.ก.น., S.K.N.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษาในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิทยานนท์กองการมัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชื่อเดิม: กรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมสามัญศึกษา ได้รับบริจาคที่ดิน จากนายผาสุก และนางเง็ก มณีจักร สองสามีภรรยา คหบดีชาวอำเภอปากเกร็ด ที่มีความประสงค์ให้สร้างโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย บนพื้นที่ดังกล่าว จึงเกิดการประสานงานจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคมพ.ศ. 2521 เดิมให้ชื่อไว้ว่า “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒ (ผาสุก มณีจักร)” และมอบหมายให้ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รักษาราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน จนถึงปลายปีถัดมา จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #585 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558, 20:08:07 » |
|
40 ราชภัฏ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านการศึกษา “สมเด็จพระเทพฯ” ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เพชรบุรี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 ทปอ.มรภ. มีมติร่วมกันที่ มรภ. ทั้ง 40 แห่ง ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านการศึกษา แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ด้วยทรงสร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เพื่อช่วยนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เพื่อไปประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #586 เมื่อ: 01 เมษายน 2558, 08:12:35 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #587 เมื่อ: 01 เมษายน 2558, 21:25:16 » |
|
ทรงพระเจริญที่มา..เดลินิวส์ออนไลน์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #588 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 06:22:53 » |
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ
โดยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์แรก ที่ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์ที่ “สยามบรมราชกุมารี” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นานัปการในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์อันเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประเทศชาติ พระองค์ทรงเรียนรู้งานด้านการพัฒนาจากการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบทห่างไกลและท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร ทำให้ทรงทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของความยากจน การขาดแคลนอาหาร ปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัย บริการด้านสาธารณสุข ตลอดจน ปัญหาด้านการศึกษา จึงเกิดโครงการพัฒนาตามพระราชดำริขึ้น เพื่อช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนผู้ยากไร้ในชนบท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มงานพัฒนาในปี พ.ศ. 2523 โดยทรงทดลองทำ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 3 โรง ประกอบด้วย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแจง ตำบลศรีมงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งศาลา ตำบลป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก ตำบลไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงพระราชดำริส่งเสริมให้นักเรียนปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แล้วนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันรับประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
การระบาดของ โรคคอพอกเนื่องจากการขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงแก้ไขปัญหานี้โดยทรงริเริ่มโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนด้วยการรณรงค์ให้มีการใช้เกลือไอโอดีนหรือหยดไอโอดีนในการประกอบอาหาร และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขาดไอโอดีน พระองค์ยังให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพอนามัยของแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร ทรงตระหนักว่าคนเราจะมีภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่ดีนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา พระองค์จึงเริ่ม โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้แม่และเด็กได้รับบริการทางด้านอนามัยและการโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม
นอกจากการพัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการดีและสุขภาพแข็งแรงแล้ว ทรงพัฒนาศักยภาพของเด็กในด้านการศึกษาด้วย ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐ โดยใน พ.ศ. 2526 มีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ พร้อมที่จะไปศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้
พระองค์ทรงสนพระทัยใน ด้านศาสนา เนื่องจากทรงได้รับการอบรมให้มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยพระองค์มักจะได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พิธีเวียนเทียนที่พุทธมณฑล เนื่องในวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา การถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น
ไม่เพียงงานพัฒนา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังสนพระทัย งานศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทย ซึ่งพระองค์ทรงสนับสนุนในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากด้านดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยทั้งในด้าน การช่างไทย นาฏศิลป์ไทย งานพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย
พระองค์มีพระราชดำริว่า ควรจะมีการถ่ายทอดงานด้านวัฒนธรรมไปสู่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ผ่านกระบวนการจัดการศึกษาอบรม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้เรียนรู้ ตระหนักความสำคัญ รักและผูกพันในศิลปวัฒนธรรมของชาติ สามารถสืบทอดเพื่อการอนุรักษ์และอาจพัฒนาเป็นอาชีพได้ ทรงสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” เมื่อ พ.ศ. 2531และ “วิศิษฏศิลปิน” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา รวมทั้ง ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
ด้วยพระวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติกิจการอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและประชาชน อันเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทย และนานาอารยประเทศ จึงทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ พระเกียรติคุณ ตำแหน่งเกียรติยศ และปริญญากิตติมศักดิ์ จากสถาบัน หน่วยงานและองค์กร ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศจำนวนมาก
ทีมวาไรตี้ เดลินิวส์ 2 เมษายน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #589 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 08:47:05 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #590 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 14:10:47 » |
|
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 2 เม.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าวาสุกรี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งกรมประมงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2558 และทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา เป็นพันธุ์ปลาไทย 9 ชนิด ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลายี่สกไทย ปลาโพง ปลาหมอไทย ปลากราย ปลากระแห ปลาสร้อยขาว ปลาบึก รวมจำนวน 590,000 ตัว และปลากระเบนเจ้าพระยา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัว 1.5 เมตร จำนวน 1 ตัว ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา..
ข่าว. เดลินิวส๋ 2 เมษายน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #591 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 16:30:54 » |
|
พระราชดำรัสสมเด็จพระเทพฯ ต่อผู้มาถวายพระพรเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้บุคคลและคณะบุคคลต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองพระบาท ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2558 ในโอกาสนี้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับผู้สูงอายุและพระราชทานพรให้แก่ผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และพสกนิกรชาวไทย
ตอนหนึ่งของพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพฯ ตรัสถึงสังคมผู้สูงอายุและการเป็นครูที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าว่า
“ตอนนี้ทั้งผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ทั้งหมอ นักกายภาพ หรือแม้แต่สถาปนิก วิศวกรก็มีบทบาทอย่างมากในการสร้างบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุให้อยู่ได้อย่างสบายและปลอดภัย ก็ต้องช่วยกัน มีเรื่องเล่าอยู่นิดว่า ก่อนจะสูงอายุก็ได้ทำงานที่อาจจะไม่ได้เห็นกันทั่วๆไป
คือทำงานเป็นครูเป็นอาจารย์มา 36 ปี แต่ทำอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยฯ 35 ปี พอมาถึงตอนนี้ อีก 6 เดือน เราเป็นข้าราชการเราก็จะต้องทำงานถึงสิ้นปีงบประมาณ เจ้าหน้าที่ทางทหารเขาก็เขียนในบัตรประจำตัวว่า ‘ถึง 30 กันยายน’ ก็ถามว่า อ้าว..แล้วหลังจากนั้นจะให้ฉันทำยังไงล่ะ เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวเขาออกให้อีกใบเป็นบัตรข้าราชการบำนาญ”
ในตอนท้าย สมเด็จพระเทพฯ ได้พระราชทานพรแก่ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทดังนี้
“สุดท้ายนี้ก็ขอออวยพรอีกครั้ง ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและคุณความดีของทุกๆท่าน ขอให้เป็นเครื่องคุ้มครองและทำให้ท่านมีความสุขพร้อมจตุรพิธพรชัยทุกๆ ประการและขอขอบคุณที่มาในวันนี้”
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #592 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 19:31:00 » |
|
ธปท.ออกธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระเทพฯ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #593 เมื่อ: 02 เมษายน 2558, 19:58:14 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #594 เมื่อ: 03 เมษายน 2558, 05:39:45 » |
|
ภาครัฐ เอกชน และประชาชน พร้อมใจสวมใส่เสื้อสีม่วง ร่วมกิจกรรมจุดเทียนชัย เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ณ ท้องสนามหลวงกันอย่างเนืองแน่น
วันที่ 2 เมษายน 2558 ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมสวมใส่เสื้อสีม่วงที่มีตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เดินทางมาที่ท้องสนามหลวงเพื่อรอเข้าร่วมพิธีจุดเทียนชัยถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #595 เมื่อ: 03 เมษายน 2558, 08:18:46 » |
|
ทรงพระเจริญวันนี้( 2 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “น้องน้อยของพี่ชาย” ซึ่งเป็นบทความที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชนิพนธ์ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 3 รอบ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2534
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #596 เมื่อ: 03 เมษายน 2558, 08:35:24 » |
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #597 เมื่อ: 04 เมษายน 2558, 17:19:05 » |
|
พสกนิกรตื่นเต้น ตื่นตูม ยืนแถวแลกแบงก์ แลกเหรียญ กับมาก 10 ล้านฉบับสำหรับคนไทย 60-70 ล้านคน ติดได้ไง?? ต้องพิมพ์รอบสองอีก 10 ล้านฉบับ จะพอรึเปล่าก็ไม่รู้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #598 เมื่อ: 05 เมษายน 2558, 04:33:46 » |
|
นางรัตติยา ไชยวงศ์ นักโบราณคดีชำนาญการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย เข้ามาตรวจสอบสิ่งที่พบที่จังหวัดสุโขทัย พบว่า วัตถุโบราณดังกล่าวเป็นชิ้นส่วนด้านหน้ากลองมโหระทึก เส้นผ่านศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ตรงกลางมีลายนูนต่ำพระอาทิตย์ 14 แฉก ที่ขอบมีประติมากรรมรูปกบหันทิศทวนเข็มนาฬิกา 2 ตัว ลายนูนต่ำนกกระเรียนบินทวนเข็มนาฬิกา 4 ตัว อายุไม่ต่ำกว่า 2,500 ปี "เป็นการค้นพบที่สำคัญมาก และจากขนาดหน้ากลองที่ใหญ่ มีลวดลายสวยงาม ก็มีความหมายบ่งบอกถึงฐานะที่ไม่ธรรมดาให้กับท้องถิ่น เบื้องต้นทางคณะกรรมการชุมชนบ้านวังหาด มีมติร่วมกันว่าจะขอเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติชุมชน เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป". มติชน..๔. เมษายน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #599 เมื่อ: 05 เมษายน 2558, 22:32:46 » |
|
นายชัยพจน์ เปิดเผยว่า แรงจูงใจที่ทำให้ตนต้องการประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา ตนได้ติดตามข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าของประเทศ บางครั้งได้ข่าวว่าประเทศพม่าหยุดการส่งแก๊สธรรมชาติให้กับประเทศไทยมาหลายครั้ง ตนจึงคิดว่าจะทดลองคิดค้นหาต้นทุนพลังงานที่ใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า พร้อมทั้งคิดหาทางแก้ไขว่าหากน้ำไม่ไหลจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร และหากกระแสไฟดับจะมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร ถึงแม้ตนจะเรียนจบแค่ชั้น ม.6 แต่ตนก็พอจะมีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าพอสมควร จึงได้ทดลองประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการลองผิดลองถูกมานานกว่า 6 ปี คิดค้นหาความรู้ทั้งเรื่องของถ่านหินหรือแม้กระทั่งนิวเคลียร์ แต่สุดท้ายก็มาคิดได้ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากแรงดันของน้ำ เหตุผลเพราะไม่ต้องใช้ทุนมากมาย จึงคิดค้นและศึกษาเกี่ยวกับการไหลของน้ำ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับการหมุนของกังหันลม จากการลองผิดลองถูกจนสุดท้ายตนก็สามารถประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จ ซึ่งต้นทุนที่นำมาผลิตประมาณ 4 แสนบาท
"สำหรับเครื่องประดิษฐ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ตนได้ไปยื่นเอกสารเพื่อจดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า “ระหัดรับน้ำแนวตั้งเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า“ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 20 กิโลวัตต์ ซึ่งเหมาะที่จะนำไปใช้กับภาคอุตสาหกรรม เช่นโรงงาน หรือโรงแรม นอกจากนี้เครื่องดังกล่าวยังสามารถปรับกระแสไฟฟ้าได้ตามที่ต้องการอีกด้วย แต่ถ้าหากต้องการกระแสไฟฟ้ามากกว่านี้ ก็จำเป็นจะต้องผลิตเครื่องประดิษฐ์ชนิดนี้ให้ใหญ่ขึ้น แต่ทางที่ดีควรจะผลิตเครื่องเท่าเดิมแต่เพิ่มจำนวนมากขึ้นตามที่ต้องการจะเหมาะกว่า สำหรับเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่ตนคิดค้นขึ้นมา สามารถนำไปใช้กับหมู่บ้านได้ทั้งตำบล โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าแรงสูง และสามารถนำไปติดตั้งที่ปลายทางตามที่ต้องการได้ด้วย" นายชัยพจน์ กล่าว
นายชัยพจน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐบาล เข้ามาให้การสนับสนุน ตนเชื่อว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าช่วยคนไทยทั้งประเทศได้อย่างแน่นอน ส่วนตัวแล้วเชื่อและมั่นใจว่าเครื่องประดิษฐ์ที่ตนคิดค้นขึ้นมาเป็นเครื่องแรกของประเทศและอาจเป็นเครื่องแรกของโลก. ข่าวไทยรัฐ
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #602 เมื่อ: 12 เมษายน 2558, 14:00:12 » |
|
พักที่โฮมสเตย์
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #605 เมื่อ: 12 เมษายน 2558, 14:37:03 » |
|
ได้เวลากลับล่ะ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #606 เมื่อ: 18 เมษายน 2558, 21:21:59 » |
|
เล่นน้ำสงกรานต์ที่บางลำภู
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #607 เมื่อ: 19 เมษายน 2558, 15:45:37 » |
|
น้องเริง พี่ต้อยวางหาภาพ ดร.กมล ตอนรอรับเสด็จที่ ร, .รเขาส้งกล้อง นครนายกได้ล่ะ วันนั้นคงเป็นวันที่ทูลหม่อม รับสั่งเรื่องงานการศึกษากับน้องดร.ไว้เยอะล่ะน่ะ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #608 เมื่อ: 20 เมษายน 2558, 12:35:21 » |
|
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทายาทของนายโรเบิร์ต เลวิส หนึ่งในนักบินร่วมของเครื่องบิน"อีโนล่า เกย์"เครื่องบินลำประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ที่ใช้ทิ้งระเบิดปรมาณู ถล่มญี่ปุ่น ได้นำภาพลับที่ไม่เคยถูกพบเห็นมาก่อน ที่ประกอบด้วยภาพสเก็ตซ์แผนทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิม่าของญี่ปุ่น จำนวนนี้รวมทั้งจดหมายของบิดาเขา ที่มีข้อความสำนึกผิดต่อการกระทำของเขาด้วย รายงานระบุว่า ภาพเหล่านี้คาดว่าจะถูกประมูลได้เป็นมูลค่ากว่า 3 แสนปอนด์ ซึ่งจะถูกนำขายโดยนายสตีเฟ่น เลวิส บุตรชายนักบินประวัติศาสตร์รายนี้ โดยจะประกอบด้วยภาพเอกสารที่ไม่เคยถูกพบเห็นมาก่อน โดยจำนวนนี้ ภาพหนึ่งเป็นภาพสเก็ตซ์เครื่องบินบี 29 ของสหรัฐที่ถูกใช้ปฎิบัติการโจมตีญี่ปุ่น หรือที่รู้จักกันว่าเครื่องบิน"อีโนล่า เกย์" จะทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มยังเมืองฮิโรชิม่าของญี่ปุ่น ในวันที่ 6 ส.ค.ปี 1945 ที่อยู่ในระดับความสูง 3 หมื่นฟุต โดยภาพดังกล่าวถูกวาดด้วยปากกาหมึกซึม แสดงให้เห็นแผนของเครื่องบินอีโนล่า เกย์ ทิ้งระเบิดปรมาณู"ลิตเติล บอย"ใส่เมืองดังกล่าว ก่อนที่เครื่องบินนี้จะบินกลับด้วยการบินวกไปด้านขวาหักมุม 150 องศา และรวมทั้งภาพที่มีข้อความเขียนว่า"ระวัง จงอยู่เหนือควันระเบิดปรมาณูในระดับอย่างน้อย 2-3 ไมล์ ตลอดช่วงที่เกิดควันปรมาณู" อย่างไรก็ตาม ในการประมูลนี้ยังรวมทั้งจดหมายของนักบินโรเบิร์ต เลวิส ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงความรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์โจมตีรุนแรงที่สุดในโลก ของประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สองดังกล่าว มีเนื้อความระบุว่า "พระเจ้า เราทำอะไรลงไป เราฆ่าคนไปมากแค่ไหนนี่ และว่า ผมคิดว่าลูกเรือทั้งหมดจะรู้ว่าเหตุการณ์นี้มันเป็นมากกว่าสิ่งที่มนุษย์คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ และหากผมอยู่ได้ถึงหลายร้อยปี ผมจะไม่มีปล่อยให้เหตุการณ์ทิ้งระเบิดที่เกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีนี้ หายไปจากจิตใจตัวเองเลย ทั้งนี้ ประเมินว่า ปฎิบัติการ"อีโน่า เกย์"ทิ้งระเบิดปรมาณู ถล่มเมือง"ฮิโรชิม่า" ส่งผลให้มีชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตกว่า 150,000 คน หรือคิดเป็น 70 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมด ...ข่าวมติชน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #609 เมื่อ: 23 เมษายน 2558, 11:22:14 » |
|
6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เมืองฮิโรชิมา เครื่องบินบี 29 อีกลำหนึ่งได้บินอยู่เหนือเมืองฮิโรชิมาเพื่อตรวจสอบสภาพอากาศ ทำให้ประชาชนตื่นกลัวและหลบอยู่ในที่กำบัง เครื่องบินตรวจสอบสภาพอากาศรายงานผลไปยัง อีโนล่า เกย์ และเมื่อเครื่องบินตรวจสอบอากาศบินเลยไปโดยไม่มีการโจมตี ช่วงนั้นดูเหมือนภัยคุกคามจะผ่านไปแล้ว แต่ต่อมาไม่นานเครื่องบิน อีโนล่า เกย์ ก็บินอยู่เหนือน่านฟ้าฮิโรชิมา เวลา 8:15 นาฬิกา ระเบิดนิวเคลียร์(ทดลอง)ที่มีชื่อว่า Little Boy ระเบิดลูกประวัติศาสตร์ถูกปล่อยออกมา หลังจากหล่นลงมา 43 วินาที กลไกที่ทำงานตามเวลาและแรงดันอากาศก็เริ่มกระบวนการจุดระเบิด กระสุนยูเรเนียมถูกยิงไปตามลำกล้องเข้าใส่ยูเรเนียมที่เป็นเป้าหมาย ยูเรเนียมทั้งสองเริ่มทำปฏิกิริยาลูกโซ่ อณูของแข็งเริ่มแตกตัวและปล่อยพลังงานออกมาในปริมาณมหาศาล ระเบิดปล่อยอานุภาพทำลายล้างออกมาทีละขั้น ประกายไฟที่ออกมาจากลูกไฟยักษ์ที่กว้างถึง 300 เมตร ทำให้อุณหภูมิที่อยู่ด้านล่างลูกไฟนั้นสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส รังสีความร้อนหลอมละลายทุกอย่างที่อยู่ในที่โล่งถ้าไม่ระเหยกลายเป็นไอ ก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปในทันที ปฏิบัติการของทหารอเมริกันครั้งนั้นคร่าชีวิตคนไปราว 200,000 คน และเป็นการยุติสงครามโดยสิ้นเชิง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #610 เมื่อ: 24 เมษายน 2558, 11:46:56 » |
|
อดีตของฮิโรชิมา ปัจจุบัน
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #611 เมื่อ: 24 เมษายน 2558, 20:23:20 » |
|
เป็นหน้าที่ของ Lawyervat ที่เข้ามาในเว็ปเพื่อแนะนำงานให้ คงต้องเข้าบ่อยขึ้นมั้ง??
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #612 เมื่อ: 26 เมษายน 2558, 18:48:41 » |
|
ดร.เสรี ซีมะโด่ง 2520
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #613 เมื่อ: 27 เมษายน 2558, 13:18:15 » |
|
เที่ยงนี้ ดวงอาทิตย์ตั้งฉากในเขตกรุงเทพฯ ได้รับพลังงานเต็มที่ แต่อุณหภูมิอาจสูงไม่ถึงตามที่คาดการณ์ไว้
นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า เวลาประมาณ 12.18 น. วันนี้ (27 เม.ย. 58) ตามเวลาประเทศไทย ดวงอาทิตย์โคจรอยู่ในแนวตั้งฉากกับเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านเหนือศีรษะของเราพอดี ทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ แต่อุณหภูมิจะสูงที่สุดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทางอุตุนิยมวิทยา ซึ่งอาจส่งผลให้อุณหภูมิไม่สูงที่สุดตามที่คาดการณ์กันไว้
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #614 เมื่อ: 28 เมษายน 2558, 10:33:50 » |
|
นครสวรรค์, วันนี้แดดดีมาก คาดว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวมากพอดู
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #615 เมื่อ: 29 เมษายน 2558, 18:06:14 » |
|
วันนี้จึงเชิญชวนท่านให้ติดตามอ่านบทความของ นนทพร อยู่มั่งมี ที่ชื่อว่า "คดีไฟไหม้ในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 5 : ภาพสะท้อนวิถีชีวิตของราษฎร และการปกครองของรัฐสมัยใหม่" ในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนพฤษภาคมนี้ แสงสว่างจากไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ในยุคแรกๆ จำกัดเฉพาะการใช้งานของรัฐ กับบ้านของผู้มีฐานะที่ต้องซื้อหาอุปกรณ์และจ่ายค่าไฟในราคาสูง เหตุเพลิงไหม้ในเวลานั้นมักจะเกิดจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไปเป็นส่วนใหญ่โดยพื้นที่ต้นเพลิงส่วนใหญ่คือ ห้องครัว เพราะต้องใช้ฟืนไฟเป็นองค์ประกอบหลัก ดังรายงานจากกองตระเวน โรงพักจักรวรรดิ เมื่อ พ.ศ.2450 บันทึกว่า "ครั้นเมื่อทำการหุงต้มเสร็จแล้ว อำแดงเปลี่ยนได้ดับเพลิงที่เตาเอาถ่านที่ดับแล้วใส่ลงในหม้อมีฝาไม้ปิดเอาถ่านวางลงไว้ที่ข้างฝาครัวไฟแล้วใส่กุญแจห้องครัวไว้ตัวอำแดงเปลี่ยนรับใช้การงานในตึกพระยานรฤทธิ์ เพลิงในหม้อถ่านดับยังไม่สนิดดีลุกติดลามหม้อเลยคุไหม้ฝากระดานไม้สิงคโปร์ในครัวไฟเพลิงลุกลามขึ้น" การใช้แสงสว่างจากดวงจันทร์ข้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นการแสดงมหรสพที่จะเปิดการแสดงเฉพาะข้างขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 8 ค่ำเป็นต้นไปพอถึงข้างแรมก็งดการแสดง ส่วนไฟฟ้าส่องสว่างบนถนนจะขึงสายไฟตัดข้ามถนนเป็นระยะ แล้วแขวนดวงโคมไฟฟ้าห้อยติดไว้กลางถนน บ้านเรือนที่ติดไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 10 แรงเทียน ประมาณ 1-2 ดวง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเปิดเฉพาะข้างแรม พอเป็นข้างขึ้นก็อาศัยแสงสว่างธรรมชาติจากดวงจันทร์ (บน) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกรมกองตระเวน หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเหตุเพลิงในกรุงเทพฯ ประทับนั่งเก้าอี้ที่ห้าจากซ้าย คือ กรมหมื่นนเรศวรฤทธ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ชาวตะวันตกซ้ายมือ คือ มิสเตอร์ เอ เย เอ ยาร์ดิน เจ้ากรมกองตระเวน คนแรก (ล่าง) ตึกแถวสองฝั่งถนนที่สร้างและเลือกวัสดุในการก่อสร้างที่สะท้อนแนวคิดของรัฐและชนชั้นนำมีต่อการป้องกันเพลิงไหม้ สังเกต เสาชิงช้า เชื้อเพลิงหลักที่ใช้ขณะนั้นคือ"น้ำมันมะพร้าว" แต่ไม่นานเทคโนโลยีใหม่ของโลกอย่าง "น้ำมันก๊าด" ที่เริ่มแพร่หลายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทย ที่ทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้เพิ่มขึ้นในช่วงแรก เนื่องจากน้ำมันก๊าดไวไฟกว่าและผู้ใช้ยังไม่คุ้นเคย ดังจะเห็นได้จากเหตุเพลิงไหม้ตึกแถวย่านถนนเฟื่องนคร เมื่อ พ.ศ.2450 ซึ่งรายงานโรงพักสำราญราษฎร์ บันทึกคำให้การอำแดงผาดเจ้าของตึก ไว้ว่า "วันนี้เวลาบ่าย ๓ โมงอำแดงช่วยได้วานผู้มีชื่อคือนายเคล้าซึ่งอยู่ห้องเดียวกันไปซื้อตะเกียงแก้วตั้ง คือดวงที่ลุกขึ้นนี้ จากร้านสี่กั๊กเสาชิงช้า ครั้นเมื่อซื้อมาแล้ว นายเคล้าเปนผู้เติมน้ำมันในคืนวันเดียวกันนั้นเองเวลา ๒ ทุ่มเศษ ข้าพเจ้าได้ลองจุดแล้วเอาไปตั้งริมฝา พอจุดขึ้นไฟในตะเกียงก็พุบขึ้นโคมแตกน้ำมันก็ไหลซึมไปตามพื้นไปอีกห้องหนึ่ง คือห้องของอำแดงเจิมไปลุกที่หมอน ๑ ใบ ที่นอนน้ำมันผ้าห่มปะลังเก้ด ๑ ผืน" กรณีของอำแดงผาดเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลายกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ขึ้นจากน้ำมันก๊าด นอกจากนี้ น้ำมันก๊าดยังเป็นเชื้อเพลิงที่คนร้ายส่วนใหญ่ใช้ในการลอบวางเพลิง เช่นคดีตัวอย่างจากบันทึกโรงพักสามแยก เมื่อ พ.ศ.2449 ว่า นายอ่อนผู้ร้ายวางเพลิงบริเวณตรอกสวนผักกาดใกล้บ้านจีนล่ำซำถูกจับกุมขณะกำลังจุดไฟข้างบ้านจีนล่ำซำพร้อมหลักฐานทั้งขวดน้ำมันก๊าด ผ้าขี้ริ้ว กาบมะพร้าวชุบน้ำมันก๊าด และไม้ขีดไฟ เมื่อสืบประวัตินายอ่อนรับจ้างทำนาอยู่คลอง 4 เมืองธัญญบุรี เข้ามากรุงเทพฯ ขาดแคลนทั้งทรัพย์สินและความสัมพันธ์ทางสังคม จึงเป็นแรงงานรับจ้างเพื่อหารายได้ อาศัยโรงบ่อนย่านบางรักและหัวลำโพงเป็นที่หลับนอน ทั้งนายอ่อนมีประวัติเคยถูกจับกุมมาก่อน เหตุเพลิงไหม้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวข้างบนทำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของผู้คนในยุคนั้น หากยังมีมุมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุเพลิงไหม้ เช่น การควบคุมการก่อสร้างบ้านเรือน, มาตรการดูแล เก็บรักษา และใช้เชื้อเพลิง, การทรงเจ้ากับเหตุเพลิงไหม้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #616 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 11:01:11 » |
|
ผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะหวนกลับมาพบปะกับ “คนรักเก่า” ของตัวเองหรือแค่พูดถึงก็เป็นเรื่องแล้ว จึงต้องปล่อยให้เหตุการณ์หวานชื่นในอดีตค่อยๆ จางหายไป แต่ไม่ใช่สำหรับชุมชนเก่าแก่ อย่าง “เขิวไว” ที่ตั้งอยู่ใน “เขตแม้ววัก” ทางเหนือสุดของจังหวัดห่าซาง 500 กิโลเมตรจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และเกือบจะติดพรมแดนจีน
ชุมชนนี้มีประเพณีที่มีลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองที่จะดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนในบริเวณใกล้เคียงให้เข้ามาพบปะกัน นั่นก็คือ ประเพณี “พบคนรักเก่า”
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #617 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 11:06:19 » |
|
ประเพณีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 26-27 ของเดือนสาม ตามปฏิทินจันทรคติ ในช่วงเวลา 2 วัน คู่รักเก่ากว่าร้อยคู่จากชนเผ่าต่างๆในหลากหลายพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ชาวไตนุง ไต โลโล ซันชิ ชาวสัยและชาวม้งจะเดินทางมาพบกัน พวกเขาจะเดินช้าๆ บุกป่าฝ่าดงข้ามภูเขาเพื่อที่จะมาพักอยู่ที่ชุมชนนี้เป็นเวลา 2 วัน เพื่อพบคนรักเก่า ผู้ที่ไม่อาจใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะได้เจอกันเพียงปีละครั้งเท่านั้น
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #618 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 11:09:51 » |
|
เรื่องมีอยู่ว่า สาวเผ่าสัย จากจังหวัดห่าซางดันไปตกหลุมรักเข้ากับ หนุ่มเผ่าไตนุง จากจังหวัดกาวบั่ง แต่ด้วยความที่ฝ่ายหญิงมีรูปโฉมงดงาม ดังนั้น คนในเผ่าจึงไม่ยอมให้เธอแต่งงานกับคนนอกเผ่า จากนั้นทั้งสองเผ่าจึงได้ทะเลาะกันจนกลายเป็นสงครามนองเลือด หนุ่มสาวทั้งสองที่รักกันไม่ต้องการเห็นญาติพี่น้องต้องมาตายเพราะตัวเอง จึงยอมที่จะแยกจากกันตลอดกาลเพื่อจบศึกครั้งนั้น
ถึงกระนั้น ความรักของสาวเผ่าสัยและหนุ่มไตนุงก็ยังไม่ตาย ทั้งคู่แอบทำสัญญาให้คู่รักที่ไม่มีโอกาสครองคู่อยู่ด้วยกัน สามารถมาพบกันได้ที่ชุมชนเขิวไว ในวันที่ 26-27 เดือนสาม ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปี
ปัจจุบันเมื่อถึงช่วงเวลานี้ ผู้คนท้องถิ่นจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใสสวยงาม ระลึกถึงความรักของหนุ่มสาวคู่นี้...ที่ไม่สมหวังในอดีต ผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมประเพณีนี้อาจคิดว่า มันเป็นช่วงเวลาสั้นๆแต่ในความเป็นจริง ชาวบ้านจะถือว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่จะมารำลึกความหลังและฉลองให้กับความสุขที่ในอดีตเคยมอบให้แก่กัน
“หลัว หมิ่น เปา” หนุ่มเวียดนามที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงและเดินทางมาเข้าร่วมประเพณีนี้เล่าว่า เขาต้องการมาพบกับคนรักเก่าปีละครั้ง แต่ก่อนพวกเขารักกันมาก แต่ก็ไม่ได้แต่งงานกัน เพราะอยู่ไกลกันเกินไป การมาพบกันครั้งนี้เหมือนได้รำลึกความหลังครั้งที่ยังรักกันดี ส่วนภรรยาของเขาก็รับได้ เพราะเธอเองก็มางานนี้เพื่อพบคนรักเก่าของเธอเช่นกัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #619 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 11:13:55 » |
|
ทุกวันนี้ “ประเพณีพบปะคนรักเก่า” กลายเป็นตลาดที่ได้รับความนิยมจนดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ กิจกรรมที่เกิดขึ้นก็มีหลากหลาย เช่น การออกบูทนิทรรศการการท่องเที่ยว ชมพิธีกรรมบูชาฝนของชนเผ่าโลโล อีกทั้งยังมีการแสดงการละเล่นพื้นบ้านอีกหลายชนิด รวมทั้งการชนไก่ด้วย ผู้คนที่มาเข้าร่วมล้วนแต่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใสประจำเผ่าตนเอง..ข่าวเดลินิวส์ 30 เมษายน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #620 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 13:43:20 » |
|
รู้จักกันไปบ้างแล้วสำหรับการพัฒนาอุปกรณ์ที่ทำให้สมาร์ทโฟนคู่ใจ แปลงร่างเป็นแว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์เคลื่อนที่
ผลงานของคนไทยล้วน ๆ คราวนี้ถึงเวลาต่อยอด นำประยุกต์ใช้งานซึ่งมีได้หลากหลายและหนึ่งในนั้นก็คือการนำไปพัฒนาเป็นผลงาน “สมาร์ท เลิร์นนิ่ง” (Smart Learning) นวัตกรรมกล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ผลงานการพัฒนาของ รศ.ดร.สนอง. เอกสิทธิ์ และคณะ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (แผนกประถมศึกษา)
ซึ่งคว้ารางวัลเหรียญทองเกียรติยศระดับนานาชาติมาหมาด ๆ จากการเข้าร่วมแสดงนิทรรศการและประกวดในงาน “43rd International Exhibition of Inventions of Geneva” ที่จัดขึ้นเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส
งานนี้ได้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผู้สนับสนุน นำทัพนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยไปอวดศักยภาพในเวทีระดับโลก
รศ. ดร.สนอง บอกว่า เป็นการต่อยอดจากการพัฒนากล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนเพื่อการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากระบบเลนส์ที่พัฒนาขึ้นมีกำลังขยายที่พอเหมาะ การใช้งานไม่ซับซ้อน และสามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทุกยี่ห้อ ทุกรุ่นโดยไม่ต้องปรับแก้ใด ๆ
จึงนำมาใช้งานด้านการเพิ่มศักยภาพทางการศึกษาของเด็กไทยโดยมีกำลังขยายประมาณ 15 เท่า หากติดกับไอโฟนที่มีกล้องความละเอียดสูง ๆ สามารถขยายได้มากถึง 60 เท่าทีเดียว
ผู้วิจัยบอกว่าออกแบบเลนส์ให้เป็นคลิปหนีบขนาดเล็ก สามารถหนีบติดไว้ที่หน้ากล้องสมาร์ทโฟนได้อย่างสะดวกไม่หลุดง่าย เด็ก ๆ สามารถพกพาออกไปใช้งานภายนอกห้องเรียนได้อย่างสะดวก
เห็นได้หมด ไม่ว่าจะเป็นปากมด ปีกแมลง เกสรดอกไม้ ลายผ้า หรือว่าลายมือสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ แถมยังสามารถบันทึกและเชื่อมต่อโลกอินเทอร์เน็ตได้ทันทีอีกด้วย
ด้านนางสริญญา รอดพิพัฒน์ อาจารย์จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมพัฒนา บอกว่า ได้นำนวัตกรรมนี้มาใช้กับนักเรียนในชั้น ป.5 และ ป.6
แค่ติดเลนส์ ก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยส่วนใหญ่ตัวอย่างที่ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาก็คือเฟิร์น มอส หินและดอกไม้ เด็ก ๆ สามารถค้นคว้าได้ด้วยตัวเอง และนำข้อมูลมาลงในอีบุ๊ก ซึ่งมีแอพพลิเคชั่นรองรับอย่างหลากหลาย
เสมือนกับเด็ก ๆ ได้สร้างบทเรียนด้วยตัวเอง.
นาตยา คชินทร. แห่งเดลินิวส์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #621 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 18:56:51 » |
|
วันนี้ (30 เม.ย.) ผศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวตอนหนึ่งในงานแถลงข่าว “บทเรียนจากเนปาลสู่ไทย...รับมือแผ่นดินไหวอย่างไร” ที่จุฬาฯ ว่า ขณะนี้มีข้อมูลคลาดเคลื่อนถึงการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำที่เนปาล ซึ่งจากการวิเคราะห์ของหน่วยงานนานาชาติล่าสุด ยืนยันแล้วว่ารอยแยกที่เกิดขึ้นเป็นคนละรอยแยกกับที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1934 แต่เป็นรอยแยกเดียวกับรอยแยกที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1505 ดังนั้น จึงเป็นการเกิดอุบัติซ้ำใน 510 ปี ไม่ใช่ 80 ปี ตามที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ทั้งนี้ ยืนยันว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยแน่นอน เพราะอยู่ห่างไกลกันมาก โดยแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยนั้น ได้แก่ แนวมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน และกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย ที่ผ่านพาดเมืองมิตจีนา เนปิดอร์ และ มัณฑเลย์ ของเมียนมา ซึ่งกลุ่มรอยเลื่อนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้ว 12 ครั้ง ความแรงสูงถึง 8.0 ริกเตอร์ และไทยเคยได้รับแรงสั่นสะเทือนถึงกรุงเทพฯ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง
ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ที่ปรึกษาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลครั้งนี้ สร้างความเสียหายให้แก่โบราณสถานจำนวนมาก ดังนั้น จึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ไทยต้องนำมาคิด เพราะไทยมีโบราณสถาน และวัดที่สำคัญจำนวนมาก เช่น วัดพระแก้วมรกต เป็นต้น หากได้รับความเสียหายจะส่งผลกระทบมากทั้งด้านจิตใจ และการท่องเที่ยว จึงฝากผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย รวมทั้งอยากกำชับให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่คอรัปชั่น เพราะคนไทยยังย่อหย่อนอยู่มาก ซึ่งขณะนี้มีวัด และอาคารเรียนจำนวนมากที่ก่อสร้างหลังปี 2540 ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่าต้องออกแบบอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหว
“ ต้องเร่งให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องระบบโครงสร้างอาคารที่รองรับการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมาก เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านสร้างบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยสร้างให้ใต้ถุนบ้านโล่ง เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้ บางบ้านใช้ใต้ถุนเก็บอุปกรณ์การเกษตร ซึ่งในอดีตถือว่าทำได้ แต่ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมแล้ว เพราะจะพังลงมาง่าย โดยในการก่อสร้างควรให้วิศวกรเป็นผู้ออกแบบ และในการก่อสร้าง รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ต้องได้มาตรฐานด้วย เช่น เสาสำเร็จรูป บ้านน๊อคดาวน์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน จึงอยากให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) มีการรับรอง และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย นอกจากนี้รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความแข็งแรงของอาคารเก่า และเสริมสร้างความแข็งแรง โดยเฉพาะอาคารสาธารณะ และสถานที่สำคัญ เช่น ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์บัญชาการของตำรวจ และทหาร ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และโรงเรียน เพราะเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น สถานที่เหล่านี้จะเป็นจุดสำคัญที่ใช้ในการดูแล และพักพิงของประชาชน” ศ.ดร.ปณิธาน กล่าว.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #622 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 19:29:12 » |
|
อดีตเสือร้าย” นามกระเดื่องที่ชื่อ “เสือใบ”
เสือใบ” เล่าถึงอดีต ว่า ก่อนเป็น “โจร” ก็เป็นชาวนา บ้านอยู่ จ.สุพรรณบุรี พอช่วงปี 2487 ตอนนั้นอายุประมาณ 30 ปี ที่บ้านถูกโจรวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งเข้ามาขโมยควาย ตอนนั้นไม่คิด “แค้น” อะไรเพราะไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แต่อีก 5 เดือนต่อมา โจรกลุ่มเดิมได้ย้อนกลับมาปล้นที่บ้านอีกครั้ง คราวนี้ “ฉุดน้องเมีย” ไปด้วย จึงแค้นมากคว้าปืนลูกซองออกตามล่าโจรและตามน้องเมียกลับคืนมา สุดท้ายฆ่าโจรตายไป 2 ศพ ถูกตำรวจตามจับ
จึงหนีออกจากบ้านเข้าสู่ “เส้นทางสายโจร” มาอาศัยในป่าแถบ จ.อ่างทอง เพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของตำรวจ เมื่อไม่มีเงินซื้อข้าวก็ออกปล้น จนมีชื่อเสียงใน “วงการโจร” มีลูกน้องเพิ่มขึ้นถึง 40 คน หลังจากนั้นก็เข้าไปอยู่ในสังกัด “ซุ้มเสือดำ” เป็น 1 ใน 4 เสือที่ทางการต้องการตัวมากที่สุด
พื้นที่ปล้นจะอยู่ในเขต จ.อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท ส่วนสุพรรณบุรีจะไม่ปล้นเพราะเป็นเขตอิทธิพลของเสือดำ ถือเป็นเขตเดียวกันจะไม่เข้าไปรบกวน โดยเลือกปล้นเฉพาะ “คนรวยหน้าเลือด” ได้เงินมาจากการ “โกง” คนจน คนรวยที่มีคุณธรรมช่วยเหลือชาวบ้านเราจะไม่ปล้น และการปล้นแต่ละครั้งจะไม่เอาทรัพย์สินหมด เอาครึ่งเดียว ใช้วิธีปล้นแบบขอเจ้าทรัพย์ สิ่งไหนเจ้าทรัพย์ไม่ให้ก็ไม่เอาและห้ามทำร้าย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #623 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 19:34:03 » |
|
ปัจจุบัน
เสือใบ อดีตโจรในตำนาน ฉายาโรบินฮู้ด วัย 94 ปี ถูกหามส่งโรงพยาบาล หลังอาการทรุดหนัก หายใจเหนื่อยหอบ พักรักษาตัวในห้องไอซียู
รายงานข่าวแจ้งว่า นายใบ สะอาดดี หรือที่ได้ยินในชื่อคุ้นหู “เสือใบ” อดีตจอมโจรระดับตำนานของไทย ในวัย 94ปี ถูกนำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา ภายหลังเกิดอาการหายใจหอบเหนื่อย รับประทานอาหารก็อาเจียนออกมาตลอดเวลา
ทั้งนี้จากการวินิจฉัยของแพทย์พบว่า เสือใบ มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด และมีอาการปอดอักเสบ ทำให้มีอาการหายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น จนต้องให้เข้ารักษาตัวด่วนในห้องไอซียู เบื้องต้นทางทีมแพทย์ได้ดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากไตเริ่มมีปัญหาซ้ำอีก ด้าน นาวาตรี วสวัตติ์ สะอาดดี (เศรษฐพล) อายุ 53 ปี บุตรชายคนโตของ “เสือใบ” เปิดเผยว่า พ่อของตนมีอาการอาเจียนไม่หยุดหลังทานอาหารเช้า ญาติ ๆ จึงได้พาตัวส่งโรงพยาบาลดังกล่าว
สำหรับ เสือใบ เป็นที่รู้จักในนามจอมโจรชื่อดังในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือหวัด , เสือฝ้าย , เสือมเหศวร โดยเสือใบจะออกปล้นในแถบภาคกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดลพบุรี โดยเวลาออกปล้นจะแต่งชุดสีดำ สวมหมวกดำ และปล้นด้วยความสุภาพ จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือใบ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #624 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 19:54:17 » |
|
เสือดำ จอมโจร ผู้ช่วยคนจน
สำหรับชีวิตจริงของเสือดำ ผู้เป็นจอมโจรชื่อดังในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับ เสือใบ, เสือฝ้าย และ เสือมเหศวร มีชื่อจริงว่า ระพิน ได้ชื่อว่าเสือดำ จากการสวมชุดดำเวลาออกปล้น และใช้ปืนคู่ แต่เมื่อเวลาออกปล้นจะต้องประกาศให้เจ้าทรัพย์รู้ก่อนล่วงหน้าเป็นสัปดาห์และปล้นด้วยความสุภาพ นิยมปล้นแต่คนรวยให้คนยากจน จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือดำ เช่นเดียวกับ เสือใบ“หลวง พ่อทวีศักดิ์” หรืออดีต “เสือดำ” เล่าถึง “ทางโจร” ที่ทำให้พบ “เสือมเหศวร” และ “เสือใบ” ว่า ช่วงนั้นก็ออกปล้นเรื่อยมา จนมาพบกับ “เสือมเหศวร” และ “เสือใบ” ซึ่ง “หัวอกเดียวกัน” เพราะทั้งสองถูกโจรปล้นบ้านและต้องการแก้แค้น จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร ขณะนั้น “สมุน” ยังไม่มี จึงแยกทางกันไป “สร้างชื่อ” เพื่อหาลูกน้อง จนมีลูกน้องติดตาม 50-60 คน จึงตั้งเป็น “ซุ้มเสือดำ”!!!
เสือดำ ถูกปราบได้ด้วย ขุนพันธรักษ์ราชเดช นายตำรวจมือปราบชื่อดัง โดยขุนพันธ์ฯ ให้โอกาสเสือดำกลับตัว เสือดำจึงไปบวชกับ พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจในยุคนั้น และบวชมาจนบัดนี้
“กฏเหล็ก สำคัญที่สุดของซุ้มเสือดำ คือ ห้ามข่มขู่หรือทำร้ายเจ้าทรัพย์ นอกจากเจ้าทรัพย์จะฮึดสู้ทำร้ายเราก่อน นอกจากนั้นสมุนทุกคนต้องอยู่ในศีลธรรม ห้ามยุ่งเกี่ยวกับสาวในหมู่บ้าน ห้ามปล้นโรงสีข้าวเด็ดขาด เพราะจะทำให้เราไม่มีข้าวกิน ห้ามปล้นตลาดสดเพราะเป็นจุดรวมของเด็ก คนแก่ และคนทั่วไป ถ้าพบลูกน้องคนใดทำผิดกฎจะฆ่าทิ้งทันที เพราะถือว่าผิดสัจจะของกลุ่มโจร ส่วนทรัพย์สินที่ปล้นมาจะแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 1.ค่าอาหาร 2.ค่ากระสุนปืน 3.แบ่งไว้ช่วยเหลือคนจน 4.ช่วยเหลือโรงเรียน และ 5.ช่วยเหลือวัด…..
…..พื้นที่ ปล้นอยู่ใน 3 จังหวัด คือ อุทัยธานี สุพรรณบุรี และชัยนาท โดยจะแบ่งโซนกันระหว่าง เสือใบ และเสือมเหศวร ช่วงว่างจากการปล้นจะพาลูกน้องเข้าป่าตัดต้นไม้ไปสร้างบ้านให้คนจนฟรี เพื่อตอบแทนคุณ พร้อมทั้งมอบวัวที่เราปล้นมาให้อีกครอบครัวละ 1 คู่” อดีต “เสือดำ” เล่าถึงเส้นทางสายโจรที่รุ่งโรจน์ของเขา ซึ่งพฤติกรรมดูคล้าย “โรบินฮู๊ดส์”
จนกระทั่งการมาถึงของ “ขุนพันธ์” เส้นทางสายโจรของพวกเขาก็เริ่มตีบตัน…..อดีต “เสือดำ” เล่าถึงชีวิตในช่วงต่อมา ว่า ช่วงปี 2495-2499 ทางการเริ่มปราบปรามกลุ่มโจรอย่างหนัก เรา 3 เสือ คือ “เสือดำ-เสือใบ-เสือมเหศวร” เป็นที่ต้องการตัวของทางการมาก มี “ค่าหัว” คนละหลายหมื่นบาท การปล้นเริ่มมีอุปสรรค บางครั้งถึงขั้นต้อง “ดวลปืน” กับตำรวจ แต่เราก็อยู่รอดปลอดภัยมาตลอดเพราะมีวิชา “อาคม” ที่เรียนรู้มาจากครูบาอาจารย์ จนมาวันหนึ่งเรามีโอกาสได้ดวลปืนกับ “ขุนพันธ์” ที่ยกกำลังมาดักจับที่ จ.ชัยนาท และวันนั้นก็ทำให้เรา “กลับใจ”
“ครั้ง นั้นต่างคนต่างมีวิชาอาคมทั้งคู่ ทำอะไรกันไม่ได้และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาขุนพันธ ก็นำกำลังออกไล่ล่าดวลปืนกันอีกหลายครั้ง จนสุดท้ายขุนพันธ์ ได้นัดคุยกันอย่างลูกผู้ชายกับเราว่าต่างคนต่างมีอาคม คงทำอะไรกันไม่ได้ จึงขอให้เราเลิกเป็นโจร หยุดปล้น ถ้าหยุดตำรวจจะยกเลิกการจับกุมทุกหมายจับ แต่ต้องกลับตัวเป็นคนดีและเริ่มต้นชีวิตใหม่ เรากลับมานอนคิดอยู่ 3 วัน เราปล้นมา 20 ปี ไม่มีอะไรดีขึ้น จึงตัดสินใจหยุดเป็นโจร
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #625 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 19:58:44 » |
|
เสือมเหศวร จอมโจรผู้คงกระพัน
เสือมเหศวร มีชื่อจริงว่า ศวร เภรีวงษ์ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สองร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือฝ้าย และเสือใบ โดยเสือมเหศวรแต่เดิมเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่ถูกอำนาจรัฐรังแกและถูกใส่ความว่าฆ่าพ่อตัวเอง จึงจับปืนขึ้นต่อสู้และกลายมาเป็นจอมโจรชื่อดังในที่สุด โดยได้ชื่อว่า “มเหศวร” จากการแขวนพระเครื่องมเหศวรไว้ที่คอ ซึ่งได้ชื่อว่าช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย เคยโดนตำรวจยิงที่ลำตัวและศีรษะหลายนัดแต่ไม่เข้า คงกระพันชาตรี
เสือมเหศวร ถูกปราบโดยขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งขุนพันธ์ ฯ เป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้เสือมเหศวรมอบตัว หลังจากได้รับโทษในเรือนจำแล้ว เสือมเหศวรก็ได้บวชเป็นพระและบวชเป็นพราหมณ์มา แม้มีอายุกว่า 90 แล้ว แต่เสือมเหศวรก็ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่ และเป็นที่เล่าลือว่าเป็นบุคคลจอมขมังเวทย์ มีชาวบ้านและผู้ที่เชื่อถือแวะเวียยนมาพบปะพูดคุยเสมอ ๆ โดยล่าสุด เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 เป็นผู้ทำพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพรุ่นเซ็นเสือมเหศวรของวัดแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ด้วย
ปัจจุบันนายศวร เภรีวงษ์ หรือที่รู้จักกันในนาม เสือมเหศวร อดีตจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางได้เสียชีวิตลงแล้วเมื่อเวลา 06.15 น ของวันที่ 15 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา รวมอายุได้ 101 ปี
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #626 เมื่อ: 30 เมษายน 2558, 20:59:46 » |
|
น่าสนใจทีเดียวค่ะน้องเริง เรื่องราวของคนดัง สมัยเด็กผู้คนแถวบ้านเอ่ยชื่อเสือเหล่านี้ ยังรู้สึกกลัวรีบปิดประตูบ้าน ซึ่งกว่าจะปิดหมดก็หลายบานไม่เหมือนประตูสมัยนี้ มีเวลาต้องอ่านให้แม่ฟังคนรุ่นแปดสิบกว่า รู้จักค่ะ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #628 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2558, 12:07:24 » |
|
ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯ กลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆสิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปรามซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ. 2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ. 2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2507
ครั้งหนึ่งเคยมีคำขวัญอันคมคายของกรมตำรวจอยู่ประโยคหนึ่งว่า "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" นี่เป็นถ้อยคำที่เกิดขึ้นในยุคอัศวินแหวนเพชรเฟื้อง ในสมัยของท่านอธิบดีฯ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ปกครองกรมตำรวจ วีรบุรุษผู้สร้างเกียรติประวัติให้กรมตำรวจนั้นมีอยู่มาก มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย แต่ในยุคสมัยที่ท่าน อธิบดีกรมตำรวจหลวงอดุลย์เดชจรัสนั้น...นามของ"ขุนพันธรักษ์ราชเดช" ระบือลือลั่นสุดยอดแผ่นดินด้ามขวานทอง แม้ท่านขุนพันธ์จะปลดเกษียณราชการไปนานปี แล้วก็ตาม แต่ชื่อของท่านยังอยู่ในความทรงจำของกรมตำรวจและประชาชนทั่วไป นั่นเป็นเพราะผลงานอันน่าอัศจรรย์ของท่าน กลายเป็นผลงานอันยากยิ่งที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ควรค่าแก่การบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คนเมืองใต้และคนของแผ่นดิน
พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ที่บ้านในซอยราชเดช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุได้ 103 ปี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #629 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2558, 08:19:49 » |
|
มันมาแล้ว...เชียงตุง อีกไม่นาน
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ว่า บรัษัทโยมา สตราเตอจิค ตัวแทนบริษัทไก่ทอดเคนทัคกี หรือที่รู้จักกันในนามเคเอฟซี ประจำเมียนมาร์ เผยว่า เคเอฟซีเตรียมเปิดสาขาแรกในย่างกุ้งเร็วๆ นี้ และมีแผนจะขยายเพิ่มอีกหลายสาขาภายในสิ้นปี แต่ไม่ได้ระบุกำหนดการที่แน่นอน โดยนับเป็นบริการอาหารจานด่วนสัญชาติอเมริกันเจ้าแรกในเมียนมาร์
ปัจจุบันเคเอฟซีมีสาขาในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 15,000 แห่ง ซึ่งหากเปิดสาขาในเมียนมาร์ได้ ลาวก็จะเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคเอฟซียังเข้าไปไมถึง แต่ท่ามกลางการเติบโตของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดอเมริกัน ก็ก่อให้เกิดกระแสรณรงค์ปัญหาด้านสุขภาพจากพฤติกรรมการกินไปพร้อมๆ กัน
เมื่อต้นปี เคเอฟซีฟิลิปปินส์ถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังเปิดตัว "ดับเบิล ดาวน์ ด็อก" หรือ ไส้กรอกที่ประกบด้วยไก่ทอดแทนขนมปัง แล้วราดด้วยซอสชีส ซึ่งผู้ผลิตชี้แจงว่าปริมาณแคลอรีของเมนูนี้ก็ไม่ได้มากไปกว่าดับเบิลชีสเบอร์เกอร์เลย
นับตั้งแต่เปิดประเทศเมื่อปี 2554 สินค้าต่างชาติรายใหญ่จำนวนมาก หลั่งไหลเข้ามาเปิดตลาดในเมียนมาร์ ซึ่งรวมถึงโคาคา-โคล่า เป็ปซี เชฟโรเลต และฟอร์ด แม้เคเอฟซีจะเป็นฟาสต์ฟู้ดอเมริกันเจ้าแรก แต่ก็ไม่ใช่ผู้บุกเบิกในวงการนี้ เพราะร้านเบอร์เกอร์สัญชาติเกาหลีใต้อย่าง "ลอตเตอเรีย" ได้เข้ามาบุกตลาดตั้งแต่ปี 2556 แล้ว และตอนนี้ก็ขยายออกไปถึง 7 สาขา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #630 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2558, 10:05:29 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #631 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2558, 09:43:32 » |
|
เมื่อช่วงกลางดึก เวลา 00.30น. ของวันที่ 7 พ.ค. 58 เกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลาง อยู่ในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา อีกครั้ง คราวนี้รุนแรงกว่าเดิมเล็กน้อย ประชาชนจังหวัดพังงา/ภูเก็ต และกระบี่ รับรู้ถึงแรงสั่นไหว หลายพื้นที่ต้องอพยพกันรอบสอง
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศแจ้งข้อมูลแผ่นดินไหว ว่า เมื่อเวลา00.30น. วันที่ 7 พ.ค. 58 มีแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลาง อยู่ในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา ความลึกประมาณ 11 กิโลเมตร ขนาด 4.5 ทางทิศใต้ของเกาะยาวใหญ่ ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ.พังงา จ.ภูเก็ต และ จ.กระบี่ ส่วนผลกระทบจากแผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้ชาวไทยใหม่ บ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ ตำบลรัษฎา อำภอเมืองภูเก็ต กว่า 300 ครัวเรือน ต้องมีการอพยพทั้ง คน สัตว์เลี้ยง และขนข้าวของที่จำเป็นมาอยู่บริเวณจุดปลอดภัยที่โรงเรียนบ้านเกาะสิเหร่ ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กิเลเมตร ต่อเนื่องเป็นคืนที่ 2 หลังจากที่ช่วงเช้าเมื่อวานนี้ต้องอพยพมาแล้ว ซึ่งในครั้งนี้ชาวบ้านบอกว่ารุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านมา มีการสั่นไหวต่อเนื่อง 2 ครั้ง บ้านแทบพัง ข้าวของตกกระจาย ซึ่งขณะนั้นไม่ทราบว่าขนาดความรุนแรงระดับใด จึงต้องอพยพเร่งด่วน มายังที่ปลอดภัย เพื่อรอดูสถานการณ์ โดยผ่านไปประมาณ กว่า 1 ชั่วโมง ไม่มีความผิดปกติและไม่มีการประกาศเตือนภัยสึนามิจึงได้เดินทางกลับไปบ้านเรือน โดยชาวไทยใหม่บ้านแหลมตุ๊กแกทั้งหมดขณะนี้อยู่ในอาการวิตกกังวล หลังเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่อง 2 วันติดต่อกันในช่วงกลางคืน ทำให้เมื่อกลับไปถึงบ้านก็ไม่กล้านอนหลับสนิท ต้องคอยระแวดระวัง ทั้งการสั่นสะเทือน และระดับน้ำทะเลอยู่ตลอด บางหลังถึงกับต้องสลับกันเข้านอน
ขณะเดียวกันที่ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต กลุ่มชาวไทยใหม่กว่า 200 คน ได้มีการอพยพออกจากบ้านเรือนมาอยู่ที่จุดปลอดภัยบริเวณเนินสวนไผ่ หมวดการทางภูเก็ตที่ 2 อ.เมืองภูเก็ต โดยเทศบาลตำบลราไวย์ ได้มีการติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบ เพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ยังได้จัดหาน้ำดื่มไว้คอยบริการ พร้อมทั้งอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้มีการจัดเจ้าหน้าที่คอยดูแลความปลอดภัยด้วย หลังไม่มีการแจ้งเตือนสึนามิ ท้งหมดก็ทยอยกลับบ้านเรือน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #632 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2558, 19:16:56 » |
|
นักธรณีวิทยาหลายคนเชื่อว่า หลังเกิดแผ่นดินไหว 7.8 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 7,000 คนแล้ว เนปาลยังเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า และมีอานุภาพทำลายล้างสูงกว่า ในพื้นที่รอยเลื่อนใกล้กรุงกาฐมาณฑุซ้ำอีกในอนาคต
เอริค เคอร์บี นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน ระบุว่า จากการตรวจสอบเชิงธรณีวิทยาและการใช้เทคโนโลยีจีพีเอสตรวจสอบผลแผ่นดินไหวที่ผ่านมาของเนปาล พบว่า เปลือกโลกในบริเวณดังกล่าวเคลื่อนที่ไปเพียง 3 เมตร ทำให้เชื่อว่า แรงเครียดที่สะสมอยู่บริเวณรอยเลื่อนของเปลือกโลกในบริเวณดังกล่าวยังปลดปล่อยออกมาไม่หมดด้วยเหตุแผ่นดินไหวเมื่อ25เมษายนเพราะทางนักธรณีวิทยาและนักธรณีฟิสิกส์ ประมาณว่า ถ้าหากจะปล่อยแรงเครียดที่สะสมอยู่ในแนวรอยเลื่อนให้หมดไป พลังที่ปลดปล่อยออกมาต้องมากถึงระดับที่สามารถทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไปได้ระหว่าง 10-15 เมตรเลยทีเดียว
วอลเตอร์ เซลิกา นักธรณีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัย เซ็นทรัล วอชิงตันเห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานดังกล่าว โดยยืนยันว่า แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นต่อๆ ไปในบริเวณนี้ สามารถใหญ่โตกว่าและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมาอีกมาก
ที่ผ่านมา นักวิชาการด้านธรณีวิทยา เข้าไปศึกษาพื้นที่ในบริเวณตอนกลางของประเทศเนปาลมามากมายในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ การตรวจสอบร่องรอยความเสียหายของอาคารบ้านเรือนและการขุดเจาะตามบริเวณแนวรอยเลื่อน ซึ่งผลทำให้พบว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นมาแล้วหลายครั้งในพื้นที่นี้ในอดีต แม้จะไม่สามารถระบุขนาดของมันได้แม่นยำนักก็ตาม
แผ่นดินไหวใหญ่ในระดับ 8 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไปในบริเวณดังกล่าวย้อนหลังกลับไปได้ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 1255 ซึ่งคร่าชีวิตประชากรเนปาลไปมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายนเกิดแผ่นดินไหวมหึมาที่ทำลายบ้านเรือนไล่ตั้งแต่ทิเบต ผ่านเนปาลไปจนถึงอินเดีย และครั้งล่าสุดที่เกิดแผ่นดินไหวระดับ 8.2 ริกเตอร์คือเมื่อปี 1934 ที่กาฐมาณฑุ มีผู้เสียชีวิต
เนปาลตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมากที่สุดพื้นที่หนึ่ง เนื่องจากเป็นจุดชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น คือ แผ่นอินเดีย กับแผ่นเอเชีย ซึ่งเคลื่อนที่เข้าปะทะกันที่ระดับความเร็ว 2 เซนติเมตรต่อปี รอยเลื่อนในบริเวณนี้มีความแตกต่างทางธรณีวิทยากับรอยเลื่อนทั่วไป เนื่องจากแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่ชนเข้าด้วยกันนั้นมีความหนาแน่นใกล้เคียงกันและชนกันในลักษณะของการปะทะ ไม่มีแผ่นหนึ่งแผ่นใดมุดจมลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ผลก็คือแผ่นเปลือกโลกค่อยๆ ม้วนลงด้านล่าง ในขณะที่แผ่นเอเชียม้วนขึ้นด้านบนกลายเป็นที่มาของเทือกเขาหิมาลัย
มาร์ติน คลาร์ก นักธรณีฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่า การชนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองทำให้เกิดแรงเครียดสะสมไปตลอดตามแนวรอยเลื่อน เหมือนเรากดขดลวดสปริงเอาไว้ พลังที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวเทียบได้กับพลัง เมื่อเราปล่อยขดสปริง นั่นเอง
นอกจากนั้น รอยเลื่อนบริเวณนี้ยังมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือเป็นรอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ (ทรัสต์ ฟอลท์) ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่น่ากลัวที่สุดในบรรดารอยเลื่อนทุกรูปแบบ เนื่องจากสามารถทำให้เปลือกโลกสั่นไหวเป็นบริเวณกว้างมากที่สุด เพราะแนวหน้าตัดของรอยเลื่อนมีลักษณะลาดเอียง ทำมุมไม่เกิน 10 องศา และความลาดเอียงต่ำดังกล่าวทำให้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในระดับไม่ลึกมาก ก่อให้เกิดความสูญเสียได้สูงกว่า
นอกจากนั้น ยังเป็นรอยเลื่อนที่มีอุณหภูมิต่ำ เกิดแผ่นดินไหวได้ยากกว่าแต่ทุกครั้งที่เกิดจะรุนแรงมหาศาลเสมอ
มติชนรายวัน 7 พ.ค. 2558
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #633 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2558, 19:33:39 » |
|
"ทายาทเจ้าพระยารามราฆพ" เยี่ยม "บ้านนรสิงห์" บ้านเกิดบรรพบุรุษวันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:50:30 น. วันที่ 7 พ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะทายาทราชสกุล "พึ่งบุญ ณ อยุธยา" เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานทำเนียบรัฐบาล นำโดยนางสุรางค์ รักตะกนิษฐ บุตรสาวของเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าของบ้านนรสิงห์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกไทยคู่ฟ้าในปัจจุบัน
โดยนางสุรางค์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจและตื่นเต้นที่ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 โดยตนเป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวน 30 คน ของเจ้าพระยารามราฆพ ตนเกิดที่บ้านนรสิงห์นี้ และอยู่จนถึงอายุ 6 ปี ก่อนที่จะย้ายออกไป พร้อมครอบครัวหลังจากที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มาซื้อบ้านหลังนี้ในราคา 1 ล้านบาท ซึ่งการกลับมาเยี่ยมชมบ้านเกิดครั้งนี้ เกิดจากการพูดคุยของบรรดาลูกหลานว่าอยากกลับมาสักครั้ง เพราะบางคนก็ไม่เคยได้เข้ามาเลย จึงรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ได้กลับมาเยี่ยมบ้านของบรรพบุรุษในครั้งนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานทำเนียบรัฐบาลของทายาทราชกุลพึ่งบุญ ณ อยุธยา ในครั้งนี้ ถือเป็นกรณีพิเศษที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุญาตให้เยี่ยมชมบริเวณชั้นล่างของตึกไทยคู่ฟ้า และบริเวณโดยรอบ รวมทั้งได้รับของที่ระลึก โดยมี น.ส.เรณู ตังคจิงกูร รองเลขาธิการนายกรัฐตรี ฝ่ายการเมือง ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430999191
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #634 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2558, 21:38:30 » |
|
ครับ ท่านมีบ้านสวยๆ.
ที่ใกล้มฤคทายวันก็มี
ที่สนามจันทร์มีด้วยไหมครีบ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #635 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2558, 21:41:09 » |
|
ท่านมีลูกเยอะดี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #636 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 09:21:28 » |
|
ทำเนียบรัฐบาล เดิมเป็นบ้านพัก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวย ทั้งมื้อกลางวัน และกลางคืน ตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
บ้านพักของพลเอกพลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) มีชื่อว่า บ้านนรสิงห์ ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ติดต่อขอซื้อเพื่อทำเป็นสถานที่รับรองแขกต่างประเทศที่มาเยือนในราคา 1,000,000 บาท ต่อมาในปี 2484 มาใช้เป็นทำเนียบรัฐบาล มีการเปลี่ยนชื่อจาก บ้านนรสิงห์ มาเป็น ทำเนียบสามัคคีชัย จากนั้นมาก็ใช้เป็นทำเนียบรัฐบาลจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นสถานที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมด้วยสำนักงานของหน่วยงานต่างๆสำหรับทำเนียบรัฐบาลเป็นตึกอาคารทรงแบบ"กอธิก"ตอนปลาย
กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วโดยพื้นที่รอบๆ ทำเนียบฯ มีทั้งหมด 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #637 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 09:29:09 » |
|
. บ้านพิษณุโลก คือ บ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย เป็นบ้านแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี (พ.ศ. 2443-2468) มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน เดิมชื่อ “บ้านบรรทมสินธุ์”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างบ้านบรรทมสินธุ์ และพระราชทานให้กับมหาดเล็กส่วนพระองค์ คือ พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พร้อมกับการพระราชทานบ้านนรสิงห์ แก่ พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้พี่ และพระราชทานบ้านมนังคศิลา แก่ มหาเสวกเอก พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) รวมถึงพระราชทานบ้านพิบูลธรรม แก่ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ซื้อบ้านหลังนี้จากเจ้าของเดิม เพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นซื้อไปเป็นสถานทูต เนื่องจากบ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับกองพันทหารราบที่ 3 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ รัฐบาลสมัยนั้นได้ใช้บ้านนรสิงห์ เป็นทำเนียบรัฐบาล (ภายใต้ชื่อ "ทำเนียบสามัคคีชัย") สำหรับบ้านบรรทมสินธุ์นั้น ในช่วงแรก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านไทยพันธมิตร" ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น "บ้านพิษณุโลก" เนื่องจากบ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนถนนพิษณุโลก ข้างโรงพยาบาลมิชชั่น ได้ใช้เป็นที่ต้อนรับแขกเมืองสำคัญของรัฐบาลมาจนปัจจุบัน
รัฐบาลยุคต่อมาได้ปรับปรุงบ้านพิษณุโลก เพื่อใช้เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่สมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522 และมาแล้วเสร็จในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2524 พลเอกเปรม ได้ย้ายเข้าไปพัก แต่ก็อยู่เพียง 2 วัน จึงย้ายออกไปพักที่บ้านพักเดิมคือ บ้านสี่เสาเทเวศร์ ในยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการใช้บ้านหลังนี้เป็นที่ทำงานของคณะที่ปรึกษาจนมีชื่อเสียงโด่งดัง เรียกกันติดปากสื่อมวลชนว่า "ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก"แต่ไม่ได้มีการใช้เป็นที่พั
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #638 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 09:37:59 » |
|
พระราชทานให้มล.เฟื้อและมล.ฟื้น ท่านละ1หลัง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #639 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 09:48:26 » |
|
บ้านมนังคศิลา
เป็นบ้านที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานแก่พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) อดีตอธิบดีกรมชาวที่ ผู้มีหน้าที่ดูแลพระราชฐานที่ประทับทั้งหมด และพระราชทานชื่อบ้านนี้ว่า มนังคศิลา อันหมายถึงที่ประทับ
ต่อมาบ้านหลังนี้ติดจำนองไว้กับธนาคารเอเซีย กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทำเรื่องขอไถ่ถอนมาใช้เป็นบ้านพักรับรองอาคันตุกะของรัฐบาล และใช้เป็นที่ประชุมปรึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล โดยให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลรักษา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก่อตั้งพรรคเสรีมนังคศิลา ร่วมกับ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ได้ใช้บ้านหลังนี้เป็นที่ทำการพรรค
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ สภาสตรีแห่งชาติ ได้ย้ายเข้ามาตั้งสำนักงานในบ้านมนังคศิลา จนถึงปัจจุบัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #640 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 10:04:55 » |
|
บ้านพิบูลธรรมเดิมชื่อบ้านนนที เป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง ซึ่งคงได้สร้างประมาณ พ.ศ. 2456 อันเป็นปีที่เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยา
บ้านนี้มีชื่อว่าบ้านนนที ตามชื่อวัวพระนนทิการ ซึ่งเป็นเทวพาหนะของพระอิศวร (ตราประจำเสนาบดีกระทรวงวัง คือคราพระมหาเทพทรงพระนนทิการ)
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีอยู่ที่บ้านหลังนี้จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2485 ต่อมารัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซื้อไว้เป็นบ้านรับรองแขกเมือง เปลี่ยนชื่อว่าบ้านพิบูลธรรมจน พ.ศ. 2501 จึงมอบให้เป็นที่ทำการของการพลังงานแห่งชาติ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #641 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 10:06:07 » |
|
สี่แห่งตามที่พระราชทาน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #642 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 10:31:18 » |
|
แห่งที่สี่บ้านพิบูลธรรม คุ้นตากันไหมครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #643 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 14:10:00 » |
|
พิเศษ ..ที่สร้างให้พักในช่วงปฎิบัติภารกิจสถานที่ตั้ง: อยู่ภายในบริเวณ ค่ายนเรศวร ติดกับ พระราชนิเวศมฤคทายวัน อำเภอชะอำ จ.เพชรบุรี
สถาปัตยกรรมที่สวยงามโดดเด่น สถานที่โรแมนติก ริมทะเล ภายในค่ายพระราม6 พระราชนิเวศมฤคทายวัน ทรงบ้านตากอากาศที่นิยมกัน ในรัชกาลที่6 เจ้าของบ้านหลังนี้ คือ เจ้าพระยารามราฆพ หรือ ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ หนึ่งใน 50 เจ้าพระยายุคกรุงรัตนโกสินทร์ สมุหราชองครักษ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่รัชกาลที่ 6
ในสมัยเมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำริสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เพื่อแปรพระราชฐานมาประทับในฤดูร้อน ก็ทรงพระกุรณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างเรือนพัก ของเจ้าพระยารามราฆพ ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ และเป็นมหาดเล็กหัวหน้าห้องพระบรรทม
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #644 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 14:13:29 » |
|
พี่เหยง
ที่พระราชวังสนามจันทร์ มีสร้างให้พิเศษช่วงปฎบัติภารกิจแบบนี้ไหมครับ
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #646 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 16:03:19 » |
|
กรรมการ อาจารย์ ครู และพนักงานโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ฉายภาพพร้อมกันที่สนามหน้าหอประชุมโรงเรียนชั่วคราว ในวันบำเพ็ญพระราชกุลเปิดโรงเรียนที่สวนกระจัง วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๔ (นั่งพื้นจากซ้าย) ๑. นายยอด มีมานัส ครูวาดเขียน ๒. นายผิว วรรณจินดา ครูกำกับเรือนนักเรียน ๓. หลวงพิทักษ์มานพ (ต่วน ตาตะนันทน์) หัวหน้าพนักงานแลผู้ดูการสถานที่ ๔. นายพ้อง รจนานนท์ ครูวิชาสามัญ ๕. นายเพ็ง เพ็ญศิริ [๑] นายเวรพัสดุ (นั่งเก้าอี้) ๑. หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา มหาดเล็ก ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชา ๒. มร.ซี. เอ. เอส. สิเวล อาจารย์ชาวต่างประเทศ ๓. พระเทพดรุณานุศิษฏ์ (เชย ไชยนันทน์) อาจารย์วิชามหาดเล็ก ๔. พระยาไพศาลศิลปสาตร (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กรรมการจัดการ ๕. นายขัน หุ้มแพร [๒] (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) กรรมการ ๖. พระโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน) อาจารย์ใหญ่บังคับการ ๗. หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (ศร ศรเกตุ) ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองนักเรียน (แถวยืน) ๑. นายศิลป ปริญญาตร ครูวิชายิมนาสติก ๒. นายแถม อรัณยปาล [๓] สมุห์บัญชี ๓. นายเสริญ ปันยารชุน [๔] อาจารย์วิทยาศาสตร์ ๔. นายเปลื้อง ภัณฑาธร [๕] นายเวรทะเบียน ๕. นายสนั่น สิงหแพทย์ [๖] ครูกำกับเรือนนักเรียน ๖. นายสอน ศรวัต [๗] นายงานสถานที่ ๗. นายดาบจ้อย พลทา ครูวิชาทหาร
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #647 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2558, 16:05:59 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #648 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2558, 17:21:19 » |
|
. เจ้าพระยารามราฆพ
เมื่ออายุ 13ปีเศษ สมเด็จพระบรมฯได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯส่งไปศึกษาที่ร.ร.มหาดเล็กหลวง จนกระทั่งพ.ศ.2451จึงได้เข้ารับราชการในพระองค์ ตำแหน่งสำรองข้าราชการนายเวรขวา ทำหน้าที่ดูแลเครื่องเสวยและปฏิบัติราชกิจทั่วไป ต่อมาได้เลื่อนตำแห่งเป็นสมุหราชองครักษ์ เจ้าหน้าที่ตามเสด็จทุกแห่ง เรียกได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ใกล้เชิดพระองค์มากกว่าผู้อื่น ไม่ว่าพระเจ้าอยู่หัวจะทรงกีฬา ทรงละคร หรือกิจกรรม อื่นใด ท่านจะเข้าร่วมด้วยทุกคราวไป
ในชีวิตการรับราชการของเจ้าพระยารามรา ฆพดูจะรุ่งโรจน์เกินกว่าผู้อื่นใดในสมัยเดียวกัน ตำแหน่งที่ท่านผู้นี้ได้รับเมื่อรัชกาลที่หกขึ้นครองราชย์ คือ จางวางห้องที่พระบรรทม อธิบดีกรมมหาดเล็ก และผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กในที่สุด งานในหน้าที่ท่านอาจสรุปได้ดังนี้
1 ปกครองข้าราชบริพารทั้งหมดที่ล้วนเป็นกรมขนาดใหญ่ 2. อำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างทำนองทนายหน้าหอ 3. ฝึกฝนเอาใจใส่วิชานาฏศิลป์ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมแสดงโขน ละคร 4. ถวายอารักขาความปลอดภัยในฐานะสมุหราชองครักษ์
นอก จากราชการโดยตรงในกรมมหาดเล็กแล้ว เจ้าคุณรามฯยังได้รับตำแหน่งอื่นอีก ได้แก่ ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ผู้บัญชาการกรมมหรสพ ผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เป็นต้น นับว่าเป็นผู้ทีได้รับพระมหากรุณาธิคุณทั้งทางด้านการงานและเรื่องส่วนตัว ด้านการงาน นอกจากจะได้รับการเลื่อนยศ ตำแหน่ง ตลอดจนบรรดาศักดิ์เร็วกว่าคนหนุ่มที่รับราชการรุ่นเดียวกัน ยังเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้ดูแลราชการต่างๆที่เนื่องด้วยราชการใน พระองค์ อิทธิพลของเจ้าคุณรามฯเป็นที่ทราบกันที่ของหมู่ข้าราชการทั่วไป โดยตำแหน่งหน้าที่และความใกล้ชิด
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #649 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2558, 17:29:21 » |
|
พอจะสิ้นรัชกาลก็ยังทรงห่วงมหาดเล็กของพระองค์ โดยเฉพาะเจ้าคุณทั้งสอง (มล.ฟื้นและมล.เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ทรงอุตส่าห์ดำรัสให้มอบเงินเบี้ยเลี้ยงบำนาญเท่านั้นเท่านี้ แม้หลังสวรรคตแล้ว
พอถึงยุคเศรษฐกิจอับจนสมัยร.7 พระองค์ทรงเพิกเฉยกับเงินก้อนนี้ เพราะประเทศต้องประหยัดสุดชีวิต เจ้าคุณรามฯก็เลยเก็บความรู้สึกไว้จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ท่านเจ้าคุณกับพวกเป็นโจทย์ยื่นฟ้องร้องต่อศาล ให้ร.7ชดใช้ด้วยเรื่องอันนี้ แต่ศาลท่านคงเห็นว่าเรื่องที่เกิดครั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถือการตัดสินใจของพระมหากษัตริย์เป็นเด็ดขาด ในเมื่อตอนที่ร.6ออกกฎนี้มาด้วยฐานะกษัตริย์ ร.7ท่านก็เลิกกฎนี้ด้วยฐานะกษัตริย์เหมือนกัน ก็เลยยกฟ้อง
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #651 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2558, 20:47:33 » |
|
วันนี้ (16 พ.ค.) เพจเฟซบุ๊คชื่อ ‘นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม’ เผยแพร่เรื่องราวสุดประทับใจ เป็นบทสนธนาระหว่าง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พร้อมทั้งระบุข้อความว่า บรรยายเรื่องราว ขณะที่สมเด็จพระเทพฯเสด็จเยือนวัดบ้านไร่ เพื่อยกช่อฟ้าและทรงเททอง หล่อพระประทาน ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ
มีเรื่องเล่ากันว่าก่อนการเสด็จมาถึง ข้าราชการหลายท่านจากจังหวัด ได้เข้ามาติวเข้ม พร้อมแนะนำคำราชาศัพย์ง่ายๆให้แก่ ‘หลวงพ่อคูณ’ พร้อมกำชับเป็นมั่นเป็นเหมาะว่า ให้ระมัดระวังการใช้ภาษาสมัยพ่อขุนฯ ที่หลวงพ่อใช้อยู่ประจำอย่างที่ทราบกันดี
ครั้นพอสมเด็จพระเทพฯ ท่านเสด็จมาถึงที่วัด หลังผ่านพิธีการจนเรียบร้อย ระหว่างเสด็จพระดำเนินตามทางโดยมีหลวงพ่อคูณ และผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเดินตามมานั้นเอง หลวงพ่อคูณในท่าทางของพระที่ดูอึดอัด ไม่พูดไม่จา จนผิดปกติแต่ก็คงไว้ ด้วยความเรียบร้อยอย่างที่สุด
สมเด็จพระเทพฯ ทรงตรัสถามอะไรไป ก็คงมีแต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คอยถวายคำอธิบายอยู่เช่นนั้น โดยมีหลวงคูณพ่อเดินตามมาเป็นผ้าพับไว้ จนพระองค์เห็นผิดสังเกตุ จึงตรัสถามไปแบบยิ้มพระสรวญว่า
” ทำไมหลวงพ่อไม่พูดกับหนูล่ะคะ “
คำตอบสั้นๆ ฟังง่ายของหลวงพ่อคูณ ที่ทำเอาข้าราชการหลายส่วนแทบจะเป็นลม เมื่อหลวงพ่อคูณหันกลับไปตอบสมเด็จพระเทพฯ ตามถนัดว่า…
” ก็ไอ้นี่มันไม่ให้กูพูดกับมึง “
พร้อมชี้นิ้วไปที่เต็มอกนายอำเภอด่านขุนทด
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #652 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2558, 21:13:16 » |
|
พี่เริง, พี่แปะภาพนี้ที่Shoutbox แล้วมันไม่ขึ้นคะ! น่าจะบอกWebmasterให้แปะที่หน้าจอนะคะ? ทุกคนจะได้เห็นค่ะ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #653 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2558, 21:28:52 » |
|
พี่เริง, ที่แปะที่หน้าจอ ไม่ได้บอกอะไรเลย แต่ภาพที่พี่จะแปะนี่ มีรายละเอียดครบ attractiveกว่าแยะเลยพี่!
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #654 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2558, 21:58:25 » |
|
พี่เริง, แล้ว "เขา"นี่ ใครเหรอพี่? วม.? webmaster? วม.ผี? วม.invisible hand? ไม่มีชื่อแน่ๆ เดี๋ยวก็เกี่ยงกันอีก!
กวามจริง ข่าวลักษณะนี้ สำคัญ เพราะเรียกคน น่าจะเป็นตัววิ่ง น่าจะแปะหัวจอ ... เพราะ? "ผูกพันวันเก่า มาเยือนเหย้า"โดดๆ หนิงอ่านแล้ว เข้าใจว่า...ชาวหอเก่า คลิ้กเข้ามาที่นี่ คือมาเยือนเหย้าคะ!! ไม่ได้คิดไปถึงว่าจะมีงาน จะมีการพบชุมนุมกัน...
พี่นึกออกมั้ย??
|
|
|
|
kumpolcomcai
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี อยู่ในสถานที่ดีดี
ออฟไลน์
รุ่น: 2525
คณะ: สัตวแพทยศาสตร์
กระทู้: 10,307
|
|
« ตอบ #655 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2558, 00:17:33 » |
|
สวัสดีครับ มาติดตามอ่าน เหมือนเดิม
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #656 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2558, 06:21:55 » |
|
ช่วยลบออกให้ที..จะไ่ม่ทำอีกแล้วจ้า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #657 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2558, 06:23:14 » |
|
ห้องนี้ปิดแล้วจ้า..
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #658 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2558, 18:15:43 » |
|
ปิดทำไมล่าพี่เริง! เค้า(เขา!!)แปะให้แล้วไม่เห็นเหรอพี่?? เรื่องแบบนี้พี่ต้องกล้าคะ อย่ากลัวที่จะshout ม่ายงั้น...แต่ละคนอ่าน อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือเข้าใจเป็นอย่างอื่น ก็ออกความเห็นไปสิคะ! ความเห็นใครใครก็รับผิดชอบ ไม่มีถูก ไม่มีผิดคะ เชื่อน้องหนิง...ผู้ไม่กลัวที่จะcomment!!
อย่างน้อย versionที่พี่ต้องการแปะที่shoutboxแล้วไม่ขึ้น ก็ได้รับการแก้ไข ทีนี้ทุกคนที่คลิ้กเข้ามาก็เห็น ส่วนจะมาได้ไม่ได้ มากี่คน ไม่ใช่ปัญหาของพี่!!
|
|
|
|
kumpolcomcai
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี อยู่ในสถานที่ดีดี
ออฟไลน์
รุ่น: 2525
คณะ: สัตวแพทยศาสตร์
กระทู้: 10,307
|
|
« ตอบ #659 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2558, 23:05:56 » |
|
ผมอยากให้ห้องนี้เปิดต่อครับ เรามาช่วยกันรักษาไว้นะครับ
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #660 เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2558, 16:22:56 » |
|
เจ้าของกระทู้คือพี่เริงคะต้องดูแลเอง ส่วนพี่หมอกำพลหรือหนิง เป็นเพียงแขกคะ ไม่"ประจำ"
หากพี่เริงอยากปิด? ก็ปิดไปสิคะ! ใครจะแคร์??
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #661 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2558, 19:29:59 » |
|
น้องเริง คุณเหยง หมอตุ่น น้องหนิง แวะมาเที่ยวห้องนี้อีก ภาพสถานที่ต่างๆยอดเยี่ยมมากดูไม่เบื่อเลย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #662 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2558, 14:32:14 » |
|
ครูเริง
บ้านบางหลังในพระราชวังสระน้ำจันทร์ ใช้เป็นบ้านพักข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น ผู้ว่าฯ หน.ศาลฯ โดยตัวพระราชวังใช้เป็นศาลากลางจังหวัด อาทิพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เป็นห้องประชุมข้าราชการ ปัจจุบันพระราชวังสระน้ำจันทร์คืนให้สำนักพระราชวังแล้ว ศาลากลางไปสร้างบนที่แห่งใหม่
บ้านหลายๆหลัง ยังถูกใช้ถ่ายละครครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #663 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2558, 14:36:57 » |
|
ปัจจุบัน หากจะเข้าไปในพระราชวังสระน้ำจันทร์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชม ทั้งคนไทย คนเทศ แต่ก่อนเมื่อผมกลับไปนครปฐม มักจะชวนน้องสาวนำเครื่องเซ่น เครื่องสังเวย เข้าไปไหว้พระพิฆเณศวร พระในวังแห่งนี้เสมอ ไหว้เสร็จก็จะกลับ เพราะเคยไปบ่อยมาก สมัยเป็นศาลากลางจังหวัด ก็เข้า-ออกง่ายดาย มาติดเรื่องต้องชำระค่าเข้าชมอยู่หลายครั้ง จึงถอดใจ ไม่ได้เข้าไปเซ่นไหว้พระในนั้นอีกเลยครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #664 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2558, 14:39:44 » |
|
รัชกาลที่ ๖ ท่านเสด็จประทับที่พระราชวังแห่งนี้ และเปิดบางหน้าต่างทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างรอบๆองค์พระปฐมเจดีย์ จึงเป็นที่มาของ "เหรียญพระปฐมปาฎิหารย์"
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #665 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2558, 14:42:02 » |
|
อีกหนึ่งเหรียญที่หายากที่สุด..ครับ พระปฐมปาฎิหาริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระราชวังสนามจันท์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้เกิดปรากฎการณ์พระปฐมปาฎิหาริย์ ในคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘ พ.ศ.๒๔๕๒ เมื่อเวลา ๒ ยาม ๕๕ นาที (๐๐ : ๕๕ น.) พระยาคทาธรธิบดี - เทียบ อัศวรักษ์ ขณะดำรงตำแหน่ง นายวรการ (หนึ่งใรนายใน ที่ทรงโปรดฯ) กราบทูลให้ทรงทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์ พบว่ามีแสงสว่างโพลงไปทั้งองค์ มีสีคล้ายหิ่งห้อยอยู่จนถึงเวลา ๗ ทุ่ม ๑๒ นาที ( ๐๐ : ๑๒ น.) เป็นเวลานานถึง ๑๗ นาที รัศมีตั้งแต่ยอดมงกุฎจรดปล้องไฉนจึงหายวูบไป ต่อมาอีกราวครึ่งนาที แสงคอระฆังจึงหายไปเป็นอัศจรรย์ จึงทรงกราบพระปฐมเจดีย์และสวดบทอิติปิโส ครั้งนั้นมีพระองค์และข้าราชบริพารอยู่ในเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก โปรดฯให้จดรานามผู้เห็นเหตุมหัศจรรย์ครั้งนี้พร้อมกันกับพระองค์ได้ ๖๘ ราย นอกจากนี้แล้วยังมีราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยอีกหลายราย วันรุ่งขึ้น โปรดฯให้ฉลองพระปฐมเจดีย์ และเดินเวียนเทียน (จดหมายเหตุรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๐ - ๒๕)
ทรงกราบบังคมทูลเล่าเหตุการณ์ครั้งนี้ให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าว่าพระองค์ทรงเคยเห็นพระปฐมปาฎิหาริย์ด้วยพระองค์เองถึง ๒ ครั้ง ในเวลายามหนึ่ง คือประมาณ ๓ ทุ่ม (๒๑ : ๐๐ น.) มักเกิดในระหว่างเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ และเดือนยี่ และเวลาที่ทรงทอดพระเนตรเห็นนั้น ข้าราชบีิพารเห็นเหตุการณ์เป็นจำนวนมากกว่านี้ (เรื่องพระปฐมเจดีย์, หน้า ๒๒๙)
นอกจากนี้ ย้อนไปถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงบูรณปฎิสังขรพระปฐมเจดีย์อยู่นั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปสักการะ และสมโภชพระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ทรงทอดพระเนตรเห็นดวงรัศมีสีขาวย้อยออกมาตามซุ้มคูหาด้านตะวันออก ตกลงมาหายไปที่หลังวิหารพระไสยาสน์เก่า ซึ่งปัจจุบันคือวิหารหลวง มีผู้เห็นเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก (เรื่องพระปฐมเจดีย์, หน้า ๒๒๙)
นอกจากเหตุการณ์พระปฐมปาฎิหาริย์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าพระเนตรพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์แล้ว ยังมีบันทึกไว้ว่าในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ มีผู้เห็นดวงไฟสว่างออกมาทางซุ้มคูหาทิศเหนือ และวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ มีผู้เห็นรัศมีส่องไปทางองค์พระปรางค์เหมือนแสงดอกไม้เทียบจับอยู่ที่องค์พระ
กล่าวกันว่า พระปฐมปาฎิหาริย์เกิดขึ้นทุกปีๆละสองครั้งบ้าง สามครั้งบ้าง เมื่อสมโภชเวียนเทียนคราวใดเป็นได้เห็นทุกคราว
นอกจากพระปฐมปาฎิหาริย์แล้ว ยังมีบันทึกครั้งโบราณที่กล่าวถึงพระธาตุปาฎิหาริย์อีกหลายครั้ง เช่น พระเกศาธาตุที่มหิยังคนเจดีย์ กรุงลังกา, พระธาตุปาฎิหาริย์ที่เมืองบางจา เป็นต้น ( ชินการลมาลีปกรณ์, หน้า ๑๐๖ - ๑๑๑ : ตำนานมูลศาสนา, หน้า ๑๙๕ - ๑๙๖ : พงศาวดารโยนก, หน้า ๒๙๒ - ๒๙๗)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดปรดฯให้สร้างเหรียญที่ระลึก พระปฐมปาฎิหาริย์ เป็นเหรียญกลม ขนาดผ่าศูนย์กลาง ๒.๖๕ เซนติเมตรมีหูเชื่อม เนื้อเงิน ด้านหน้าเป็น พระธรรมจักร ด้านหลัง เป็นตัวอักษร แบบแรก : วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ ตุลาคม ร,ศ, ๑๒๘ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เวลา ๒ ยาม ๕๕ นาที พระปฐมปาฎิหาร แบบที่สอง : พุทธสาสนายุกาล ล่วงแล้วได้ ๒๔๕๒ พรรษา วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร,ศ, ๑๒๘ เวลา ๒ ยาม ๑๕ นาที พระปฐมปาฎิหาริย์
หมายเหตุ : มีการตรวจสอบในภายหลังพบว่า เวลา ๒ ยาม ๑๕ นาที ในแบบที่สองผิดพลาด จึงโปรดฯให้จะดทำเหรียญแบบแรกออกมาแจกจ่ายให้ผู้ที่ได้เห็นเหตุการณ์นั้นเป็นที่ระลึก
ปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายากมากที่สุด เพราะจัดสร้างตามจำนวนผู้ร่วมเห็นในเหตุการณ์ในคืนนั้น และเวลาผ่านมา ๑๐๕ ปีแล้ว ส่วนหนึ่งสูญหายไปเพราะทายาท และไม่พบเห็นมาหลายปีแล้วครับ
ข้อมูล : พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย http://www.thaimedals.com/web/2452_5.phpเรื่องนี้ได้โพสต์ไว้ในห้องปี 2516 แล้วครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #666 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2558, 06:42:09 » |
|
เจ้าของห้องไปไหน?
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #667 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2558, 10:37:47 » |
|
น้องเริง
เงียบไปนานเลย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #668 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2558, 16:07:30 » |
|
ใกล้วันแม่แล้ว
ยังไม่กลับมาเปิดบ้านรับแขกอีกหรือ ??
|
|
|
|
|