|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3153 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2557, 19:03:17 » |
|
ป้อมพระสุเมรุป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3154 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2557, 19:08:16 » |
|
พระที่นั่งสันติชัยปราการ ในสวนสันติชัยปราการ ใกล้กับป้อมพระสุเมรุ “สวนสันติชัยปราการ” นี้ แปลว่า “มีปราการที่เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของสันติภาพ” เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเมื่อคราวที่ได้มีการจัดทำโครงการบูรณะป้อมพระสุเมรุและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบเป็นสวนสาธารณะ ได้มีการจัดสร้างพระที่นั่งสันติชัยปราการเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3155 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2557, 19:18:24 » |
|
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม.ธ.ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ. 2495 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3156 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2557, 19:25:06 » |
|
โรงพยาบาลศิริราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นสถานที่รักษาแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลนั้น อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ วังหลัง ซึ่งเป็นวังเดิมของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลง ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณวังหลังดังกล่าว นอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล
|
|
|
|
|
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213
|
|
« ตอบ #3158 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2557, 15:53:10 » |
|
อิ่มบุญตา แถมมีก๋วยเตี๋ยวน่าอร่อยอีกเนี่ย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3159 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2557, 15:59:01 » |
|
ครับ อร่อย อิ่ม ชมภาพต่อ ๕ ๕
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3161 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2557, 16:28:20 » |
|
สะพานพุทธสะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อปี พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถนนตรีเพชร ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 ถัดจากสะพานพระราม 6 ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3163 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2557, 18:27:37 » |
|
ท่าน้ำราชวงศ์จากท่าน้ำราชวงศ์จะเป็นถนนราชวงศ์ไปจนถึงถนนเยาวราช ซึ่งเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้น นับเป็นถนนที่มีความสำคัญต่อการค้า เพราะสมัยนั้นท่าราชวงศ์เป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3164 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 09:40:59 » |
|
สมัยก่อนไปบ่อย
เนื่องจากต้องนำสินค้าเกษตร อันได้แก่ถั่วเขียว ไปขายที่ทรงวาด ยาวไปจนถึง วงเวียน 22 กรกฎา ซึ่งมีพ่อค้ารับซื้อพืชไร่ ตั้งร้านค้าอยู่มาก จำได้ว่า จากสามเหลี่ยมดินแดง ตรงไปอนุสาวรีย์ชัย ต่อไปสามย่าน เข้าหัวลำโพง ก็จะถีงปลายทาง แต่หัวมืดก่อนแจ้ง พ่อค้าจะมาฉ่ำตัวอย่างไป เพื่อดูสินค้าและเสนอขายต่อ หากตกลง ก็ให้คนงานถ่ายรถ เพื่อไปส่งต่อ รอจนถ่ายสินค้าเสร็จก็เกือบเที่ยง จากนั้นก็ให้คนขับรถบรรทุกนำรถออกไปรับสินค้าอื่น ก่อนจะหมดเวลาวิ่งเมื่อ 15.00 น. รถบบรทุกต้องจอดทั้งหมด จน 22.00 สี่ทุ่ม จึงออกเดินรถอีกครั้ง และยุติในเวลา 06.00 น.ตอนเช้า
ปัจจุบัน ตร.จราจรไม่อนุญาตให้รถบรรทุกเข้าไปในเขตสัมพันธวงศ์อีกแล้ว เพราะย่านนั้นจอแจมาก การค้าจึงค่อยๆถดถอย และไปหาทำเลอื่นทำการค้าต่อไป อาทิ ย้ายไปอยู่ซอยวัดกิ่งแก้ว หรือย้ายไปโน่นเลย แถบแสมดำ กระจัดกระจายออกไปไม่รวมกลุ่มกันอีกต่อไป
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3165 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 12:56:43 » |
|
ครับ
ขยันขันแข็ง ชอบ เป็นตัวอย่างได้ดีเลยครับ
ยายผมเคยเล่าว่านั่งเรือยนต์จากท่าเรือท่าแฉลบ จันทบุรี มากรุงเทพฯขึ้นที่ท่าเรือตรงเยาวราช
เพิ่งทราบว่าเป็นท่าราชวงศ์นี้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3166 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 13:25:06 » |
|
ร้องสอบวัดกัลยาณมิตรฯทำลายโบราณสถานร้อง "คสช." สอบวัดกัลยาณมิตร-ตร. ละเมิดคำสั่งศาลปค. ทำลายโบราณสถาน
เดลินิวส์ วันพุธ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 11:42 น.
เมื่อเวลา 10.10 น. วันที่ 16 ก.ค. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มชาวบ้านบริเวณวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร จำนวน 10 คน นำโดยนายเชียรช่วง กัลยาณมิตร ทายาทผู้สร้างวัดกัลยาณมิตรฯ พร้อมคณะ เข้ายื่นหนังสือถึงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชนฯ ให้เร่งตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐและวัดกัลยาณมิตรฯ ที่ปล่อยให้มีการเข้าไปดำเนินการทุบทำลายโบราณสถานภายในวัดกัลยาณมิตรฯ ทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ที่มีคำสั่งห้ามทุบทำลายโบราณสถานและห้ามปลูกสร้างอาคารในเขตโบราณสถานภายในวัด แต่กับไม่มีหน่วยงานใดดำเนินการ และให้มีการปลูกสร้างอาคารโดยผิดกฎหมาย ซึ่งชาวบ้านในชุมชนได้รวมตัวเรียกร้องไปยังกรมศิลปากรปี 2546 จนถึงขณะนี้เป็นเวลานานกว่า 10 ปี ก็ยังมีการดำเนินการละเมิดคำพิพากษาของศาล อีกทั้งตำรวจกับอัยการยังมีคำสั่งไม่ฟ้องวัดฯ และปล่อยให้ดำเนินการทุบทำลายโบราณสถาน ทั้งที่กรมศิลปากรได้ทำหนังสือสั่งห้ามไปแล้ว จึงขอให้คสช.มาตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการ เพราะอาจจะมีการทำหน้าที่ ที่ไม่ชอบธรรม
นายเชียรช่วง กล่าวว่า ขณะนี้ ทางวัดฯได้รับทราบคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว แต่ยังดำเนินการ ทุบทำลายโบราณสถานภายในวัดเรื่อยๆ อีกทั้งมีการขุด อัฐิบรรพบุรุษของตนขึ้นมา ซึ่งเป็นการละเมิดคำพิพากษาของศาลปกครอง อย่างไรก็ตามขณะนี้กรมศิลปากรได้แจ้งความดำเนินคดีที่ สน.บุพพาราม กับทางวัดแล้ว แต่คดีไม่คืบจึงขอให้คสช.เข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่สน.บุปผารามในครั้งนี้ด้วย.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3167 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 19:42:47 » |
|
วัดพระแม่ลูกประคำ“วัดกาลหว่าร์” เป็นวัดเก่าแก่มีความเป็นมาจะเรียกได้ว่าพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์เลยทีเดียว จากประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า เป็นวัดคาทอลิกคู่กรุงรัตนโกสินทร์ก็ว่าได้
ครั้นเมื่อทางสันตะสำนัก (กรุงโรม) ประกาศแต่งตั้งประมุขมิสซังสยาม อันได้แก่ คณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส จึงทำให้ชาวโปรตุเกสแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งยอมรับอำนาจการปกครองของบรรดาประมุชมิสซังฯ ส่งบุตรหลานเข้าเรียน และช่วยเหลือกิจการของมิสซัง เช่น ที่บ้านเณรเล็กนักบุญยอแซฟ (บ้านเณรแห่งแรกในกรุงสยาม ที่อยุธยา) และบ้านเณรใหญ่ อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ยอมรับอำนาจของประมุขมิสซัง และชาวฝรั่งเศส จะยอมรับเฉพาะพระสงฆ์ชาวโปรตุเกส
ปี ค.ศ. 1767 ทหารพม่าบุกเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา พวกพระสงฆ์โปรตุเกสยอมมอบตัวแก่ทหารพม่า ส่วนพระสังฆราช และพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสถูกจับเป็นเชลย วัดนักบุญยอแซฟถูกทำลาย ทรัพย์สมบัติถูกยึดไปมากมาย บรรดาคริสตังชาวโปรตุเกสและชาวญวณจำนวนหนึ่งที่รอดจากการถูกจับ หรือถูกฆ่า ได้พากันอพยพลงมายังบางกอก (กรุงเทพ) โดยล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยา
กลุ่มชาวโปรตุเกส ที่ไม่ยอมรับอำนาจของพระสังฆราชประมุขมิสซัง ได้นำเอาทรัพย์สมบัติไปด้วย และในบรรดาสมบัติดังกล่าวนั้น มีรูปปั้นมีค่ายิ่งสองรูป รูปแรก คือ รูปแม่พระลูกประคำ (คือรูปที่ใช้แห่ทุก ๆ ปี ในโอกาสฉลองวัดในปัจจุบันนี้) อีกรูปหนึ่ง คือ รูปพระศพของพระเยซูเจ้า (ซึ่งใช้แห่กันทุกปี ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ จนปัจจุบัน)
ใน ปี ค.ศ. 1890 คุณพ่อแดซาลส์ เจ้าอาวาส ได้รื้อวัดกาลหว่าร์ซึ่งมี อายุ 50 กว่าปีแล้ว และทำการสร้างใหม่ ซึ่งก็คือหลังปัจจุบัน เสกศิลาฤกษ์ วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1891 โดยพระสัง ฆราชเวย์ และเสกวัดใหม่ในปี ค.ศ.1897 ในสมัยคุณพ่อเปอตีต์ เป็นเจ้าอาวาส วัดหลังนี้ได้มีโอกาสใช้เป็น สถานที่สำหรับทำ พิธีอภิเษกคุณพ่อแปร์รอส เป็นพระสังฆราชเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1910 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งผู้แทนมาร่วมพิธีด้วย ในสมัยคุณพ่อกิยูเป็นเจ้าอาวาสได้จัดฉลองครบรอบ 25 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1922 จัดฉลองครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ.1947 ในสมัยคุณพ่อโอลลิเอร์ เป็นเจ้าอาวาส ในสมัยคุณพ่ออาแมสตอย เป็นเจ้าอาวาสได้ทำ การบูรณะซ่อมแซมวัด ทาสีทั้งภ ายนอกและภายในวัดให้ดูสวยงามและสง่าขึ้น และได้จัดฉลองครบรอบ 60 ปีของวัดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1957 หรือ พ.ศ. ๒๕๐๐ อาคารนี้จึงมีอายุ ๑๑๗ ปีแล้ว
|
|
|
|
|
|
Pete15
|
|
« ตอบ #3170 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 20:18:42 » |
|
มาครับ น้องเริง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3171 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 20:22:35 » |
|
ครับผม
พี่ปิ๊ด เชิญชมภาพต่อ กำลังสนุกครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3172 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 20:25:39 » |
|
แบ๊งก์สยามกัมมาจล
กิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม “บุคคลัภย์” (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ก่อตั้งโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็น ต้องมีระบบการเงินธนาคาร เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานอำนาจพิเศษ ให้จัดตั้ง “บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ นับแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ธนาคารฯ ย้ายสำนักงานมายัง ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ คืออาคารนี้ ในปัจจุบันเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3173 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 20:45:13 » |
|
โรงภาษีร้อยชักสาม หรือศุลกสถานตัวที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษี เริ่มมีเป็นครั้งแรก หลังจากไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับประเทศอังกฤษ ซึ่งในตอนหนึ่งระบุว่า จะต้องปลูกโรงภาษีให้ใกล้ท่าจอดเรือพอสมควร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่หลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงภาษีนี้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรย์ เพื่อทำตึกให้ฮ่องกงแอนด์เซียงไฮ้แบงค์เช่า (พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ถึงเจ้าพนักงาน พระคลังมหาสมบัติ ลงวันที่ 7 ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2430) จึงได้ย้ายมาตั้ง ณ ที่อาคารเก่าศุลกากร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรักในปัจจุบัน(อาคารในภาพ)
ที่ทำการศุลกากร มีชื่อเรียกในหนังสือทางราชการว่า ศุลกสถาน แต่คนทั่วไปเรียกว่า โรงภาษีร้อยชักสาม หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรงภาษี ส่วนชาวแต้จิ๋วเรียกว่า ฟ้าซีกวนหรือแป๊ะลั่นซา ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เหตุที่เรียกว่าร้อยชักสาม เพราะเดิมเรียกเก็บภาษีจากสินค้าต่างประเทศ ที่เข้ามาขายเพียงอัตราเดียว คือ เก็บเป็นภาษีตามราคาของสินค้าร้อยละสาม
สถานที่ตรงศุลกากรเดิมเป็นตึกจีน เป็นที่ของนายนุด อาหารบริรักษ์ ภายหลังตกเป็นของหลวง เมื่อย้ายมาอยู่ในทีแรกตั้งอยู่ที่ตึกจีนหลังกลาง ภายหลังจึงสร้างเป็นเรือนปั้นหยา 2 หลัง ตั้งอยู่คนละมุม หลังหนึ่งเป็นที่ทำการภาษีร้อยชักสาม ซึ่งพระยาภาศกรวงศ์ (ชุมพร บุนนาค) เป็นผู้บังคับบัญชา อีกหลังหนึ่ง เป็นที่บัญชาการภาษีข้าวขาออก ซึ่งพระยาพิพิธโภคัยเป็นผู้บังคับบัญชา แยกกันคนละส่วน แล้วจึงสร้างที่ทำการศุลกากร ให้ชื่อว่า ศุลกสถาน เป็นตึกซึ่งเห็นอยู่ทุกวันนี้
ตึกหลังนี้ มิสเตอร์กราสลี นายช่างชาวอิตาเลี่ยน เป็นผู้ออกแบบรับเหมาก่อสร้าง สร้างเสร็จภายหลังปี พ.ศ.2431 เพราะมีหลักฐานอยู่ในหนังสือ Bangkok Time Guide ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2433 กล่าวชุมศุลกากรสถานที่สร้างใหม่ว่า เป็นสถานที่ที่งดงามแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำในที่สง่างาม มีเนื้อที่ราวๆ 2 - 4 ไร่ ใช้เป็นท่าเรือ กุดังสินค้า ตัวที่ทำการตึกเฉลียง ข้างที่อยู่เจ้าพนักงานและอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศุลกสถานโดยตรง ท่าเรือมีความสะดวก สำหรับขนถ่ายสินค้าจากเรือลำเลียง แม้เรือกลไฟใหญ่กินน้ำ ซึ่งก็สามารถเข้าเทียบท่ากลางขนถ่ายสินค้าได้ มีโรงพักสินค้าและที่ทำการเจ้าพนักงาน และมีรถรางขนาดเบา ซึ่งนอกจากใช้ในการขนสินค้า ยังใช้บรรทุกน้ำจากแม่น้ำ ไปจ่ายตามเรือนที่พักของเจ้าพนักงานในเวลานอกราชการ ตัวตึกใหญ่นั้นรูปทรงงดงาม มีสามชั้น โดยมากใช้เป็นที่ทำการของพนักงานกรมเกษตร (ชั้นที่สาม เดิมนัยว่าใช้เป็นที่เต้นรำของชาวต่างประเทศ เป็น เครื่องประดับมีกระจกเงาแผ่นใหญ่ๆ โคมระย้าแก้ว ฉากรูปแล้ว ฉากรูปสีน้ำยังเหลือสืบมา ได้รื้อถอนไปในราว 70 กว่าปีมาแล้ว) มีสะพานข้ามติดต่อกับที่ทำการศุลกากร ซึ่งเป็นตึก 2 ชั้น เป็นที่ทำการภาษีขาเข้าขาออก (ยังมีตัวหนังสือบอกว่า Import and Export Department ไว้ที่หน้าบันตัวตึกหลังนี้)
ที่ทำการกรมศุลกากร ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ Bangkok Tihes Guide Book ชมศุลกสถานว่า เป็นตึกที่งดงามในสมัยนั้น เพราะทางราชการเคยใช้ศุลกสถานตอนชั้นที่ 3 เป็นสถานที่เต้นรำของชาวต่างประเทศ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
แม้ต่อมาในสมัยพระวรงค์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช เป็นอธิบดีกรมศุลกากร ก็เคยใช้ศุลกสถาน เป็นที่เต้นรำในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา 2 - 3 ครั้ง รวมทั้งงานสมโภช เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากยุโรปคราวแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ด้วย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3174 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2557, 21:06:57 » |
|
ถึงท่าเรือสาทร หรือสะพานตากสินแล้วคราวหน้ามีภาพจากท่าสาทรถึงปลายทางคือท่าวัดราชสิงขร ..รอสักหน่อย ๕ ๕
|
|
|
|
|