23 พฤศจิกายน 2567, 13:43:06
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 84 85 [86] 87 88 ... 131   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยว  (อ่าน 924606 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 11 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2125 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 17:38:45 »

แล้วร้าน ก. พานิช อยู่ไหน ต้องค้นหา..ฮ่า ฮ่า พบแล้ว



"ก. พานิช" ตำนานความอร่อย คัดสรรแต่ของดี
       
       ก.พานิช นับเป็นร้านข้าวเหนียวมะม่วงเก่าแก่อายุเกือบ 80 ปี ที่ตั้งอยู่ตรงแพร่งภูธร
       
       ผ่านมาถึงวันนี้ ก.พานิช ยังคงไว้ซึ่งสูตรเด็ดของร้านเหมือน เดิมโดยมี พาณี เฉียบฉลาด สะใภ้ของร้านยุคดั้งเดิม เป็นผู้สืบสานตำนานความอร่อย
       
       ย้อนไปเมื่อปี 2472 ร้านนี้ยังไม่มีชื่อร้านอย่างเป็นทางการ แต่ลูกค้ามักเรียกกันว่า"ข้าวเหนียวแม่ภี" จนกระทั่งปี 2475 ชื่อ"ก. พานิช" ได้ถือกำเนิดขึ้นในยุทธจักรข้าวเหนียวมะม่วงแห่งบางกอก โดยชื่อ "ก." มาจากชื่อ"นายกาบ เฉียบฉลาด" เจ้าของร้าน ส่วน"พานิช" มาจากการค้าขาย เมื่อรวมกันแล้ว ก.พานิช ก็คือ การทำมาค้าขายของนายกาบนั่นเอง
       
       แต่ว่าจริงๆแล้วคนทำข้าวเหนียวมะม่วงตัวจริงเสียงจริง คือ "สารภี เฉียบฉลาด" ภรรยาของนายกาบ(ลักษณะคล้ายๆพรรคการเมืองพรรคใหญ่ในบ้านเราเหมือนกัน ที่หลังบ้านคือผู้ดูแลพรรคตัวจริงเสียงจริง) ที่เรียนรู้สืบทอดสูตรมาจากมารดาคือ"ลี้ ขำอัมพร" ผู้ซึ่งเคยเป็นช่างเครื่องอยู่ในวัง
       
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2126 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 08:11:43 »

เริง


ไม่เคยไปซื้อ มีแต่ลูกกับหลานสาวซื้อไปให้ทาน
ของเขาอร่อยตรงการมูลข้าวเหนียวให้ได้ที่ และเข้ากับกะทิที่ราดลงไป
ส่วนมะม่วง จัดหาเองครับ เพราะ ตจว.เราจัดหาซื้อได้หลากหลายชนิด
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2127 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 08:13:18 »

วันหลังจะบอกให้เขาซื้อข้าวเหนียวหน้ากุ้งไปให้ด้วย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2128 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 20:13:02 »

๑๔ ตค.มีการประชุมเตรียมความพร้อมผู้ไปอังกฤษเดือนหน้าเพื่อจะได้ทำตัวถูกต้อง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2129 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 07:31:06 »

"พายุไต้ฝุ่นนารี NARI" จะขึ้นฝั่งเวียตนามในเย็นนี้ด้วยความเร็วลมศูนย์กลาง 140 กม.
และถึงประเทศไทยในเย็นวันพรุ่งนี้ โดยเป็นดีเปรสชั่น (ซึ่งลดความรุนแรงลงไปมาก)
และอิทธิพลของพายุจะมีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ติดชายแดนลาวเท่านั้น
บรรดาเขื่อนหลักของประเทศไทยไม่ได้รับน้ำจากพายุซึ่งน่าจะเป็นลูกสุดท้ายนี้อย่างแน่นอน




พยากรณ์อากาศ ประจำวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (14 ต.ค. 56) พายุไต้ฝุ่น “นารี” (NARI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 380 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 15.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 15 -16 ตุลาคม 2556 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลทำให้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมแรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปเมืองดานัง
ประเทศเวียดนามตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย
อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงอีกละรอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 15-16 ตุลาคม 2556 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงกับมีอากาศเย็นในตอนเช้า
 
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2130 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 19:32:09 »

ประชุมเรื่องนี้




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2131 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 19:40:09 »




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2132 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 19:52:17 »

ก่อนไปถึง ได้ผ่านถนนพิษณุโลกและมีบังเกอร์ที่แยกมัฆวาฬ




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2133 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 20:13:28 »

ตอนกลับ ผ่านข้างวังแดง



 วังลดาวัลย์นี้ เป็นวังที่คนใน ชุมชนเทเวศน์ คุ้นเคยกันดี ตั้งอยู่หัวมุม ถนนของสี่แยก ที่เรียกว่า วังแดง  ตามกำแพงสีแดงที่เราเห็น
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #2134 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 20:43:23 »


สวัสดียามค่ำครับ... พี่เริง..พี่เหยง..พี่อ๋าง..พี่หนุน และพี่น้องทุกท่าน

ตามอ่าน ตามชม ครับ..
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2135 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2556, 10:24:59 »

รายละเอียดเพิ่มเติม

 


สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ (ต้นราชสกุลยุคล) เมื่อคราวใกล้จะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยพระราชทานนาม “วังลดาวัลย์” ตามพระนามเดิมของกรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์) ผู้เป็นเสด็จตาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรฯ โดยมีพระสถิตย์นิมานการ เจ้ากรมโยธาธิการ เป็นผู้จัดการเรื่องแปลน ซึ่งขณะนั้นกรมโยธาธิการได้จ้างช่างชาวต่างประเทศออกแบบพระที่นั่ง พระตำหนัก ตำแหน่งและอาคารต่าง ๆ ฉะนั้น ตำหนักหลังนี้คงออกแบบโดยนายช่างชาวต่างประเทศ โดยมีนายจี บรูโน เป็นผู้รับเหมาการก่อสร้าง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ เจ้าของวังลดาวัลย์นั้นโปรดการดนตรี นาฏศิลป์ และศิลปะการแสดงแทบทุกแขนง ทำให้วังลดาวัลย์เปรียบเสมือนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่ง แต่เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2475 วังนี้ตกอยู่ในการดูแลของพระชายา คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ประจวบกับมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ใน พ.ศ. 2475 ทำให้วังลดาวัลย์ถูกทอดทิ้ง

ต่อมาในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพารัฐบาลญี่ปุ่นในขณะนั้นเคยเช่าใช้เป็นหอวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเคยใช้เป็นที่พำนักของกองกำลังทหารจากสหประชาชาติ ครั้นในช่วงปลายสงคราม พ.ศ. 2488 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ติดต่อขอซื้อวังลดาวัลย์จากพระทายาทเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นของต่างชาติ วังลดาวัลย์จึงอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่นั้นมา
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2136 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2556, 16:01:44 »

วันก่อนไปบางลำภู ผ่านสถานีตำรวจฯชนะสงคราม มีภาษาอังกฤษแจ้งชื่อสถานที่ไว้ด้วยเพราะอยู่ใกล้ถนนข้าวสาร  ไม่ได้ถ่ายไว้ ลงภาพนี้แทน

วันนี้เจอภาพเก่าสถานีตำรวจฯนี้ สมัย พ.ศ.2450 ที่ ร.5 เสด็จกลับจากยุโรป

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2137 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2556, 12:27:20 »

โคราชชุ่มฉ่ำ น้ำฝนจาก"นารี" ประกาศภัยพิบัติท่วม 29 อำเภอ เฝ้าระวัง"ปราสาทหินพิมาย"



                                 นายดุสิต  ทุมมากรณ์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กล่าวว่า ด้านทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำมูล ได้วางกระสอบทราย 3 พันลูก เป็นแนวยาว 100 เมตร สูง 1  เมตร ความหนา 3 ชั้น ป้องกันน้ำล้นตลิ่งไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ 115 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งปราสาทหินพิมาย และ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย ล่าสุดระดับน้ำอยู่ต่ำกว่ากระสอบทรายประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่เสี่ยง ด้านประตูทางเข้าออก ตรงข้ามสำนักงานไปรษณีย์พิมาย ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุโบราณชิ้นสำคัญ โดยเตรียมนำกระสอบทรายวางเสริม และ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 8 เครื่อง พร้อมร้องขอความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ อปท. และ ทหารกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี ระดับน้ำล่าสุด ที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย        
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #2138 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2556, 17:22:36 »


สวัสดียามเย็นครับ... พี่เริง..พี่เหยง..พี่อ๋าง..พี่หนุน และพี่น้องทุกท่าน

เป็นกำลังใจให้ จนท.อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และจนท.ที่สนับสนุนการช่วยเหลือ ครับ

ผมยังไม่เคยไปชมเลย... ช่วยรักษาไว้ให้ผมชมด้วย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2139 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2556, 21:39:50 »

ฟังเศรษฐีหุ้นอันดับ 1 ของเมืองไทย "เสี่ยทองมา" ปั้น"พฤกษา"โกยแสนล้าน




ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานสัมมนา "สร้างอนาคตไทย 2020" ประสบความสำเร็จล้นหลามใน 2 จังหวัดหัวเมืองหลักอย่าง จ.หนองคาย ในฐานะเมืองหน้าด่านประตูการค้าสู่เออีซี กับ จ.นครราชสีมา เมืองย่าโม ประตูสู่ภาคอีสานทั้งภาค

คิวต่อไป งานสัมมนาแห่งปีมุ่งหน้าสู่ "อุบลราชธานี" อีสานใต้ 3 วันเต็ม 18-20 ตุลาคม 2556 ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าโอท็อปขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เปิดให้เข้างาน 09.00 น.ของทุกวัน

ไฮไลต์วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พบสัมมนาหัวข้อ "สร้างอนาคตไทย 2020" มี "โต้ง-กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับ "ดร.ทริป-ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขึ้นเวทีบรรยายพิเศษทั้งคู่และเพื่อให้สมกับราคาที่พี่น้องประชาชนคนอุบลฯ และจังหวัดใกล้เคียงรอคอย เจ้าภาพจัดเต็มกิจกรรมเสวนาหัวข้อ "เปิดมิติเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว การค้า การลงทุน" โดยมี 4 วิทยากรระดับเกจิของภาครัฐและเอกชน
 
งานนี้ทีมงานภูมิใจนำเสนอ คือ "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์" ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งบริษัทพฤกษาฯ ไม่ต่ำกว่า 20 ปี แต่เพิ่งดังเป็นพลุแตกตอนที่นำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะติดชาร์ตเศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ทันที (2549-2552) และติดอันดับ 1 เศรษฐีหุ้น 3 ปีติดต่อกัน (2553-2554-2555)

"เสี่ยทองมา" เป็นนักธุรกิจแทบคนเดียวในวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีความฝัน และกล้าที่อยากเป็นบริษัทอสังหาฯที่มีรายได้ปีละ 1 แสนล้านบาท (เป้าหมายภายในปี 2560)

บริษัทพฤกษาฯแทบจะเป็นอสังหาฯรายเดียวที่ประกาศแผนธุรกิจลงทุนพัฒนาโครงการในต่างประเทศ เข้าทำนองลองถูกลองผิด เรียกว่ามีวิสัยทัศน์ตั้งแต่แนวคิดเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ยังไม่ทันตั้งไข่เป็นรูปเป็นร่างด้วยซ้ำไป

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2140 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2556, 22:01:35 »

น้องเริง


เดี๋ยวคงมีข่าวลงตามหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับราย 3 วันเป็นแน่
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2141 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2556, 09:28:17 »

พี่เหยง

หากชาวหอจุฬาฯ ซื้อบ้านเขา เขาจะลดราคาให้ สามหมื่นห้าพันบาท
เป็นอย่างนี้ตั้งแต่บ้านหลังแรกๆที่เขาสร้างขาย

เดี๋ยวนี้ก็ยังลดราคาให้..ผมเป็นลูกค้าเขาด้วย
วันนั้นเจอกันที่งานรุ่น ได้ขอบใจเขาไปแล้ว




      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #2142 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2556, 12:18:16 »

  มาติดตาม ครับ
       รุ่น 20  ได้กลุ่ม ใหญ่ ดีจัง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2143 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2556, 14:47:37 »





เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2556 สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า คู่รักรุ่นทวดชาวปารากวัย จูงมือเข้าพิธีวิวาห์กันเป็นครั้งแรก หลังจากจดทะเบียนและอยู่ด้วยกันมากว่า 80 ปีแล้ว
          คุณทวดคู่นี้ คือ นายโฮเซ่ มานูเอล รีลลา วัย 103 ปี ซึ่งตอนนี้ต้องไปไหนมาไหนด้วยวีลแชร์แล้ว และนางมาร์ติน่า โลเปซ วัย 99 ปี ทั้งคู่อยู่ด้วยกันมานานกว่า 80 ปีแล้ว โดยมีลูก 8 คน, หลาน 50 คน, เหลน 35 คน, และโหลนอีก 20 คน แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ทั้งคู่ก็ไม่เคยเข้าพิธีวิวาห์ทางศาสนากันเลย อยู่กันมาโดยจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น
          เมื่อยังคงรักกันและอยากจะเข้าพิธีวิวาห์กันแบบจริง ๆ จัง ๆ สักครั้ง ทั้งคู่ก็เลยตัดสินใจจัดพิธีวิวาห์กันในสวนที่บ้าน ท่ามกลางลูกหลานเหลนโหลนที่มาร่วมเป็นสักขีพยานในความรักที่ไม่เคยจืดจางของคุณทวดคู่นี้ ขณะที่บาทหลวงที่มาทำพิธีให้ถึงกับออกปากว่า คุณทวดคู่นี้ถือเป็นคู่วิวาห์ใหม่ที่อายุมากที่สุดเท่าที่เคยพบมาเลยทีเดียว
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2144 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2556, 09:47:19 »

วันปิยมหาราช  

                     

 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ ไปวางพวงมาลา ณ พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นประจำทุกปี

  ในมหาวิทยาลัยต่างๆ จะจัดให้มีการใส่ชุดพิธีการไปสักการะพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ 5

 




 นอกจากนี้หน่วยราชการ พ่อค้า ประชาชน จากทั่วประเทศก็จะนำพวงมาลา หรือพุ่มดอกไม้ไปถวายสักการะ พร้อมทั้ง ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล อีกทั้งมีการจัดนิทรรศการวิชาการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2145 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2556, 11:13:22 »

ศิลปวัฒนธรรม ตุลาคม ประวัติศาสตร์วิเคราะห์ ผศ.นพ. เอกชัย โควาวิสารัช สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี
 
ผมได้มีโอกาสอ่านบทความของ คุณไกรฤกษ์ นานา เรื่อง “หลักฐานใหม่รัชกาลที่ ๕ พระอาการประชวรก่อนสวรรคต ไม่ใช่ตามที่เข้าใจกัน”๑ ที่ลงตีพิมพ์ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๕๔  รู้สึกดีใจมากที่ได้รับความรู้ใหม่ๆ จากคุณไกรฤกษ์อีกเช่นเคย และบังเอิญเหลือเกินที่ผมกำลังค้นคว้าศึกษากรณีสวรรคตของพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕) อยู่พอดี ผมจึงถือโอกาสขอบคุณและขออนุญาตนำบทความของคุณไกรฤกษ์มาเป็นเอกสารอ้างอิงอีกหนึ่งชิ้น เพื่อความสมบูรณ์ของบทความนี้ ส่วนเอกสารชิ้นอื่นๆ ประกอบด้วย

๑. หนังสือเรื่อง “พระปิยมหาราช : รัฐกิจและชีวิตส่วนพระองค์” ซึ่งเขียนโดย คุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ
๒. พระราชนิพนธ์เรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓. หนังสือเรื่อง “หมอฝรั่งในวังสยาม” ซึ่งเขียนโดย คุณหมอมัลคอล์ม สมิธ และแปลโดย คุณพิมาน แจ่มจรัส
๔. หนังสือเรื่อง “ปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕” ซึ่งเขียนโดย คุณหมอนวรัต ไกรฤกษ์
๕. หนังสือเรื่อง “วันสวรรคต ๖๖ กษัตริย์ไทย”ซึ่งเขียนโดย คุณพิมาน แจ่มจรัส

ส่วนสาเหตุที่ผมต้องการศึกษาค้นคว้าในสาเหตุแห่งการสวรรคตของพระพุทธเจ้าหลวง เพราะเอกสารอ้างอิงส่วนใหญ่จะเขียนไว้ว่าพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการเรื้อรังเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคต   แต่ผมสงสัยว่าทำไมช่วงเวลาที่ทรงพระประชวรครั้งสุดท้ายจนสวรรคตกินเวลาเพียง ๑ สัปดาห์เท่านั้น ทั้งๆ ที่ถ้าพระองค์เป็นพระโรคพระวักกะพิการเรื้อรังจริงแล้วก็น่าจะทรงเป็นมานานแล้ว แต่พระอาการประชวรก่อนหน้านี้มีบันทึกไว้ไม่ชัดเจนและคุณไกรฤกษ์ได้เสนอข้อมูลใหม่ว่าพระอาการประชวรอาจเป็นไข้มาลาเรีย มะเร็งในกระเพาะอาหาร ม้ามโต โรคไตอักเสบ ในฐานะที่ผมเป็นแพทย์คนหนึ่งที่มีความรักในวิชาประวัติศาสตร์มากเป็นพิเศษ จึงขออาสามาทำหน้าที่สร้างความกระจ่างแจ้งให้แก่พระราชประวัติตอนนี้ของพระพุทธเจ้าหลวง เพื่อเป็นหลักฐานไว้แก่วงการประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป
เนื่องจากมีประเด็นเกี่ยวกับการประชวรของพระองค์หลายประเด็น ผมขอแบ่งเป็นประเด็นย่อยดังนี้

๑. สาเหตุการประชวรครั้งสุดท้ายที่ทำให้พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตคืออะไร
๒. พระองค์ทรงพระประชวรด้วยพระโรคอะไรกันแน่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑
๓. พระองค์ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระวักกะพิการเรื้อรังจริงหรือไม่
๔. ภาวะพระปิหกะ (ม้าม) โตของพระองค์มีจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
๕. บทสรุป

๑. สาเหตุการประชวรครั้งสุดท้ายที่ทำให้พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตคืออะไร

ต่อไปนี้ผมขอนำท่านผู้อ่านกลับมาสู่การประชวรครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้าหลวง โดยเรียงลำดับและวิเคราะห์แบบวันต่อวันโดยอาศัยพระนิพนธ์ของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งทรงบรรยายในหัวข้อ “วันสวรรคตของรัชกาลที่ ๕” ซึ่ง คุณพิมาน แจ่มจรัส ได้นำมาเขียนไว้ในหนังสือเรื่อง “วันสวรรคต๖๖ กษัตริย์ไทย”๖ เป็นหลัก

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ “...ทรงรู้สึกไม่สบายที่พระนาภี คือท้อง วันนั้นทรงขับรถยนต์ไฟฟ้าคันโปรดของพระองค์เพื่อทอดพระเนตรการเลี้ยงไก่พันธุ์ต่างประเทศ แต่คราวนี้ไม่ทรงเสด็จลงจากรถพระที่นั่งอย่างที่เคย ทรงตรัสว่า ‘ท้องไม่ค่อยสบายจะรีบกลับ’ ...เสด็จพ่อ [กรมพระยาดำรงราชานุภาพ - ผู้เขียน] จึงเสด็จตามเข้าไปฟังอาการที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ได้ความว่าพระนาภีเสียและเสวยยาถ่ายแล้ว  ไม่มีพระอาการมากมายอันใดก็เป็นอันเบาพระทัยและเสด็จกลับวัง...”  

ในวันนี้ พระนาภีเสียนั้นหมายถึงพระบังคนหนักผูก ทำให้ทรงรู้สึกไม่สบายพระนาภี แต่ไม่ถึงกับปวดพระนาภี อาจจะทรงไม่ถ่ายพระบังคนหนักมาหลายวันก่อนหน้านี้ ทำให้พระองค์เสวยพระโอสถถ่ายเพื่อให้มีพระบังคนหนักเป็นปกติ

วันจันทร์ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ได้เล่าต่อไปว่า “...รุ่งขึ้นบ่ายเสร็จเวลากระทรวงแล้วก็เสด็จไปยังพระที่นั่งอัมพรอีก แต่วันนี้มหาดเล็กมาทูลว่าวันนี้เสด็จออกไม่ได้โปรดให้เจ้านายรวมทั้งเสด็จพ่อ เข้าไปเฝ้าข้างใน เมื่อเข้าไปเฝ้าก็ประทับตรัสคุยสนุกสนานดีตามเคย เป็นแต่ทรงเล่าพระอาการว่า พระนาภีเสีย เสวยน้ำมันละหุ่งไม่เดิน เห็นจะเป็นด้วยยาเก่าไป จะต้องเสวยใหม่”

เหตุการณ์ในวันนี้บอกเราว่า พระองค์ยังไม่ทรงพระบังคนหนักหลังจากเสวยยาระบายคือน้ำมันละหุ่งแล้ว ซึ่งพระองค์ตรัสว่าจะต้องเสวยใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ไม่ได้ตรัสถึงพระอาการอื่นๆ อันได้แก่รู้สึกไม่สบายที่พระนาภี ผมสันนิษฐานว่าพระองค์น่าจะทรงดีขึ้นหรืออาจจะหายไปแล้วก็ได้

วันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ยังทรงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวงได้ตามปกติอย่างวันก่อน แสดงว่าพระอาการประชวรของพระองค์น่าจะอย่างน้อยเท่ากับหรือดีขึ้นอีกเมื่อเทียบกับวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เพราะก็ยังโปรดให้เจ้านายและข้าราชบริพารเข้าเฝ้าได้

ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ บันทึกไว้ว่า ในคืนวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระอาการคลื่นเหียนและทรงพระอาเจียน ๑ ครั้ง ต่อนั้นมาจะเสวยอะไรก็ทรงรู้สึกว่าเต็มอยู่เสมอไม่ใคร่จะพร่องเลย ทรงพระโอสถสูบ (บุหรี่) หรือเสวยพระศรี (หมาก) ถูกเวลาไม่เหมาะก็ทรงคลื่นเหียน  

วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ “...พอเสด็จเข้าไปถึงพระที่นั่งก็ได้ทรงทราบว่า [พระพุทธเจ้าหลวง - ผู้เขียน] ไม่ทรงพระสบายเพราะยาถ่ายเดินมากไป จนทรงเพลียถึงต้องบรรทมในพระที่... พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระโรคประจำพระองค์ แต่เรื่องพระวักกะพิการ...”การที่พระองค์ทรงถ่ายพระบังคนหนักมากเกินไปอาจเป็นเหตุให้ทรงสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ทำให้ภูมิต้านทานของพระองค์ลดต่ำลงและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นและถ้าสูญเสียน้ำมากอาจถึงกับเกิดภาวะช็อคได้ หากไม่ได้ทรงรับน้ำทดแทนไม่ว่าจะทางหลอดเลือดดำหรือเสวยที่เพียงพอ แต่ยังโชคดีที่พระพุทธเจ้าหลวงยังเสวยพระกระยาหารได้ โดยเสวยขนมจีนน้ำยาตอนกลางวันและตกเย็นทรงให้จัดเป็นกระทงสังฆทาน กระทงใหญ่และกระทงเล็ก เครื่องคาวมี ฉู่ฉี่ปลาสลิดสด แกงเผ็ด หมูหวานผัด น้ำพริก ผักและปลาดุกย่างทอดเครื่องและมีของหวานอีกเจ็ดสิ่ง พระกระยาหารอยู่ก้นกระทงมีใบตองปิดในสามชั้น เสวยพระกระยาหารได้๒ ซึ่งกระเพาะและลำไส้จะย่อยได้ค่อนข้างยากน่าจะทำให้พระนาภีเสียได้ในเวลาต่อมา

แต่ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เขียนว่า “...เมื่อคืน วันที่ ๑๙ มีทรงแน่น, หมอถวายฉีดยาแก้แน่นและยาถ่าย บรรทมหลับได้บ้าง มาวันที่ ๒๐ ไปพระบังคนหนักหลายครั้ง มีพระอาเจียนเมื่อเสวยน้ำ หมอฝรั่งที่เข้าไปรักษาอยู่มีศาสตราจารย์แพทย์เบอร์เคอร์ (Professor Dr. Borger) แพทย์เยอรมันประจำพระองค์ หมอเออเจนไรเตอร์ (Eugene Reytter  ภายหลังเป็นพระยาประเสริฐศาสตร์ดำรง) กับหมออาปัวซ์ (Dr. A. Poix  ภายหลังเป็นพระยาอัศวินอำนวยเวท) ฝ่ายหมอไทยมีพระยาแพทย์พงศา (นาค โรจนแพทย์) พระยาแพทย์บอกแก่ฉันว่าได้ถวายพระโอสถระบายอย่างไทย แทรกเกลือ, แล้วยังได้ทรงแถมเองอีกด้วย, พระบังคนหนักจึ่งได้ไปมาก ฝ่ายหมอฝรั่งได้ถวายพระโอสถแก้แน่นเฟ้อและพระโอสถทาภายนอก ตามที่ฟังๆ ข่าวได้ความว่า พระธาตุได้เริ่มเสียเพราะเสวยกุ้งแนมเวลาดึก...”  

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระอาการประชวรตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ นี้ ได้จากบันทึกของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภซึ่งเป็นข้าราชบริพารที่ถวายการรับใช้อยู่อย่างใกล้ชิด โดยพระองค์ [พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ - ผู้เขียน] ได้ตรัสถามพระอาการจากหมอไรเตอร์ ซึ่งได้ตอบว่าเป็นเพราะพระบังคนหนักคั่งอยู่นาน เมื่อเสวยพระโอสถปัดพระบังคนหนักออกมาจึงอ่อนพระทัย พระกระเพาะอาหารอ่อนไม่มีแรงพอที่จะย่อยพระอาหารใหม่ ควรพักบรรทมนิ่ง อย่าเสวยพระอาหารสัก ๒๔ ชั่วโมง ก็จะเป็นปกติ หมอฉีดมอร์ฟีนถวายหนหนึ่ง

ผมสังเกตดูว่า แพทย์ในยุคก่อนๆ หลายคนนิยมให้มอร์ฟีน ซึ่งปกติมักให้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากๆ เช่น แผลหลังผ่าตัด การใช้ยามอร์ฟีนมักจะได้ผลดีในการระงับปวด แต่บางครั้งก็เป็นการแก้ปลายเหตุ โดยที่อาการปวดดีขึ้นก็อาจจะทำให้การรักษาต้นเหตุล่าช้าออกไป ซึ่งในการประชวรครั้งสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็มีถวายมอร์ฟีนด้วยเช่นเดียวกัน ดังที่ผมได้เคยเขียนไว้ในบทความเรื่องประวัติศาสตร์วิเคราะห์ กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว๗

วันศุกร์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระยาบุรุษรัตนฯ ได้เขียนบรรยายเหตุการณ์ในวันนี้ว่า “วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓  ย่ำรุ่งบรรทมตื่น ตรัสว่า พระศอแห้งแล้วเสวยพระสุธารส [น้ำ - ผู้เขียน] เย็น คณะแพทย์ไทยถวายพระโอสถแก้พระเสมหะแห้ง รับสั่งว่าอยากจะเสวยอะไรๆ ให้ชุ่มพระศอ สมเด็จพระบรมราชินีนาถถวายน้ำผลเงาะคั้นผลหนึ่ง พอเสวยได้สักครู่เดียวทรงพระอาเจียนออกมาหมด สมเด็จพระบรมราชินีนาถตกพระทัยเรียกหมอทั้งสามคนขึ้นไปตรวจพระอาการ หมอกราบบังคมทูลว่าที่เสวยผลเงาะหรือเสวยอะไรอื่นในเวลานี้ไม่ค่อยจะดี เพราะพระกระเพาะว่างและยังอักเสบเป็นพิษอยู่ เพราะฉะนั้นเมื่อเสวยพระกระยาหารหรือพระโอสถ จึงทำให้ทรงพระอาเจียนออกมาหมดและเสียพละกำลังด้วย สู้อยู่นิ่งๆ ดีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วหมอว่า อาหารไม่ให้กิน ยาก็ไม่ให้กิน ให้นอนนิ่งๆ อยู่เฉยๆ จะรักษาอย่างไรก็ไม่รักษา มันจะหายอย่างไรได้และตรัสต่อไปว่า เชื่อถือหมอฝรั่งไม่ได้ประเดี๋ยวพูดกลับไปอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่แน่นอนเป็นหลักฐานอะไรได้”

 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงปรึกษาพระเจ้าน้องยาเธอ ๓ พระองค์ คือ กรมหลวงเทวะวงศ์ฯ กรมหลวงดำรงฯ กรมหลวงนริศรานุวัตติวงศ์ และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ฯ ซึ่งเจ้านายทั้งสี่พระองค์ก็ได้ซักถามหมอฝรั่งทั้งสามคน โดยทั้งสามคนยืนยันว่า ยังไม่ควรจะวิตกกังวลแต่อย่างไร ยังไม่เป็นอะไรหรอก บรรทมอยู่นิ่งๆ ก็จะหาย เจ้านายทั้งสี่ก็มีความเห็นร่วมกันว่า ควรให้หมอฝรั่งถวายการรักษาต่อไปเพราะทำถูกต้องแล้ว เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ นำความขึ้นกราบทูลต่อพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์ทรงนิ่งเงียบไม่รับสั่งว่ากระไร ในช่วงเช้าพระองค์ทรงมีพระอาเจียนอีกครั้งหนึ่งเป็นน้ำสีเขียวเหมือนข้าวยาคู ประมาณหนึ่งจานซุป หมอว่าสีเขียวนั้นเป็นน้ำดี หลังจากนั้นพระองค์มีพระอาการซึมบรรทมหลับอยู่เสมอ แต่พระองค์ก็ยังตรัสว่า ‘การเจ็บครั้งนี้จะรักษากันอย่างไรก็ให้รักษากันเถิด’ ในตอนเที่ยงมีพระบังคนเบาครั้งหนึ่ง  ประมาณหนึ่งช้อนกาแฟ สีเหลืองอ่อน แต่พระยาบุรุษรัตน์ราชพัลลภสังเกตดูกิริยาอาการของหมอและเจ้านายยังไม่สู้ตกใจอะไรมากนัก

ฃในตอนบ่ายทรงมีไข้ปรอท ๑๐๐ เศษ  [องศาฟาเรนไฮต์ เท่ากับ ๓๘ องศาเซลเซียส - ผู้เขียน] แต่เป็นเวลาทรงสร่าง เพราะมีพระเสโทตามพระองค์บ้าง [ดังนั้น ตอนที่พระไข้ขึ้นสูงอาจถึง ๓๙ องศาเซลเซียสก็ได้ - ผู้เขียน]  มีพระบังคนเบาเป็นครั้งที่สองประมาณหนึ่งช้อนกาแฟเหมือนคราวก่อน โดยในเรื่องพระบังคนเบาน้อย เจ้านายทรงถามหมอซึ่งตอบว่าเป็นเพราะไม่ได้เสวยอะไรนอกจากพระสุธารสสองสามช้อน ทำให้พระบังคนเบาน้อยไม่เป็นอะไร”  
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงบันทึกพระอาการตอนนี้ว่า “...เวลา ๘ ล.ท. [หลังเที่ยง - ผู้เขียน] เศษ หมอขึ้นไปตรวจพระอาการว่ามีพระองค์ร้อนปรอดขึ้น ๑๐๑ [องศาฟาเรนไฮต์ - ผู้เขียน] เศษ หมอปัวซ์ว่ามีทางที่ต้องระวังในเรื่องพระบังคนเบา เพราะมีพระโรคไตพิการชนิดเรื้อรัง (Chronic Nephritis) ซึ่งไม่เป็นโรคร้ายแรงก็จริงอยู่ แต่ก็มีโรคอื่นมักพลอยซ้ำ หมอได้ตกลงกันถวายพระโอสถรักษาทางพระวักกะ (ไต) หมอปัวซ์ว่าในวันนั้นยังไม่ต้องวิตก เพราะแรกเริ่มเดิมทีประชวรด้วยพระธาตุเสียและพระบังคนผูก เสวยพระโอสถระบายมาก พระบังคนหนักก็ออกมาเปนน้ำ ทั้งมีทรงพระอาเจียนด้วย นับว่าน้ำได้ออกมาแล้วทั้ง ๒ ทาง จึ่งไม่มีพระบังคนเบา อีกประการ ๑ หมอว่าพระโลหิตฉีดขึ้นพระเศียรมากจึ่งไม่พอที่จะบังคับพระวักกะให้ทำการตามน่าที่...”

 ในตอนเย็น พระพุทธเจ้าหลวงรับสั่งกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ว่า “การรักษาเดี๋ยวนี้เป็นอย่างใหม่เสียแล้ว” พระองค์มีพระบังคนเบาครั้งที่ ๓ ประหนึ่งช้อนกาแฟอีกเช่นเคย  ซึ่งพอถึงตอนนี้หมอและเจ้านายแน่ใจว่าเป็นพระวักกะพิการ หมอได้ประชุมกันประกอบพระโอสถบำรุงพระบังคนเบาและเร่งให้พระบังคนเบาโดยเร็วและใช้เครื่องสวนพระบังคนเบาในที่สุด แต่ไม่มีพระบังคนเบาเลย

ในตอนค่ำ หมอได้แจ้งว่าการหายพระทัยและพระชีพจรยังดีอยู่ ความร้อนในพระองค์ลดลงแล้ว เห็นจะไม่เป็นไร หมอประชุมกันตั้งพระโอสถแก้พระบังคนเบาน้อยอีก ประมาณหนึ่งทุ่มเศษมีพระบังคนเบาเป็นครั้งที่ ๔ ประมาณ ๑ ช้อนเกลือและเป็นครั้งสุดท้ายด้วย ตั้งแต่ยามหนึ่งแล้วมีพระบังคนหนัก ๓ ครั้งเป็นน้ำสีดำๆ แต่หมอฝรั่งและไทยตรวจดูก็ว่าดีขึ้นคงจะมีพระบังคนเบาอยู่ด้วย พระยาบุรุษรัตนฯ ได้บันทึกอีกว่า “...วันนี้เสวยซุปไก่เป็นพักๆ พักละสามช้อนบ้างสี่ช้อนบ้าง พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ชงน้ำโสมส่งขึ้นไปถวายให้ทรงจิบ เพื่อบำรุงพระกำลัง หมอฝรั่งหมอไทยไม่คัดค้าน       อะไร...”

 วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ นี้เองที่พระอาการของพระพุทธเจ้าหลวงเริ่มรุนแรงขึ้น มีพระอาเจียน ๑ ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายมีสีเขียว มีพระบังคนเบาน้อยทั้งหมด ๔ ครั้ง ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ๓ ครั้ง และ ๑ ช้อนเกลือ ๑ ครั้ง  มีพระบังคนหนัก ๓ ครั้งเป็นน้ำสีดำๆ มีพระไข้ ๑ ครั้ง

ผมมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าหลวงน่าจะทรงขาดพระสุธารสอย่างรุนแรงอันมีสาเหตุจากการที่มีพระบังคนหนักหลายครั้งจนเพลียจากที่เสวยน้ำมันละหุ่ง เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แม้ว่ายังเสวยพระกระยาหารได้ในตอนกลางวันและเย็น แต่ผมคิดว่าพระองค์น่าจะเสวยได้ไม่มากทั้งพระกระยาหารและพระสุธารส ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกพระศอแห้งเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ หลังทรงตื่นบรรทมในตอนย่ำรุ่ง การที่พระองค์ขาดพระสุธารสอย่างรุนแรงจากที่มีพระบังคนหนักในเย็นวันที่  ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ร่วมกับการที่ในเวลา ๓ โมงเช้าของวันที่ ๒๐ ตุลาคม  

หมอฝรั่งยังได้สั่งห้ามมิให้พระองค์เสวยพระกระยาหารเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมงอีก และเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ยังมีพระบังคนหนักอีก ๓ ครั้งเป็นน้ำสีดำๆ ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ คุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ ที่เขียนในบทความของท่านว่า “...วิธีถวายการรักษาของหมอฝรั่งทั้งสามคนนี้ก็เรียกว่าใช้ได้ เพราะหากทรงพระนาภีเสีย ยาน้ำมันละหุ่งทำให้พระบังคนหนักออกมากเกินไป ก็สมควรที่จะให้ระบบลำไส้นั้นได้พัก โดยไม่ต้องมีอาหารเข้าไปให้ย่อยเป็นเวลาสัก ๒๔ ชั่วโมง”๒ เพราะว่าพระองค์ทรงสูญเสียพระสุธารสและเกลือแร่อย่างมากทางพระบังคนหนักหลายครั้ง ดังนั้นพระองค์จึงควรได้รับการถวายพระสุธารสเพื่อทดแทนโดยอาจให้เสวยหรือให้เป็นสารน้ำทางหลอดเลือดดำ  
 

สำหรับหัตถการทางแพทย์ที่ให้ทางหลอดเลือดดำเริ่มจาการริเริ่มให้ยาและต่อมาก็ให้เลือดสัตว์ ซึ่งเริ่มต้นมาในต่างประเทศ ถ้าเทียบในประเทศไทยก็คงจะประมาณสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ค.ศ. ๑๖๖๒ (พ.ศ. ๒๒๐๕) แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากการติดเชื้อจากความไม่สะอาดและการที่กรุ๊ปเลือดไม่เข้ากันในกรณีที่ให้เลือดและอันตรายส่วนใหญ่ทำให้เสียชีวิต จึงทำให้หยุดยั้งหัตถการนี้ไปเกือบ ๒๐๐ ปี จนต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จึงมีการให้เลือดคน แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเสียชีวิตสูงอยู่ ในช่วงเวลาเดียวกันมีการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรค ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ที่พบว่าเชื้อโรคเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ การฆ่าเชื้อจะทำให้ไม่เกิดโรคติดเชื้อ ซึ่งนั่นคือแนวทางการทำให้ปราศเชื้อจุลชีพ (Sterilization) ทำให้การให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำมีความปลอดภัยสูงขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 

ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๓  หรือ ค.ศ. ๑๙๑๐ ซึ่งเป็นปีที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระประชวรเป็นครั้งสุดท้ายดังที่ผมได้นำเสนอไปแล้วนั้นหากพระองค์ทรงได้รับน้ำเกลือทางหลอดพระโลหิตดำอาจทำให้พระชนมชีพของพระองค์ยืนยาวไปอีกก็เป็นได้และผมก็ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ คุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ ในเรื่องต่อมาที่ว่า “...ในที่สุดหมอฝรั่งและไทยก็พิจารณาได้ถูกต้องว่า ที่ทรงไม่มีพระบังคนเบาหรือปัสสาวะออกมาเท่าที่ควรนั้นมิได้เป็นเพราะร่างกายขาดน้ำหรือเนื้อแห้งแบบที่แพทย์สมัยนี้เรียกกันว่า Dehydration แต่เป็นเพราะพระวักกะหรือไตทั้งสองข้างนั้นไม่ทำงานเสียแล้ว” โดยหลักการแล้วควรจะต้องถวายพระสุธารสให้เพียงพอก่อนแล้วหากยังไม่มีพระบังคนเบาอีกจึงจะถือว่าพระวักกะไม่ทำงานจริง ผมคิดว่าการที่ไม่มีพระบังคนเบาเป็นผลมาจากการที่ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันหรือพระโรคพระวักกะพิการเฉียบพลัน (Acute renal failure)  

อ่านรายละเอียดทั้งหมด ศิลปวัฒนธรรม ตุลาคม

 


 

 
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #2146 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2556, 17:55:29 »

ขอบคุณ ครับ น้องเริง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2147 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2556, 20:35:00 »

อีกหนึ่งบันทึก

จดหมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระประชวรจนถึงสวรรคต
(พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ บันทึกเรียบเรียง)

                เมื่อปลายปี ร.ศ.125 (พ.ศ. 2449) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุได้ 53 พรรษา บังเกิดพระโรคเบียดเบียน ไม่เป็นที่ทรงพระสำราญ ด็อกเตอร์เบอร์เมอร์ นายแพทย์ของกรมทหารเรือ ซึ่งเป็นผู้ถวายการอภิบาล ได้ตรวจพระอาการ ลงสันนิษฐานว่าพระโกฎฐาส ภายในพระวรกาย ไม่เป็นไปสม่ำเสมอ พระโรคเช่นนี้ ไม่ถูกกับอากาศชื้น เช่น ในฤดูฝนชุก และร้อนจัด เช่น ฤดูคิมหะ ประเทศที่จะรักษา พระโรคเช่นนี้ ได้เหมาะดีที่สุด ก็มีแต่ยุโรปเท่านั้น จึงกราบบังคมทูลถวายคำแนะนำ เพื่อเสด็จประพาสยุโรป บำรุงพระวรกาย ให้คืนเป็นปกติ แต่ในเวลาที่พระโรคยังไม่ทันจะเจริญขึ้น
               โดยคำแนะนำ ของนายแพทย์นี้ จึงได้เสด็จประพาสยุโรป ออกจากพระมหานคร เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2449 เสด็จกลับมาถึงพระนคร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ขณะประทับอยู่ที่เมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี ได้มีนายแพทย์เยอรมัน และอังกฤษ ชั้นโปรเฟสเซอร์ รวม 3 นาย ได้ประชุมตรวจพระอาการเห็นว่า พระอวัยวะทุกส่วนยังเป็นปรกติ ไม่มีสิ่งใดแสดงว่า จะเป็นไปในทางที่ร้ายแรง ได้ถวายคำแนะนำการเสวย และการบรรทมให้มากพอ และลดทรงการงานให้น้อย ให้งดการงานที่เป็นการหนักทุกอย่าง ได้มีการทำนายซึ่งทางลับว่า ถ้าพระอาการเป็นเช่นนี้ จะทรงพระชนม์ไปได้สัก 3 ปี แต่หมอก็ถวายการรับรองต่อพระองค์ว่า ถ้าผ่อนงานให้น้อย และบรรทมให้มากขึ้นอีก จะดำรงพระชนมายุไปได้ถึง 80 เว้นแต่ จะมีพระโรคอื่นใดมาแทรกแซง
 


               เมื่อเสด็จกลับสู่พระมหานครแล้ว ดูทรงพระสำราญดีกว่า เมื่อก่อนเสด็จประพาสยุโรป จะมีที่ไม่ปรกติเล็กน้อย ก็ในเรื่องพระนาภี เพราะพระบังคนหนักไปไม่สะดวก ต้องทรงใช้พระโอสถ ระบายอยู่เสมอๆ แต่การประชวรที่เรียกกันว่า ถึงล้มหมอนนอนเสื่อนั้นไม่ปรากฎเลย ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 16 ตุลาคม ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453) ในวันนั้นได้ทรงขับรถไฟฟ้า เสด็จออกประพาสทอดพระเนตร การเลี้งไก่พันธุ์ต่างประเทศที่พญาไท แต่มิได้เสด็จลงจากรถพระที่นั่ง มีรับสั่งว่า "ท้องไม่ค่อยจะสบายจะรีบกลับ" แล้วก็ทรงขับรถพระที่นั่ง กลับยังพระที่นั่งอัมพรทีเดียว
               วันที่ 17-18-19 ตุลาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศล ประจำปีถวายรัชกาลที่ 4 ในพระบรมมหาราชวัง แต่เนื่องด้วยพระนาภียังไม่เป็นปรกติ จึงได้โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร เสด็จไปแทนพระองค์
               วันที่ 19 ตุลาคม เวลาค่ำมีรับสั่งให้มหาดเล็กไปเชิญ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ขึ้นไปเฝ้าบนพระที่นั่งอัมพรสถาน ชั้น 3 ในที่พระบรรทม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เสด็จมาทีหลัง ตามขึ้นไปเฝ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังตรัสราชการ และตรัสเล่นกับผู้ไปเฝ้า เหมือนเวลาทรงพระสำราญ
               วันที่ 20 ตุลาคม เวลา 3 โมงเช้า คุณพนักงานออกมาบอกว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีรับสั่งให้มหาดเล็ก ไปตามหมอเบอร์เกอร์ หมอไรเตอร์ และหมอปัวซ์ ให้รีบมาเฝ้าโดยเร็ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จออกมารับสั่ง แก่ข้าพเจ้า (พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ) ให้จัดอาหารเลี้ยงหมอ และจัดที่ให้หมออยู่ประจำ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เมื่อหมอมาเฝ้าตรวจพระอาการกลับลงมา ข้าพเจ้าได้ถามพระอาการ หมอไรเตอร์ตอบว่า เป็นเพราะพระบังคนหนักคั่งอยู่นาน เมื่อเสวยพระโอสถปัดพระบังคนหนักออกมา จึงอ่อนพระทัย พระกะเพาะอาหารอ่อน ไม่มีแรงพอที่จะย่อยพระอาหารใหม่ ควรพักบรรทมนิ่ง อย่าเสวยพระอาหาร สัก 24 ชั่วโมง ก็จะเป็นปรกติ หมอฉีดมอร์ฟีนถวายหนหนึ่ง
               
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2148 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2556, 21:12:56 »

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการมาฟังพระอาการ มากด้วยกัน ตั้งแต่ 5 ทุ่มได้บรรทมหลับเป็นปรกติ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ หมอฝรั่ง หมอไทย และมหาดเล็ก อยู่ประจำพรักพร้อมกันตลอดทุกเวลา
               วันที่ 21 ตุลาคม ย่ำรุ่งบรรทมตื่นตรัสว่า พระศอแห้ง แล้วเสวยพระสุธารสเย็น คณะแพทย์ไทยถวายพระโอสถ แก้พระเสมหะแห้ง รับสั่งว่าอยากจะเสวยอะไรๆ ให้ชุ่มพระศอ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ถวายน้ำผลเงาะคั้นผล 1 พอเสวยได้สักครู่ ทรงพระอาเจียนออกมาหมด สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตกพระทัยเรียกหมอทั้ง 3 คนขึ้นไปตรวจพระอาการ หมอกราบบังคมทูลว่า ที่เสวยน้ำผลเงาะ หรือเสวยอะไรอื่นในเวลานี้ไม่ค่อยจะดี เพราะพระกระเพาะว่าง และยังอักเสบ เป็นพิษอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อเสวยพระกระยาหาร หรือพระโอสถ จึงทำให้ทรงพระอาเจียนออกมาหมด และเสียพระกำลังด้วย สู้อยู่นิ่งๆ ดีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกริ้วหมอว่า อาหารก็ไม่ให้กิน ยาก็ไม่ให้กิน ให้นอนนิ่งอยู่เฉยๆ จะรักษาอย่างไรก็ไม่รักษา มันจะหายอย่างไรได้ และตรัสต่อไปว่า เชื่อถือหมอฝรั่งไม่ได้ ประเดี๋ยวพูดกลับไปอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่แน่นอนเป็นหลักฐานอะไรได้ เมื่อหมอกลับลงมาแล้ว มีรับสั่งกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถว่า ให้ไปตามใครๆ เขามาพูดจา ปรึกษากันดูเถิด สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จลงมารับสั่งกับข้าพเจ้า ให้มหาดเล็กไปเชิญ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์ฯ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ฯ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ ในเวลาย่ำรุ่งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จลงมาเล่าพระอาการให้เจ้านายทั้ง 4 พระองค์ฟัง แล้วเจ้านายซักถามหมอๆ ก็ยืนยันว่าไม่เป็นอะไร บรรทมอยู่นิ่งๆ ดีกว่า เจ้านายพากันเห็นจริง ตามหมอไปหมด รวมกันถวายความเห็นว่า ที่หมอรักษาอยู่เวลานี้ถูกต้องแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นไปกราบบังคมทูลว่า เจ้านาย 4 พระองค์เสด็จมาแล้ว ได้ซักถามหมอ และเห็นด้วยตามที่หมอชี้แจง ทรงนิ่งอยู่มิได้รับสั่งอะไร
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2149 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2556, 15:18:32 »

เวลาที่เลี้ยงเครื่องอาหารเช้าเจ้านาย และหมอนั้น มีพระอาเจียนอีกครั้งหนึ่ง เป็นน้ำสีเขียวเหมือนข้าวยาคู ประมาณ 1 จานซุบ หมอว่าสีเขียวนั้นเป็นน้ำดี ตั้งแต่นี้ต่อไป ก็มีพระอาการซึม บรรทมหลับอยู่เสมอ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จลงมารับสั่งเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสว่า "การเจ็บครั้งนี้จะรักษากันอย่างไร ก็ให้รักษากันเถิด" ตามที่รับสั่งเช่นนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกใจหาย ให้หวั่นหวาดหนักใจไปเสียจริงๆ
               ตอนเที่ยงเจ้านายและหมอ ขึ้นไปเฝ้าตรวจพระอาการ ข้าพเจ้าก็ตามขึ้นไปด้วย กลับลงมาได้ความว่า มีแต่พระอาการเซื่องซึม บรรทมหลับอยู่ตลอดเวลา มีพระบังคนเบาครั้งหนึ่ง ประมาณ 1 ช้อนกาแฟ สีเหลืองอ่อน สังเกตดูกิริยาอาการของหมอและเจ้านาย ยังไม่สู้ตกใจอะไรมากนัก สมเด็จพระบรมราชินีนาถ รับสั่งให้เจ้านาย ผลัดเปลี่ยนกันประจำ ฟังพระอาการอยู่เสมอไป
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 84 85 [86] 87 88 ... 131   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><