Leam
|
|
« ตอบ #2025 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 19:33:30 » |
|
สวัสดียามค่ำครับ... พี่เริง..พี่ปี๊ด..พี่นก..พี่เหยง และพี่น้องทุกท่าน
ตามอ่านเรื่องของ King Kalakaua ต่อ... ขอบคุณครับ
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2026 เมื่อ: 26 กันยายน 2556, 19:36:03 » |
|
ตามโบราณว่าเลยครับ... มีมิตรดีเป็นศรีแก่ตน
|
|
|
|
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์
คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927
|
|
« ตอบ #2027 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 08:36:04 » |
|
ขอบคุณพี่เริง อีกคนนึงครับ ที่เอาเรื่องดีๆ มาเล่า มาลงให้ได้อ่านกัน
ยอดเยี่ยมมากครับ
|
“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้ อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2028 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 08:44:42 » |
|
จบลงด้วยภาพนี้ปี 1881 เดียวกันกับที่เสด็จมาสยาม พระเจ้ากาลกวัว เสด็จไปเยือนอังกฤษ มีคอลอแนนยูดค์ตามเสด็จด้วย ในภาพนี้ทรงเป็นแขกที่คฤหาสน์นอร์มัลเฮิร์สต์ ของเซอร์โทมัสและเลดี้บราสซีย์ ใกล้เมืองเฮสติ้งส์ ประเทศอังกฤษ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2029 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 11:18:13 » |
|
พระจริยวัตรอันงดงามของ กรมพระยาดำรงราชานุภาพภาวะขัดสนทางเศรษฐกิจของหัวหน้าราชสกุลดิศกุล เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงพาครอบครัวส่วนหนึ่งไปประทับที่ปีนังหลังจากที่คณะราษฎรยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้พยายามปราบปรามผู้ที่คาดว่าจะเป็นอันตรายกับรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีทั้งพระบารมีและผู้คนให้ความเคารพนับถือ จึงเป็นที่หวาดระแวงของรัฐบาลขณะนั้น ซึ่งได้พยายามบีบคั้นกดดันให้พระองค์พ้นจากราชการ แม้จะเป็นหน้าที่ที่มิได้เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมืองแต่เป็นงานที่ทรงรักและผูกพัน คือ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรและนายกราชบัณฑิตยสภา เมื่อทรงพ้นจากราชการแล้วก็ยังทรงถูกตัดเบี้ยบำนาญซึ่งทรงเคยรับอยู่เดือนละ ๓,๖๐๐ บาท เหลือเพียง ๑,๕๐๐ บาท เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากทั้งปวงดังที่ตรัสกับพระธิดาถึงพระดำริในการเสด็จไปประทับที่ปีนังว่า “---พ่อยังมีลูกศิษย์และเพื่อนฝูงทั่วพระราชอาณาจักร เขาไม่มาหาก็ดูเป็นอกตัญญู ถ้ามาก็จะถูกหาว่าเป็นพวกเจ้า เราให้สุขเขาไม่ได้ก็อย่าให้ทุกข์เขา ไปเสียให้พ้นดีกว่า เราก็สบายเขาก็สบาย---” ที่ปีนังทรงดำรงพระชนมชีพอย่างประหยัดมัธยัสถ์ตามภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวซึ่งค่อนข้างฝืดเคือง เพราะตลอดพระชนมชีพไม่ทรงเคยประกอบกิจการอื่นนอกจากรับราชการ เบี้ยบำนาญก็ถูกปรับลดลงครั้งแล้วครั้งเล่าจนเหลือเพียงเดือนละ ๙๖๐ บาท เงินปีอันเป็นเงินพระราชทานปีละ ๖,๐๐๐ บาท เบี้ยหวัดของพระธิดาองค์ละ ๘๐ บาทต่อปี เฉลี่ยแล้วทั้งครอบครัวมีรายได้ตกเดือนละ ๑,๔๘๐ บาท ประมาณ ๖๔๐ เหรียญ จากเงินจำนวนนี้เองที่ต้องทรงดำเนินพระชนมชีพในแต่ละเดือน มีค่าเช่าบ้านซินนามอนฮอลล์เดือนละ ๑๑๐ เหรียญ นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูสมาชิกในบ้าน ๑๗ คน คือ พระองค์ ๑ พระธิดา ๓ พระองค์ที่ทรงติดตามไปรับใช้ใกล้ชิด คือ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย หม่อมเจ้าหญิงพิลัยเลขา และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ ผู้ตามเสด็จอีก ๕ คน คนรับใช้หญิง ๓ คน ชาย ๒ คน คนขับรถและคนทำสวนอีกอย่างละ ๑ คน หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุทรงรับหน้าที่บริหารเงินค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว การใช้จ่ายเป็นไปอย่างประหยัดและรู้คุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์ด้วยการปรับค่าใช้จ่ายที่จะทำให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เช่น เปลี่ยนโคมไฟฟ้าให้เล็กลง บอกเลิกโทรศัพท์และเตาไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนเรื่องอาหารการกินนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าว่า “---คิดดูค่ากินอยู่ปีนังถูกกว่าอยู่หัวหินเสียอีก และหาอะไรกินก็ไม่ยาก---” จึงสามารถที่จะทรงดำรงพระชนมชีพได้อย่างสบายและสมพระเกียรติ
ในส่วนพระองค์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงดำเนินพระชนมชีพอย่างสงบและสมถะ จะไม่ทรงพบปะกับคนไทยที่เดินทางมาปีนังแม้จะเป็นคนรู้จักมักคุ้น แต่จะทรงต้อนรับหากผู้ใดจะเสด็จหรือมาหาพระองค์ยังที่ประทับ ทั้งนี้เพราะทรงตระหนักพระทัยดีว่ารัฐบาลไทยขณะนั้นยังคงระแวงพระองค์อยู่ จึงไม่ทรงปรารถนาจะนำความเดือดร้อนไปให้แก่ผู้ใด แม้จะทรงขัดสนปานใดก็มีพระขัตติยะมานะ ครั้งหนึ่งมีผู้หวังดีล่วงรู้ถึงความลำบากขัดสนเรื่องค่าใช้จ่ายในการครองชีพและพระสุขภาพพลานามัย จึงจะพยายามช่วยเหลือให้ได้เสด็จกลับเมืองไทย แต่ทรงปฏิเสธความช่วยเหลือ ตรัสถึงเหตุผลว่า “---ฉันมีมากก็ใช้มาก มีน้อยก็ใช้น้อย อายุถึงปูนนี้แล้ว เหตุใดจะเอาวันเหลือข้างหน้าอีก ๒-๓ วัน มาลบวันข้างหลังที่ได้ทำมาแล้ว---”สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในซินนามอนฮอลล์อ่านเขียนหนังสือบันทึกนิพนธ์ความรู้ด้านต่างๆ ที่ทรงสนพระทัย ทรงมีความสุขกับการส่งพระหัตถเลขาโต้ตอบกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระอนุชาร่วมพระชนกซึ่งมีพระชนมายุไล่เลี่ยสนิทสนมกันเป็นพิเศษ เพราะทรงสนพระทัยและพอพระทัยในเรื่องเดียวกันสิ่งเดียวกัน พระหัตถเลขาที่ทั้ง ๒ พระองค์ทรงมีโต้ตอบกันไปมา เป็นเสมือนการได้พูดคุยกันในสิ่งที่ทรงพอพระทัยมีความสุขทั้ง ๒ ฝ่าย ซึ่งทรงถือเป็นกิจวัตรที่ทรงปฏิบัติสม่ำเสมอไม่เคยขาดเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๙ ปี พระหัตถเลขาโต้ตอบที่ทรงนี้ ต่อมาได้กลายเป็นหนังสือวิชาการที่ทรงคุณค่า ซึ่งนักวิชาการปัจจุบันใช้เป็นหนังสือค้นคว้าอ้างอิงได้อย่างมั่นใจว่าถูกต้องแน่นอน ในนามของหนังสือชื่อ “สาส์นสมเด็จ” ในการที่ทรงพระนิพนธ์สาส์นสมเด็จนั้น บางครั้งต้องทรงค้นคว้าอ้างอิงจากหนังสือและเอกสารต่างๆ ทรงใช้ทั้งหนังสือที่ทรงนำไปจากเมืองไทยและหนังสือที่พระโอรสธิดา พระบรมวงศานุวงศ์ พระญาติสนิทมิตรสหาย ซึ่งทราบถึงความโปรดปรานของพระองค์ พากันส่งหนังสือทั้งเก่าและใหม่มาถวายมาให้ทรงมิได้ขาด ด้วยเหตุนี้จึงไม่ทรงมีรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหนังสือต่างๆ แต่อย่างไร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเป็นต้นเหตุแห่งพระดำรัสข้างต้นนั้น หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย พระธิดา ทรงเล่าไว้ว่า “---วันหนึ่งเด็จพ่อท่านเสด็จไปพบหนังสือขายที่ร้านขายหนังสือเล่มหนึ่ง ราคา ๘ เหรียญ ท่านอยากทรง แต่เห็นว่าแพงเกินกำลัง ก็ยืนเปิดๆ ทอดพระเนตร แขกผู้ขายเข้าใจทูลว่า ‘เอาไปก่อนเถอะ จะใช้เงินเมื่อไรก็ได้’ ท่านก็เอามาตรัสบอกหญิงเหลือผู้เก็บเงินว่า ‘แขกมันเชื่อพ่อ เธอเอาไปใช้มันเสียทีนะ’ เวลานั้นกำลังจะสิ้นเดือน หญิงเหลือก็หัวเสียบ่นออกไปว่า ‘ดี ไม่กินละข้าว กินหนังสือแทน’ ท่านทำเป็นไม่ได้ยิน แล้วเสด็จออกไปจากห้อง สักครู่ใหญ่ๆ เสด็จกลับเข้ามา ตรัสว่า ‘จะเอายังไงกับพ่อ สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ซึ่งผู้ชายน้อยคนนักจะรอดพ้นมาได้ พ่อก็ไม่มีเลย มีแต่หนังสือเท่านั้น ที่เป็นความสุข จะเอาอย่างไรเล่า---’ เรานิ่ง ท่านก็ออกไปเขียนหนังสือต่อ---” เมื่อพระธิดา ๓ พระองค์หายตกตะลึงแล้ว “---หญิงเหลือเขาลุกขึ้นคว้าเงินในลิ้นชักได้อีก ๑๒ เหรียญ เขาก็เอาออกไปส่งถวาย ว่ายังมีซื้อได้อีกเล่มหนึ่ง ท่านก็ทรงพระสรวลไม่ว่าอะไร ตามธรรมดาไม่ทรงเก็บเงินเอง ขอมีติดกระเป๋าเพียง ๑ เหรียญ เผื่อรถเสียจะได้กลับบ้าน---” พระดำรัสดังกล่าวของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แสดงอย่างชัดเจนถึงพระจริยวัตรอันงดงาม ซึ่งตลอดพระชนมชีพของพระองค์ทรงทุ่มเทให้กับการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ไทยถึง ๓ รัชสมัย จงรักภักดีต่อผืนแผ่นดินไทย แม้เมื่อทรงมีอันต้องเสด็จไปประทับในต่างแดนอย่างลำบากยากแค้น แต่พระจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทรงรักษาพระเกียรติยศและทุ่มเทพระสติปัญญาให้กับงานที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเกิดเมืองนอนของพระองค์จนตลอดพระชนมชีพ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2030 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 11:46:29 » |
|
ท่านได้เขียนจดหมายจากปีนังถึงลูกสาวที่อยู่กรุงเทพฯตลอด คือ"จดหมายถึงหญิงใหญ่"จดหมายถึงหญิงใหญ่ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นหนังสือที่รวบรวมจดหมายโต้ตอบกว่าร้อยฉบับ ที่ทรงมีถึงหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา นานกว่า ๑๐ ปี ในช่วงระหว่างที่พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ และเสด็จไปประทับที่ปีนัง หลังจากที่ทรงถูกคณะราษฎรควบคุมพระองค์ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
จดหมายกว่าร้อยฉบับนี้ได้ถูกนำมาชำระใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ไม่มีการบันทึกในเอกสารทางราชการหรือหนังสือวิชาการ โดยเฉพาะความรู้สึกของเจ้านายที่ได้รับผลกระทบทางการเมือง ในการพิมพ์ครั้งนี้ พิมพ์คำสำนักพิมพ์ได้จัดทำเชิงอรรถกว่า ๕๐๐ เชิงอรรถ ขยายความจากเนื้อหาในจดหมายที่กล่าวถึงบุคคลและสถานที่ต่างๆทั้งภายในประเทศ กลุ่มประเทศยุโรป
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2031 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 13:26:24 » |
|
คนอื่นตามเที่ยวปีนัง...ตามรอยท่าน
ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระชนมายุ ๗๑ กราบถวายบังคมลาไปประทับที่เกาะปีนัง ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2032 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 13:30:46 » |
|
ปีนังหรือที่คนไทยรู้จักกันมานานในนาม “เกาะหมาก” (Penang-หมาก) เกาะในช่องแคบมะละการิมฝั่งตะวันตกคาบสมุทรมลายู แม้จะมิได้อยู่ในเขตแดนสยาม แต่ถือว่าไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ นัก เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟสายใต้เชื่อมต่อกับระบบรถไฟของอังกฤษในมลายูมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐ ข้าราชสำนักผู้บันทึกจดหมายเหตุการเสด็จฯ เยือนมลายูของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ถึงกับกล่าวว่าปีนังเป็นเหมือน “โรงหนังข้างบ้าน” ของชาวกรุงเทพฯ คือจะไปเมื่อไหร่ก็ได้
ในตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ หรือหลังวันคล้ายวันประสูติพระชนมายุ ๗๐ พรรษา เพียง ๓ วัน เมื่อคณะราษฎรทำการรัฐประหาร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงเป็นหนึ่งในพระบรมวงศานุวงศ์ที่ต้องถูก “ทูลเชิญ” ไปควบคุมตัวไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
หลังจากนั้น ๓-๔ วัน ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการปล่อยตัว พร้อมกับถูกปลดออกจากตำแหน่งราชการทั้งหมด สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงย้ายจากวังวรดิศไปประทับที่ “สำนักดิศกุล” บ้านพักชายทะเลของพระองค์ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่แล้วเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎรหลังกรณีกบฏบวรเดช ประกอบกับข่าวลือที่ว่าอาจมีการจับเจ้านายเป็นตัวประกันไว้ต่อรองกับในหลวงอีก ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จฯ จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกไปประทับที่เกาะปีนัง
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2035 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 13:54:40 » |
|
ขณะนั้นสมเด็จฯ ทรงมีพระชนมายุ ๘๑ และประทับที่ปีนังมาเกือบ ๑๐ ปีแล้ว พระพลานามัยทรุดโทรมลงตามความชราที่เพิ่มขึ้น และความหวังที่จะ “กลับบ้าน” ยังดูริบหรี่ เพราะมีข่าวลือมาถึงปีนัง ว่าที่ชายแดนตรงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ มีเจ้าพนักงานฝ่ายไทยคอยยืนตะโกนอยู่ว่าในระหว่างสงครามนี้ ใคร ๆ จะกลับเข้าเมืองไทยได้ทั้งนั้น ยกเว้นกรมพระยาดำรงฯ และพระยามโนฯ !
พระโอรสองค์หนึ่งซึ่งขณะนั้นทรงเป็นนายพันเอก ทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล ในตำแหน่งรองเจ้ากรมประสานงานพันธมิตร ดูแลด้านความร่วมมือระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพญี่ปุ่น จึงทรงเจรจาขอร้องกับทางผู้ใหญ่ในรัฐบาลให้ ในที่สุดนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ยินยอมให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จกลับประเทศไทยได้ โดยมีการประสานงานผ่านไปยังกองทัพญี่ปุ่นในปีนังให้จัดรถรับคนทั้งหมดในบ้านซินนามอนกลับมายังประเทศไทยช่วงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ส่วนคณะจากกรุงเทพฯ ที่ไปรับเสด็จ ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปได้ถึงเพียงด่านสะเดาในจังหวัดสงขลา เพราะทางกองทัพญี่ปุ่นไม่ยอมให้ข้ามเข้าไปในมลายูที่เป็นเขตยึดครอง ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล หนึ่งในพระโอรสที่ไปรอรับอยู่ทางชายแดนฝั่งไทยบันทึกไว้ว่า
“ครั้นถึงวันศุกร์พวกเราตื่นแต่เช้า รู้สึกตื่นเต้นทุกคน พอได้เวลาก็ว่าจ้างรถยนต์ออกจากหาดใหญ่ ไปตามเส้นทางถนนไปสู่เขตแดนที่สะเดา เพราะรู้สึกว่าไปนั่งคอยอยู่ที่นั่นจะสะดวกกว่า ระหว่างทางเกิดฝนตก ต่างคนต่างมองไปข้างหน้าเพื่อดูว่าจะมีขบวนรถยนต์แล่นสวนมาหรือไม่ ประมาณเที่ยงเศษ ม.จ. ดิศศานุวัติทรงร้องขึ้นมาว่า ‘รถเด็จพ่อมาโน่นแล้ว’ เราสั่งรถเราให้หยุดลงจากรถมายืนคอยข้างถนน ต่อมาสักครู่รถพระที่นั่งของเสด็จพ่อก็มาจอดอยู่ตรงที่เรายืน เรารีบเปิดประตูรถเข้าไปกราบและกอด จำได้ว่าผู้เขียนร้องไห้มากในตอนนั้น เพราะคาดไม่ถึงว่าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงซูบผอมไปถึงเช่นนั้น…
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จกลับถึงวังวรดิศในวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ระหว่างน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ และสิ้นพระชนม์ที่นั่นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ปีต่อมา
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2036 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 16:09:45 » |
|
น้องเริง
ขอบคุณมากสำหรับบทความ "พระจริยวัตรอันงดงามของ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ซึ่งได้อ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง ใน"ศิลปวัฒนธรรม" แต่ก็อ่านอีกครั้งในบทความที่น้องเริงเอามาลง
ตามด้วยประวัติฯ ในช่วงสุดท้ายของท่าน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2037 เมื่อ: 27 กันยายน 2556, 20:49:11 » |
|
ปลายเดือนตุลาคมนี้ จะไปปีนังครั้งที่ ๒ ตั้งใจจะไปวัดนี้นามเดิมวัดปิ่นบังอรชื่อว่า วัดบาตูลันจัง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ พระบิดาของสมเด็จพระนางเจ้าไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชการที่ ๗ คร่าวที่พระองค์ท่านได้ทรงลี้ภัยทางการเมือง เสด็จออกไปประทัพอยู่ที่เมืองปีนัง จึงได้ประทานขนานนามวัดนี่ใหม่ว่า วัดปิ่นบังอร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (1934)
วัดปิ่นบังอรนี้ตั้งอยู่ริมถนนกรีนเลน (Green Lane) เป็นวัดที่มีเนือที่กว้างขวางมากถึงประมาณ ๕๐ ไร่ อาคารสถานที่ของวัดมีบริบูรณ์ตามแบบอย่างวัดในเมืองไทย คือ มีอุโบสถาวร ศิลปแบบจีน มีศาลาการเปรียญ มีพระถูปเจดีย์องค์หนึ่งสูงประมาณ 15 เมตร ศิลปะแบบจีนผสมพม่า
เดิมที่วัดปิ่นบังอรเป็นวัดสำคัญของคนไทยในปีนัง มีเจ้านายข้าราชการจกาเมืองไทยที่อพยพไปอยู่บนเกาะปีนังขึ้นวัดนี้มาก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ (1935) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ได้สิ้นพระชนม์ที่เมืองปีนัง และได้ทำการถวายพระเพลิงศพเสด็จในกรม ณ เมืองปีนัง ทางจึงได้จัดสถานที่บริเวณหน้าอุโบสถเป็นสถานที่ตั้งพระเมรุทรงบำเพ็ญพระกุศล โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็นไปทรงเป็นประธานในงานพิธีตลอดเวลา
นอกจากวัดปิ่นบังอรจะได้รับเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระศพสมเด็นพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์แล้ว ยังได้รับเกียรติอันเป็นประวัติการณ์อันสำคัญแก่วัดนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ (1947) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อดีตนายยกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ผู้ซึ่งลี้ภัยการเมืองไปอาศัยอยู่ ฯ เมืองปีนังเช่นกัน ได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ณ ที่นี้ ก็ได้ใช้วัดปิ่นบังอรเป็นสถานที่บำเพ็ญศพและเก็บศพของอดีตนายกรัฐมนตรีไว้ ณ วัดนี้จนกระทั้งต่อมาญาติของอดีตนายกรัฐมนตรีจึงมารับศพ กลับไปกระทำพิธีพระราชทานเพลิงศพในกรุงเทพฯ ตามประเพณี
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2040 เมื่อ: 28 กันยายน 2556, 20:51:11 » |
|
อากาศดี ไม่มีฝนเลย พรุ่งนี้น่าจะมีฝน มีพายุนี่เนาะ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2041 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 12:11:07 » |
|
ที่พักท่านอื่นจองไว้ให้แล้ว
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2042 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 15:23:37 » |
|
ที่ปีนังจะพักที่นี่ ..ที่พักบ้านเจ้าเมืองสตูล จัดแต่งเป็นเรือนแรม (เกสต์เฮ้าส์)มหาอำมาตย์ตรี พระยาภูมินารถภักดี
เดิมชื่อ กูเด็น บินกูแมะ (Ku Din Ku Meh) เป็นชาวมลายูโดยกำเนิด ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖ ของนายกูแมะ และนางเจ๊ะจิ เกิดที่อนักบูกิต (Anak Bukit) รัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ มีพี่น้องร่วมบิดา ๗ คน ท่านได้สมรสกับ นางเจ๊ะโสม นางเจ๊ะเต๊ะ และนางหวันเต๊ะ ฮะอุรา ท่านเป็นต้นตระกูล “บินตำมะหงง”
กูเด็น บินกูแมะ เริ่มชีวิตการรับราชการด้วยการเป็นเสมียน ต่อมาดำรงตำแหน่ง พัสดีเรือนจำที่เมืองอลอร์สตาร์ ในรัฐไทรบุรี หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองชั้นสูงจากเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (สุลต่านอับดุลฮามิด) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเมืองประเทศราช ในพระราชอาณาเขตของสยาม ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๘ เมืองไทรบุรีได้ส่งกูเด็น บินกูแมะ มาช่วยราชการเมืองสตูล เนื่องจากพระยาอภัยนุราช (ตนกูอับดุลเราะห์มาน) เจ้าเมืองสตูลคนเดิม ป่วยจนไม่สามารถบริหารบ้านเมืองให้เกิดผลดีได้
กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองไทรบุรี เมืองเปอร์ลิส และเมืองสตูลเป็น “มลฑลไทรบุรี” มีเจ้าพระยาไทรบุรี (สุลต่านอับดุลฮามิด) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมลทลสืบไป มีอำนาจบังคับบัญชาเมืองเปอร์ลิส เมืองสตูลและให้กรมการหัวเมืองทั้งสองฟังคำสั่งโดยชอบด้วยราชการทุกประการ
ต่อมา ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งท่านกูเด็น บินกูแมะ ให้ดำรงตำแหน่ง “เจ้าเมืองสตูล” สืบต่อจากตนกูอับดุลเราะห์มานตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๓ โดยเจ้าเมืองสตูลคนใหม่นี้ ได้ลงนามเต็มในหนังสือราชการว่า "ตนกูบาฮารุดดินบินเต็งกูแมะ" [Tengku Baharuddin bin Tunku Meh] ซึ่งท่านก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่หลวงอินทรวิชัย และพระยาอินทรวิชัย ตามลำดับ ตำแหน่งสุดท้าย คือ มหาอำมาตย์ตรี พระยาภูมินารถภักดี จางวางกำกับราชการเมืองสตูล
แม้ว่าจะมิได้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองสตูลเดิม แต่ท่านตนกูบาฮารุดดินบินเต็งกูแมะก็เป็นนักปกครองที่มีความสามารถ ท่านรู้แตกฉานทั้งภาษาไทยและภาษามลายู จึงสามารถประสานความร่วมมือทั้งท้องถิ่นและทางราชการได้ดี ในยุคที่ตนกูบาฮารุดดินเป็นเจ้าเมือง เมืองสตูลมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจได้ผลจากการค้ารังนก และพริกไทยเป็นอันมาก ทั้งยังเป็นศูนย์กลางรับซื้อขายสินค้าทั้งจากปีนังและภูเก็ต จนทำให้เมืองสตูลได้ชื่อว่า “เนการีสะโตยมัมบังสะการา” (Negeri Setoi Mumbang Segara) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา และเป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญมากในยุคนั้น
กล่าวกันว่า ท่านมีความสนิทสนมกับทางราชการกรุงสยามเป็นพิเศษ ถึงกับสั่ง “บุหงามาศ” เครื่องราชบรรณาการถวายต่อราชสำนักสยามโดยตรง โดยไม่ผ่านเมืองไทรบุรี...เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและเปอร์ลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ท่านตนกูบาฮารุดดินดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง มีอำนาจว่าราชการปกครองเมืองสตูลอยู่ ๑๔ ปีจึงออกจากราชการ และได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕ อายุรวม ๘๓ ปี สุสานของท่านยังอยู่ที่เมืองสตูลจนทุกวันนี้
|
|
|
|
|
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562
|
|
« ตอบ #2044 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 16:46:25 » |
|
สวัสดีค่ะ น้องเริง ตามครูไปเที่ยวนี่ ตามครูจริงๆ ได้ความรู้มากๆค่ะ และสนุกด้วยค่ะ ขอบคุณที่เอาความรู้มาแบ่งปันค่ะ
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2045 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 22:05:01 » |
|
สวัสดียามดึกครับ... พี่เริง..พี่อร..พี่ปี๊ด..พี่นก..พี่เหยง..พี่หนุน และพี่น้องทุกท่าน
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆที่นำมาถ่ายทอดครับ.. พี่เริง
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #2046 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 22:15:05 » |
|
พี่เริงบอกว่า.. ไปปีนังครั้งใหม่ จะไปพักที่นี้
อยากบอกว่า... ที่นี้ผมก็เคยไปมาแล้วเหมือนกัน แต่ไม่เคยพักครับ
ด้านหลังที่ติดกับ Segara Ninda ผมก็เคยไปนั่งเล่นเดินเล่นมาแล้วเหมือนกัน... เป็นป่าช้าเก่าแก่ อายุนับร้อยปีครับ.... เหอ ๆ ๆ ๆ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2047 เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 22:15:54 » |
|
พายุไต้ฝุ่น หวู่ติ๊บ เริ่มอ่อนแรงลง อาจจะสลายตัวในเขตอีสาน-ลาวกลาง แทนที่จะไปสลายในภาคเหนือตอนล่าง-ภาคกลางตอนบนของไทย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #2048 เมื่อ: 30 กันยายน 2556, 09:33:05 » |
|
น้องแหลม
ไม่เปิดหน้าต่างเป็นใช้ได้ ..ไม่เห็น ฮ่า ฮ่า
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #2049 เมื่อ: 30 กันยายน 2556, 09:54:15 » |
|
พยากรณ์อากาศ ประจำวันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2556 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “หวู่ติ๊บ” " ฉบับที่ 11 (266/2013) ลงวันที่ 30 กันยายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (30 ก.ย. 56) พายุไต้ฝุ่น “หวู่ติ๊บ” (WUTIP) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 250 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองเว้ (HUE) ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะขึ้นฝั่งที่เมืองเว้ ประเทศเวียดนามในวันที่ 30 กันยายน 2556 จากนั้นจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วโดยจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณ จ.นครพนม และคาดว่าจะสลายตัวบริเวณรอยต่อของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะทำให้ด้านตะวันออกและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งภาคเหนือด้านตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติดังกล่าวไว้ด้วย โดยจะเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้นทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบ่ายวันนี้ (30 ก.ย. 56) อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเพิ่มความระมัดระวังการเดินเรือในระยะ 1-2 วันนี้ ไว้ด้วย
|
|
|
|
|