|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1676 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2556, 20:10:26 » |
|
ส่วนหนึ่งของผลงาน
การบูรณะเเละอนุรักษ์เกาะเมืองนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์เมืองเก่าไว้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณฯ ดูเเลรักษาเมืองกรุงเก่า โดยห้ามมิให้ผู้ใดถือสิทธิ์ปกครองที่ดินภายในพระราชวังโบราณ เพื่อสงวนไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป พระยาโบราณฯ ได้ศึกษาพื้นที่กรุงเก่าเเทบจะทุกหัวระเเหง เเละเกือบตลอดชีวิตของการรับราชการในมณฑลกรุงเก่าของท่าน ท่านได้พยายามอนุรักษ์เเละรักษาโบราณสถานต่างๆ ไว้ หลายเเห่ง ดังเช่น กรณีที่ได้มีการพิจารณาเรื่องตลิ่งวัดพนัญเชิงที่ถูกกัดเซาะ เเละท่านได้เขียนเสนอเเนวทางเเก้ไข โดยขอพระราชทานพระราชานุญาต ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า “ตลิ่งวัดพนัญเชิง ตั้งเเต่ประมาณ ๑๐ ปีมานี้ ถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปคราวละ ๒ วา ขั้นเเรกข้าพระพุทธเจ้าได้ลงรอกันสายน้ำไปอยู่ได้ราว ๒ ปีก็พัง ถึงปีนี้ (พ.ศ. ๒๔๖๐) ตลิ่งก็พังเข้าไปประมาณ ๒ วาเศษ ยังอีก ๑๙ วา ก็จะถึงผนังพระวิหาร ข้าพเจ้าได้บอกเข้าไปยังกระทรวงธรรมการ ได้ขาให้นายช่างกรมทดน้ำมาช่วย ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าว่า ทางที่จะเเก้มี ๒ ทางคือ ทางหนึ่งคือขุดปากคลองสวนพลู ให้กว้างเเละลึก ชักสายน้ำให้เเบ่งลงทางคลองข้างเหนือวัด บางทีอาจจะทำให้น้ำตอนหน้าวัดอ่อนลงได้บ้าง อีกทางหนึ่งคือหาเรือใหญ่ๆ ที่ชำรุดใช้ไม่ได้มาจมที่ตลิ่ง คิดด้วยเกล้าว่า เมื่อสายน้ำพัดมากระทบเรือที่จมไว้ไม่ถูกดินเเลต่อไปเมื่อโคลนทรายยังขังเต็มลำเรือที่จะกลายเป็นรากกันน้ำเซาะได้”
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1677 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2556, 20:21:12 » |
|
ได้นำเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เป็นเหตุให้ทรงพระกรุณาพระยาโบราณฯ มาตลอด เเละท่านได้เสนอเเนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานอีกทางหนึ่ง ท่านได้เสนอให้จัดขึ้นคือ ๑. ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ที่เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นวัดร้าง เเต่ห้ามรื้ออิฐเป็นอันขาด ๒.ให้รวมเงินค่าเช่านั้นกับเงินกัลปนา คือ พระราชทานเอาไว้สำหรับบำรุงวัด ๓. เงินค่าเช่าที่จอดเเพ ซึ่งมักจะได้อยู่กับตัวไวยาวัจกร ให้เก็บมาอยู่ส่วนของวัด ถ้าเป็นเงินวัดร้างให้รวมเงินนี้เข้ากับเงินที่จะพระราชทานบำรุงวัดโบราณ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1678 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2556, 20:23:13 » |
|
ยังมีต่ออีก ๑ วัดครับ วันเดียวได้เยอะแยะ อ่า ฮ่า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1679 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2556, 23:54:04 » |
|
วัดหน้าพระเมรุ ติดวังเก่า มีแม่น้ำลพบุรีขวางเท่านั้น
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1680 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2556, 23:56:27 » |
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1681 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 00:01:04 » |
|
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1683 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 06:47:00 » |
|
น่าแปลก ตระกูลของ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) กลับไม่ค่อยพบเห็นในปัจจุบัน
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1684 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 06:54:20 » |
|
พี่เหยง
นี่เป็นคำตอบครับ
ใน พ.ศ. 2440 เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ยังเป็นที่หลวงอนุรักษ์ภูเบศรได้สมรสกับนางสาวจำเริญ (สกุลเดิม อินทุสุต) ธิดาหลวงเทเพนทร์ (ถนอม อินทุสุต) กับนางนวม ในกรุงเทพฯ มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คนคือ 1. นายพืชน์ เดชะคุปต์ ผู้ช่วยข้าหลวงตรวจการกรมหมาดไทย กระทรวงมหาดไทย ถึงแก่กรรม 2. นางเทพอักษร (พันธ์ อินทุสุต) ถึงแก่กรรม 3. นางพูน อารยะกุล ถึงแก่กรรม 4. นางสาวเพ็ญ เดชะคุปต์ ถึงแก่กรรม 5. นางสาวพัฒน์ เดชะคุปต์ ถึงแก่กรรม
นอกจากนี้พระยาโบราณฯ ยังมีบุตรธิดาต่างมารดาอีก 11 คน คือ 1. นายจั่นเพชร เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางกิ่ง) ถึงแก่กรรม 2. นางเพิ่มศรี สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (มารดาชื่อนางประยูร) ถึงแก่กรรม 3. นายพฤทธิ์ เดชะคุปต์(มารดาชื่อนางประยูร) สมุห์บัญชี อ. เมืองลำปาง ถึงแก่กรรม 4. นางสาวน้อม เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางถนอม) ถึงแก่กรรม 5. นายนันท์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนายถนอม) ถึงแก่กรรม 6. นางอนงค์ เหมะกรม (มารดาชื่อนางถนอม) ถึงแก่กรรม 7. นายมานพ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางเจิม) ถึงแก่กรรม 8. พันตำรวจโทวิรัตน์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางเจิม) ถึงแก่กรรม 9. นางสมบูรณ์ ทรรพมัทย์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ) ถึงแก่กรรม 10. นายดำรง เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ) ปลัดจังหวัดระนอง ถึงแก่กรรม 11. รองศาสตราจารย์วรรณศิริ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ) ข้าราชการบำนาญ ทบวงมหาวิทยาลัย
รุ่นต่อๆมา ไม่มีข้อมูลเลย และไม่ได้ยินและเห็นด้วย
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1685 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 07:11:09 » |
|
กำลังหาซื้ออยู่
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1686 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 07:13:22 » |
|
โดยสำนักพิมพ์มติชน พระยาโบราณราชทรนินทร์ฯ (พร เดชะคุปต์) นักโบราณคดีขุดแต่งโบราณสถาน เป็นคนแรกของสยามประเทศไทย เพราะเป็นผู้ขุดแต่งโบราณสถานในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยาถวายรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2450 พระยาโบราณฯ เขียนเล่าไว้เอง(พิมพ์อยู่ในหนังสือสรรนิพนธ์งานเขียนของพระยาโบราณราชธานินทร์ฯ กรุงเก่า เล่าเรื่อง โดย รศ. วรรณศิริ เดชะคุปต์ และ ผศ.ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี บรรณาธิการ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2554) ในคำนำตำนานกรุงเก่าว่า “ตามโบราณสถานแต่ก่อนมา เป็นที่รกแล้วไปด้วยต้นไม้และเครือเขาเถาลัดดาปกคลุม ยิ่งในพระราชวัง รูปลวดลายพระที่นั่งตำหนักน้อยใหญ่และสถานต่างๆก็จมอยู่ในโคกและเนินสูงเหลือที่จะเห็นให้ทั่วถึงได้” (หน้า 64)
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1687 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 07:19:37 » |
|
งานเขียนของพระยาโบราณราชธานินทร์ฯ ที่เป็นหลักของการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีอยุธยาก็คือ “อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์” เป็นหนังสือคู่มือของการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองพระนครศรีอยุธยาตราบเท่าทุกวันนี้
ยังมีงานเขียนอื่นๆของท่าน ที่ไม่ค่อยรู้จักกัน แต่มีความสำคัญมิใช่น้อย เพราะได้สะท้อนภาพของนักปกครอง นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีที่ “เดินดูทั่วทุกหัวระแหง” อย่างแท้จริง ดังที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้
ข้อเขียนของท่านนี้จะช่วยทำให้เห็นภาพและเข้าใจความเป็นเมืองสังคมของอยุธยาในอดีตมากขึ้น พร้อมกันนั้นก็ฉายให้เห็นคุณลักษณะวิธีการทำงาน ตลอดจนการเก็บข้อมูลที่ละเอียดรอบคอบสมกับเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของเมืองพระนครศรีอยุธยา
ต่อมารัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2450 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาโบราณฯจัดพระราชวังโบราณเป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในพระราชพิธีรัชมงคล จึงขุดแต่งซากพระตำหนักให้เห็นเป็นรูปร่าง “โบราณสถานซึ่งจมดินและรกชัฏมากกว่าร้อยปีก็ผุดขึ้นเห็นรูปทรง ลวดลายและเตียนสะอาด…” (หน้า 64)
นอกจากนั้นพระยาโบราณฯยังสำรวจตรวจนับวัดร้างในกรุงเก่ามีมากถึง 543 วัด (หน้า 19)
ประเด็นที่ผมเห็นว่าสำคัญมากคือ เส้นทางแม่น้ำลพบุรีสายเก่า พระยาโบราณฯเขียนอธิบาย(ต่างจากแม่น้ำลพบุรีปัจจุบัน)ไว้ในระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสตั้งแต่พระราชวังจันทรเกษมถึงจังหวัดลพบุรีในรัชกาลที่ 6 ว่า จากตัวเมืองลพบุรี ตรงปากช่องท้องพรหมาสน์แม่น้ำลพบุรี เป็นสายตรงขึ้นทางเหนือ (ปัจจุบันเรียกแม่น้ำบางขาม) ผ่านหน้าวัดไลย์ (อ. ท่าวุ้ง) ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาทาง อ. พยุหะคีรี จ. นครสวรรค์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1688 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 07:21:48 » |
|
พระยาโบราณฯเขียนบอกว่า “เป็นทางที่นางจามเทวี ธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ เดินทางขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย” (หน้า 245) เส้นทางไหลของแม่น้ำลพบุรีสายเก่า ถ้าทิศทางจริงตามที่พระยาโบราณฯอธิบายนี้ ก็เท่ากับเป็นแม่น้ำคู่ของแม่น้ำน้อยทางฟากตะวันตก แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท ไหลลงทางใต้ผ่านสิงห์บุรี, อ่างทอง, รวมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งหนึ่งที่ อ. บางไทร อยุธยา
คลังความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของพระยาโบราณฯ มีมากเกินจะพรรณนา แต่ขาดสถาบันสืบทอดต่อยอดความรู้นั้น
โดยเฉพาะความรู้ด้านภูมิประเทศแม่น้ำลำคลองแล้ว นักโบราณคดีทุกวันนี้จนแต้ม เพราะไม่อ่านหนังสือ และไม่มีแผนที่อยู่ในหัวใจ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1689 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 21:47:48 » |
|
วันนี้ไปเมืองนนท์
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1690 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 21:53:31 » |
|
เจอสินค้าท้องถิ่น..สดจากสวน
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1692 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 22:01:35 » |
|
ไม่เคยรู้จักครับ "เครือเขาเถาลัดดา" แต่คล้องจองกันตามอักขระ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1693 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 22:22:52 » |
|
น่าสนใจอีกเล่ม
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓จาก วิกิซอร์ซ ข้ามไปยัง: นำทาง, ค้นหา ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่อง กรุงเก่า
พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
พระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เดชะคุปต์ )
ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส
เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
คำนำ
ในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เดชะคุปต์ ) เจ้าภาพและบรรดาผู้ที่เคารพนับถือ ในพระยาโบราณ ราชธานินทร์ ประสงค์จะได้หนังสือสำหรับแจกเป็นที่ระลึก จึงแจ้ง ความประสงค์นี้มายังกรมศิลปากร กรมศิลปากรมีความยินดี ที่ได้มีโอกาสกระทำปฏิการ โดย จัดหาหนังสือสำหรับพิมพ์ในครั้งนี้ เพราะพระยาโบราณราชธานินทร์เคยเป็นอุปนายกแผนกโบราณคดีในราชบัณฑิตยสภา และเป็นผู้ มีอุปการะคุณแก่กรมศิลปากรด้วยผู้หนึ่ง คราวใดที่เจ้าหน้าที่ในกรมศิลปากรไปสอบถามความรู้อันเกี่ยวด้วยโบราณคดี พระยาโบราณราชธานินทร์ก็เต็มใจชี้แจงให้เสมอทุกคราว ถ้าว่าโดย ฉะเพาะในเรื่องภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา ก็เห็นจะหาผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญเสมอด้วยพระยาโบราณราชธานินทร์ได้ยาก ความรู้ ในทางโบราณคดีที่ทราบกันอยู่ในเวลานี้ก็มีอยู่มาก ที่พญาโบราณ ราชธานินทร์เป็นผู้สอบสวนค้นพบมา เพราะฉะนั้นจึงเป็นการสมควร ที่จะรวบรวมเรื่องโบราณคดี ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์ได้ เรียบเรียงไว้ พิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวจัดเข้าในลำดับประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ เพื่อเป็นเกียรติยศเชิดชูคุณงามความดีที่พระยาโบราณ ราชธานินทร์ ได้ใช้ความพยายามค้นคว้า และนำมาเผยแผ่ให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลความรู้ ซึ่งนักศึกษาทุกท่านคงยินดีอนุโมทนา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1694 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 22:29:45 » |
|
(๒) เรื่องที่พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ นี้ คือ (๑) เรื่องแก้คดีพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งพระยาโบราณ ราชธานินทร์ แต่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง มูลเหตุของเรื่องนี้มีมาอย่างไรไม่ปรากฎ กรมศิลปากรจึงได้ กราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒) ได้ทรงพระกรุณาประทานคำอธิบาย ดังได้ลงพิมพ์ไว้ ข้างหน้าของเรื่องนี้ และกรมศิลปากรขอขอบพระเดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นั้นไว้ในที่นี้ด้วย (๓) ตำนานกรุงเก่า ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์เรียบเรียงพิมพ์ทูลเกล้าถวายในงานพระราชพิธีรัชมงคล เมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ได้ชี้แจงข้อสำคัญไว้ในคำนำหนังสือที่พิมพ์ คราวนั้นด้วย ว่าเป็นการคิดเรียบเรียงขึ้นตามที่นึกได้ในระหว่างเวลาว่างตรวจการทำพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท ซึ่งเป็นเวลากำลัง ฉุกละหุกมีเวลาน้อย ไม่พอที่จะตรวจสอบกับตำราทั้งหมดให้ละเอียดได้ทั้งการพิมพ์ก็เร่งรัดที่จะให้แล้วเร็วทันวันงานพระราชพิธีรัชมงคล และการที่ทำโดยรีบร้อนเช่นนี้ ก็ย่อมจะมีที่ผิดพลั้งอยู่เป็นธรรมดา คิดเสลาตั้งแต่พระยาโบราณราชธานินทร์ พิมพ์ตำนานกรุงเก่าทูลเกล้า ฯ ถวายในครั้งนั้น ล่วงมาจนถึงบัดนี้ได้ ๒๙ ปีแล้ว การ สืบสวนค้นคว้าในทางโบราณคดีก็คืบหน้ามาโดยลำดับ อาจมีข้อ แตกต่ากงันบ้าง ถึงกระนั้น หนังสือตำนานกรุงเก่าก็ยังคงเป็น ประโยชน์ในการศึกษาโบราณคดีอยู่เป็นอันมาก
(๓) (๔) อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ เรื่อง อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยานี้ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชี้แจงไว้ในคำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ว่า " ต้นฉะบับได้มาในหนังสือมรดก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ซึ่งพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าในกรม พร้อมพระหฤทัยกันถวายแด่หอพระสมุดสำหรับพระนคร พิจารณาดูเห็นเป็นตัว ฉะบับเดิมแท้ มิได้มีผู้ใดแก้ไขเพิ่มเติมให้วิปลาศ มีเรื่องในหนังสือเป็น ๒ ตอน ตอนต้นเป็นเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา อ้างไว้ท้ายว่า เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพลงยาวนี้มีหลักฐานควรเชื่อว่า แต่งเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็น ราชธานี ด้วยในคำให้การของชาวกรุงเก่า ที่พะม่าจับขึ้นไปถาม คำให้การเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวอ้างถึงแต่ข้อที่ว่าเป็น พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชฉนั้น ไม่มีหลักฐานอย่างอื่นนอกจากที่มีเขียนไว้กับเพลงยาว ประหลาดอยู่ที่เพลงยาวบทนี้ ยังมีผู้ท่องจำกันมาได้แพร่หลายจนในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แต่เรียก กันว่า เพลงยาวพุทธทำนาย " " อีกเรื่องหนึ่ง ต่อเพลงยางไป เป็นเรื่องพรรณนาถึงภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา พิเคราะห์ดูสำนวนเห็นว่า ผู้แต่งเกิดทันสมัย เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่มาแต่งหนังสือในกรุงรัตนโกสินทร์ "
(๔) "ก็เรื่องภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา พระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เดชะคุปต์ ) ได้เอาเป็นธุระสืบสวนตรวจตราโดยน้ำใจรักมากว่า ๒๐ ปี ตั้งแต่ยังเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ขึ้นไปรับราชการอยู่ใน มณฑลอยุธยา ตลอดมาจนได้เป็นตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และเป็น อุปนายกแผนกโบราณคดีในราชบัณฑิยตสภาอยู่จนทุกวันนี้ เมื่อข้าพเจ้าพบหนังสือเรื่องนี้ จึงได้คัดสำเนาส่งไปให้พระยาโบราณ ราชธานินทร์สอบสวนดู พระยาโบราณราชธานินทร์มีแก่ใจแต่ง คำวินิจฉัยขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ประกอบกับตันฉะบับที่ได้มา " " หนังสือเรื่องนี้ พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้พิมพ์ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในการพระราชพิธีสังเวยอดีตมหาราช ที่พระราชวัง กรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่งแล้ว แต่โดยมาก ผู้ที่รับแจกเป็นข้าราชการ ที่ตามเสด็จพระราชดำเนิน กับข้าราชการหัวเมือง ยังหาสู้แพร่หลาย ไม่ และทั้งต่อมา พระยาโบราณราชธานินทร์ ก็ได้แต่งคำวินิจฉัย เพิ่มเติมและรวบรวมรูปโบราณสถานในพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้ถ่าย ไว้มาเข้าบรรจุเพื่อประกอบท้องเรื่อง ดังปรากฎอยู่ในสมุดเล่มนี้ " ในการพิมพ์คราวนี้ ได้พิมพ์พระวิจารณ์เพลงยาวพยากรณ์ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ แซกไว้ด้วย อนึ่ง กรมศิลปากรขอชี้แจงไว้ในที่นี้ด้วย ว่าความรู้ทาง โบราณคดีนั้น เป็นความรู้ที่ไม่ยุติ เพราะความรู้ในเรื่องเหล่านี้ อยู่ที่การขุดค้นพบหลักฐานและสอบสวนพิจารณา อันไม่มีที่สิ้นสุด
(๕) ถึงคราวค้นพบหลักฐานใหม่ ก็ย่อมมีการสันนิษฐานเพิ่มเติมกัน ต่อไปตามแนวทางของการตรวจสอบโบราณคดี เมื่อทราบความ ดังนี้แล้ว การอ่านเรื่องโบราณคดีจึงจะได้ประโยชน์ กรมศิลปากร ขออนุโมทนาในกุศลที่เจ้าภาพและบรรดาผู้เคารพนับถือได้พร้อมใจกันพิมพ์ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ นี้ ให้แพร่หลายสะดวกแก่กรณีศึกษาทางโบราณคดี อันเป็นความรู้ พึงปรารถนาอย่างยิ่งประการหนึ่ง ขออำนาจกุศลนี้จงเพิ่มพูลปีติโสมนัส และสุขสมบัติทั้งมวล แก่พระบาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ผู้ได้พยายามเสาะค้นหาทางบำรุงความรู้โบราณคดี ที่ ชาติต้องการมานานแล้ว ให้สำเร็จเป็นข้อความดังปรากฎอยู่ในเล่มนี้เป็นต้น.
กรมศิลปากร วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1695 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2556, 22:56:23 » |
|
พรุ่งนี้ไปดูแข่งบอลที่สนามราชมังคลาฯ แบบไปราชการ เป็นงานของรัฐบาล
และ๒๕-๒๘ กค. ไปชะอำ งานของกกต.
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #1696 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2556, 07:13:22 » |
|
วันนี้ฝนตกในอัตราร้อยละ 70-80 ของทุกพื้นที่ เหมือนฝนจะตกทั่วฟ้า แต่มีคำเตือนว่าจังหวัดนครราชสีมา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ฝนจะตกหนักถึงหนักมาก คลื่นในทะเลทั้งสองฝั่งและชายฝั่งทะเลตะวันออกสูง 2-3 เมตร ลมแรง ไม่เหมาะกับการออกทำประมงและท่องเที่ยว กทม.และปริมณฑล ฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ คงต้องเตรียมอุปกรณ์กันฝนติดมือ ติดรถไปด้วยครับพยากรณ์อากาศ ประจำวันพุธที่ 24 กรกฏาคม 2556 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งต่อไปได้อีกในวันนี้ ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครราชสีมา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 25-26 ก.ค. 2556 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงในระยะนี้ พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย ชัยภูมิ และนครราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1697 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2556, 22:12:11 » |
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #1699 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2556, 22:42:29 » |
|
|
|
|
|
|