|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3253 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2557, 11:52:58 » |
|
ด้วยพระบารมี ฝน ลมไม่มี ทุกอย่างเสร็จด้วยดี
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3254 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2557, 12:47:55 » |
|
ต่อจากบทความเสือป่า และมีปรากฎในหนังสือ"นายใน"
การปะทะระหว่างเสือป่ากับคณะ ร.ศ. 130
คณะทหาร ร.ศ. 130 กลุ่มข้าราชสำนักมหาดเล็กส่วนพระองค์ที่เป็น “เสือป่ารักษาพระองค์” หรือ “กองเสือป่าหลวง” เปรียบเสมือนขั้วตรงข้ามโดยสิ้นเชิง นับตั้งแต่พ.ศ. 2452 ตามบันทึกของ ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. จรูญ ษตะเมษ เชื่อว่า “มหาดเล็กสมเด็จพระบรม” 2คน ใช้ไม่รุมตีหัวนายดาบกรมทหารราบที่แต่งกายพลเรือนอกมาเที่ยว จนต้องหนีเข้ากรมทหาร ซึ่งบรรดามหาดเล็กก็วิ่งตามไปยืนท้าทายหน้ากรมทหาร จึงถูกนายทหารรวม 5 คนวิ่งไล่ตีไปจนถึงหน้าประตูวังปารุสก์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพิโรธอย่างมาก ทรงถือว่าเป็นการกระทำอุกอาจถึงหน้าประตูวังพระรัชทายาท แต่ที่ร้ายไปกว่านั้น พระองค์ทรงกดดันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการยืนกรานที่จะสละพระอิศริยยศพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร หากไม่ทรงลงพระอาญานายทหารผู้ที่ทำร้ายมหาดเล็กของพระองค์ด้วยการเฆี่ยนหลัง ซึ่งรูปแบบการเฆี่ยนหลังตามจารีตนครบาล ผู้ที่ถูกเฆี่ยนต้องนั่งเหยียดขาเข้าขื่อคา
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3255 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2557, 12:57:10 » |
|
สังคมชายล้วนของพระองค์นำไปสู่ค่าใช้จ่ายจำนวนมากนับตั้งแต่ยังไม่ได้ทรงขึ้นครองราชย์ เช่นการก่อสร้างปรับปรุงตบแต่งภายในพระตำหนักและที่พักของสมาชิกสังคมชายล้วนในพระราชวังทั้งในพระนครและหัวเมือง (สำนักงานราชเลขาธิการ, แฟ้มที่ 111 “พระบรมโอรสาธิราชขอรับเงิน”) แม้จะใช้จ่ายจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แต่นำไปสู่การติดหนี้สินห้างร้านหลายแห่งจนต้องทรงขอยืมเงินจากพระคลังข้างที่จำนวนมาก และได้สร้างความกังวลพระทัยต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างมากว่าสถาบันกษัตริย์จะเสื่อมเสียชื่อเสียงและนำมาสู่ความพินาศอับจนของประเทศ (หจช., ร.5 ค. 9.2/34 “ร่างพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช” 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2452) ขณะเดียวกัน บรรดาสมาชิกในสังคมชายล้วนก็ทรงอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ จนกิตติศัพท์เกี่ยวกับอิทธิพลและอำนาจบารมีเป็นที่กล่าวขวัญและยำเกรงของผู้คนทั่วไปทั้งชาวบ้านและชาววัง เพราะไม่เพียงเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์มากที่สุด แต่ยังทำหน้าที่ระแวดระวังตรวจตราผู้ที่จะเข้าเฝ้า มีอำนาจวินิจฉัยว่าสมควรให้เข้าเฝ้าหรือไม่ และสามารถกีดกันหากเห็นว่าไม่เหมาะสมตั้งแต่บุคคลธรรมดาสามัญไปจนถึงเจ้านายในพระราชวงศ์ มหาดเล็กแม้แต่ชั้นผู้น้อยจึงมีอำนาจและเป็นที่ยำเกรงกันทั่วไป (Sarasas, Pra, 1956, p. 138)
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3256 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2557, 13:02:33 » |
|
เหตุการณ์ ร.ศ. 130 นำไปสู่ความเข้าใจพอที่จะสันนิษฐานได้ว่าระยะเวลาประมาณ 8 ปีที่ทรงดำรงสถานะพระยุพราช และประมาณ 2 ปีที่ทรงเป็นกษัตริย์ พระองค์กับสังคมชายล้วนของพระองค์ไม่ได้เป็นที่รักใคร่และชื่นชอบมากนักอย่างน้อยที่สุดกับนายทหารชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสังคมชายล้วนแบบเสือป่า ที่แม้จะเป็นกิจกรรมที่เล่นสนุกกันเฉพาะมหาดเล็กพระสหายหนุ่ม แต่มีการโปรดฯให้พระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทรงร่วมกิจกรรมด้วย โดยโปรดฯให้มีอำนาจและยศต่ำกว่าบรรดาข้าราชบริพารมหาดเล็ก เช่นเจ้าพระยารามราฆพที่ไม่มีความรู้ด้านทหารเป็นนายกองโทและนายกองเอกในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็ว ขณะที่บรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมกลวงจันทบุรีนฤนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ที่รับราชการฝ่ายทหาร เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้รับการโปรดฯให้เป็นนายกองตรี ประเภทสมาชิกพิเศษซึ่งได้รับการถวายพระยศเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น ย่อมนำไปสู่ความไม่พอพระทัยและความไม่พอใจอย่างมากต่อบรรดานายทหารคณะร.ศ. 130 ที่ต่างเป็นลูกศิษย์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (อัจฉราพร กมุทพิสมัย, 2524, น. 138-139)
ในการฝึกซ้อมเสือป่าประจำวัน ที่ผู้นำซ้อมเป็นนายกองเสือป่าซึ่งมักเป็นมหาดเล็กข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดเป็นการส่วนพระองค์และไม่มีความรู้ด้านการทหาร ได้สร้างความไม่พอใจให้กับทหารอาชีพและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สมัครเสือป่าและมียศเสือป่าต่ำกว่า ขณะเดียวกันเมื่อเสือป่าต้องการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ ทว่าจำนวนไม่เพียงพอต่อการฝึกหัดพระองค์จึงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งซื้ออาวุธจากกระทรวงกลาโหมทั้งๆที่ไม่ได้มีไว้เพื่อขายเพราะเป็นกำลังของแผ่นดินและเป็นของหลวงที่สำคัญ (อัจฉราพร กมุทพิสมัย, 2524, น. 147, 149-150) และแม้พระองค์ทรงอ้างว่าการฝึกหัดเสือป่าเป็นเพียงการฝึกหัดกำลังกายและวินัยพลเรือนที่เป็นอาสาสมัคร ให้มีความรักกษัตริย์ ชาติ ศาสนา (เสทื้อน ศุภโสภณ, 2504. น. 13) แต่ถึงกระนั้นกิจกรรมเสือป่ากลับต้องมาก่อนการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่เพียงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีในฐานะนายพลเสือป่าว่าเดือนกุมภาพันธ์ถือว่าเป็นเดือนประลองยุทธ ไม่ให้กำหนดงานลงไปในเดือนนี้ (อมรดรุณารักษ์, 2511 ก, น. 55) จึงต้องงดงานราชการและตามเสด็จซ้อมรบเสือป่า ซึ่งการซ้อมรบก็ไม่ได้ซ้อมจริงจัง เป็นเรื่องเล่นๆ อย่างเช่น ยิงปืนด้วยปาก แต่ทำให้เหนื่อยเปล่าเพราะต้องออกไปไกลถึงนครปฐม อดหลับอดนอนเหน็ดเหนื่อยกลับมาทำงานไม่ไหวเช่นเดียวกับการฝึกเสือป่าต้องฝึกทุกวันซึ่งส่วนใหญ่เพียงเดินไปเดินมาเหนื่อยเปล่าไม่ได้เกิดประโยชน์และเปลืองแรง (หจช., ร.6 บ. 17/12 “เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กราบบังคมทูล” 8 มีนาคม พ.ศ. 2455)
จบ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3257 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2557, 19:25:42 » |
|
เผยต่างชาติฮิตเมนูน้ำตกหมู-ไก่ของไทย
สถาบันอาหารได้สำรวจกลุ่มอาหารไทยยอดนิยมของลูกค้าต่างชาติในปีนี้ พบว่า อาหารไทยที่ได้รับความนิยมสูงมากคือ น้ำตกหมู ที่เป็นเมนูอาหารที่ลูกค้าชาวยุโรปชื่นชอบมาก ข่าวโพสต์ทูเดย์
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3259 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2557, 18:21:02 » |
|
พระปฐมปาฎิหาริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระราชวังสนามจันท์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้เกิดปรากฎการณ์พระปฐมปาฎิหาริย์ ในคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘ พ.ศ.๒๔๕๒ เมื่อเวลา ๒ ยาม ๕๕ นาที (๐๐ : ๕๕ น.) พระยาคทาธรธิบดี - เทียบ อัศวรักษ์ ขณะดำรงตำแหน่ง นายวรการ (หนึ่งใรนายใน ที่ทรงโปรดฯ) กราบทูลให้ทรงทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์ พบว่ามีแสงสว่างโพลงไปทั้งองค์ มีสีคล้ายหิ่งห้อยอยู่จนถึงเวลา ๗ ทุ่ม ๑๒ นาที ( ๐๐ : ๑๒ น.) เป็นเวลานานถึง ๑๗ นาที รัศมีตั้งแต่ยอดมงกุฎจรดปล้องไฉนจึงหายวูบไป ต่อมาอีกราวครึ่งนาที แสงคอระฆังจึงหายไปเป็นอัศจรรย์ จึงทรงกราบพระปฐมเจดีย์และสวดบทอิติปิโส ครั้งนั้นมีพระองค์และข้าราชบริพารอยู่ในเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก โปรดฯให้จดรานามผู้เห็นเหตุมหัศจรรย์ครั้งนี้พร้อมกันกับพระองค์ได้ ๖๘ ราย นอกจากนี้แล้วยังมีราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยอีกหลายราย วันรุ่งขึ้น โปรดฯให้ฉลองพระปฐมเจดีย์ และเดินเวียนเทียน (จดหมายเหตุรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๐ - ๒๕)
ทรงกราบบังคมทูลเล่าเหตุการณ์ครั้งนี้ให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าว่าพระองค์ทรงเคยเห็นพระปฐมปาฎิหาริย์ด้วยพระองค์เองถึง ๒ ครั้ง ในเวลายามหนึ่ง คือประมาณ ๓ ทุ่ม (๒๑ : ๐๐ น.) มักเกิดในระหว่างเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ และเดือนยี่ และเวลาที่ทรงทอดพระเนตรเห็นนั้น ข้าราชบีิพารเห็นเหตุการณ์เป็นจำนวนมากกว่านี้ (เรื่องพระปฐมเจดีย์, หน้า ๒๒๙)
นอกจากนี้ ย้อนไปถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงบูรณปฎิสังขรพระปฐมเจดีย์อยู่นั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปสักการะ และสมโภชพระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ทรงทอดพระเนตรเห็นดวงรัศมีสีขาวย้อยออกมาตามซุ้มคูหาด้านตะวันออก ตกลงมาหายไปที่หลังวิหารพระไสยาสน์เก่า ซึ่งปัจจุบันคือวิหารหลวง มีผู้เห็นเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก (เรื่องพระปฐมเจดีย์, หน้า ๒๒๙)
นอกจากเหตุการณ์พระปฐมปาฎิหาริย์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าพระเนตรพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์แล้ว ยังมีบันทึกไว้ว่าในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ มีผู้เห็นดวงไฟสว่างออกมาทางซุ้มคูหาทิศเหนือ และวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ มีผู้เห็นรัศมีส่องไปทางองค์พระปรางค์เหมือนแสงดอกไม้เทียบจับอยู่ที่องค์พระ
กล่าวกันว่า พระปฐมปาฎิหาริย์เกิดขึ้นทุกปีๆละสองครั้งบ้าง สามครั้งบ้าง เมื่อสมโภชเวียนเทียนคราวใดเป็นได้เห็นทุกคราว
นอกจากพระปฐมปาฎิหาริย์แล้ว ยังมีบันทึกครั้งโบราณที่กล่าวถึงพระธาตุปาฎิหาริย์อีกหลายครั้ง เช่น พระเกศาธาตุที่มหิยังคนเจดีย์ กรุงลังกา, พระธาตุปาฎิหาริย์ที่เมืองบางจา เป็นต้น ( ชินการลมาลีปกรณ์, หน้า ๑๐๖ - ๑๑๑ : ตำนานมูลศาสนา, หน้า ๑๙๕ - ๑๙๖ : พงศาวดารโยนก, หน้า ๒๙๒ - ๒๙๗)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดปรดฯให้สร้างเหรียญที่ระลึก พระปฐมปาฎิหาริย์ เป็นเหรียญกลม ขนาดผ่าศูนย์กลาง ๒.๖๕ เซนติเมตรมีหูเชื่อม เนื้อเงิน ด้านหน้าเป็น พระธรรมจักร ด้านหลัง เป็นตัวอักษร แบบแรก : วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ ตุลาคม ร,ศ, ๑๒๘ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เวลา ๒ ยาม ๕๕ นาที พระปฐมปาฎิหาร แบบที่สอง : พุทธสาสนายุกาล ล่วงแล้วได้ ๒๔๕๒ พรรษา วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร,ศ, ๑๒๘ เวลา ๒ ยาม ๑๕ นาที พระปฐมปาฎิหาริย์
หมายเหตุ : มีการตรวจสอบในภายหลังพบว่า เวลา ๒ ยาม ๑๕ นาที ในแบบที่สองผิดพลาด จึงโปรดฯให้จะดทำเหรียญแบบแรกออกมาแจกจ่ายให้ผู้ที่ได้เห็นเหตุการณ์นั้นเป็นที่ระลึก
ปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายากมากที่สุด เพราะจัดสร้างตามจำนวนผู้ร่วมเห็นในเหตุการณ์ในคืนนั้น และเวลาผ่านมา ๑๐๕ ปีแล้ว ส่วนหนึ่งสูญหายไปเพราะทายาท และไม่พบเห็นมาหลายปีแล้วครับ
ข้อมูล : พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย http://www.thaimedals.com/web/2452_5.php
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3260 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2557, 18:32:31 » |
|
ขอบพระคุณมากในความรู้ที่มาแบ่งปัน. เจดีย์นี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทีเผยแผ่ถึงสุวรรณภูมิ เป็นพระเจ้าอโศกที่เผยแพร่พุทธศาสนาในอินเดียโดยสร้างเสาสิงห์ไว้ทุกแห่งที่ดำเนินการเสร็จ ซึ่งต่อมาคือเสาอโศก พีีสิงห้ถ่ายภาพมาสวยด้วยครับเสาอโศกที่กล่าวถึง
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3261 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2557, 18:37:39 » |
|
เหรียญพระราชทานให้ท่านที่อยู่ในเหตการณ์ จึงมีน้อยมาก
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3262 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2557, 18:50:44 » |
|
น่าจะเป็นเช่นนั้น เคยถามรุ่นพี่ที่ รร.พระปฐมวิทยาลัยคนหนึ่ง ซึ่งปู่ (มียศเป็นหลวง) เคยทำงานอยู่ที่พระราชวังสนามจันท์ และปัจจุบันบ้านเดิมยังอยู่ตรงข้ามพระราชวังสนามจันท์ บอกเคยเห็นเหรียญนี้ตอนเป็นเด็ก แต่ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้เหรียญนี้ ตกไปอยู่กับใคร
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3263 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2557, 08:56:41 » |
|
ไปกาญจนบุรีวันนี้กลับวันศุกร์ ฝนแบบนี้ป่าน่าจะสวย สินค้าชุมชน เห็ด หน่อไม้ ท่าจะดีด้วย
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3264 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2557, 09:25:20 » |
|
น้องเริง พูดถึงเห็น กำลังคิดถึง "เห็ดโคน" อยู่พอดีเลย ไมี่รู้ว่าจะมีออกมาแล้วหรือยัง ??
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3265 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2557, 20:30:30 » |
|
ผ่านร้านค้าริมทางน่าจะมีแล้ว
ผมผ่านทางเส้นไปศรีสวัสดิ์
หากไปเส้นไทรโยค ทองผาภูมิ น่าจะมีมาก
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3266 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2557, 23:52:50 » |
|
มาพักแถวลาดหญ้า ในสมัยก่อนเคยเป็นหนึ่งพื้นที่ของเส้นทางทัพพม่าในสงครามเก้าทัพ......นานมาแล้ว จะมีภาพและเรื่องราวตามมา. เป็นวีรกรรมของนักรบผู้กล้าทึ่ทุ่งลาดหญ้า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3267 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2557, 13:06:32 » |
|
มีอุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ. ที่ด่านช่องสะเดาเพื่อ าสะกัดพม่าก่อนจะมาถึงกาญจนบุรี(เมืองเก่าอยู่ใกล้ตรงนี้ ก่อนที่จะย้ายมาปากแพรกที่เป็นเดี๋ยวนี้)ด้วย ที่น่าสนใจมากเลย
ทั้งหมดนี้ วันศุกร์ครับ
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3268 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2557, 15:42:36 » |
|
อุทยานฯห่างจากลาดหญ้า 25 กม.และก่อนถึงจะผ่านสถานฝึกรด.เขาชนไก่ซึ่งเคยฝึกมาแล้วครั้งเรียนรด.ปีสาม
|
|
|
|
|