เริง2520
|
|
« ตอบ #3025 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2557, 20:02:19 » |
|
|
|
|
|
Dtoy16
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424
|
|
« ตอบ #3026 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2557, 20:24:35 » |
|
น้องเริง รูปน้ำพุร้อนค่ะ เขาเรียกกันคู่กับสระมรกต(ตรงนี้น้ำเย็นใสแจ๋ว) สภาพอยู่ในป่า สมัย2520 นี่นักศึกษาอุดมการณ์อยู่กันเพียบ ปี2537 พี่ไปตอนนั้น ไม่มีถนนค่ะเป็นทางมอไซด์ฝุ่นแดงเต็มหัว ร่ายมายาวนิดนิด เพื่อบอกว่ายังไม่มีรูปภาพประกอบ ลองมาดูด้วยตามังค่ะ สวยค่ะ สวย ฝีมือตากล้องแบบน้องต้องได้ภาพคุ้มแน่
|
|
|
|
|
|
|
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213
|
|
« ตอบ #3030 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2557, 10:53:02 » |
|
ลูกปัดคลองท่อม หาซื้อได้ที่ไหนค่ะพี่เริง
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3032 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2557, 11:14:35 » |
|
ประวัติลูกปัด
ปัจจุบันลูกปัดโบราณหาชมได้ยาก ผู้ที่รอบรู้ศึกษาจากตำรับตำรา ค้นคว้ามาเป็นเวลาหลายปีท่านหนึ่งคือ หลวงศักดิ์ วัดพรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ รอบรู้ เกี่ยวกับเรื่องของลูกปัด เพราะท่านได้ศึกษาจากลายแทง ตำรา จากผู้รู้และจากประสบการณ์
ส่วนประวัติความเป็นมาของลูกปัด ย้อนไปถึงพุทธศตวรรษที่ 6-7 และอาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ลูกปัดที่ทำด้วยแก้วเป็นหลักฐานสำคัญที่พบในแหล่งโบราณคดีของไทย ทุกภูมิภาคมีการสร้างตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งที่พบลูกปัดทางภาคเหนือ บ้านวังไฮ จ.ลำพูน ภาคอีสานได้แก่บ้านเชียง จ.อุดรธานี บ้านธารประสาท เนินอุโลก จ.นครราชสีมา ภาคกลาง เมืองซับจำปา บ้านโป่งมะนาว บ้านท่าแค จ.ลพบุรี ดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมืองจันเสน จ.นครสวรรค์ เมืองดงละคร จ.นครนายก เมืองศรีมหาโพธิ์ เมืองศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี ภาคใต้ คลองท่อม จ.กระบี่ บ้านทุ่งตึก พังงา ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นลูกปัดที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย อาณาจักรโรมันตั้งแต่ 3,000 ปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าในอดีตพื้นที่ที่มีลูกปัดบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นศูนย์รวมการค้า เป็นท่าเรือที่มั่งคั่ง วัตุสำคัญที่นำมาทำลูกปัด เช่น ศิลา สำริด ปูนปั้น ทำเป็นรูปลักษณ์ ลูกปัด กำไล ต่างหู ขวด กระปุก ตลับ ภาชนะต่างๆ
ลูกปัดมีลักษณะและสีแตกต่างกันไปแล้วแต่ความเชื่อของคนที่ทำในสมัยโบราณ สื่อมาจนถึงปัจจุบันเท่าที่พบเห็นประมาณ 20 กว่าสี และมีความเชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดได้ครอบครองไม่ว่าสีอะไรก็แล้วแต่ หรือลักษณะใดก็ตาม ผู้นั้นจะเป็นคนไม่ตกทุกข์ได้ยาก และแคล้วคลาดจากภัยพิบัติอันตรายทั้งปวง
ลูกปัดมีลักษณะต่างๆ เช่นลายแทงสวรรค์ หรือกุญแจสวรรค์ หรือกุญแจเทพ มีสัญลักษณ์เป็นรูปค้างคาว หรือคนจีนเรียกว่า ฮก เป็นสัตว์ที่วิเศษบินได้ เดินได้ แล้วก็อายุยืนใครมีแล้วเป็นมหามงคล เกี่ยวกับเรื่องโชคลาภและบางอันมีเขียนหรือแกะเป็นภาษาที่อยู่บนลูกปัด เป็นภาษาที่เรียกกันว่าปัลละวะ ภาษาที่เรียกกันนี้เกิดในศตวรรษที่ 17-18 ในยุคอาณาจักรศรีวิชัย เป็นหนึ่งเดียวที่พบที่อ.คลองท่อม จ.กระบี่ รูปลักษณะมังกรทำจากหยกขาวเป็นสมบัติเครื่องรางนำโชคของพระราชา หรือจักรพรรดิ พบที่อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ทำด้วยหยกขาว แกะเป็นตัวมังกร สัญลักษณ์ของฮ่องเต้ มีอานุภาพเรื่องของอำนาจ บารมี ยศถาบรรดาศักดิ์
ลูกปัดรูปลักษณะสุริยเทพ (พระอาทิตย์) มีความเชื่อกันว่าสร้างก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคนั้นทุกคนนับถือพระอาทิตย์และพระจันทร์ ว่า เป็นผู้ดลบันดาลให้มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม มั่งมีศรีสุข หรือทุกข์ทรมาน ฉะนั้น ทุกคนจะต้องกราบไหว้บูชา และมีสัญลักษณ์ของท่าน พบที่อ.คลองท่อม จ.กระบี่ หนึ่งเดียว
ปัจุบันนักสะสมที่เข้ามาศึกษา และมีลูกปัดอยู่ในความครอบครองเจอประสบการณ์นานัปการ ลูกปัดบางอย่างจะมีราคาซื้อขายกันแพงมากๆ และบางอย่างซึ่งพบหนึ่งเดียว จึงไม่มีราคาที่จะมาตีราคากันด้วยเงินจัดว่าเป็นของหายาก/color]
|
|
|
|
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213
|
|
« ตอบ #3033 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2557, 13:51:20 » |
|
ต้องไปซื้อถึงกระบี่เลยรึค่ะ พี่เริงมีขายไหมค่ะ อยากได้มาทำกำไรข้อมือ แล้วจะดูยังไงค่ะว่าไม่ปลอม
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3034 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2557, 14:29:20 » |
|
มีขายทางเวปนะ หากูเกิลได้ ดูไม่เป็นแท้หรือปลอม และไม่ได้ขายด้วย ๕๕
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3036 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2557, 16:50:54 » |
|
คสช.ตั้ง กมล รอดคล้าย เป็น เลขาฯสพฐ. แล้ว จุฬาฯรุ่น 16 ก็ได้ เลขาฯ กกอ. (การอุดมศึกษา)
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3037 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2557, 17:25:42 » |
|
ครับ ยินดีกับทุกท่านด้วย
คำสั่งที่ 79/2557 ให้นายปรียา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็น ที่ปรึกษาสำนักนายกฯ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการการอุดมศึกษา เป็น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ นายอภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็น ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็น ปลัดกระทรวงพลังงาน นายกำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการ กพฐ. เป็น เลขาธิการ กพฐ.
เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ทั้งนี้ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งนับแต่วันที่มีคำสั่งนี้
ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2557
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #3039 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2557, 20:39:45 » |
|
เคยอยู่ที่ตลาดพลู ข้างๆมัสยิดต้นสน ที่เขาเรียกกัยว่า สุเหร่าแขก ตรงข้ามกับวัดเวฬุราชิน เป็นช่วง ม.ศ. 4 และ 5 ก่อนเอ็นเข้ามหาวิทยาลัย เดี่ยวนี้เป็นอย่างไร ก็ไม่เคยได้ไปอีก จะมาตามครูเริงพาเที่ยวต่อในคราวหน้า
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3040 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2557, 08:17:19 » |
|
ครับ ที่พี่เหยงบอกชื่อเพราะดี อยู่ถัดจากสามวัดดังกล่าวติดกับวัดอินทารามแต่ไม่ได้แวะชม
เจ้าพระยาพลเทพ (เอี่ยม ชูโต) เป็นผู้สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนปลายรัชกาลที่ ๓โดยนำเงิน ค่าภาษีไม้ไผ่สีสุกที่ท่านเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานผูกขาดการเก็บอยู่มาใช้เป็นค่าสร้างวัด เมื่อแรกสร้างเรียกชื่อวัดตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งวัดที่เป็นคุ้งน้ำใหญ่ในคลองบางกอกใหญ่ว่า “วัดใหม่ท้องคุ้ง” สร้างเสร็จบริบูรณ์ในต้นรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาพลเทพจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง
ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเวฬุราชิน” ตามปฐมเหตุของการสร้างวัด แปลความหมายได้ว่าวัดซึ่งเกิดจากหนี้ภาษีไม้ไผ่ของพระราชา
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3043 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2557, 09:35:10 » |
|
พระยาพิชัยดาบหักผู้สร้างพระอุโบสถ ไม่ขอรับราชการต่อเมื่อเปลี่ยนแผ่นดิน ขอตายตามพระเจ้าตากสิน
|
|
|
|
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3048 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2557, 10:26:29 » |
|
ทำไมรัชกาลที่ 1 สั่ง"เผาศพ" พระเจ้าตาก ในปี พ.ศ.2327 ?
บรรดาพระมหากษัตริย์ของสยามเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระเจ้าตาก" มีการกล่าวถึงมากที่สุดพระองค์หนึ่ง
ใครจะคิดว่ากษัตริย์ที่ถูกรัฐประหาร ต้องโทษจนสิ้นพระชนม์ ราชธานีกรุงธนบุรี และพระราชวงศ์ที่มีอายุแค่ 14-15 ปี ไม่ได้มีเวลาสร้างรากฐานมั่นคง ยิ่งใหญ่ หรือเป็นที่ยำเกรงเท่าใดนัก จะเป็นที่สนใจของผู้คนและสังคมมากกว่า 200 ปี
นั่นเพราะอีกมุมหนึ่ง พระองค์คือกษัตริย์ผู้กอบกู้อิสรภาพของสยามจากพม่า
ปรามินทร์ เครือทอง ค้นหามาเล่าสู่กันฟังในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนสิงหาคม ในบทความที่ชื่อว่า "สงสัย รัชกาลที่ 1 รออะไรถึง 2 ปี ก่อนขุดหีบศพพระเจ้าตากมาเผา?"
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสำเร็จโทษพระเจ้าตากโดยตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วนำพระบรมศพไปฝังที่วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325
หลังจากนั้น 2 ปี (พ.ศ.2327) พระองค์มีพระราชดำรัสให้ "ขุดศพ" พระเจ้าตากขึ้นมาเผา อะไรคือเหตุผลในครั้งนั้น ปรามินทร์สงสัยและตั้งคำถามได้น่าสนใจ
1.เป็นการดำเนินการตามโบราณราชประเพณีหรือ? วัดโคกพระยา สถานที่สำเร็จโทษและฝังพระศพพระมหากษัตริย์และเจ้านายในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่ผ่านมาการปราบดาภิเษกในอดีตของสยามประเทศมีมาหลายต่อหลายครั้ง อดีตกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ด้วยการสำเร็จโทษหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เกือบทั้งหมดน่าจะยังคงฝังอยู่ที่ "วัดโคกพระยา" เท่าที่มีหลักฐานในพระราชพงศาวดารไม่เคยมีการขุดพระบรมศพขึ้นมาบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระเพลิง
หากยึดตามโบราณราชประเพณี จึงน่าสรุปได้ว่า "ไม่ขุด ไม่เผา ไม่ผิด"
2.เมื่อไม่มีพระราชประเพณีกำหนดไว้ก็ต้องถามว่า เช่นนั้นวัตถุประสงค์ในการนี้จึงมีคำตอบอยู่ระหว่าง "การเฉลิมพระเกียรติ" หรือ "การทอนพระเกียรติ"
ซึ่งข้อมูลที่ผู้เขียน (ปรามินทร์) อ้างอิงจากการค้นคว้าพระราชพงศาวดารต่างๆ ดังนี้
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน บันทึกว่า "ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานครฯ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ดำรัศให้ขุดหีบศพเจ้ากรุงธนบุรี ขึ้นตั้งไว้ ณ เมรุวัดบางยี่เรือไต้ ให้มีการมโหรสlพ แลพระราชทานพระสงฆบังสกุล เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงทั้งสองพระองค์"
ส่วนพระราชพงศาวดารอื่นๆ บันทึกตรงกันว่าให้ "ขุดหีบศพ" ขึ้นตั้งไว้ ณ เมรุวัดบางยี่เรือใต้ ระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจชำระและทรงพระนิพนธ์อธิบาย มีข้อความเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานพระบรมศพพระเจ้าตากคือ "ดำรัสให้ขุดศพเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นทำการฌาปนกิจ ที่เมรุวัดบางยี่เรือใต้"
จากคำที่ใช้ไม่ว่า หีบศพ, บังสุกุล, ขุดศพ, ฌาปนกิจ แสดงให้เห็นว่าไม่มีการพระราชทานพระโกศอย่างศพเจ้า ไม่มีการใช้ราชาศัพท์
งานที่จัดเป็นเพียง "การเผาศพ" มากกว่า "การส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย"
3.นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง "เงื่อนเวลา" เหตุใดต้องรอเวลาถึง 2 ปี จึงค่อยจัดงาน ปรามินทร์ตั้งสมมติฐานไว้ว่า
หนึ่ง คือหลังวันประหารพระเจ้าตาก 6 เมษายน ปี พ.ศ.2325 ทั้งปีเป็นช่วงเวลาการกวาดล้างบารมี, แบบแผน ฯลฯ ของกลุ่มการเมืองเก่าให้หมดจด หลังจากนั้น ยังต้องสถาปนาราชวงศ์ใหม่, แต่งตั้งขุนนาง, สร้างราชธานีใหม่, กำหนดระเบียบบ้านเมือง ฯลฯ เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มการเมืองเก่าหมดทางฟื้นคืน
ก่อนระยะเวลา 2 ปี จึงเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุสนับสนุนดังนี้
หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นแก่เจ้าฟ้าเหม็นหลานตาอันเป็นที่รัก พระราชโอรสของพระเจ้าตากกับเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ (พระราชธิดาของรัชกาลที่ 1) ในวัย 5 พรรษาเริ่มรู้ความ และช่างซักถาม(ทรงเป็น หลานตา องค์โตของรัชกาลที่ 1 ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี ในวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 จุลศักราช 1141 ตรงกับวันที่ 17 กันยายน 2322 เจ้าฟ้าเหม็นทรงเป็นกำพร้าพระมารดามาตั้งแต่ประสูติได้เพียง 12 วัน ต่อมาอีกเพียง 3 ปี ก็เกิดเหตุกับพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูก เจ้าคุณตา สำเร็จโทษพร้อมกับพระญาติอีกหลายพระองค์จนเกือบสิ้นวงศ์ เจ้าฟ้าเหม็นทรงพ้นชะตากรรมนี้มาได้ก็เพราะทรงเป็นหลานของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น จึงโปรดพระราชทานวังถนนหน้าพระลาน ด้านตะวันตก ติดกับท่าช้างวังหลวง คือ วังท่าพระ หรือ มหาวิทยาศิลปากรในปัจจุบัน เจ้าฟ้าเหม็นทรงเป็นหลานที่ใกล้ชิดกับรัชกาลที่ 1พอสมควร เช่น คราวชะลอพระศรีศากยมุนี มาจากสุโขทัย เจ้าฟ้าเหม็นได้โดยเสด็จเคียงข้างรัชกาลที่ 1 ด้วยขณะนั้นทรงประชวรอยู่ แต่ก็เสด็จออกในกระบวนแห่ชักพระพุทธรูปจากประตูท่าช้างมายังวัดสุทัศน์ รัชกาลที่ 1 ทรงเซและก้าวพลาด เจ้าฟ้าเหม็นทรงรับพระองค์ไว้ได้ ถึงอย่างนั้น เจ้าฟ้าเหม็นซึ่งดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนกษัตรานุชิต ก็ไม่ได้มีหน้าที่ทางราชการใดๆ กล่าวกันว่า รัชกาลที่ 1 ทรงดำริไม่ให้เจ้าฟ้าเหม็นเกี่ยวข้องกับงานราชการใด เพื่อเลี่ยงเหตุที่จะทำให้ได้รับโทษทัณฑ์ เพราะมีผู้ไม่พอพระราชหฤทัยที่ไม่ทรงประหารเจ้าฟ้าเหม็นที่เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าตากสินหลายคน ทั้งนี้ ไม่แน่ชัดว่าด้วยการใด รัชกาลที่ 1 ทรงเคยตรัสว่า ทรงรักษาราชบัลลังค์นี้ไว้ให้เจ้าฟ้าเหม็น ในความจริง แม้ว่าจะทรงเป็นหลานองค์โปรดของรัชกาลที่ 1 แต่ด้วยพระบารมีหรืออำนาจราชศักดิ์นั้น คงเปรียบไม่ได้กับกรมหลวงอิศรสุนทร พระราชโอรสองค์โตในรัชกาลที่ 1 ซึ่งทรงเป็นทั้งวังหน้า และโดยเสด็จในราชการสงครามอยู่หลายครั้ง และสิ่งที่เป็นชนักติดหลังที่ไม่มีทางลบได้คือทรงเป็น ลูกเจ้าตาก กล่าวกันว่า เมื่อใกล้สิ้นรัชกาล เจ้าฟ้าเหม็จทรงทวงราชบัลลังค์คืน) แต่ก็จัดงานศพให้แบบสามัญชนเท่านั้น
หนึ่งเพราะต้องการปิดฉาก "อดีต" ของกรุงธนบุรีให้หมดจด เพื่อการเริ่มต้นเมืองใหม่ที่ดี โดยพิจารณาได้จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ภายหลังงานฌาปนกิจพระเจ้าตากดังนี้
หลังจากการ "ฌาปนกิจ" พระบรมศพพระเจ้าตากในปี พ.ศ.2327 แล้ว ยังมีการยกยอดพระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ตามมาด้วยการอัญเชิญพระแก้วมรกตข้ามฟากมาประดิษฐานที่วัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวัง
ปี พ.ศ.2328 เมื่อการสร้างพระนครและพระราชวังใหม่เสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงโปรดให้มีพระราชพิธีปราบดาภิเษกใหม่ เป็นอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี, งานฉลองสมโภชพระนครและพระราชทานนามใหม่ว่า "กรุงเทพมหานครฯ"
ประเด็นข้างต้นนั้นเป็นเพียงเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ที่ต้องการชวนให้ท่านผู้อ่านช่วยกันตั้งคำถาม หาคำตอบจากประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ซึ่งไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่สามารถโต้แย้ง ถกเถียงได้
|
|
|
|
เริง2520
|
|
« ตอบ #3049 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2557, 10:40:29 » |
|
พระวิญญาณเสด็จ ณ วัดอินทาราม
จากหัวเรื่อง ทำไมต้องเขียน "พระวิญญาณเสด็จที่วัดอินทาราม" นั่นก็เพราะว่า ครั้งหนึ่งเคยมีผู้สัมผัสกับดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่นั่น วัดอินทารามมีความสำคัญอย่างไรกับพระองค์ท่าน ก็เพราะเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยเสด็จฯ มาทรงประกอบพระราชกุศลและปฏิบัติกรรมฐาน และที่นี่ยังเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชชนนี แม้เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สวรรคต ก็มีการนำพระศพของพระองค์มาฝังไว้ที่วัดอินทารามนี้ ภายในวัดยังมีโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ท่าน ขณะยังมีพระชนมชีพอยู่มากมาย เช่น พระราชอาสน์ที่พระองค์ประทับทรงศีล และเจริญกรรมฐาน พระแท่นบรรทม รวมไปถึงพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์และพระอัครมเหสี
ความเป็นมาของวัดอินทารามนี้ สมัยก่อนเล่ากันว่า มีอาณาบริเวณกว้างขวางใหญ่โตกว่าปัจจุบันมาก แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 20 กว่าไร่ วัดอินทารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนเทอดไทย แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ วัดนี้เป็นวัดโบราณมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า "วัดบางยี่เรือนอก" คู่กับ "วัดบางยี่เรือใน" คือวัดราชคฤห์ วัดอินทารามไม่ปรากฏว่าผู้ใดสร้างและสร้างมาแต่ครั้งใด ปรากฏอยู่ในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ร่วงโรยมาก และเป็นวัดเล็ก ต่อเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ทรงพบวัดนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงทรงมาบูรณะปฏิสังขรณ์ แล้วสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ วัดอินทารามในสมัยโบราณเรียกว่าวัดบางยี่เรือนอก เพราะเดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองธนบุรีตั้งอยู่ที่วัดคูหาสวรรค์ (วัดศาลาสี่หน้า) ในคลองบางกอกใหญ่ จากเมืองเก่าต้องถึงวัดราชคฤห์ก่อน จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดบางยี่เรือใน และถึงวัดจันทาราม ซึ่งอยู่ตรงกลาง จึงเรียกวัดบางยี่เรือกลาง แล้วจึงถึงวัดอินทาราม จึงเรียกวัดนี้ในอดีตว่าวัดบางยี่เรือนอก
บางยี่เรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นป่าสะแกทึบ แต่ฝั่งตรงข้ามเป็นที่ลุ่ม และมีกกขึ้นอยู่ในน้ำตื้นๆคล้ายป่าพรุ ถ้ามีเรือล่องมาในลำคลองจะต้องอ้อมคุ้งมองเห็นได้ชัด จึงเหมาะเป็นชัยภูมิ ซุ่มยิงได้ดี จึงเรียกว่า "บังยิงเรือ" ต่อมาได้เพี้ยนเป็นบางยี่เรือ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงปราบดาภิเษกแล้ว ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทาราม และทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชชนนี ในวันพฤหัสบดี แรม 5 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2318 ซึ่งเป็นงานใหญ่โต มีการละเล่นมหรสพต่างๆ จำนวน 522 โรง แสดงประมาณ 29 วัน
มาในยุคปัจจุบัน วัดอินทารามเป็นวัดที่เคยปรากฏเรื่องเล่าถึงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งชาวฝั่งธนบุรีเชื่อว่าดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่านยังสถิตอยู่ ณ วิหารน้อย วัดอินทาราม เพื่อคอยปกปักรักษาลูกหลานไทย และทุกปีในวันที่ 28 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันตากสินมหาราช ชาวฝั่งธนบุรีจะประกอบพิธีบวงสรวงที่วิหารน้อยอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงตรากตรำทำสงครามเพื่อคนไทยมาตลอดชีวิตของพระองค์
|
|
|
|
|