23 พฤศจิกายน 2567, 01:50:24
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 103 104 [105] 106 107 ... 131   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยว  (อ่าน 921360 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 34 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2600 เมื่อ: 15 มกราคม 2557, 22:13:40 »



เรื่องเล่าของอาม่า ตำนานที่มา...ตระกูล "เจียรวนนท์"

"อาม่า" ที่อ้างถึงมีชื่อไทยว่า "คุณแม่เจียร เจียรวนนท์"หรือที่หมู่ญาติคนใกล้ชิดเรียกติดปากว่า "โซ้ยซิ้ม" มีอายุยืนยาวถึง 107 ปี ก่อนจะเสียชีวิตไปไม่กี่เดือนมานี้
คุณแม่เจียร เป็นภรรยาของ "เจี่ย เซี่ยวฮุย" น้องชาย 1 ใน 5 พี่น้องตระกูลเจี่ย (เจียรวนนท์) และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจียไต๋และเครือเจริญโภคภัณฑ์ "อาม่า" จึงถือเป็นหนึ่งในบรรพชนรุ่นบุกเบิก และวางรากฐานของตระกูลเจียรวนนท์

"เชิดชัย เจียรวนนท์" บอกเล่าถึงอาม่าว่า "ท่านเป็นกำพร้าตั้งแต่เล็ก เป็นคนไม่ค่อยบ่นอะไร ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง พอได้เห็นความสำเร็จของลูก ๆ หลาน ๆ ก็ปลื้มใจ"

ขณะที่ "ทัศนีย์ พุ่งกุมาร" ลูกสาวของอาม่าเล่าว่า "ตอนนั้นที่อยู่ช่วยกันในเจียไต๋ส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัวด้วยกันกลางคืนก็มาช่วยกันใส่ซองเมล็ดพันธุ์ผัก เด็ก ๆ นั่งรวมกลุ่มกัน ผู้ใหญ่ก็รวมกลุ่มกันด้วย อาม่าตัดซองเมล็ดพันธุ์ผัก อาม่ากิมกี่ คุณแม่ธนินท์ อาอี๊น้องสาวคุณแม่ธนินท์ก็ทำกัน คุณหญิงเอื้อปรานีตอนนั้นก็มาแล้ว มาช่วยกันตักเมล็ดพันธุ์ผักใส่ซองแล้วก็ปิดซอง ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เฮฮาสนุกสนานกันมาก ทำงานเสร็จ 4-5 ทุ่มก็ต้มข้าวมากินกัน บางคืนทำกันเป็นหมื่น ๆ ซองก็มี ช่วงไหนขายดีทำไม่ทัน ตื่นเช้าขึ้นมากินข้าวเสร็จแล้วก็ต้องรีบทำต่อตั้งแต่เช้าจนค่ำ กว่าจะได้เงินยากมาก ๆ..."

หนังสือบอกเล่าถึงอาม่าว่า แม้ไม่ได้มีบทบาทในเรื่องธุรกิจเป็นหลัก แต่คอยหนุนหลังดูแลครอบครัวอยู่ตลอด เพื่อให้ผู้นำครอบครัวทุ่มเทให้กับการสร้างฐานะอย่างเต็มที่เพื่อให้มั่นคงยิ่งขึ้น อาม่าคอยให้ความมั่นใจว่ามีอาหารการกินครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง สมาชิกในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขทั่วถึงกัน การครองเรือนในครอบครัวใหญ่ที่อยู่ด้วยกันหลายครอบครัวอย่างอยู่เย็นเป็นสุขอาจไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกครอบครัวมีบางเฉพาะครอบครัวเท่านั้นที่สามารถผ่านมาถึงเส้นชัยนี้ได้สำหรับ "โซ้ยซิ้ม" หรืออาม่า เคล็ดลับของการครองเรือนที่ว่านี้คือ เรื่องน้ำจิตน้ำใจที่กว้างขวางอันเป็นปกติวิสัยของอาม่านั่นเอง

ในหนังสือนอกจากจะให้ภาพเรื่องราวของอาม่าตั้งแต่บ้านเกิดที่ซัวเถาอพยพตามสามี"เจี่ย เซี่ยวฮุย" มาอยู่เมืองไทยย่านถนนทรงวาด กระทั่งมีลูกมีหลานเติบโตแยกย้ายโดยมีอาม่าเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำและตำนานแห่งความสำเร็จของตระกูลแล้วสิ่งที่ได้เห็นอีกภาพก็คือวิถีชีวิตที่เป็นแบบอย่างของคนรุ่นบุกเบิกที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสมาชิกตระกูลเจียรวนนท์

บางส่วนบางตอนในหนังสือเล่าถึงกิจการแรกเริ่มร้านเจียไต้(ปัจจุบันคือเจียไต๋) จึงของสองพี่น้องตระกูลเจี่ย (เจี่ย เอ็กซอ และเจี่ย เซี่ยวฮุย) ที่ตั้งขึ้นในปี 2464 เริ่มจากห้องแถวเรือนไม้สองชั้นบนถนนทรงสวัสดิ์ ย่านทรงวาด เป็นที่ขอเช่าจากวัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ซึ่งใช้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและเปิดเป็นร้านค้าขายเมล็ดพันธุ์ผัก จึงนับเป็นรายแรก ๆ ที่บุกเบิกการค้าเมล็ดพันธุ์ผักของเมืองไทย

เมื่อกิจการเข้าที่เข้าทางมากขึ้น เจี่ย เซี่ยวฮุย เดินทางกลับไปรับภรรยา (อาม่า) จากเมืองจีนมาอยู่ด้วยกัน ขณะนั้นเป็นสมัยรัชกาลที่ 6 ในหมู่คนจีนย่านสำเพ็ง เยาวราช เวลานั้นมีค่านิยมใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ว่าชายหรือหญิงนิยมใส่เสื้อผ้าแบบจีน เสื้อกุยเฮงผ้าป่าน กางเกงแพรปังลิ้น การสื่อสารก็ใช้แต่ภาษาจีน

เยาวราชนับเป็นแหล่งค้าขายที่คึกคักของกรุงเทพฯ สองฟากถนนเรียงรายไปด้วยร้านขายสินค้านานาชนิด โดยมากเป็นร้านของชำ ถัดเข้ามาตามตรอกซอยจึงเป็นร้านขายอาหาร ขณะที่สำเพ็งเป็นย่านเก่าแก่ที่สุด เป็นเมืองหลวงชุมชนชาวจีนเมื่อแรกโยกย้ายมาในสยาม จึงเป็นแหล่งเลียนแบบถนนพาณิชย์ในซัวเถา ส่วนถนนทรงวาดจะเป็นแหล่งค้าส่งเสียเป็นส่วนใหญ่

คนจีนแต้จิ๋วนั้น ได้ชื่อว่ามีความอุตสาหะที่จะทำธุรกิจด้วยทุนรอนแม้เล็กน้อยที่สุด ดังนั้นกลุ่มคนจีนในย่านนี้จึงมีทุนจำกัด แต่รู้หลักค้าขายอย่างเฉลียวฉลาด และรู้จักเก็บออมเงินทุน

ในยุคแรกเจียไต้มีสมาชิกอาศัยอยู่ด้วยกัน 2 ครอบครัว คือ ครอบครัวเจี่ย เอ็กซอ และเซี่ยวฮุย ลูกจ้างมีเพียงไม่กี่คน ส่วนใหญ่เป็นญาติ ๆ มาช่วยกันทำ ตกกลางคืนเสร็จงานก็กางเตียงนอน

เจี่ย เอ็กซอ ผู้พี่ต้องขึ้นล่องไปติดต่อซื้อหาเมล็ดพันธุ์จากเมืองจีน และหาลู่ทางเปิดตลาดใหม่ ๆ ในต่างประเทศ ดังนั้นจึงใช้ชีวิตในเมืองจีนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเซี่ยวฮุย คนน้องควบคุมดูแลงานขายหน้าร้าน หาช่องทางค้าขายและขยายกิจการในเมืองไทย รวมทั้งเป็นหลักในการดูแลสมาชิกของสองครอบครัว และบริหารคนงานในร้านทั้งหมด

อาม่าได้ช่วยดูแลครอบครัว รับภาระหุงหาอาหารเลี้ยงดูกินอยู่แบบกงสี กับข้าวที่เป็นอาหารประจำโต๊ะแทบจะขาดไม่ได้เลยสักมื้อก็คือผัดผัก ไม่ว่าผักกวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาว โดยเฉพาะผักกาดขาวและคะน้า ซึ่งเป็นผักที่สร้างชื่อให้กับเจียไต้ กิจการของเจียไต้จึงก้าวหน้าไปได้ดี ครอบครัวก็ขยายเป็นครอบครัวใหญ่ขึ้น จึงมาขอเช่าตึกแถวที่อยู่ฝั่งตรงข้ามเพิ่มขึ้นอีก 2 ห้อง และภายหลังต่อมาได้เช่าเพิ่มอีก 1 ห้อง รวมเป็น 3 ห้องติดกัน ซึ่งก็คืออาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 3 คูหา ใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท เจียไต๋ จำกัด มาจนถึงปัจจุบัน




ความเป็นอยู่ของครอบครัวในตอนนั้น ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน เด็ก ๆ ลูกหลานในบ้านตอนเช้าพากันเดินไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนเผยอิง เมื่อกลับจากโรงเรียน ทำการบ้านเสร็จทุก ๆ วันราว 1 ทุ่ม หลังกินข้าวเย็นแล้วลูกจ้างจะเก็บโต๊ะอาหารพิงฝาไว้แล้วปูเสื่อตรงกลาง ช่วงเวลานี้สมาชิกทั้งหมดจะมาพร้อมหน้ากันนั่งล้อมเป็นวงใหญ่ ลงมือช่วยกันบรรจุเมล็ดพันธุ์ลงซองอย่างขะมักเขม้น

การจ่ายค่าแรงในการบรรจุซองเมล็ดพันธุ์ คนตัดกระดาษซองได้ 1 บาทต่อ 1,000 ซอง คนบรรจุเมล็ดพันธุ์ลงซองได้ 2.50 บาทต่อ 1,000 ซอง อาม่าทำหน้าที่ตัดเป็นหลักเพราะตัดเร็วและเรียบร้อยสวยงาม บางคราวรีบเร่งก็ต้องทำกันเป็นหมื่น ๆ ซอง ส่วนใหญ่แต่ละคืนที่นั่งทำกันมักจะได้คืนละ 8 บาท เป็นรายได้ดีทีเดียว เพราะในยุคนั้นก๋วยเตี๋ยวขายกันชามละ 50 สตางค์ ปลาทูเข่งละ 25 สตางค์ และข้าราชการส่วนใหญ่ยังรับเงินไม่ถึง 1,000 บาทต่อเดือน นับเป็นกงสีใหญ่ที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบทีเดียว

ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ผักของเจียไต้เมื่อเริ่มแรกใช้เครื่องหมายการค้า"ตราเรือบิน"ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ "ตราเครื่องบิน" โดยเจี่ย เซี่ยวฮุย บอกกับลูกหลานว่า เครื่องบินเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าล้ำยุคที่สุดในช่วงเวลานั้น บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์และสินค้าของเจียไต๋มีคุณภาพและทันสมัย

มีเรื่องเล่าในหมู่ญาติใกล้ชิดว่า ความสามารถที่โดดเด่นของครอบครัวตระกูลเจี่ยในการคัดสรรและเพาะพันธุ์เมล็ดพืชนั้นมาจากฝ่ายย่าทวดในตระกูลหรือเหล่าม่าเพราะมีใจรักในการเพาะปลูกชอบปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็งอกงาม ผลิดอกออกผลอย่างดี ซึ่งพืชพันธุ์ที่เหล่าม่าชอบปลูกมากที่สุดคือ "เก๊กฮวย" ไม้ดอกพื้นบ้านทั่วไปในเมืองจีนนั่นเอง นิสัยนี้ได้ตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเจี่ย เอ็กซอ บรรพบุรุษต้นตระกูลเจียรวนนท์ ที่ได้รับพรสวรรค์นี้มา ค้นพบวิธีปลูกเก๊กฮวยให้ออกดอกนอกฤดูได้สำเร็จ

เหล่าม่าเป็นคนโอบอ้อมอารี และขึ้นชื่อในเรื่องใจบุญสุนทาน ด้วยอุปนิสัยใจคอเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เช่นนี้เหล่าม่าจึงเป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหมู่บ้าน อาม่าเคยอยู่ด้วยกันกับเหล่าม่าที่เมืองจีนมาก่อน จึงได้ซึมซับรับเอาคุณงามความดีหลายต่อหลายอย่างของเหล่าม่าไว้ แล้วถ่ายทอดมาสู่คนรุ่นหลัง

"อาม่า" จึงเป็นสตรีเบื้องหลังความสำเร็จคนหนึ่งของตระกูลเจียรวนนท์ เพราะจนปัจจุบันใครจะเชื่อว่า "ห้างเจียไต้จึง" ที่ขายเพียงเมล็ดพันธุ์ผัก ได้พัฒนาและกลายมาเป็น "บริษัทเจียไต๋"และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ทั้งผลิตและจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีเครือข่ายสาขากระจายอยู่และรู้จักกันไปทั่วโลก
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2601 เมื่อ: 16 มกราคม 2557, 20:52:14 »

ที่มาของหนังสือ " เรื่องเล่าของอาม่า "

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีเหตุให้คนในตระกูลเจียรวนนท์ทั้งหลายไปรวมกันพร้อมหน้าพร้อมตาที่สุสานประจำตระกูลสุสานบ้านบึง จังหวัดชลบุรี หลังจากที่มีพิธีย้ายสุสานจากที่เก่าคือจังหวัดราชบุรีมาอยู่ที่ใหม่จังหวัดชลบุรี

จุดเริ่มต้นตรงนี้ทำให้หลายๆท่านได้รับแจกหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้เผยแพร่ บอกเล่าความเป็นมาของตระกูลเจียรวนนท์ คือหนังสือ "เรื่องเล่าของอาม่า" เป็นเรื่องเล่าขานก่อนที่คนในตระกูลเจียรวนนท์จะก่อร่างสร้างตัวที่เมืองสยาม รวมทั้งเบื้องหลังความสำเร็จของคนในตระกูล ก่อนจะแตกเหล่าแตกกอออกไปทำธุรกิจด้านต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่ "สำคัญ" ในปัจจุบัน
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2602 เมื่อ: 16 มกราคม 2557, 21:50:21 »

น้องเริง



เอาเรื่อง "เล่าเรื่องอาม่า" นี้มาเล่าต่อน่ะ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2603 เมื่อ: 17 มกราคม 2557, 16:32:07 »

เรื่องนี้จาก มติชน จบเพียงเท่านี้ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2604 เมื่อ: 19 มกราคม 2557, 10:16:41 »

ไม่ได้หนังสือของเขามาหรือ ??

อาม่าคนนี้ พี่ได้ยินข่าวร่ำลือมานานแล้วว่า ใจดีมาก ก ก
ลูกหลานที่โตแล้วและทำงานได้จะนำซองใส่เงินไปมอบให้ พร้อมกับพาออกไปทานสุกี้ (อาหารโปรดของอาม่า)
อาม่าจะไม่ขัดลูกๆ หลานๆ และเหลนเลย พร้อมจะออกไปกับทุกคน
ที่สำคัญ เมื่อมีงานมงคลของลูก หลาน เหลน อาม่าจะใส่ซองคืนให้เป็นทวีคูณ
นับเป็นยอดอาม่าคนหนึ่งของแผ่นดินนี้ทีเดียว
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2605 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 09:18:08 »

ไปเมืองเหนือ

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2606 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 09:20:41 »

บ่อสร้าง







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2607 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 09:33:13 »

น้ำพุร้อน




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2608 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 09:43:34 »

ไปเวียงกุมกาม

เวียงกุมกาม (คำเมือง: LN-Wiang Kumkam.png) เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร

หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่าง และมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ เวียงกุมกาม แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหาย คือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่ และ เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา


เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยช่วงเวลานี้อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 - 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมากและสมควรที่จะบันทึกไว้ แต่ก็ไม่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ใดเลย ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา สภาพวัดต่างๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม

ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า อีกหนึ่งสมมติฐานที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้างนั้นอาจเป็นได้ว่าเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าทำให้ผู้คนหลบหนีออกจากเมืองไปก็เป็นได้

ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง





      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2609 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 09:50:35 »







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2610 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 10:02:03 »







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2611 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 14:44:22 »







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2612 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 14:56:31 »

ปูนปั้นต่างๆที่มีให้เห็น














      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2613 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 15:14:05 »

วัดอีก้าง (วัดอีค่าง) ที่เรียกว่าวัดอีค่างหรืออีก้างนั้นเพราะเดิมบริเวณวัดเป็นป่ารกร้างและมีฝูงลิงฝูงค่างใช้ซากวัดแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งค่างในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “อีก้าง” โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน วิหารมีขนาดใหญ่ 20 × 13.50 เมตร เจดีย์เป็นแบบองค์ระฆังทรงกลม







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2614 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 15:27:53 »

วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) แต่เดิมวัดนี้ชื่อวัดกู่คำ กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึง ทองคำ พญามังรายโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดคือ องค์พระเจดีย์ประธานรูปทรงมณฑปปลด 5 ชั้น วัดนี้มีความโดดเด่นคือ เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง และมีรูปแบบเจดีย์ที่แสดงถึงอิทธิพลรูปแบบของรัฐหริภุญไชย โดยที่พญามังรายโปรดให้เอามาก่อสร้างไว้ในเวียงกุมกามระยะแรกๆ








      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2615 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 19:57:48 »

ถนนเดินเล่น













      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2616 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 20:29:02 »

มีเที่ยวต่อที่โครงการหลวงหนองหอย..ครับ.


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2617 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 21:05:56 »

น้องเริง


ตามชมอยู่
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #2618 เมื่อ: 22 มกราคม 2557, 21:55:57 »

น่าชื่นชมครอบครัวทำมาหากินจริงค่ะ
อ่านแล้วชื่นใจแท้


อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 17 มกราคม 2557, 16:32:07
เรื่องนี้จาก มติชน จบเพียงเท่านี้ครับ
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2619 เมื่อ: 23 มกราคม 2557, 19:47:38 »

ไป "ม่อนแจ่ม"ที่โครงการหลวงแห่งเดียว

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2620 เมื่อ: 23 มกราคม 2557, 19:52:53 »

ตามเส้นทาง










      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2621 เมื่อ: 23 มกราคม 2557, 20:06:16 »




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2622 เมื่อ: 23 มกราคม 2557, 20:11:27 »










      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2623 เมื่อ: 23 มกราคม 2557, 20:20:16 »













      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2624 เมื่อ: 23 มกราคม 2557, 21:03:51 »

ก่่ลับมาแวะทีนี่...มีกาแฟอุ่นๆ







      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 103 104 [105] 106 107 ... 131   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><