25 พฤศจิกายน 2567, 20:50:06
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: แจกมอบหนังสือพระวินัยสำหรับพระใหม่  (อ่าน 20295 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เพื่อนเดียว-69
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu69
กระทู้: 152

« เมื่อ: 09 มีนาคม 2555, 15:38:22 »

หนังสือที่จะมอบนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจ รู้จักพระวินัย รู้จักพระ รู้จักอลัชชี
เป็นหนังสือปกแข็ง 328 หน้า กระอาร์ตทั้งเล่ม หนาประมาณ 1 นิ้ว นำหนัก 1.1 กก.

             

เพียงให้ชื่อ-ที่อยู่ ของวัด ขององค์กร ของชมรม หรือของห้องสมุด (อย่างนัอยระดับมัธยม) ที่ท่านคุ้นเคย
ข้าพเจ้าจะจัดส่งให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ( มีประมาณ 50 เล่ม )
อาจมี CD ธรรมะอื่นๆ ส่งให้ด้วย

             

ส่วนผู้ต้องการเป็นส่วนตัว
ขอความกรุณาให้ Dowload เอาจาก Link นี้ http://goo.gl/4NoUG
      บันทึกการเข้า

หน้าที่ของมนุษย์ คือการศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม เพื่อยอมรับธรรม

ธรรม คือธรรมชาติของรูปนาม
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #1 เมื่อ: 09 มีนาคม 2555, 19:35:58 »

สาธุ ครับท่าน เพื่อนเดียว 69
      บันทึกการเข้า
เพื่อนเดียว-69
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu69
กระทู้: 152

« ตอบ #2 เมื่อ: 12 มีนาคม 2555, 22:18:06 »

พระสุทินน์ ต้นเหตุให้ทรงห้ามสพเมถุน



กิริยาที่เสพในทวารเบาก็ดี ในทวารหนักก็ดี ในปากก็ดี ของมนุษย์ผู้เป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม เป็นพันทาง (สองเพศ) ก็ตาม
หรือของสัตว์จำพวกอมนุษย์ ซึ่งจะเป็นยักษ์ เป็นเปรต หรือเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ที่เป็นตัวเมียก็ตาม เป็นตัวผู้ก็ตาม เป็นพันทางก็ตาม นี้ชื่อว่า เสพเมถุน

ภิกษุเสพเมถุนในทวารเช่นนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ไม่สำเร็จกิจแต่หากองค์กำเนิดได้เข้าไปสักเล็กน้อย เพียงชั่วเมล็ดงาหนึ่ง ... ก็ต้องปาราชิก
หรือแม้ภิกษุให้ต่อมหรือปมที่งอกขึ้นในองค์กำเนิดแห่งตน แต่มีกายประสาทยังไม่ตาย ยังรู้สัมผัสอยู่ ... ครั้นจิตคิดว่า จะเสพมีอยู่ ก็เป็นปาราชิก



ต้นเหตุ

มีบุตรชาวบ้านกลันทะผู้หนึ่ง ชื่อสุทินน์ เป็นบุตรเศรษฐี ขออนุญาตมารดาบิดาเพื่อออกบวชเป็นบรรพชิตถึงสามครั้ง แต่มารดาบิดาก็ไม่อนุญาต ....
พระสุทินน์อุปสมบทแล้วไม่นาน ในเช้าวันหนึ่ง....
ท่านพระสุทินน์จึงตกลงใจและทำการแห่งคนคู่ให้ในขณะที่ภรรยาเก่ามีระดู...

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม จากหนังสือ "ปาฏิโมกขสังวรศีล" หน้า 12
หากขัดข้อง ไม่สามารถดาวโหลดได้กรุณาติดต่ดทาง email ไปยัง narataro@hotmail.com
      บันทึกการเข้า

หน้าที่ของมนุษย์ คือการศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม เพื่อยอมรับธรรม

ธรรม คือธรรมชาติของรูปนาม
เพื่อนเดียว-69
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu69
กระทู้: 152

« ตอบ #3 เมื่อ: 14 มีนาคม 2555, 18:17:21 »

บาตรของพระพระพุทธเจ้า
(รายละเอียดจากหนังสือ "ปาฏิโมกขสังวรศีล" หน้า 87)



บาตรที่ทรงอนุญาตมี ๒ ประเภท คือ บาตรดินเผา (สุมดำสนิท) และบาตรเหล็ก
ไม่ให้ใช้ของอื่นแทนบาตร เช่น กะทะดิน กะโหลกน้ำเต้า กะโหลกหัวผี

บาตรระบุชื่อไม่ให้ใช้ไว้ในบาลีมี ๑๑ ประเภท คือบาตรทอง บาตรเงิน บาตรแก้วมณี บาตรแก้วไพฑูรย์ บาตรแก้วผลึก บาตรแก้วหุง บาตรทองแดง บาตรทองเหลือง บาตรดีบุก บาตรสังกะสี บาตรไม้

ในพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า บาตรของพระศาสดาเป็นศิลา
ซึ่งไม่ได้ออกชื่อไว้ในประเภทบาตรที่ทรงห้ามหรือที่ทรงอนุญาต

และมีเนื้อหากล่าวถึง
ขนาดของบาตร และการรักษาบาตร เช่น ไม่ให้วางบาตรชิดขอบ ไม่ให้วางบาตรบนของแข็ง เช่น ปูน หรือไม้ แต่จะวางบนผ้า เป็นต้นก่อนก็ได้



Download "ปาฏิโมกขสังวรศีล" เอาจาก http://goo.gl/4NoUG  (PDF - 21.9 Mb)
หากขัดข้อง ไม่สามารถดาวโหลดได้กรุณาติดต่ดทาง email ไปยัง narataro@hotmail.com

      บันทึกการเข้า

หน้าที่ของมนุษย์ คือการศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม เพื่อยอมรับธรรม

ธรรม คือธรรมชาติของรูปนาม
เพื่อนเดียว-69
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu69
กระทู้: 152

« ตอบ #4 เมื่อ: 15 มีนาคม 2555, 15:19:22 »

ภิกษุไม่พึงจับต้องมารดา เว้นแต่...



(ข้อมูลจากหนังสือ "ปาฏิโมกขสังวรศีล" หน้า 240)

ภิกษุจับต้องมารดา เป็นต้น ด้วยถือว่าเป็นมารดา พี่น้อง หรือน้องหญิง เป็นทุกกฏ
ถ้าแม้เห็นมารดาตกน้ำลอยไปตามกระแส อย่าพึงถูกต้องด้วยมือเลย

ภิกษุผู้ฉลาดพึงเอาเรือหรือกระดาน ท่อนกล้วยหรือท่อนไม้ทิ้งไป เมื่อของนั้นไม่มี แม้ผ้าจีวรก็พึงวางทิ้งลงข้างหน้าเถิด
แต่อย่าบอกให้จับเอา ครั้นมารดาจับผ้าเข้าเอง ก็พึงนำมาด้วยคิดว่า เรารั้งบริขารของเรา

ถ้ามารดากลัว ก็พึงว่ายไปข้างหน้าปลอบว่าอย่ากลัวเลย
ถ้ามารดาขึ้นคอหรือยึดเอามือเข้าไซร้ ก็อย่าพึงสลัดเสีย พึงส่งให้ถึงบก



แม้มารดาติดโคลนและตกลงอยู่ในบ่อก็เหมือนกัน พึงเอาเชือกหรือผ้าทิ้งลงไปในที่นั้น
รู้ว่ามารดาจับเอาแล้วพึงรั้งขึ้นมา แต่อย่าถูกต้อง

อนึ่ง ภิกษุจับต้องตุ๊กตาไม้อันเป็นรูปมาตุคาม เป็นทุกกฏ

Download "ปาฏิโมกขสังวรศีล" เอาจาก http://goo.gl/4NoUG  (PDF - 21.9 Mb)
หากขัดข้อง ไม่สามารถดาวโหลดได้กรุณาติดต่ดทาง email ไปยัง narataro@hotmail.com

      บันทึกการเข้า

หน้าที่ของมนุษย์ คือการศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม เพื่อยอมรับธรรม

ธรรม คือธรรมชาติของรูปนาม
เพื่อนเดียว-69
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu69
กระทู้: 152

« ตอบ #5 เมื่อ: 22 มีนาคม 2555, 10:12:00 »

(ข้อมูลจากหนังสือ "ปาฏิโมกขสังวรศีล" หน้า 59)


ไตรจีวร ประกอบด้วย

   ๑. สังฆาฏิ เป็นผ้ามี ๒ ชั้นสำหรับใช้ห่มกันหนาวหรือซ้อนนอก
   ๒. อุตตราสงค์ (จีวร) เป็นผ้าห่ม
   ๓. อันตรวาสก (สบง) เป็นผ้านุ่ง

ในบาลีกล่าวไว้ว่า สังฆาฏิใช้ซ้อนกับอุตตราสงค์ห่มเข้าบ้าน ห้ามมีแต่ผ้านุ่งกับผ้าห่มเข้าบ้าน

เว้นไว้แต่ภิกษุมีอาการเจ็บไข้ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ เก็บผ้าในกุฎีที่คุ้มได้ด้วยดาล หรือภิกษุได้กรานกฐิน

เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ ภิกษุจะไม่ห่มสังฆาฏิไปด้วยได้อยู่

หรือจะห่มสังฆาฏิไป เอาอุตตราสงค์ไว้เสียก็ได้เหมือนกัน
      บันทึกการเข้า

หน้าที่ของมนุษย์ คือการศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม เพื่อยอมรับธรรม

ธรรม คือธรรมชาติของรูปนาม
เพื่อนเดียว-69
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu69
กระทู้: 152

« ตอบ #6 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2555, 12:20:36 »

ภิกษุไม่พึงไว้ผมยาว (คัดย่อจากหนังสือ "ปาฏิโมกขสังวรศีล" หน้า 226 )

เมื่อถึงกำหนด ๒ เดือน แม้ผมยังยาวไม่ถึง ๒ นิ้ว ก็พึงปลงเสีย หรือยังไม่ทันถึง ๒ เดือน แต่ผมยาวถึง ๒ นิ้วแล้ว ก็พึงปลงเสียเหมือนกัน และไม่ให้หวีผมด้วยหวีหรือด้วยแปรง ไม่ให้เสยผมด้วยนิ้วมือโดยอาการว่าหวี หวีเพื่อจะแต่งตัว ต้องอาบัติทุกกฏในที่ทั้งปวง ก็แลผมปลายชันขึ้นข้างบน พึงชุบมือให้ชุ่มแล้วลูบศีรษะเพื่อจะให้ตกตามกันเถิด



Download "ปาฏิโมกขสังวรศีล" เอาจาก http://goo.gl/eYvRf  (PDF - 14.7 Mb)
หากขัดข้อง ไม่สามารถดาวโหลดได้กรุณาติดต่ดทาง email ไปยัง narataro@hotmail.com

      บันทึกการเข้า

หน้าที่ของมนุษย์ คือการศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม เพื่อยอมรับธรรม

ธรรม คือธรรมชาติของรูปนาม
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><