25 พฤศจิกายน 2567, 03:20:35
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: โด่ง-พรชัย ป่วยอยู่โรงพยาบาลพระรามเก้า  (อ่าน 36151 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #25 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2555, 06:25:11 »

อูววว...
ดูแล้วน่ากลัวจังคะ
ทั้งตอนใส่สี,ทำบัลลูน
ใส่สเตนท์ด้วยป่าวคะ?

หนิงขอไปแอบก่อน!
จะเป็นลมแล้วเนี่ย.

พี่โด่งช่างอึดดีแท้คะวันนั้น..
ขอปรบมือ.



<a href="http://www.youtube.com/v/zFDehIRYvW4?version=3&amp;amp;hl=de_DE" target="_blank">http://www.youtube.com/v/zFDehIRYvW4?version=3&amp;amp;hl=de_DE</a>

http://youtu.be/zFDehIRYvW4
      บันทึกการเข้า


pornchaiketlek
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 134

« ตอบ #26 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2555, 15:04:43 »

 

                    น้องหนุงหนิง

            ดูวิดิโอแล้ว ใช่เลย การทำบอลลูนเดี๋ยวนี้ดูทำง่ายๆไม่อันตราย หมอมีความชำนาญ ที่ลำบากคือแพงๆๆ

            ขอบคูณมากน้องหนิง
      บันทึกการเข้า
ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #27 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2555, 16:03:50 »

ท่าเพื่อนโด่ง คงสุขภาพกลับมาเต็ม 100 ล่ะน่ะ
เอาใจช่วยอย่างต่อเนื่อง
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #28 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2555, 19:57:47 »

          สวัสดีจ๊ะทราย มือคงหายเป็นเกือบปกติล่ะน่ะ

          สวัสดีจ๊ะโด่ง เล่ามาละเอียดอย่างนี้เพื่อนเข้ามาอ่านทีหลังจะได้คลายกังวล

         ยังงัย น้องหนิง หารูปสวยสวยเช่นสระว่ายน้ำindoor outdoorเผื่อพี่โด่งอยากไป

         ว่ายน้ำออกกำลังกายประจำ   
      บันทึกการเข้า

ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #29 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2555, 20:10:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ Dtoy16 เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2555, 19:57:47
          สวัสดีจ๊ะทราย มือคงหายเป็นเกือบปกติล่ะน่ะ
          สวัสดีจ๊ะโด่ง เล่ามาละเอียดอย่างนี้เพื่อนเข้ามาอ่านทีหลังจะได้คลายกังวล
         ยังงัย น้องหนิง หารูปสวยสวยเช่นสระว่ายน้ำindoor outdoorเผื่อพี่โด่งอยากไป
         ว่ายน้ำออกกำลังกายประจำ   
สวัสดีจ๊ะต้อย
ยังอีกนานนนน ... กว่ามือจะกลับมาทำงานได้
ทำใจได้แล้วจ๊ะ
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2555, 23:43:35 »

      
       อย่างที่วณิชย์บอกไว้เลยค่ะว่า " ... อย่างน้อยกรณีของ ซีมะ"โด่ง" ที่ไปทำบอลลูนมา ก็เป็นอุทาหรณ์ เพื่อเตือนให้เพื่อนๆ ได้ระมัดระวังในเรื่องของสุขภาพ การทานอาหาร การออกกำลังกาย และสุขภาพจิตในการทำงาน  อย่าเคร่งเครียดมากนัก "  พวกเราก็เลยเป็นเหมือน followers ของโด่ง ใน Twitter ยังไง ยังงั้น ...

      ตอนที่ขออนุญาตเจ้าตัว เพื่อบอกข่าวให้เพื่อนๆ 16 ทราบในห้องรุ่น 2516  เจ้าตัวบอกว่า " แล้วแต่เห็นสมควร "  และฝากขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยม และเยี่ยมในกระทู้ด้วย ...

From: porn_ket@hotmail.com
To: r_nantika@hotmail.com
Subject: RE: รูปที่ไปเยี่ยมโด่ง
Date: Fri, 17 Feb 2012 14:11:06 +0700

      เจี๊ยบ  ขอบคุณที่ลงเรื่องราวของผมในเว็บ ผมก็เกรงว่าจะเอิกเกริกไปเปล่าๆ  แต่ก็ฝากขอบคุณทุกๆ ท่านที่ห่วงใย ทั้งมาเยี่ยม และเยี่ยมผ่านเว็บ  ทุกวันนี้ก็ถือว่าอาการเป็นปกติแล้ว  ผมจะพักฟื้นที่บ้านสักสี่ห้าวัน และออกกำลังกายเบา เพื่อวอร์มร่างกายให้เข้าที่ด้วยการเดินๆ ๆ ๆ ๆ

ขอบคุณเจี๊ยบอีกครั้งที่เป็นธุระให้อย่างดี


     แต่การทำบอลลูนไปแล้ว ก็ใช่ว่าจะหายเป็นปกติ เหมือนปลิดทิ้งนะคะ  เพราะเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ก.พ. โด่งโทร. มาเล่าว่า วันนี้เกิดรู้สึกแน่นหน้าอกขึ้นมาอีก

" อ้าว !  ต๊าย !  งั้นที่ทำบอลลูนไปแล้ว ก็ยังไว้วางใจไม่ได้สิคะ  แล้วนี่ต้องรีบไปหาหมอรึเปล่า ?  เผื่อเป็นอาการฉุกเฉินที่รอช้าไม่ได้ "
" พรุ่งนี้ค่อยไปหาหมอ " ทำไมคนไข้ใจเย็นแท้ ...
" แล้วถ้าหมอบอกให้ทำบอลลูนเพิ่มอีกล่ะ  ไม่สนุกเลยอ่ะ  แล้วถ้าทำหลายๆ อัน  โด่งก็อาจจะ " ตัวลอย " ได้นะ เพราะมีบอลลูนเยอะ ... ha  ha  ha ! "
" ฮึ่  ฮึ่  ฮึ่  ฮึ่ " ... ช่วยขำ style ของโด่งหน่อยค่ะ ...




From: porn_ket@hotmail.com
To: r_nantika@hotmail.com
Subject: RE: รูปที่ไปเยี่ยมโด่ง
Date: Mon, 20 Feb 2012 20:24:35 +0700

วันนี้ไม่ได้ไปหาหมอ เพราะอาการดีขึ้น  ความจริงหมอนัดวันที่ 29 กุมภาพันธ์โน่น  แต่สั่งว่าถ้าเจ็บหน้าอก หรือแน่นให้มาหาทันที  ก็มีอาการบ้างเมื่อวันอาทิตย์  แต่นอนพักทั้งวัน อาการดีขึ้นเลยไม่ไป  พรุ่งนี้ดูอีกที  แต่ถ้ารู้สึกเคีรยด หงุดหงิด จะแสบๆ และแน่นหน้าอกเหมือนกัน ช่วงนี้เลยนอนพักที่บ้านสักอาทิตย์  จันทร์หน้าจึงจะทำงาน

เฮ้อ !  คนไข้ใจเย็น ( เกินไป ) อีกตามเคยสิ ...


ขอรู้จัก "  โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ " ให้ละเอียดขึ้นอีกหน่อยเถอะ  เผื่อมีเพื่อนๆ โชคดี เจอ jackpot กับเค้าบ้าง ...


Heart attack หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน | โรคหลอดเลือดแข็ง | หัวใจวาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ


หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือด และออกซิเจนมาสู่หัวใจ  หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด จะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery disease เป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย

อุบัติการณ์

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ



เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ

1. Rigrt coronary artery

2. Left main coronary artery ซึ่งจะแตกออกเป็นสองแขนงได้แก่
 
     2.1 Left anterior ascending
 
     2.2 circumflex artery
 
กลไกการเกิดโรค

ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นอย่างไร ?


เมื่อนึกถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลายท่านจะนึกถึงคนรู้จักที่ยังเห็นหน้ากันดีๆอยู่ ได้ข่าวอีกทีก็อยู่ ICU หรือจากไปโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไร ซึ่งเป็นลักษณะของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยซึ่งเริ่มมีเส้นเลือดตีบอาจจะไม่มีอาการอะไรแสดงออกมา จนกระทั่งเส้นเลือดตีบมากขึ้น หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงเกิดอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกายหรือทำอะไรรีบๆ กลุ่มอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้แก่

ไม่มีอาการ เนื่องจากเส้นเลือดยังตีบไม่มากพอที่จะเกิดอาการอาการแน่นหน้าอกเรียก Angina  อาการเจ็บหน้าอกจะเจ็บขณะที่ออกกำลังกาย หรือทำงานหนักๆ จนต้องหยุดกิจกรรม  เมื่อพักก็จะหายปวด เมื่อเริ่มกิจกรรมใหม่ด้วยระยะทางเท่าเดิมก็จะเจ็บหน้าอกเหมือนเดิม  เมื่ออาการเป็นมากขึ้นอาการเจ็บหน้าอกจะมากขึ้น ระยะทางที่เริ่มเจ็บหน้าอกจะน้อยลง เจ็บนานขึ้น เจ็บหนักขึ้น อมยาไม่ค่อยหายปวด บางครั้งเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
 
หายใจหอบ ผู้ป่วยบางคนไม่มีอาการเจ็บหน้าอก แต่จะมีอาการหอบหืดจากโรคหัวใจวาย

ผู้ป่วยมาด้วยอาการ Heart attack คือมีการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกแบบเฉียบพลัน เหงื่อออก เป็นลม เป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ





ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะ ทำให้รูหลอดเลือดแคบลง
 

การที่คนเกิดปัจจัยเสี่ยงหลายๆ อย่างจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบเร็วขึ้น

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงควรจะเริ่มทำเมื่อไร ?

คนทั่วไปจะเคยชินกับวิถีชีวิตไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่สูบบุหรี่ก็พยายามหาคำตอบเพื่อให้เขาเหล่านั้นไม่ต้องปรับพฤติกรรม แต่หากเวลาผ่านไปคราบไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเกิดอาการก็จะทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้น

มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสถิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลง และรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

ดังนั้นเราควรจะรณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังในเด็ก และโรคอ้วนในเด็กเพื่อที่อนาคตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะได้ลดลง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

*  โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะพบมากในผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักมากกว่าที่เคยออก  พบว่าจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 6 เท่าสำหรับผู้ที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้น 30 เท่าในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

*  ความเครียดทางอารมณ์
 
*  โรคติดเชื้อ เช่น ปอดบวม
 
*  ช่วงเช้าประมาณ 9 นาฬิกา เชื่อว่าช่วงนี้เกร็ดเลือดจะเกาะกันง่าย
 

การป้องกัน

หากท่านเป็นโรคหัวใจจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงดังนั้นท่านควรจะป้องกันมิให้เป็นโรคหัวใจ วิธีการง่ายดังนี้

*  หากท่านสูบบุหรี่ก็ให้เลิก หากมีความคิดที่จะสูบก็เลิกความคิดนี้เสีย เพราะสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหดตัว ท่านที่สูบบุหรี่ท่านอาจจะมีความสุขกับการสูบบุหรี่ แต่หากเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นมา คนที่รักท่านจะต้องเดือดร้อนทั้งที่เค้าไม่ได้สูบ
 
*  สำหรับท่านที่ไม่เคยวัดความดันโลหิตท่านควรจะไปวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่อ้วน หรือผู้ที่มีไขมันในโลหิตสูง ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูงก็จะควบคุมไม่ไห้เกิน 115/75 มิลิเมตรปรอท เมื่อความดันโลหิตเพิ่ม 20/10 ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว
 
*  ตรวจระดับไขมันของท่าน
 
*  ออกกำลังกายอย่างส่ำเสมอ
 
*  รักษาน้ำหนัก
 
*  รับประทานอาหารคุณภาพ
 
*  ตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
 
*  จัดการเรื่องความเครียด

 
การรักษา

1. การรักษาเพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบ อ่านที่นี่
 
2. การรักษาโดยยา

 
*  ยาลดไขมันยาที่ใช้ได้แก่ Statin,fibrate,niacine เป็นยาที่ลดระดับไขมันเลือด

*  Aspirin เป็นยาที่ป้องกันเกร็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดเพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
 
*  ยากลุ่ม Beta block ยาในกลุ่มนี้จะลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดอัตราการเสียชีวิต
 
*  Nitroglycerine ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก
 
*  ยาต้านแคลเซียม Calcium channel blocking agent ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจ
 
*  กลุ่มยา ต่างๆที่ช่วยรักษา เช่น ยาต้านอนุมูลอิสระ โฟลิกเป็นต้น
 
3. การผ่าตัดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยง ได้แก่
 
*  การทำบอลลลูนหลอดเลือด เมื่อเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หากเป็นมากหรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจว่าหลอดเลือดตีบมากน้อยแค่ไหน หากตีบมากหรือตีบเส้นใหญ่แพทย์จะทำบอลลูน โดยการใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กๆ แล้วสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง และแยงสายเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อถึงตำแหน่งที่ตีบก็บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ

*  การผ่าตัด bypass โดยการใช้เส้นเลือดดำที่เท้าแทนเส้นเลือดหัวใจที่ตีบ
 
*  Anthrectomy คือการผ่าตัดเอาคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดออก


      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2555, 00:03:40 »


การรักษา

1. การรักษาเพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบ อ่านที่นี่


การป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ

ท่านผู้อ่านลองสำรวจดูว่าตัวท่านรวมทั้งคนที่รู้จัก มีใครบ้างที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง หากพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงแนะนำว่าให้ปฏิบัติตามเป้าหมายที่แนะนำ การป้องกันโรคย่อมดีกว่าการรักษา เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่าย  ผู้ป่วยก็ไม่เกิดความพิการ คุณภาพชีวิตทั้งตัวผู้ป่วย และญาติดีขึ้น  เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคอัมพาตมีปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงกัน  จึงขอกล่าวรวมกัน เนื่องจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง Atherosclerosis เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและโรคอัมพาต หลอดเลือดแดงแข็งเริ่มเกิดตั้งแต่วัยรุ่นและเกิดอาการหรือเกิดโรคตอนวัยกลางคน ดังนั้นการให้ความรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมควรเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น การป้องกันโรคแบ่งเป็น

การป้องกันปฐมภูมิ คือการป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค

การป้องกันทุติยภูมิ คือการป้องกันมิให้เกิดโรคซ้ำ การป้องกันปฐมภูมิจะเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าการใช้ยา แต่หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จำเป็นต้องใช้ยา สำหรับผู้ที่เกิดโรคแล้วการใช้ยาเพื่อทำให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้น และลดการเกิดหลอดเลือดแข็ง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1. สูบบุหรี่ Smoking
 
*  สนับสนุนให้ผู้ป่วย และญาติหยุดสูบบุหรี่
 
*  ถ้าหยุดเองไม่ได้แนะนำให้ปรึกษาศุนย์อดบุหรี่
 
*  การตรวจร่างกายประจำปีให้ถามเรื่องการสูบบุหรี่ และแนะนำให้เลิกบุหรี่
 
2. ความดันโลหิตสูง Blood pressure control  

เป้าหมาย (Goal)   ความดันโลหิตน้อยกว่า 130/85 มม.ปรอท

ข้อแนะนำ (Recommendations)  

*  ให้วัดความดันทุก 2 ปีสำหรับผู้ใหญ่

*  ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อป้องกันความดันโลหิต
 
*  ถ้าความดันมากกว่า 140/90 มม.ปรอทเป็นเวลา 6 เดือน หรือความดันโลหิตมากกว่า160/90 มม.ปรอท ก็เริ่มให้ยาลดความดันโลหิต

3. ไขมันในเลือด Cholesterol management
 
เป้าหมาย ( Goal )

*  ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 1 ข้อ, LDL<160 mg%
 
*  ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ, LDL<130 mg%

*  HDL>35 MG%
 
*  Triglyceride<200 mg%
 
ข้อแนะนำ ( Recommendations )  

*  การบริโภคไขมันอิ่มตัว
 
*  เจาะเลือดหาระดับ cholesterol และHDLในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 20 ปีและประเมินปัจจั ยเสี่ยงทุก 5 ปี
 
*  ให้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
 
*  เจาะเลือดหาระดับ LDL เมื่อ total cholesterol>240 mg% หรือ total cholesterol>200 mg% และมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 2 ข้อ หรือ HDL<35 mg%
 
*  ถ้าHDL<35 mg% ใหออกกำลังกาย หยุดสูบบุหรี่
 
*  ให้ยารักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้
 
4. การออกกำลังกาย Physical activity
 
เป้าหมาย ( Goal )  ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-6 วัน วันละ 30 นาที โดยได้อัตราเต้นของหัวใจ 60-80% ของอัตราเต้นเป้าหมาย

ข้อแนะนำ ( Recommendations )

*  แนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ
 
*  ออกกำลังกายเป็นประจำสัปดาห์ละ 3-6วั น วันละ 30 -60 นาที โดยได้อัตราเต้นของหัวใจ 60-80% ของอัตราเต้นเป้าหมาย
 
*  แนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการดำดงชีวิต เช่น เดินให้มาก ทำงานบ้าน ใช้จักรยานแทนรถ

*  ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

5. การคุมน้ำหนัก Weight management

เป้าหมาย ( Goal )  ดัชนีมวลกายให้อยู่ระหว่าง 19-23 กก/ตารางเมตร สำหรับคนที่อ้วนลงพุง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวานและไขมันในเลือด การคำนวนดัชนีมวลกาย อ่านที่นี่

ข้อแนะนำ ( Recommendations )

*  วัดส่วนสูง และชั่งน้ำหนัก  รวมทั้งวัดรอบเอว และรอบสะโพก ทุกปี
 
*  ดัชนีมวลกายมากกว่า 27 กก/ตารางเมตร หรือรอบเอวมากกว่า 90 ซม.สำหรับผู้ชาย 80 ซม.สำหรับผู้หญิง ต้องให้การรักษา

6. การได้รับยาคุมกำเนิด
 
อาจจะให้ในหญิงวัยทองที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลายประการ เช่น LDL ที่สูง

7. การตรวจร่างกายประจำปี

การตรวจร่างกายประจำปีมีความสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงบางอย่างจะไม่มีอาการ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การตรวจร่างกายประจำปีจะทำให้เราทราบปัจจัยเสี่ยงของเรา

8. การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
 
การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพต้องประกอบไปด้วยปริมาณพลังงานที่ไม่มากเกินไป มีแร่ฐาตครบถ้วน ครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารมัน เค็ม หรือหวาน อ่านเรื่องอาหารคุณภาพที่นี่

9. การจัดการเรื่องความเครียด
 
ความเครียดมักจะเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ การมองโลกในแง่ดีหรือเชิงบวกจะช่วยลดความเครียดได้ อ่านเรื่องการจัดการเกี่ยวกับความเครียด

10. การดื่มสุรา
 
การดื่มสุราพอเหมาะจะช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากดื่มมากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อ่านที่นี่
 

การป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบโดยการใช้ยา

หากคุณตรวจร่างกายแล้วพบว่าเป็นโรค การใช้ยาควบคุมโรคจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจยาที่นิยมใช้คือ

1. ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด Antiplatelet drug
 
*  ตัวแรกที่นิยมให้คือ Aspirin
 
*  ตัวที่สองคือ plavix เป็นยาที่นิยมใช้ในคนไข้ที่ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดรวดในหลอดเลือดหัวใจ

2. ยาปิดกันเบต้า Betablock ยานี้จะลดความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
 
3. Angiotensin-converting enzyme inhibitor ยานควรจะให้ภายใน 24-48ชั่วโมง จะใช้ได้ดีในรายที่หัวใจทำงานไม่ดี ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย

4. ยาลดไขมัน Statin การใช้ยาลดไขมันจะช่วยการตีบของหลอดเลือดหัวใจ
 
5. Omega-3 fatty acids ซึ่งมีรายงานว่าลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
 

ปัจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ


1. อายุ ชายมากกว่า 45 ปี, หญิงอายุมากกว่า 55 ปี หรือวัยหมดประจำเดือน
 
2. ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 มม.ปรอท
 
3. โรคเบาหวาน
 
4. สูบบุหรี่

5. HDL cholesterol < 35 mg%
 
6. มีญาติสายตรงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัย ( ชายน้อยกว่า 55 ปี  หญิงน้อยกว่า 65 ปี )
 
7. ถ้า HDL > 60 mg% ให้ลบปัจจัยเสี่ยงออกข้อหนึ่ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  :  http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/ami/prevention.htm
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2555, 01:14:10 »

      
กรณีศึกษาของโด่ง  ทำให้วณิชย์รีบกระวีกระวาดไปตรวจเช็คร่างกาย ทุกระบบ มั่ง ... ที่จริงวณิชย์เคยปรารภเรื่องสุขภาพให้ฟัง ตอนที่โทร.ทางไกลจาก LA มาคุยด้วย ... " บางทีขับๆ รถอยู่ ผมก็เกิดรู้สึกวูบไป 2-3 วินาที " ... " อ่ะจ๊าก !  เอาอีกแล้ว เพื่อนเรา  คนที่กำลังขับรถอยู่ ไม่มีสิทธิ์วูบเลยซักวินาทีนะ  โอ๊ย ! ไม่อยากจะจินตนาการต่อ  กลับมางานคืนสู่เหย้าคราวนี้ รีบมาเข้า ' โรงซ่อมสุขภาพ ' เร็วๆ เลย  หมอที่เมืองไทยเก่ง และค่าตรวจก็ไม่แพงด้วย "  ว่าแล้ว เจี๊ยบก็เล่าเรื่องสามีของเพื่อนให้วณิชย์ฟังเป็นอุทาหรณ์ ...

      วณิชย์ไปตรวจสุขภาพมาแล้ว เมื่อวานนี้เอง ... เลขที่ออก  เป็นเลขท้าย 3 ตัวค่ะ  สูงๆ ทั้งนั้น  ยังไม่ได้ขออนุญาตเจ้าตัว จึงไม่ขอเฉลยล่ะ  แต่อยากจะบอกว่าเพื่อนเป็นห่วง ... รีบ action ทันที อย่ารีรอ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #33 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2555, 23:08:15 »

พี่เจี๊ยบ,
โรค heart deseaseนี่
อันดับ1ไม่ใช่เหรอพี่?
หนิงเล่าเรื่องพี่โด่งให้แฟนหนิงฟัง
(บอกเค้าว่าพี่โด่งมางานเลี้ยงต้อนรับพวกเราด้วย
เค้าจำทุกคนไม่ได้แต่รู้รับทันทีว่า..รู้จัก!)
เค้าก็สนอกสนใจคะ ซักละเอียดยิบๆ
หนิงว่าแฟนหนิงเค้าก็กลัวคะ!
ถึงเล่นกีฬามาก..ระวังตัวเอง
ระวังอาหาร..

หนิงเคยอ่านstudyที่เค้าเขียนเรื่องนี้ไว้
รายละเอียดหนิงไม่จำ...จำแต่ที่เข้าใจง่ายๆ
เค้าบอกว่า...ทำไมชาวอิตาเลี่ยน ในเขตเหนือ
ที่อาศัยติดกะเทือกเขาสูงถึงมีอาการหัวใจ
น้อยมากถึงไม่มี...เคล็ดไม่ลับค่ะ..เค้าบอกว่า
มะเขือเทศ-น้ำมันโอลีฟ-ขนมปัง-hart cheese
และ....red wineคะ คือความลับที่ทำให้พวกเค้า
ไม่เป็นเส้นเลือดตีบตันไขมันอุดในหัวจิตหัวใจ..
..
..
      บันทึกการเข้า


Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2555, 03:44:18 »


จ้าหนิง  เป็นอันดับ 1 เหมือนที่บทความนี้เขียนบอกไว้ในตอนต้นๆ นั่นแหละ ... พี่พลอยได้ความรู้เรื่อง ' อาหารต้านโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ' จากหนิงนี่ล่ะ  ดูรายการอาหารแล้ว นึกอยากไปกินสลัดบาร์ ที่ Sizzler ขึ้นมาทันที  แล้วต้องสั่งไวน์แดงด้วยนะ  ต้องตามตำราที่หนิงว่าไว้เปี๊ยบ !

เราน่าจะช่วยกันหาความรู้เรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังอีกนะ  ถึงวัยต้องดูแลตัวเองอย่างจริงจังซะแล้ว ...
      บันทึกการเข้า
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #35 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2555, 10:57:33 »


มาค่ะโด่ง
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #36 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2555, 19:00:06 »

พี่เจี๊ยบ
pdfที่ส่งไป..
ทำไมไม่แปะที่่นี่คะ?

หนิงหาแบบอื่นๆจากytubeนะคะ
เดี๋ยวมาแปะ.
      บันทึกการเข้า


pornchaiketlek
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 134

« ตอบ #37 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2555, 21:58:04 »

พี่น้องครับ

ตอนนี้ผมหายดีแล้วครับ แข็งแรงมาก รับรองไม่มีช็อคในที่ อโคจรแน่นอนครับ
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 01:46:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2555, 19:00:06
พี่เจี๊ยบ
pdfที่ส่งไป..
ทำไมไม่แปะที่่นี่คะ?

หนิงหาแบบอื่นๆจากytubeนะคะ
เดี๋ยวมาแปะ.


NN ... webboard นี้ไม่รองรับ PDF File ที่มีทั้ง Flash และเพลงประกอบจ้า  พี่จึงส่งให้เฉพาะผู้ที่สนใจจริงๆ เท่านั้น  พี่น้องท่านใดสนใจก็ขอมาได้น้า  บอก e-mail address มาทาง PM ได้เลย  ยินดีแบ่งให้กันอย่างทั่วถึงค่ะ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #39 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 02:30:54 »

นั่นสิพี่,
มีประโยชน์คะ.

เมื่อคืนดูเสร็จคิดอยู่คะ
ว่าจะนำมาpresentที่นี่ยังไง
สุดท้ายก็คงจับภาพเป็นหน้าๆ
แปะเหมือนjpg..
เสียอรรถรสหมดพี่





      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #40 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 02:47:49 »

ลูกชายหนิงผ่าตัดหัวใจมาตั้งกะอายุ7-8เดือน
พี่โด่ง,ขอหนิงแปะการทำงานของหัวใจนะคะ
caseลูกชายหนิง,ผนังที่กั้นห้องซ้าย-ขวาไม่ปิด
เมื่อปี 1996 เค้าผ่าโดยแซะผิวหัวใจแกเองไปแปะ
ตอนนั้นเป็นเทคนิคใหม่ล่าสุด...ไม่มีcase study
ให้เก็บข้อมูลก่อนหน้า เพราะที่เคยผ่าตัดกรณีเดียวกัน
เค้าจะกรีดเนื้อ/ผิวหนังต้นขาหรือสะโพกไปแปะ..

16ปีผ่านมาแล้วคะ ไม่มี complicationใดๆ



<a href="http://www.youtube.com/v/9M959pyzatc?version=3&amp;amp;hl=de_DE" target="_blank">http://www.youtube.com/v/9M959pyzatc?version=3&amp;amp;hl=de_DE</a>

http://youtu.be/9M959pyzatc
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #41 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2555, 02:59:51 »

หนัง...เวลาปวดใจหลายๆนาที
อย่าคะ!อย่ารอให้ใจสลาย..
เพราะนั่นอาจเป็นอาการของ...
heart attack--->Herzinfakt
จำลองว่าที่โน่น,โทรด่วนปุ๊บ
เค้าreact ทันที...รอไม่ได้.


เดาๆนะพี่โด่ง 13 min.
เดี๋ยวจะเก่งภาษาเยอรมัน...ปริบ.



<a href="http://www.youtube.com/v/lodH3ZqkqN8?version=3&amp;amp;hl=de_DE" target="_blank">http://www.youtube.com/v/lodH3ZqkqN8?version=3&amp;amp;hl=de_DE</a>

http://youtu.be/lodH3ZqkqN8
      บันทึกการเข้า


Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #42 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2555, 20:43:33 »

           โด่ง  น้องหนิง กะ เจี๊ยบเค้าช่างHi-techหาเรื่องมาให้อ่านซะโด่งบอกแข็งแรงมากมากนี่
                  เพราะตอนดูyoutu.beเหรอ เราเองดูไม่จบหรอกน่ะและทำเอาไม่กินขาหมูมาหลายวัน
      บันทึกการเข้า

  หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><