22 พฤศจิกายน 2567, 22:05:17
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 3 4 [5]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คมความคิดเพื่อถกเถียง  (อ่าน 58248 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เจษฎา
Cmadong พันธุ์แท้
****


the more you get ,the less you feel
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,682

« ตอบ #100 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 20:15:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ BU_MEE เมื่อ 01 กุมภาพันธ์ 2553, 07:51:41
หากระทู้ ข้อคิด ไม่เจอค่ะ

เลยมาฝากไว้กระทู้นี้ กันลืม

เมื่อเช้าขับรถฟังรายการ 95.25 พูดเรื่องหนังสือกับดัชนีความไม่มีสุขของคนไทย


มีหนังสือ 8 เล่ม

แต่จับใจความได้ 1 เล่ม ชื่อ ยิ้ม คือ กโลบายเหนือผู้พิชิต

เนื้อหาโดยสรุปคือ ยิ้ม คือ อานุภาพทรงพลานุภาพ เมื่อถูกนำมาใช้ในเชิงกโลบาย เคล็ดลับวิธีใช้และทำลายกโลบาย "ยิ้ม" พร้อมด้วย 83 ตัวอย่างจริงที่ควรศึกษา

มีหลายคนบ่นผมทั้งทางตรงและทางอ้อมว่า "ยิ้มไม่มีเหตุผล"
      บันทึกการเข้า

ไม่หล่อ แต่ไม่ค่อยว่าง
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #101 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553, 20:28:29 »

พี่เพิ่งอ่าน GEO ภาคเยอรมันฉบับล่าสุด เมื่อเช้า
พูดถึง genie เป็น ดร.ทางด้านชีว-ฟิสิกข์ วัย 44
ทำงานด้าน Geographik-Physik หล้ายยปี
เค้าบอกว่าเค้าไม่ปกติ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
เค้าอ่าน อากัปกิริยาของมนุษย์ไม่ได้ ตีความไม่ได้
react & actต่อความรู้สึกนึกคิดของคนที่ปฏิสัมพันธ์ยาก
หมอ neuro วิเคราะห์ก็ไม่เจอเพราะเค้าใช้ชีวิตปกติ
มีครอบครัว มีบ้าน มีลูก เป็นหัวหน้าprojectในแผนกคอม
ของบริษัทที่เพิ่งย้าย...เค้าวิเคาระห์ บันทึก ลงในการสังเกต
ตัวเอง ที่จำอะไรในวัยเด็กมากๆ อ่านเร็ว เขียนเร็ว เรียนจบ
เร็ว...ด้วยคะแนน excellence!
อ่านมาจนจบarticle....

heเป็น Autist!
possitive autist
      บันทึกการเข้า


เจษฎา
Cmadong พันธุ์แท้
****


the more you get ,the less you feel
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,682

« ตอบ #102 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2553, 06:09:23 »

hahaha


ขาดตรงข้อทำคะแนนการเรียน การงานสุดเจ๋งนี่แหละครับ ไม่งั้นสงสัยจะคิดว่าเป็นอาร์ทิส เอ๊ยออทิสท์ด้วยคน
      บันทึกการเข้า

ไม่หล่อ แต่ไม่ค่อยว่าง
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #103 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 00:43:41 »

หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
มีพื้นฐานมาจากบริบทต่าง ๆ

ดูว่า คนที่เขาศึกษาสังคมไทย บางส่วน  พูดไว้อย่างไร

โบราณไปนิด  แต่ก็ยัง พอ โอ อยู่
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #104 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 00:45:02 »

ประพนธ์ ผาสุขยึด (2547) กล่าวถึงการบริหารจัดการในบริบทสังคมไทยว่า ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน แต่องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเป็นผู้นำประสบความสำเร็จคือ การสร้างศรัทธา

เนื่องจากความมีศรัทธา ความชอบ ความเชื่อมั่น หรือยอมรับนับถือในตัวผู้นำแล้ว โอกาสที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จนั้นมีมาก ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้จะชัดเจนหรือไม่ก็ตาม

ซึ่งการยอมรับหรือความศรัทธานี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์หรือความรู้ความสามารถของผู้นำ

ทั้งนี้การให้ความสำคัญจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เนื่องจากลักษณะของวัฒนธรรมในสังคมไทยมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล มีความเคารพเชื่อฟังอำนาจ มีความกตัญญูรู้คุณ (ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง, 2530; Komin, 1990 )
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #105 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 00:47:38 »

Komin (1990) กล่าวว่า การแสดงออกของคนในสังคมไทยนั้นมีพื้นฐานมาจาก

(1) โครงสร้างและความผูกพันกันอย่างหลวมๆ (loose structure) เป็นสังคมที่มีความเป็นอยู่ง่ายๆ ไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมชาวญี่ปุ่นหรือชาวจีน ทำให้ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

(2) เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล (individual) เนื่องจากไม่มีการระบุสิทธิและหน้าที่ที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดเป็นอิสระในความคิดและการปฏิบัติ ส่งผลให้การแสดงความรับผิดชอบในหน้าที่ ความผูกพัน และความซื่อสัตย์ของสังคมไทยขึ้นอยู่กับค่านิยมในแต่ละบุคคล

(3) เป็นสังคมของพุทธศาสนา (Buddhism) วัฒนธรรมในสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ โดยคำสอนทางศาสนามีอิทธิพลต่อความคิดในการดำรงชีวิตในสังคมไทย เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เน้นผลกรรมของแต่ละบุคคล

(4) สังคมไทยเป็นสังคมระบบเจ้าขุนมูลนาย (entourage) ในสังคมไทยมีการแบ่งชั้นอำนาจ ให้ความสำคัญต่อผู้มีอุปการะคุณ โดยความผูกพันนี้ไม่สม่ำเสมอแน่นอน ในบางครั้งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

(5) มีความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม (affiliation society) เนื่องจากไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเองและการเคารพตนเองต่ำ จึงต้องการให้สังคมยอมรับในบทบาทของตนเอง

(6) เป็นสังคมที่มีระบบพระเดชพระคุณ พระคุณคือ อำนาจทางคุณงามความดี ความรักความผูกพัน ความคุ้มครอง ความกตัญญูต่อผู้ที่ให้การอุปถัมภ์ พระเดช คือ  อำนาจที่ได้มาจากการข่มขู่สร้างความกลัว ไม่ได้มาจากคุณงามความดี
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #106 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 00:50:13 »

Hauser (1989) ศึกษาลักษณะการบริหารงานของไทยพบว่า มีลักษณะโครงสร้างที่หลวม ซึ่งก่อให้เกิดปรากฎการณ์อย่างหนึ่งขึ้นมาในองค์กรของบริบทสังคมไทย คือ มีการแข่งขันอย่างมากในความพยายามที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในการบริหารทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยจะให้ความสำคัญกับบุคคลมากกว่าเป้าหมายขององค์กร

นอกจากนี้ในระดับการปฏิบัติงานเองก็มักจะขาดวินัยและความรับผิดชอบ รวมทั้งในลักษณะที่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์

ส่วนใหญ่จะมุ่งไปในทางส่วนตัวของบุคคล ต่อครอบครัว ต่อกลุ่ม ต่อหมู่เพื่อน หรือกลุ่มเล็ก ๆ มากกว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ที่มีต่อองค์กรหรือส่วนรวม

 Hauser สรุปว่า สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยไม่สามารถที่จะนำเอาหลักการบริหารมาใช้ให้เกิดผลได้ หากไม่มีการพิจารณาถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่แท้จริง
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #107 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 00:51:25 »

Wit (1980) ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรในประเทศไทยและประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พบว่า การบริหารของไทยนั้นเป็นการรับใช้ การปฏิบัติและการเคารพต่อผู้มีอำนาจเหนือตนของบุคคลแต่ละคน
ทำให้การบริหารหรือการทำงานของไทยเป็นลักษณะของบุคคลที่มุ่งจะทำงานเอาใจเจ้านาย
มากกว่าจะสนใจในเรื่องประสิทธิภาพประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน
ระบบการบริหารขององค์กรของไทยจึงยังคงยึดติดกับระบบเจ้าขุนมูลนาย
นอกจากนี้ยังเน้นการใช้อำนาจและสนับสนุนเพศชายมากกว่าเพศหญิง
      บันทึกการเข้า
BU_MEE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #108 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2553, 00:52:04 »

Mosel (1991) ศึกษาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารในองค์กรของไทย พบว่า มักเน้นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #109 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 18:11:44 »

psst, Grundgesetzกฎหมายพื้นฐานของเยอรมัน
รวมไปถึงกฏหมายแรงงาน Arbeitsrecht
บอกชัดเจน....ให้ปฏิบัติต่อคนทำงานเท่ากัน
ในสภาพ พื้นความรู้เดียวกัน...

ในความเป็นจริง--->ผู้ชายคะรับเงินเดือนมากกว่า!!
เงินเดือนเป็นเรื่องความลับสุดยอด ไม่บอกกัน
ถึงกระนั้นก็ตามจิกข้อมูลออกมาวิเคราะห์ได้.
ผู้ชายที่โน่น---->มีลูก-ภรรยาที่ต้องเลี้ยงดู
(ไม่เกี่ยวว่าผู้หญิงจะออกไปทำงานหรือไม่!)
ผู้หญิง--->ไม่มีสามี-ลูกที่บ้านที่ต้องเลี้ยงดู!!
ก็เรียนมาจนขนาดนั้น...ถึงตำแหน่งสูงๆนั้น
จะworkได้ก็เพราะผู้หญิงคนนั้นยอมสละชีวิตครอบครัว
ส่วนใหญ่ถ้าไม่หย่า ก็โสดคะ...
นั่นคือความไม่ยุติธรรมระหว่างเพศที่เห็นชัดๆ...
      บันทึกการเข้า


  หน้า: 1 ... 3 4 [5]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><