25 พฤศจิกายน 2567, 21:35:56
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรม..  (อ่าน 9881 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 14 สิงหาคม 2550, 14:55:34 »

เก็บมาฝากเรื่อง....  กรรม...

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจในกรรมนั้น  
ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม  เป็นทาสของกรรม
หรืออยู่ใต้อำนาจของกรรม  แต่สอนให้รู้จักกรรม  
ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน


คนมีอำนาจเหนือกรรม  อาจควบคุมกรรมของตนได้
 แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า  ต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย
 โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม  เช่น  เมตตา สติ  ปัญญา เป็นต้น  
อันเป็นส่วนจิตและศีล   อันหมายถึงตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น  
ทำการที่ควรทำในขอบเขตอันควร
[/b]

ทางพระพุทธศาสนา  สอนให้ทุกๆ คนพิจารณาหลักกรรมเนืองๆ
เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาท  พยายามละกรรมชั่ว   ประกอบแต่กรรมดี  
การที่ยังปฎิบัติดังกล่าวไม่ได้  ก็เพราะยังประมาท
 มิได้พิจารณาในหลักกรรม  และไม่เชื่อกรรม  ไม่เชื่อผลของกรรม
 ต่อเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท  และมีศรัทธาความเชื่อดังกล่าว  
จึงจะละกรรมชั่ว ทำกรรมดีได้ตามสมควร


พระคติธรรม โดยสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปรินายก
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2550, 14:28:01 »

จากหนังสือ  อำนาจอันยิ่งใหญ่ของกรรม  ของสมเด็จพระสังฆราช

ผู้มีปัญญาพึงรับผลของกรรมให้ถูกต้อง   ผลของกรรมดีและผลของกรรมชั่ว  มีทั้งคุณและมีทั้งโทษอยู่ในตัว  
คุณหรือโทษจะปรากฎตามการวางใจรับผลนั้น
แม้ผู้นั้นวางใจรับไม่ถูก  ไม่ประกอบด้วยปัญญา  ผลดีจะไม่สมบูรณ์  ทั้งผลร้ายก็จะต้องตามมา


วิธีทำใจรับโลกธรรมฝ่ายดี อันได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนั้น
 ให้นึกถึงความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวน เปลี่ยนแปลง

การทำใจรับโลกธรรมฝ่ายชั่ว เช่นเดียวกับโลกธรรมฝ่ายดี
ไม่ใช่ปล่อยให้ใจตกอยู่ในอำนาจของความทุกข์
 ความเศร้าเสียใจ  หรือความโกรธแค้นอาฆาตพยาบาท  
เพราะกรรมไม่ดีนั้นไม่เทียง  ทุกข์ทนอยู่ไม่ได้
 ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง



โดยสรุปคือผลของกรรม(ทั้งดีและชั่ว)นั้น  เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ  ไม่มีที่จะยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2550, 14:35:26 »

จากหนังสือเล่มเดิม


ทั่จริงมโนกรรม  กรรมทางใจคือ  คิดดีนั้น
แม้ตั้งใจจริงที่จะทำก็น่าจะง่ายกว่ากรรมทางกาย  ทางวาจา
 เพราะเรื่องของความคิดเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของเราเองอย่างแท้จริง
ไม่เกี่ยวกับผู้ใดหรืออะไรเลย  ความคิดอยู่กับเราจริงๆ  
ไม่มีผู้ใดอาจล่วงลำก้ำเกินไปบังคับบัญชาได้
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2550, 14:26:41 »

...จากพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช


ทำกรรมดี  ย่อมเกิดผลดี

ทำดีไม่ได้ดี  เพราะมีกรรมเก่าที่ไม่ดีกำลังส่งผล

ที่ชอบกล่าวกันพร่ำเพรื่อในยุคสมัยนี้ว่า  ทำดีไม่ได้ดี  ทำไม่ดีกลับได้ดีนั้น

แม้จะให้ถูกต้องควรต้องขยายความให้ยาวออกไปด้วย  เช่นว่า
ทำดีไม่ได้ดี  เพราะมีกรรมเก่าที่ไม่ดีกำลังส่งผล
 ทำไม่ดีกลับได้ดี  เพราะมีกรรมเก่าที่ดีกลำลังส่งผล


คำว่า "กรรม"ในพระพุทธศาสนา เป็นคำที่มีความหมายเป็นกลาง หมายถึงการกระทำ
ไม่เจาะจงบ่งเป็นการกระทำที่ไม่ดี เป็นบาปกรรมหรือเป็นอกุศลกรรม
 และไม่เจาะจงบ่งเป็นการกระทำที่ดี  อันเป็นกรรมดี เป็นบุญกรรม หรือเป็นกุศลกรร
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2550, 15:55:03 »

จากตอน ..... มือแห่งบุญ  มือแห่งบาป
หนังสืออำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม
พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช


ผลของกรรม  ส่งข้ามภพ ข้ามชาติได้

การส่งผลของกรรมดีและกรรมไม่ดีนั้น  
ข้ามภพข้ามชาติได้   กรรมในอดีตชาติส่งผลมาทันในปัจจุบันชาติก็มี
 แล้วแต่ว่าผู้ทำกรรมจะสามารถหนีได้ไกลเท่าไร  หรือหนีได้นานเท่าไร
 นั่นก็คือแล้วแต่ว่าในปัจจุบันชาติ  
ผู้ทำกรรมแล้วในอดีต  จะสามารถในการทำจิตใจทำบุญทำกุศล  
ทำความดีได้มากเพียงไหน  เป็นกรรมที่ใหญ่ยิ่งหนักหนากว่ากรรมไม่ดีหรือไม่


การให้ผลของกรรม  ก็เช่นเดียวกับการตกจากที่สูงของวัตถุ  
สิ่งใดหนักกว่า  เมื่อตกลงจากที่เดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน
สิ่งนั้นย่อมถึงพื้นก่อน  เปรียบดังกรรมสองอย่าง  คือกรรมดีและกรรมไม่ดี
การกระทำในเวลาใกล้เคียงกัน  กรรมที่หนักกว่า
ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมไม่ดีก็ตามย่อมส่งผลก่อน  กรรมที่เบากว่าย่อมส่งผลทีหลัง  
และย่อมส่งผลทั้งสองแน่นอน  ไม่เร็วก็ช้า  
ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า  ไม่ชาติหน้าก็ชาติต่อไป ต่อไป ต่อไป
 อาจจะอีกหลายภพหลายชาติก็ได้
 เพราะกรรมไม่ใช่สิ่งที่จะลบเลือนได้ด้วยกาลเวลา  นานเพียงไร
 กรรมก็ยังให้ผลอยู่เสมอ  กรรมจึงมีอำนาจเหนืออำนาจทั้งปวง
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2550, 19:17:44 »

จากพระนิพนธ์เล่มเดิม

กรรมทั้งปวงของแต่ละคน......ย่อมเป็นไปตามอำนาจของจิตใจ

อันการประกอบกระทำกรรมทั้งปวงของแต่ละคน  ย่อมเป็นไปตามอำนาจใจ
ดังที่ท่านกล่าวว่าใจเป็นใหญ่  ใจเป็นประธาน  ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ

แต่ใจนั้นก็เป็นไปตามพลังสอง  ....พลังหนึ่งเป็นพลังของกิเลส โลภ โกรธ หลง
อีกพลังหนึ่งเป็นพลังของเหตุผล

พลังของกิเลสเป็นพลังที่ทำให้มืดมัว  เป็นความโฉดเขลาเบาปัญญา
พลังของเหตุผล  เป็นพลังที่ให้แจ่มใสสว่าง  เป็นความมีปัญญาเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง

อย่างไรก็ตาม  
 สติมีความสำคัญที่สุด  

สติมีหน้าที่ตัดสินว่าจะให้กิเลสชนะเหตุผล  หรือจะให้เหตุผลชนะกิเลส
ถ้าสติอ่อนไม่ตั้งมั่นอยู่  ก็จะยอมให้กิเลสชนะเหตุผลคือกิเลสจะครองใจยิ่งกว่าเหตุผล
ชื่อว่าเชื่อกิเลสยิ่งกว่าเชื่อเหตุผล

ถ้าสติเข้มแข็งตั้งมั่นอยู่  ก็จะไม่ยอมให้กิเลสชนะเหตุผล  คือเหตุผลจะครองใจยิ่งกว่ากิเลส
ชื่อว่าเชื่อเหตุผลยิ่งกว่ากิเลส  เป็นผู้ใช้เหตุผลยิ่งกว่าเป็นผู้ให้กิเลสใช้
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2550, 19:38:19 »

กรรมมีจริง  ผลของกรรมมีจริง

"กรรมมีจริง  ผลของกรรมมีจริง"

"กรรมดีให้ผลดีจริง  กรรมชั่วให้ผลชั่วจริง"

"ผู้ใดทำกรรมใดไว้  จักเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น  ผู้ไม่ได้ทำหาต้องรับไม่"

ความเข้าใจผิดในเรื่องนี้มีอยู่ให้ได้ยินได้พังอยู่เนือง ๆ เช่นมารดาบิดาทำไม่ดีต่าง ๆ นานาให้เห็น
เกิดเหตุการณ์รุนแรงแก่ชีวิตบุตรธิดา  ก็มักจะกล่าวกันว่าลูกรับเคราะห์แทนมารดาบิดาบ้าง
หรือลูกรับกรรมแทนมารดาบิดาบ้าง  ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น  กรรมของผู้ใด  ผลย่อมเป็นของผู้นั้น จะรับผลกรรมแทนกันไม่ได้...ไม่มี


มารดาบิดาทำไม่ดี  ทำบาปทำอกุศล ยังอยู่ดีมีสุขเพราะผลของบาปอกุศลยังส่งไปไม่ถึง
แต่บุตรธิดาที่ไม่ทันได้ทำบาปทำอกุศลกลับต้องมีอันเป็นไปต่าง ๆ นั้น
  นั่นเป็นเรื่องการรับผลของบาปอกุศลที่ทำไว้ในภพชาติก่อน
 ที่ตามมาส่งผลในภพชาตินี้แน่นอน
 บุตรธิดาผู้ได้รับผลไม่ดีต่าง ๆ นานา  ต้องทำกรรมไม่ดีไว้ในภพชาติหนึ่งแน่นอน
 แต่เรารู้ไม่เห็นเท่านั้น  ไม่ใช่บุตรธิดารับผลกรรมแทนมารดาบิดา


ผู้ที่จะเกิดร่วมกัน  เป็นแม่เป็นพ่อลูกกัน  ต้องมีกรรมดีกรรมชั่วในระดับเดียวกัน ไม่แตกต่าง
ห่างไกลกัน  จึงทำให้เหมือนลูกรับกรรมแทนแม่พ่อผู้ทำบาปอกุศล  ลูกที่มารับผลไม่ดีต่าง ๆ
ขณะที่แม่พ่อเป็นผู้ประกอบกรรมไม่ดี  นั่นเพราะกรรมไม่ดีของลูกส่งผลทันในระยะนั้น  
จึงทำให้ยากจะเข้าใจ  จึงทำให้เกิดความเข้าใจสับสนกันมาก
 กรรมของคนหนึ่งย่อมจะไม่เกิดแก่อีกคนหนึ่งแน่นอน
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2550, 19:46:07 »

จากปกหลัง..............
พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปรินายก
"อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม"



การทำกรรมดี  หรือกุศลกรรมให้มาก
ย่อมอาจให้ผลตัดรอนอกุศลกรรมได้
อกุศลกรรมที่หนักที่แรง  จำเป็นต้องมีกุศลกรรมที่หนักกว่า
แรงกว่ามาก ๆ จึงจะสามารถตัดกันได้ทันท่วงที  นั่นคือ


แม้มีอกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วมาส่งผล  ทำให้ตกอยู่ในที่ร้อนที่คับขัน
กุศลกรรมที่ทำอยู่แม้แรงกว่าหนักกว่า
ย่อมจะสามารถตัดผลของอกุศลกรรมให้ขาดได้ในพริบตา
มีตัวอย่างปรากฎให้รู้ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้
จึงไม่ควรลังเลที่จะทำความดี คือ กุศลกรรมให้มาก
ให้สม่ำเสมอ  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2550, 15:30:31 »

เจ้ากรรม นายเวร


อันกรรมไม่ดีนั้น  มีคู่ที่มักจะใช้ด้วยกัน  มีความหมายไปในทางไม่ดี  คือ    เจ้ากรรมนายเวร[/b]

ผู้มีสัมมาทิฐิย่อมไม่ปฎิเสธความเชื่อที่มีอยู่ว่าเจ้ากรรมนายเวรนั้นมี  ไม่ใช่ไม่มี
เจ้ากรรมนายเวรคือ  ผู้ที่ถูกทำร้ายก่อน  และผูกอาฆาตจองเวร
แม้ไม่อาฆาตจองเวรก็ไม่เป็นเจ้ากรรมนายเวร     คือไม่เป็นผู้คิดร้าย
ไม่ติดตามทำร้ายให้เป็นการตอบสนอง         หรือที่เรียกกันว่าแก้แค้น



การทำบุญกุศลอุทิศส่วนกุศล

การทำบุญกุศล  แม้ไม่ปรารถนาให้เกิดแก่ตนเองโดยตรง
ผลก็ย่อมเกิดเป็นธรรมดาแน่นอนอยู่แล้ว  
ดังนั้น  ในการทำบุญกุศลทุกครั้ง  จึงพึงทำใจให้กว้าง  เอื้ออาทรไปให้ถึงผู้อื่นทั้งนั้น
ที่แม้จะอยู่ต่างภพภูมิกัน  ตั้งใจอุทิศให้อย่างจริงใจ
ให้ด้วยสำนึกในความผิดพลาดก้ำเกิน  ที่ตนอาจกระทำแล้วต่อใครๆ ทั้งนั้น
ให้ด้วยสำนึกในพระคุณที่ได้รับจากผู้มีพระคุณทั้งหลาย  ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม


ค่อย ๆคิด  ค่อยๆ บอกกล่าวแสดงความจริงใจ  ให้อ่อนโยน  และไพเราะด้วยถ้อยคำ
จะเกิดผลยิ่งกว่าใช้ถ้อยคำและจิตใจที่ไม่ไพเราะจริงใจ
ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้นที่ชอบความอ่อนโยน  ความไพเราะจากใจจริง
ผู้ต่างภพภูมิทั้งหลายก็มิได้แตกต่างออกไป
ใจหรือจิตของมนุษย์ก็เป็นใจหรือจิตดวงเดียวกัน
เมื่อมนุษย์ละชาตินี้ไปสู่ชาติอื่นภพภูมิอื่นแล้ว  พึงระลึกถึงความจริงนี้


จากตอน.......มือแห่งบุญ  มือแห่งบาป
พระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราชเรื่อง อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม
บันทึกการเข้า
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2550, 15:39:00 »

จากตอน ......ความน่าพิศวงของกรรม
พระนิพนธ์เล่มเดิม


ผลแห่งกรรม  ย่อมตรงต่อเหตุที่กระทำไว้

ผู้ไม่เบียดเบียน  เป็นผู้มีอายุยิน

ผู้มีศีล  จิตใจเบิกบาน  ผิวพรรณผ่องใส

ความไม่มีศีล  ทำให้จิตใจเศร้าหมอง



ผู้อ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อนน้อม  จักเกิดในตระกูลสูง[/b]

ผู้ไม่อ่อนน้อนต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อม  จักเกิดในชาติตระกูลต่ำ

ผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติ  สมบูรณ์บริบูรณ์เกิดแต่กรรมคือการบริจาค


ความขาดแคลน  เกิดแต่การไม่บริจาค


ผู้ปรารถนาความมีปัญญา  พึงทำจิตใจให้สงบ
บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #10 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 13:50:46 »

  ความคิดและคำพูดผู้อื่นคงห้ามไม่ได้...
แต่เมื่อพิจารณาตนสามารปฏิบัติได้...
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><