25 พฤศจิกายน 2567, 23:14:52
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญ???  (อ่าน 7094 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปุจฉา
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69

« เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2550, 20:17:41 »

นมัสการครับ


ผมเพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ ทำงานได้สองปี  บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ (ตอนเรียนอยู่หอ ไม่มีบ้านในกรุงเทพ)  รายได้เกือบไม่พอรายจ่าย   ช่วงนี้มีซอง  ทำบุญงานบวชคนในที่ทำงาน หลายคน
ก่อนหน้านี้มีซองบอกบุณเรื่อยๆ กฐิน  ผ้าป่า สร้างโบสถ์
   ป้า ๆ ที่บอกบุญ สาธยายจนทนไม่ได้ ไม่บังคับเหมือนบังคับ
 ทำไมวัดใช้เงินเยอะจังครับ  ผมว่าเป็นการสูญเสีย  ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงด้วย

เมื่อไรป้าๆ จะเข้าใจว่าบางเดือนผมยังต้องขอตังแม่เพิ่มอยู่เลย
จะปฏิเสธอย่างไรดี  น่ารำคาญจัง

....................................ขอวิสัชนาที่นี่เพื่อความต่อเนื่องของการถาม-ตอบ............

วิสัชนา...

ก็ปฏิเสธเขาไปตรงๆ นั่นล่ะ บอกเขาไปว่าเรามีศรัทธาที่จะทำบุญเท่านี้

หรืองานนี้ยังไม่ค่อยศรัทธา ขอเป็นงานหน้าแล้วกัน

หรือตอนนี้ผมมีรายจ่ายเยอะมาก ขอเป็นโอกาสหน้าแล้วกัน

การอยู่ในสังคมต้องหัดปฏิเสธคนให้เป็น

ถ้าไปมัวเกรงใจกันจนเกินไป เราก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง

ยิ่งเป็นการทำบุญด้วยแล้ว ทำอย่างไม่เต็มใจ มันก็ยังไงๆ อยู่

บางคนไม่กล้าปฏิเสธ เพราะกลัวเสียหน้า

บางคนไม่กล้าใส่ซองน้อยๆ เพราะกลัวเสียหน้า

ผลก็คือ ไม่เสียหน้า แต่มานั่งเสียใจ มันไม่คุ้มกันหรอก

ทำบุญน่ะ..ทำน้อยทำมากหรือไม่ทำก็ไม่เป็นไรหรอก

ไม่ใช่เสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล อันนั้นถ้าไม่ทำ สรรพากรเล่นงานคุณแน่
บันทึกการเข้า

คนที่เข้มแข็งที่สุดก็ยังมีนาทีที่น้ำตาไหลริน
jimsy
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 195

« ตอบ #1 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2550, 12:24:16 »

เมื่อทำทานครั้งใด ท่านให้หมั่นอธิษฐานว่า ขอจิตเราจงสละความยึดมั่นถือมั่นผิด ๆ ได้โดยไม่เสียดาย เช่นเดียวกับที่ไม่เสียดายข้าวของซึ่งทำทานไปนั้น

  (จากหนังสือ  ทางนฤพาน)
บันทึกการเข้า
ปุจฉา
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69

« ตอบ #2 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2550, 13:53:49 »

อ้างจาก: "ปุจฉา"
นมัสการครับ


ผมเพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ ทำงานได้สองปี  บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ (ตอนเรียนอยู่หอ ไม่มีบ้านในกรุงเทพ)  รายได้เกือบไม่พอรายจ่าย   ช่วงนี้มีซอง  ทำบุญงานบวชคนในที่ทำงาน หลายคน
ก่อนหน้านี้มีซองบอกบุณเรื่อยๆ กฐิน  ผ้าป่า สร้างโบสถ์
   ป้า ๆ ที่บอกบุญ สาธยายจนทนไม่ได้ ไม่บังคับเหมือนบังคับ
 ทำไมวัดใช้เงินเยอะจังครับ  ผมว่าเป็นการสูญเสีย  ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงด้วย

เมื่อไรป้าๆ จะเข้าใจว่าบางเดือนผมยังต้องขอตังแม่เพิ่มอยู่เลย
จะปฏิเสธอย่างไรดี  น่ารำคาญจัง


น้องคะ..พี่ถือว่าน้องเป็นคนที่โชคดีมากแล้วที่มีคนนำบุญจากที่ต่าง ๆ ที่เรายังไม่มีโอกาสเดินทางไปมาบอกให้ถึงที่ แล้วการทำบุญร่วมกับเพื่อนร่วมงานบ่อย ๆ เป็นการสร้างกระแสกรรมที่ดีร่วมกันต่อ ๆ ไปการติดต่องานกับป้า ๆ ทั้งหลายจะสะดวกขึ้น  ต้องขอบคุณเขานะจ๊ะ  พี่เคยคุยกับแม่ค้าน้ำเต้าหู้แถวบ้าน เขาพูดประโยคนี้กับพี่เอง ว่าเขาค้าขายอยู่กับที่ไม่มีโอกาสไปไหน ๆ เช่น อีสาน เหนือ หรือใต้ ใครเอาบุญมาบอกเขาก็รีบทำ เขาได้แบงค์ใหม่ ๆ มาเขาเก็บแยกไว้อีกกระเป๋าหนึ่งสำหรับทำบุญเลยนะ   10 ..20 บาท ก็ทำไปเถิดน้อง  ไม่ต้องเบียดเบียนตัวเองมาก ๆ ก็ได้  มีคนอีกหลาย ๆ คนก็ใช้วิธีแยกแบงค์ใหม่ไว้แบบนี้ไว้เวลาทำบุญเขาบอกว่าวิธีรู้สึกว่าทำใจได้ดีขึ้น  การค้าของเขากลับดีขึ้นกว่าเก่าอีกแน่ะ  แต่สำคัญเวลาทำไปต้องพยายามทำใจให้ผ่องใส เบิกบาน ให้คุ้มค่าที่ได้ทำบุญ  ที่สำคัญคือการให้ทานเป็นการขจัดความโลภออกจากจิตใจ  อย่าคิดว่าการให้เป็นการสูญเปล่า  มันถูกเก็บไว้ในธนาคารบุญเรียบร้อยแล้ว  หันกลับมามองดูใหม่(ลองเข้าไปอ่านใน www.Dungtrin.com  เรื่องกรรมที่ทำให้รวย)  คนทำบุญให้ทานน่ะมีกินไม่หมดหรอกน้อง  แต่ต้องฉลาดในการบริหารทานของเรา อย่าลืมเข้าไปอ่านดูก็แล้วกันนะจ๊ะ


ถาม – ทานในรูปแบบอื่นๆที่ให้ผลมากกว่าการใช้เงินนี่มีไหมคะ? คือทานแบบอื่นดิฉันก็พยายามทำประกอบไปด้วยค่ะ อย่างเช่นช่วยเหลือผู้อื่น ยินดีในความบุญกุศลของผู้อื่น เป็นต้น แค่ไม่แน่ใจว่าจะเพียงพอรึเปล่าเท่านั้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่าการทำบุญบางอย่างตระเตรียมน้อย แต่ให้ผลใหญ่ มีอานิสงส์มาก ซึ่งที่เป็นอย่างนั้นนะครับ มีรายละเอียดให้พูดถึงกันยิบย่อยเยอะแยะ แต่เอาหลักๆแล้ว ไม่ว่าจะให้ทานด้วยเงิน หรือด้วยกำลังสมอง หรือด้วยกำลังแรง ก็จะมีความเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือใจที่คิดให้นั้นอ่อนโยนหรือกระด้าง กฎแห่งกรรมข้อหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือจิตยิ่งอ่อนโยนเท่าไร ผลของทานก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นเท่านั้น

ตัวอย่างเช่นหากเป็นผู้ให้ทานภิกษุสงฆ์ด้วยความเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานด้วยความอ่อนน้อม ให้ทานอย่างเข้าใจ ให้ทานด้วยความเห็นว่ามีผล อาการของใจดังกล่าวเหล่านี้แหละจะทำให้เกิดผลมาก แม้เงินเพียงน้อย แต่อานิสงส์จะไม่น้อยตามเงินเลย

ค่อยๆสำรวจไปทีละข้อว่าเราขาดข้อไหน เช่นยกของประเคนพระด้วยใจเคารพหรือเปล่า ให้ด้วยความเข้าใจหรือเปล่าว่ามีของอะไรถวายให้พวกท่านใช้ประโยชน์แบบไหน หรือในอีกระดับของทาน พอจะให้กระดูกหมาทั้งทีมีอาการอ่อนน้อมหรือแกล้งเอากระดูกปาหัวมัน (สำเร็จกรรมพร้อมกันสองประการ คือให้ด้วย รังแกสัตว์ด้วย) ขาดข้อไหนก็เสริมข้อนั้น จนกว่าจิตจะเต็มบริบูรณ์ด้วยอาการแห่งทานของสัตบุรุษ

อีกประการที่สำคัญ คือทานไม่ใช่กรรมใหม่ที่แก้กรรมเก่าได้ครอบจักรวาล โดยหลักแล้วทานเป็นกรรมที่แก้ความตระหนี่โดยตรง ทว่าทานในแต่ละประเภทจะให้ผลข้างเคียงเฉพาะตัว เช่นให้ทรัพย์จะเป็นผู้มีทรัพย์ ให้ปัญญาจะเป็นผู้มีปัญญา ให้แรงกำลังจะเป็นผู้มีกำลังแรง

สรุปโดยรวมขอให้คิดอย่างนี้ก็แล้วกันครับ การทำบุญแบบทุ่มสุดตัวคือการทำทานแบบมีน้ำจิตอ่อนโยน มีความเต็มใจให้เต็มที่แบบไม่หวงไว้ สามารถกำจัดความตระหนี่ถี่เหนียวและความเล็งโลภอยากได้สมบัติผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม กับทั้งก่อให้เกิดความร่าเริงในทานเต็มเม็ดเต็มหน่วย ขอให้ดูด้วยตนเองเถิดว่าลงเงิน ลงแรง ด้วยกิริยาอย่างไรแล้วเกิดผลเช่นที่ว่านี้ ก็ถือว่าใช้ได้อย่างที่สุดแล้ว ไม่ต้องทำอะไรมากไปกว่านั้นแล้ว ถึงแม้ว่าฐานะจะยังไม่ดีขึ้น แต่ก็ทำให้คิดได้และเป็นสุขมากขึ้นทันใจแน่นอนล่ะครับ
[/size]
(เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว โดย ดังตฤณ)
บันทึกการเข้า

คนที่เข้มแข็งที่สุดก็ยังมีนาทีที่น้ำตาไหลริน
วิสัชนา
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21

« ตอบ #3 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2550, 22:48:54 »

อ้างจาก: "ปุจฉา"
นมัสการครับ


ผมเพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ ทำงานได้สองปี  บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ (ตอนเรียนอยู่หอ ไม่มีบ้านในกรุงเทพ)  รายได้เกือบไม่พอรายจ่าย   ช่วงนี้มีซอง  ทำบุญงานบวชคนในที่ทำงาน หลายคน
ก่อนหน้านี้มีซองบอกบุณเรื่อยๆ กฐิน  ผ้าป่า สร้างโบสถ์
   ป้า ๆ ที่บอกบุญ สาธยายจนทนไม่ได้ ไม่บังคับเหมือนบังคับ
 ทำไมวัดใช้เงินเยอะจังครับ  ผมว่าเป็นการสูญเสีย  ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงด้วย

เมื่อไรป้าๆ จะเข้าใจว่าบางเดือนผมยังต้องขอตังแม่เพิ่มอยู่เลย
จะปฏิเสธอย่างไรดี  น่ารำคาญจัง

.............................................................................

วิสัชนา...

ก็ปฏิเสธเขาไปตรงๆ นั่นล่ะ บอกเขาไปว่าเรามีศรัทธาที่จะทำบุญเท่านี้

หรืองานนี้ยังไม่ค่อยศรัทธา ขอเป็นงานหน้าแล้วกัน

หรือตอนนี้ผมมีรายจ่ายเยอะมาก ขอเป็นโอกาสหน้าแล้วกัน

การอยู่ในสังคมต้องหัดปฏิเสธคนให้เป็น

ถ้าไปมัวเกรงใจกันจนเกินไป เราก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง

ยิ่งเป็นการทำบุญด้วยแล้ว ทำอย่างไม่เต็มใจ มันก็ยังไงๆ อยู่

บางคนไม่กล้าปฏิเสธ เพราะกลัวเสียหน้า

บางคนไม่กล้าใส่ซองน้อยๆ เพราะกลัวเสียหน้า

ผลก็คือ ไม่เสียหน้า แต่มานั่งเสียใจ มันไม่คุ้มกันหรอก

ทำบุญน่ะ..ทำน้อยทำมากหรือไม่ทำก็ไม่เป็นไรหรอก

ไม่ใช่เสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล อันนั้นถ้าไม่ทำ สรรพากรเล่นงานคุณแน่
บันทึกการเข้า

เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ จิตย่อมใส ใจย่อมสว่าง ณ กลางกมล
วิสัชนา1
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2550, 08:39:11 »

***** เมื่อ ให้  บุญ ก้อ เพิ่มขึ้น *****

บุญ....เป็นชื่อของความสุข

ในที่นี้....หมายถึง....ทานมัย
คือ....บุญที่สำเร็จมา....ด้วยการบริจาคทาน

ได้แก่....บุญที่เกิดจากการ..ถวายปัจจัย ๔
ที่ตนหามาได้โดย..สุจริตธรรม

เมื่อเรามีศรัทธา....ตั้งใจทำบุญ..จริงๆแล้ว
ก็หมายความว่า....เราทำบุญเพื่อกำจัด..ความตระหนี่
ให้เป็นคน...กล้าเสียสละ

แล้วความสุขทางใจ....ก็จะเกิดขึ้น
บุญ..ก็จะสั่งสม..มากขึ้นอีกด้วย
ถึงจะเป็น..วัตถุ..เพียงเล็กน้อย ก็ตาม

ปล. ชื่นชอบกับคำตอบของพระอาจารย์ กราบขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ด้วย
บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><