นายป้อ
|
|
« ตอบ #125 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2551, 22:23:11 » |
|
emo43เข้ามาดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Max
|
|
« ตอบ #126 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2551, 18:49:17 » |
|
ซื้อ LTF หรือยังครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Mr.EggMan
|
|
« ตอบ #127 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2551, 07:00:58 » |
|
SET ขาลงแบบนี้ เพื่อนแม็ก มีการลงทุนอะไรแนะนำไหมครับ คิดยังไงกะการเล่น อนุพันธ์ Future/option
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Apirat T.
|
|
« ตอบ #128 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2551, 07:19:03 » |
|
ขาลงอย่างงี๊ เค้าบอกว่า LTF น่าลุ้นกว่า RTF คับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ppornson
|
|
« ตอบ #129 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2551, 13:21:06 » |
|
ถูกต้องคร้าบบบ..สำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง..มองระยะยาวครับ..อย่าคิดมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
EdDy_Smart81
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 654
|
|
« ตอบ #130 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2551, 11:53:48 » |
|
ผมเอส ครุ รุ่นrcu 81 ครับ เป็นนักวิเคราะห์ ที่ บล. เอเซียพลัสครับ Koraphat@asiaplus.co.th ใครสนใจเรื่องการลงทุนสอบถามได้ครับ ผมจะส่งข้อมูลให้เพื่อให้เพื่อนๆ พี่ๆชาวหอได้บริหารการลงทุน ฝึกเรื่องการลงทุน และแลกเปลี่ยนความคิดกันครับ โทรมาคุยก็ได้ครับ 0811344889
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หลิม 81
|
|
« ตอบ #131 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2551, 21:33:45 » |
|
น่าสนใจมาก เอส..เรื่องการลงทุน แต่อีท่าไหนถึงได้ไปเป็นนักวิเคราะห์ได้ว๊ะเนี่ยะ... การลงทุนมีความเสียง การลงแรงมีความเหนื่อย..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
@ ปีนี้ปีของผม @
|
|
|
EdDy_Smart81
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 654
|
|
« ตอบ #132 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2551, 23:13:56 » |
|
มันเป็นเรื่องบังเอิญว่ะหลิม เราก้งงว่าทำไปทำมามาอยู่ที่นี่ได้ไง 555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Mr.EggMan
|
|
« ตอบ #133 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2551, 05:14:38 » |
|
แล้วถ้าหักภาษีไม่ได้ล่ะ (ไม่ได้เสียภาษี) ตัวไหนน่าสนใจที่สุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
EdDy_Smart81
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 654
|
|
« ตอบ #134 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2551, 11:07:46 » |
|
ถ้าไม่ได้เสียภาษีผมว่าอย่าซื้อกองทุนเลยครับ ซื้อหุ้นดีกว่านะครับ ผมแนะนำ ปูนใหญ่ SCC ราคาตำกว่าร้อยน่าทยอยเก็บนะครับ ธุรกิจปิโตรเคมีปีหน้าจะเลวร้ายสุดตาม Cycle ซึ่งราคาหุ้นปรับตัวลงมามากตอบรับข่าวแล้ว ซื้อและถือยาวๆ หน่อย รับปันผล กับ Capital Gain ได้ รอตลาดฟื้นราคาก้ขึ้นตามตลาดได้มากโข แนะนำเก้บปูนใหญ่ครับ ฟันทิ้ง 5555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Max
|
|
« ตอบ #135 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2551, 18:22:33 » |
|
1. แนะนำ เพื่อนไข่ อ่านหนังสือที่ให้ไปจนหมดเล่ม ก่อนเลยอ่ะ ทำหายยังอ่ะ เพราะจะได้รู้ว่าเราจะจัด พอร์ต ยังไง 2. ถ้าไม่ชอบความเสี่ยง ไปที่กองทุนตราสารหนี้ก่อนครับ เอาแบบที่มัน สามารถถอนตังค์มาใช้พรุ่งนี้หรืออีก 2 วันได้ เน้นสภาพคล่องก่อนครับ 3. เก็บหุ้นด้วยครับ ของดีราคาถูก เพราะยังไงถ้ามันขาขึ้นแล้ว เรามักจะชอบพูดว่า " รู้งี้...." กันครับ ตอนนั่งเรียน ยังเคยนั่งนึกเลยว่า จะมีไหมหนอ ที่ PTT จะมาอยู่ที่ ร้อยกว่าบาท อ่ะ แถมมีแช่ง อีกว่า อยากให้เศรษฐกิจมัน เจ๊ง แบบต้มยำกุ้งจัง จะได้เก็บๆ พวกนี้บ้างอ่ะ ชั่วป่ะ.... 4. ประมาณต้นปี มันจะมีพวกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกมาครับ ขายหลายกองทุนเราจะได้ปันผลประมาณ 7-9 % ครับ เน้นที่มันลงสิทธิ์ขาดในที่ดินและอาคาร เพราะว่า พวกนี้ตอนมันขายทรัพย์สินออกไปเราจะได้กำไรจากตรงนี้ด้วยเพราะว่าราคาทรัพย์สินอย่างที่รู้ราคาจะปรับครับ แล้วก็ ระหว่างทางเราก็ได้ผลตอบแทน เปรีบบเสมือนดอกเบี้ย ที่ 8-10 % น่าสนครับเพราะว่ายังไงมันก็มากกว่าตราสารหนี้และเงินฝาก และ ดีน้อยกว่าหุ้น แต่ความเสี่ยงน้อยกว่า นอกจากกว่าตึกจะถล่ม แต่ ยังไงก็มีประกันภัยอยู่ดี (ทำตรงส่วนนี้อยู่) ** Future Option ถ้าเล่นเป็นก็ดีครับเพื่อนไข่หัวไว เราว่าเข้าใจได้ง่าย แต่ว่าความเสี่ยงก็สูงเช่นกัน ถ้าอยู่เมืองไทยก็ดี มันจะมีอบรมฟรีของตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับพวกนี้อยู่น่ะ จะมีวิทยากรมาพูดให้ฟังเพราะเค้าต้องการระดมทุนในตลาดทุน กันอ่ะ แต่ถ้าเอาไว้ดูข้อมูลก็ได้ครับ เช่น ราคาน้ำมัน ทองคำ ฯลฯ เพราะราคาพวกนี้มันก็จะตามๆ ตลาด Future ไปอ่ะ จะได้ดูแนวโน้ม สิ่งต่างๆ ที่มันเอามาทำ Future กันได้นะ ที่จริงที่เกาหลี เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดนะ มันเล่นกันทุกอณูอ่ะ ขนาดพวกแม่บ้านยังเล่นอ่ะ อารมณ์หวยหุ้น เก็งถูก็ได้กำไรไป ไม่ถูกก็เสียตังค์ อืม...มันยาว ต้องหาหนังสืออ่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Max
|
|
« ตอบ #136 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2551, 18:28:24 » |
|
หวัดดีครับ P'Max RCU 79 เน้อ ครุฯ ธุรกิจ พอนึกออกป่ะ พี่พอจำเราได้น่ะ แต่จำไม่ได้ว่า เคยร่วมทำกิจกรรมอะไรกันอ่ะ เหอๆๆ พี่ทำอยู่ บลจ.วรรณ ครับ ฝ่ายจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นนักวิเคราะห์ แสดงว่าได้ พวก CISA หรือ CFA แล้วซิ ไม่มาลองทำพวก Fund บ้างอ่ะ เพื่อจะได้เป็น Fund Manager
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
EdDy_Smart81
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 654
|
|
« ตอบ #137 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2551, 08:03:46 » |
|
จำได้ครับพี่แม็ก ผมไม่อยากเป็น Fund Manager แต่อยากเป็นผู้จัดการการฟัน อ่ะครับ 555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ppornson
|
|
« ตอบ #138 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2551, 10:15:03 » |
|
เบื่อคนมีตังค์..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Max
|
|
« ตอบ #139 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2551, 12:00:27 » |
|
อ่ะนะ งั้นปรึกษา พี่ๆ ในบอร์ดรุ่นนี้ก็ได้ น่าจะถนัดด้านนี้หลายคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Max
|
|
« ตอบ #140 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2551, 12:00:52 » |
|
ดูแลแต่เงินชาวบ้านอ่ะ แต่เงินตัวเองไม่มี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
EdDy_Smart81
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 654
|
|
« ตอบ #141 เมื่อ: 30 ธันวาคม 2551, 12:57:24 » |
|
อ่ะนะ งั้นปรึกษา พี่ๆ ในบอร์ดรุ่นนี้ก็ได้ น่าจะถนัดด้านนี้หลายคน [/quote] ขอคำชี้แนะจากทุกท่านครับ ด้านนี้ผมยังไม่ประสานัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Mr.EggMan
|
|
« ตอบ #142 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2551, 04:31:26 » |
|
เรื่องที่น้องต้องการ หลังไมค์ พี่ตาแคมได้เลย ของเค้าดีจิงๆ ไอ้ฟันๆอะไรนี่
ยาวหน่อยนะ
คุณ "สาธิต บวรสันติสุทธิ์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดการลงทุน บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า การบริหารภาษีจัดเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตลงทุนได้ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถบริหารภาษีด้วยการใช้เทคนิค "ลดภาษี เพิ่มผลตอบแทน" ด้วยกลวิธี 8 แนวทาง
กลวิธีที่ห นึ่ง ใช้สิทธิ์ "หัก" ค่าใช้จ่ายและ "ค่าลดหย่อน" ให้ครบถ้วน
- ไล่กันตั้งแต่ ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต สิทธิ์ลดหย่อนภาษีกองทุน "อาร์เอ็มเอฟ" (RMF) และกองทุน "แอลทีเอฟ"(LTF) ดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนการลดหย่อน "เงินบริจาค"
- ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 รัฐบาลได้ออกมาตรการใหม่เพิ่มสิทธิ์ลดหย่อน "ค่าเบี้ยประกันชีวิต" หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท จากเดิม 50,000 บาท
- ขณะเดียวกันได้เพิ่มสิทธิ์ภาษีเงินค่าซื้อ "กองทุนอาร์เอ็มเอฟ" หักได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกบข.ในปีภาษีนั้นแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ส่วนเงินค่าซื้อกองทุนแอลทีเอฟ หักได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท จากกฎหมายเดิมให้ไม่เกิน 300,000 บาท
- นอกจากนี้ ตามมาตรการใหม่ของรัฐบาล ยังกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำสุดไม่เกิน 150,000 บาทต่อปีไม่ต้องเสียภาษี จากเดิมที่มีรายได้ต่ำสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- การบริจาคเงินการกุศล ก็เป็นอีกกลวิธีช่วยลดภาษีได้ดีอีกทางหนึ่ง
สำหรับเงินบริจาคได้ โดยแยกเงินบริจาคได้ 3 ประเภท กล่าวคือ
หนึ่ง.เงินบริจาคด้านการศึกษา ที่เรียกว่า "จ่าย 1 ได้ 2 " เพราะสามารถหักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลักหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
สอง.. เงินบริจาคด้านกีฬา หักได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
สาม..เงินบริจาคทั่วไป หักได้เท่าที่บริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนและเงินบริจาคการศึกษาและเงินบริจาคเกี่ยวกับกีฬา
"ถ้ามีรายได้มากที่ฐานภาษี 37% แนะนำให้บริจาคเต็มเพดานที่กฎหมายกำหนดจะคุ้มค่าที่สุด เช่น บริจาคเงินที่ 100 บาท จะลดหย่อนได้ 200 บาท หักภาษี 37% จะได้คืนเงิน 74 บาท หรือเงินทุก 100 บาทที่บริจาคจะได้รับผลตอบแทนกลับคืน 11% มากกว่าการไม่บริจาค"
การบริจาคเงิน..นอกจากจะได้บุญแล้ว ยังได้กำไรอีกต่อหนึ่งด้วย
กลวิธีสอง..ย้ายรายได้ไปยังบุคคลที่มีฐานรายได้ต่ำกว่า
เช่น จาก ก. ไป ข. ,ชิงโชคในชื่อลูก,ฝากเงินในชื่อลูก หรือขายประกันโดยใช้ชื่อลูก เป็นต้น
สาธิต บอกว่า กรณีที่เมื่อใดควรจะฝากเงินและใช้สิทธิ์ยื่นภาษีเงินได้ในชื่อลูกนั้น ภาษีที่ได้คืนจากการใช้สิทธิ์ลดหย่อนลูกต้องน้อยกว่า หรือเท่ากับภาษีที่ได้คืนจากการนำดอกเบี้ยเงินฝากลูกไปยื่นภาษี
วิธีการก็คือ หากดอกเบี้ยเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท แนะนำให้นำมารวมเป็นฐานเงินได้ เพราะอัตราภาษีของเงินได้ที่ไม่เกิน 5 แสนบาท สูงสุดอยู่ที่อัตรา 10% ซึ่งต่ำกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายของ ดอกเบี้ยที่ 15%
แต่หากกรณีที่ดอกเบี้ยเงินฝากเกิน 5 แสนบาท ให้ลองคำนวณภาษีดูก่อน
และดอกเบี้ยต่ำสุดที่ควรฝากในชื่อลูก ให้คิดจากภาษีที่ได้คืนจากการใช้สิทธิ์ลดหย่อนลูกที่ศึกษา หารด้วย 15%(ภาษีดอกเบี้ย) เปรียบเทียบ
ทั้งนี้ในการฝากเงินในชื่อลูกนั้น กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า กรณีพ่อและแม่ฝากเงินร่วมกับลูกผู้เยาว์ ดอกเบี้ยให้ถือเป็นเงินได้ของพ่อหรือแม่
แต่หากพ่อหรือแม่ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ดอกเบี้ยที่ได้รับให้ถือเป็นเงินได้ของลูก
และดอกเบี้ยเกิน 1.5 หมื่นบาท พ่อแม่จะไม่สามารถนำมาเป็นเงินได้ของพ่อแม่
แยกหน่วยภาษี.. เป็นกลวิธีที่สาม
สาธิต กล่าวว่า การแยกหน่วยภาษีและย้ายเงินได้เพื่อกระจายฐานภาษี เช่น การจัดตั้งคณะบุคคล จะทำให้ได้ประโยชน์จ่ายภาษีในอัตราต่ำ และได้ค่าลดหย่อนซ้ำโดยคณะบุคคลละ 6 หมื่นบาท
"เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นวิธีการก็คือ ควรจะแยกรายได้ไปให้ลูกเพื่อเริ่มฐานภาษีใหม่ เพื่อทำให้จ่ายภาษีในอัตราต่ำ หรือใช้วิธีการจัดตั้งคณะบุคคลประกอบกิจการอะไรก็ได้ร่วมกันตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป เช่น ตั้งคณะบุคคลฝากเงินธนาคารกินดอกเบี้ย ซึ่งการจัดตั้งสามารถจดทะเบียนซ้ำ และยื่นภาษีแยกกันได้"
ต่อมากลวิธีที่สี่..ยืดระยะเวลาในการเสียภาษี
วิธีการอย่างหนึ่งก็คือ การรับรู้รายได้คนละปีภาษี เช่น การคงเงินไว้ใน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีที่มีอายุงานต่ำกว่า 5 ปี ก็จะทำให้เสียภาษีในอัตราที่ "ต่ำกว่า" การถอนเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงก่อนครบอายุสมาชิก 5 ปี
"การที่สมาชิกใช้วิธีพักเงินไว้กับกองทุนในกรณีลาออกจากงานแล้วยังไม่งานใหม่ จะทำให้เสียภาษีในฐานต่ำกว่า หรือหากได้งานใหม่ก็สามารถโยกเงินกองทุนไปบริษัทใหม่ จะทำให้นับอายุกองทุนต่อเนื่อง แต่ถ้าลาออกจากสมาชิกกองทุน แล้วนำเงินมารวมเป็นรายได้ปลายปี จะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า"
กลวิธีที่ห้า..เลือกออมเงินแบบ "ยกเว้นภาษี"
สำหรับผู้ที่มีเงินออมโดยที่ไม่ได้นำไปลงทุน จะด้วยกลัวความเสี่ยง หรือมีเหตุผลใด ๆ ก็ตาม และหลีกเลี่ยงไม่ต้องการจ่ายภาษีเงินฝากในอัตราที่สูง
สาธิตแนะนำว่า ผู้ออมเงินควรจะเลือกออมเงินในกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกหลากหลาย เช่น การซื้อสลากออมสิน ฝากเงินออมสินเผื่อเรียกของรัฐบาล ฝากเงินออมทรัพย์ที่ได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 2 หมื่นบาท เงินฝากประจำแบบผูกพันหรือมีระยะเวลา เงินฝากประจำสำหรับผู้สูงอายุ
แม้แต่การลงทุนในหุ้นหรือกองทุน เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน เป็นต้น
กลวิธีที่หก.. เลือกเสียภาษีในรูปแบบที่ได้ประโยชน์ "สูงสุด"
ทางเลือกนี้เหมาะสำหรับคนที่ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งสามารถเลือกระหว่างการขายหุ้นเอากำไร หรือรับเงิน ปันผลแล้วใช้สิทธิประโยชน์ภาษี
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดการลงทุน บอกว่า หากผู้ลงทุนเลือกที่จะรับเงินปันผล ก็จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากที่บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% โดยสามารถเลือกนำมาคำนวณปลายปีหรือไม่ก็ได้ แต่กรณีที่เสียภาษีในอัตรา 30% เขาแนะนำให้ควรนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีจะคุ้มค่ากว่า
" คนเล่นหุ้นสามารถเลือกที่จะเอากำไร ซึ่งไม่ต้องเสียภาษี หรือจะรอรับปันผล ก็สามารถขอเครดิตภาษีคืนทีหลังได้ แต่ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะต้องตรวจสอบก่อนว่าหุ้นหรือบริษัทที่จ่ายปันผลนั้นมีอัตราภาษีอยู่ที่เท่าไร
หากมีอัตราภาษี 30% การรวมภาษีปลายปีและขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนจะคุ้มค่ามากสุด แต่หากบริษัทได้รับยกเว้นภาษีบีโอไอ ก็ไม่ควรรวมรายได้ปลายปีเพื่อขอเครดิตภาษีคืน"
ส่วนกลวิธีที่เจ็ด..ทางเลือกลงทุนในหลักทรัพย์
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี ได้แก่ การซื้อเบี้ยประกันชีวิต ซื้อกองทุน RMF หรือ LTF ตลอดจนลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกบข. จะทำให้ได้ประโยชน์ทางภาษีมากกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ
สุดท้าย กลวิธีที่แปด..ใช้สิทธิ์เรียก "คืนภาษี" ให้เร็วที่สุด
สาธิตบอกว่า กรณีการลงทุนใน RMF หรือ LTF ระหว่างปี จะทำให้ได้ประโยชน์สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ภายในปี เท่ากับจะทำให้มีรายได้ในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น ซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นยังสามารถนำมาซื้ออาร์เอ็มเอฟ หรือ แอลทีเอฟ ตลอดจนลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ให้เกิดผลตอบแทนเพิ่มขึ้นได้อีก
นอกจากนั้น ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหุ้น หรืออาร์เอ็มเอฟและแอลทีเอฟ การซื้อระหว่างปียังช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีกว่าซื้อครั้งเดียวในช่วงปลายปี
"หลายคนมักจะมาซื้อ RMF และ LTF ในช่วงปลายปี นอกจากจะซื้อหุ้นที่ราคาแพงแล้ว (หุ้นมักขึ้นในช่วงปลายปี ) และหมดสิทธิ์ในการเลือกซื้อหุ้นที่ราคาต่ำ ๆ แล้ว ยังเสียประโยชน์การลดหย่อนภาษีอีกด้วย
การซื้อระหว่างปีผู้ลงทุนจะสามารถหักลดหย่อนได้ทันที (โดยไม่ต้องยื่นภาษีในช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไป) ทำให้มีเงินเพิ่มขึ้นนำกลับไปซื้อกองทุนได้อีกต่อหนึ่ง และโดยปกติผลตอบแทนของกองทุนอาร์เอ็มเอฟ และแอลทีเอฟ จะได้มากกว่าเงินฝากอยู่แล้ว" สาธิต กล่าว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Apirat T.
|
|
« ตอบ #143 เมื่อ: 05 มกราคม 2552, 07:08:51 » |
|
หรือ หน้าไมค์เลยดีไหม๊ ไม่ค่อยเกรงใจใครอยู่แล้ว ฮ่าๆๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ppornson
|
|
« ตอบ #145 เมื่อ: 06 มกราคม 2552, 19:13:03 » |
|
เก่งคร้าบบบบ...เก่งมากๆเลยคร้าบบบบบ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
telek78
|
|
« ตอบ #146 เมื่อ: 07 มกราคม 2552, 12:20:50 » |
|
อยากทราบว่า ธนาคารไหนมั่นคงที่สุดตอนนี้ และเค้าดูกันยังไงอ่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Max
|
|
« ตอบ #147 เมื่อ: 07 มกราคม 2552, 12:53:49 » |
|
น่าจะดูที่หนี้เสียมั้งครับพี่
ว่ามีปริมาณมาแค่ไหน
เพราะว่าถ้ามีเยอะแล้วทวงคืนไม่ได้นี่ก็แย่เลย
หรือ Finanace สมัยก่อนที่มันล้ม เพราะมันปล่อยหนี้โดยที่ไม่มีหลักประกันก็มีครับพี่
รอท่านอื่นว่าต่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jviruch-78
|
|
« ตอบ #148 เมื่อ: 07 มกราคม 2552, 12:54:48 » |
|
ไม่มีตังค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
EdDy_Smart81
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 654
|
|
« ตอบ #149 เมื่อ: 07 มกราคม 2552, 13:06:12 » |
|
พี่โจ้ไม่มีตังแล้ว ใครจะมีหว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|