23 พฤศจิกายน 2567, 12:06:15
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ซีมะโด่งสองสี่ ร่วมยินดีกับอ.เผ่า  (อ่าน 53437 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:14:07 »

      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #1 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:29:24 »



หลายคนเห็นท่านเป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่ ที่ใกล้ชิด คอยดูแลนิสิตที่มาอยู่หออย่างไม่รู้เหนื่อย ทั้งเป็นแบบอย่างที่สมถะ เรียบง่าย แต่จิตที่ยิ่งใหญ่ ท่านได้เป็นที่พึ่งพิงของนิสิต โดยเฉพาะหอชายมารุ่นต่อรุ่น  แม้ลุงเอง  ท่านเป็นหนึ่งตัวอย่างบุคคลที่มีลักษณะบุรพการี(คือช่วยก่อน โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน)  เช่นที่ท่านนายกสภา ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เคยพูดไว้ในเรื่องสังคมคลื่นลูกที่ห้าคือสังคมแห่งปัญญา  ต้องยึดแบบอย่างบุคคลบุรพการี (เช่นอาจารย์เผ่า) ทำให้เราดูและทำตามกันมากๆ  จะทำให้สังคมเป็นสุขได้

การที่มีผู้มองเห็นและคัดเลือกให้ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรมไทย ปี๒๕๕๓นี้ พวกเราจึงร่วมชื่นชมยินดีกับอาจารย์ของเราอย่างยิ่ง

มารู้จักประวัติของท่านอาจารย์อย่างเป็นทางการสักหน่อย

นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี
ชื่อเล่น: เผ่า
เพศ: ชาย
ที่อยู่: Thailand กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน
สถานที่ทำงาน: Thailand กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน

สถานภาพ: เต็มเวลา, งานเสริม, อิสระ, สมัครเล่น
คำแนะนำตัว: ครูช่างสถาปัตยกรรมไทย
- นิสิตเก่าดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์ดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพในฐานะสถาปนิกที่รับผิดชอบต่อวิชาชีพ อย่างซื่อสัตย์สุจริต อนุรักษ์และสืบทอดงานสถาปัตยกรรมประจำชาติต่อไป ตลอดจนการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพ และพัฒนารูปแบบและกรรมวิธีการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ประวัติโดยสังเขป: ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา
: พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๖ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ -๔ จากโรงเรียน
จารุพันธ์พิทยา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
เริ่มสนใจและหัดเรียนสีน้ำกับ ครูไชยพันธ์ สิทธิพันธ์ ซึ่งเป็นครูที่สอน
ศิลปะคนแรกในชีวิต
: พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๐๙ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ - ๗ จากโรงเรียน
สงเคราะห์ศึกษา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
เริ่มมีความสนใจและเริ่มเรียนศิลปะไทยโดยเฉพาะลายไทย กับอาจารย์
เสถียร มุขมณี ซึ่งเป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียน ได้ช่วยอาจารย์ประดับ
ตกแต่งรถแห่เทียนพรรษา ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีอันยิ่งใหญ่ประจำปี
ของจังหวัดอุบลราชธานีจึงสนใจงานศิลปะไทยตั้งแต่บัดนั้นมาและเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพสีน้ำของจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงที่เรียนระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
: พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๔ ศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อ.เมือง
จ. อุบลราชธานี
ขณะเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด ได้เรียนศิลปะหลายแขนงมากขึ้น เช่น การเขียนสีน้ำมัน งานประติมากรรม และสิ่งที่มีความประทับใจและรักงานศิลปะไทยมากคือการได้ลงมือช่วยอาจารย์ทำต้นเทียนพรรษาในงาน
ประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีเสมอมา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ได้ศึกษาศิลปะจากอาจารย์จุมพล ส่งศรีและอาจารย์เทอด บุญยรัตนพันธ์
ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ศึกษากับ อาจารย์ประดิษฐ์ อาธิเวช ในขณะเรียนมัธยมศึกษา ได้ส่งภาพวาดสีน้ำเข้าประกวด ในงานศิลปะประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับรางวัลชนะเลิศเสมอมา
ระดับอุดมศึกษา
: พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๘ ศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จ สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต
เกียรตินิยมอันดับ ๒
เมื่อเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่ง ได้มีโอกาสเรียนวิชา
สถาปัตยกรรมไทย โดยเป็นศิษย์รุ่นแรก ของ รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี หรืออาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี ในขณะนั้น ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเริ่มเรียน อาจารย์ จะให้เขียนลายไทย และภาพไทย ด้วยความที่มีใจรักงานศิลปะด้านนี้อยู่แล้ว จึงตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ด้วยความทุ่มเท และยังได้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนด้านจิตรกรรมไทยโดยไปขอความรู้จากช่างซ่อมจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้ว เมื่อทำงานส่ง ผลงานจึงมีความโดดเด่นกว่าเพื่อนนิสิตคนอื่นๆ อาจารย์ (รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี) จึงชักชวนให้ไปช่วยทำงานที่บ้าน ซึ่งได้เรียนรู้ การออกแบบสถาปัตยกรรมไทย การเขียนแบบก่อสร้างมากยิ่งขึ้น และยังมีโอกาสติดตามอาจารย์ ไปดูงานก่อสร้าง และได้ลงเส้นแบบขยายลายเท่าจริงให้อาจารย์ ในช่วงปิดภาค ตั้งแต่บัดนั้นจนสำเร็จการศึกษา และเนื่องจากมีปัญหาการขาดแคลนทุนทรัพย์ เพราะบิดาเสียชีวิตตั้งแต่ตนเองอยู่ในวัยเยาว์ อาจารย์ จึงให้งานให้ความอุปการะทุนเล่าเรียน และให้วิชาความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทยอย่างเต็มใจ จึงนับว่าท่านเป็นครูช่างสถาปัตยกรรมไทย ในชีวิตจนถึงปัจจุบัน
: พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ศึกษาและสำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิทยาการจัดการงานก่อสร้าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. ๒๕๑๙ :ทำงานในตำแหน่ง สถาปนิก กองควบคุม การเคหะแห่งชาติ ด้วยความตั้งใจที่จะรับใช้ประเทศชาติทดแทนภาษีประชาชน เนื่องจากช่วงการศึกษาในมหาวิทยาลัย ได้เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จึงมีอุดมการณ์ ที่จะรับใช้สังคม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่เมื่อเข้าทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เมื่อพบกับความไม่โปร่งใส จึงยอมรับไม่ได้ และไม่สามารถ ทนต่อสภาพการทำงานเช่นนั้นได้ ดังนั้นจึงลาออก เมื่อทำงานได้เพียง ๑๑ เดือน
พ.ศ. ๒๕๒๐ :ทำงานในตำแหน่งสถาปนิก บริษัท สยามกลการ จำกัด
หลังจากลาออกจากการเคหะแห่งชาติแล้ว ตั้งใจจะรับราชการ เป็นครู แต่จังหวะนั้น ยังไม่มีการให้สอบบรรจุเข้ารับราชการจึงไปสมัครงานใน
บริษัทเอกชนเพื่อให้พอมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ และที่บริษัท สยามกลการ จำกัด นี้ ได้มีโอกาสทำงานเป็นลูกน้องของ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ รน. อดีตอธิบดีกรมศิลปากร หลังจากท่านเกษียณราชการแล้วได้ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนดังกล่าว ท่านได้มอบหมายให้ไปควบคุมการก่อสร้างศูนย์จำหน่ายและบริการรถยนต์ ที่ อำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จนงานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ท่านจึงแนะนำให้ไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการเพราะมีความมั่นคง
พ.ศ. ๒๕๒๑ :รับราชการใน ตำแหน่งอาจารย์ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จากความตั้งใจที่อยากเป็นครู และอยากสร้างคนที่มีคุณภาพให้กับสังคม จึงไปสอบบรรจุเป็นอาจารย์ ที่วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี แต่เนื่องจากได้ แต่งงานเมื่อปลาย ปี ๒๕๒๑ ที่ จ.ขอนแก่น ทำให้ประสบปัญหาการเดินทาง และต้องแยกกันอยู่กับภรรยาและบุตร ประกอบกับรายได้น้อยจึงขอโอนย้ายไป จ.ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๒๒ :รับราชการในตำแหน่งสถาปนิก กองอาคารและสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเนื่องจากในช่วงดังกล่าว ที่ จ.ขอนแก่นไม่มี ตำแหน่งอาจารย์ จึงจำเป็น ต้องขอโอนไปเป็นสถาปนิกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรับราชการที่นั่นจนถึงสิ้นปี 2523
พ.ศ. ๒๕๒๔ :รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถึงปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ๒๕๒๔ ช่วงที่รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้ชักชวนให้โอนย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตย-กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีอาจารย์ที่สอนสถาปัตยกรรมไทยเพียงผู้เดียว กอปรกับที่อาจารย์เห็นว่าตั้งใจอยากเป็นครูอยู่แล้ว จึงได้ตัดสินใจรับปากอาจารย์ ทั้งที่ขณะนั้นบุตรคนที่ ๒ มีอายุเพียง ๔ เดือน และฐานะครอบครัวยังไม่มั่นคงและต้องแยกกันอยู่ เมื่อโอนมาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ แรกๆได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านอาจารย์ จนปลายปี ๒๕๒๕ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิตจุฬาฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแลปกครองนิสิตชายของหอพัก จึงได้มาพำนักอยู่ในบ้านพักของหอพักนิสิตตลอดมา และได้ดำรงตำแหน่งอนุสาสกหอพัก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน
ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐบาล ได้อนุมัติให้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
เปิดสอนหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรมไทย เนื่องจากขณะนั้นสถาปนิกที่
สามารถออกแบบ สถาปัตยกรรมไทยประเพณีมีน้อยลง จึงได้ให้ทุนการ
ศึกษาในการรับนิสิตโครงการดังกล่าว ๕ รุ่นแรก ตลอดการศึกษาจึงได้เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

ประวัติการสร้างสรรค์ผลงาน

นับตั้งแต่มาเป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเริ่มงานออกแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีอย่างจริงจัง ซึ่งในระยะแรกยังทำงานร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ในฐานะ สถาปนิกผู้ช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานออกแบบและปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย หลังจากที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จึงเริ่มมีผลงานออกแบบเป็นของตนเองล้วนๆ จากการแนะนำจากคณาจารย์ในคณะ และมิตรสหายที่คุ้นเคยมาเป็นลำดับ โดยมีประวัติการสร้างสรรค์ผลงานตามลำดับเวลาดังมีรายละเอียดบางส่วน ของผลงานพร้อมแบบแปลนประกอบโปรดดูในข้อที่ ๑๐)

การสร้างสรรค์และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน ( เฉพาะ สถาปัตยกรรมไทยประเพณี)
พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ร่วมออกแบบเจดีย์พระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบเมรุพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง อาคารคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อนุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม (เรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒ ร่วมออกแบบเรือนไทย เสถียรธรรมสถาน ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๓ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารเรียนปริยัติธรรม วัดหนองแขม ซอยเพชรเกษม ๘๑ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาอเนกประสงค์(ศาลา สง่า–ทองอยู่ นาควัชระ) วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ ออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนรัชพร โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
พ.ศ. ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอพระประจำโรงเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๑ ออกแบบปรับปรุงซ่อมแซมและควบคุมการก่อสร้างอาคารคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนไทยของคุณสุวรรณาอาริยพัฒนกุล คลอง ๑๒ อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี
พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหารพระพุทธโลกนารถบพิตร วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดหลักสาม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๒– ๒๕๔๓ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารบรรจุอัฐิ และรูปหล่อท้าวสุรนารี วัดศาลาลอย อ.เมือง จ.นครราชสีมา
พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอกลอง หอระฆัง วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง ศาลาไทยหน้าหอประชุม
กองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๗ ร่วมออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง พระตำหนักประทับแรมในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ลุ่มน้ำปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบวิหารรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดปทุมวนาราช ราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)
พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลา ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)
พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลาบูรพาจารย์ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)
พ.ศ. ๒๕๔๘ ร่วมออกแบบ พระอุโบสถกลางน้ำ ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา(อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)
พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกแบบอาคารธรรมสถาน ในมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย อ. ศาลายา จ.นครปฐม (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)
พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมออกแบบอาคาร มวก. ๔๘ พรรษา (อาคารหอประชุม) ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)

การเผยแพร่ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมแก่สาธารณชน
ผลงานด้านวิชาการ
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๓ พ.ศ. ๒๕๔๖
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๔ พ.ศ. ๒๕๔๗
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๕ พ.ศ. ๒๕๔๘
- วิทยากรพิเศษ หัวข้อ การนำวัสดุสมัยใหม่มาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแก่สถาปนิกและวิศวกร สำนักงานสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ ๑๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ผลงานด้านการวิจัย

- วีระ สัจจกุล, นพนันท์ ตาปนานนท์, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการจ้างศึกษาและประชาพิจารณ์ระบบขนส่งมวลชนเสริมรางรถไฟฟ้า ในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ เสนอต่อกรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓
- เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตา-นนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบ รายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาส เสนอต่อ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓
- เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตานนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณราชนาวีสโมสร เสนอต่อสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓
 
ที่มา http://www.manmademiracle.com/
      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #2 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:39:21 »

ผลงานบางส่วนที่สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ จัดพิมพ์


      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
Lamai
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,712

« ตอบ #3 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:45:42 »

กราบแสดงความยินดีกับท่านอาจารย์เผ่าด้วยค่ะ sorry
      บันทึกการเข้า
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #4 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:49:09 »

วันนี้ขอขอไปร่วมแสดงความยินดีกับอ.เผ่า แทนรุ่น Cmadong24 ตามที่ได้รับมอบหมายจากเพื่อนๆ มีภาพมาฝากครับ...
 บ่ฮู้บ่หัน

      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #5 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:51:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ Lamai เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:45:42
กราบแสดงความยินดีกับท่านอาจารย์เผ่าด้วยค่ะ sorry

สวัสดีน้าไมโกะ ...ท่านอาจารย์ฝากขอบคุณมายังรุ่น ๒๕๒๔ ทุกคนด้วยครับ
      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
Lamai
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,712

« ตอบ #6 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:56:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ Uncle Na เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:49:09
วันนี้ขอขอไปร่วมแสดงความยินดีกับอ.เผ่า แทนตัวแทนรุ่น Cmadong24 มีภาพมาฝากครับ...


ขอบคุณกรรณะที่เป็นตัวแทนของพวกเรา ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
แจง-24
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2524
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 10,028

« ตอบ #7 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 08:49:31 »

ขอกราบแสดงความยินดีกับ อาจารย์เผ่า อีกครั้งค่ะ

ขอขอบคุณลุงณะมากๆ ที่เป็นธุระแทนเพื่อนๆทั้งรุ่น...(ดอกไม้สวยมากค่ะ ลุงณะ)
และยังช่วยลงประวัติและผลงานอาจารย์ให้เพื่อนๆทราบกัน

ขอเน้นประวัติอาจารย์ตรงนี้นิดนึงค่ะ


อ้างถึง
ข้อความของ Uncle Na เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:29:24


.....................................
พ.ศ. ๒๕๒๔ :รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน

ในปี ๒๕๒๔ ช่วงที่รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้ชักชวนให้โอนย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีอาจารย์ที่สอนสถาปัตยกรรมไทยเพียงผู้เดียว กอปรกับที่อาจารย์เห็นว่าตั้งใจอยากเป็นครูอยู่แล้ว จึงได้ตัดสินใจรับปากอาจารย์ ทั้งที่ขณะนั้นบุตรคนที่ ๒ มีอายุเพียง ๔ เดือน และฐานะครอบครัวยังไม่มั่นคงและต้องแยกกันอยู่ เมื่อโอนมาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ แรกๆได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านอาจารย์ จนปลายปี ๒๕๒๕ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิตจุฬาฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแลปกครองนิสิตชายของหอพัก จึงได้มาพำนักอยู่ในบ้านพักของหอพักนิสิตตลอดมา และได้ดำรงตำแหน่งอนุสาสกหอพัก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน.........

 
ที่มา http://www.manmademiracle.com/

..

เพิ่งทราบว่าปี 24 ที่พวกเราเข้าจุฬาฯ ก็เป็นปีที่ อ.เผ่า กลับเข้ามาทำงานในจุฬาฯ เหมือนกันค่ะ
เป็นความบังเอิญที่กลายเป็นโชคดีของรุ่น 24 หอชาย หลายๆคน
ใช่ไหมคะ ลุงณะ
      บันทึกการเข้า

   อยู่อย่างต่ำ กระทำอย่างสูง
ตี้ถาปัด
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: สถาปัตยกรรมศาสตร์
กระทู้: 10,337

« ตอบ #8 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 09:05:18 »

ขอกราบแสดงความยินดีด้วยครับอาจารย์ครับ
      บันทึกการเข้า

2437041
churaipatara
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 27,182

« ตอบ #9 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 14:35:37 »

กราบแสดงความยินดีกับอาจารย์ด้วยค่ะ..และขอบคุณลุงณะที่เป็นตัวแทนของพวกเรา..
      บันทึกการเข้า
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 14:54:58 »

กราบแสดงความยินดีกับอาจารย์ผู้เป็นที่รักยิ่งด้วยคนครับ
      บันทึกการเข้า
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #11 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 19:49:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ แจง-24 เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2554, 08:49:31
ขอกราบแสดงความยินดีกับ อาจารย์เผ่า อีกครั้งค่ะ

ขอขอบคุณลุงณะมากๆ ที่เป็นธุระแทนเพื่อนๆทั้งรุ่น...(ดอกไม้สวยมากค่ะ ลุงณะ)
และยังช่วยลงประวัติและผลงานอาจารย์ให้เพื่อนๆทราบกัน

ขอเน้นประวัติอาจารย์ตรงนี้นิดนึงค่ะ
 
ที่มา http://www.manmademiracle.com/[/size]
..
  
อ้างถึง   
เพิ่งทราบว่าปี 24 ที่พวกเราเข้าจุฬาฯ ก็เป็นปีที่ อ.เผ่า กลับเข้ามาทำงานในจุฬาฯ เหมือนกันค่ะ
เป็นความบังเอิญที่กลายเป็นโชคดีของรุ่น 24 หอชาย หลายๆคน
ใช่ไหมคะ ลุงณะ

สวัสดีครับ  น้าแจงน้าไมโกะ ดร.เอ๋ ลุงตี้ น้องสน และเพื่อนๆ  ขอบคุณที่แวะมาลงนามแสดงความยินดีแด่อาจารย์เผ่า ของเราในสมุดลงนาม e-book เล่มนี้

ดอกไม้ เลือกสวยแบบคลาสสิก เพราะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ เมื่อหมดงานอาจารย์สามารถนำการ์ดของพวกเราออก สามารถนำไปใช้งานอื่นๆ ได้อีก

โชคดีจริง ที่อาจารย์เผ่าเข้ามาช่วยอนุสาสกช่วงนั้น หากจำไม่ผิดน่าจะเป็นช่วงอาจารย์ประยูร ร่มโพธิ์  อาจารย์เผ่าเป็นผู้ปฐมนิเทศนิสิตหอชายวันแรก ที่ปีกตึกหอเจ้าจอมด้านทิศใต้ละมังตอนนั้น..ไม่แน่ใจ
 งง งง

ชมบรรยากาศช่วงโพล้เพล้ที่จัดงานแสดงความยินดีให้อาจารย์ ต่อดีกว่า..

      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #12 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 20:04:01 »


มีการตกแต่ง จัดงานบริเวณลานศาลาเย็นใจซีมะโด่ง


ทีมผอ.แนิละคุณน้อย จากสิตสัมพันธ์ก็มาร่วมด้วย  

      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #13 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 20:16:17 »





บ้านพักอนุสาสก สมัยนั้น  ตอนนี้ปรับปรุงข้างล่างให้โปร่งและยกให้เป็นของหน่วยงานอื่นของจุฬาฯ  แล้ว


ขอความแสดงความยินดี..ในสมุดลงนาม


ปิดท้ายด้วยรูปหอนิสิตชาย 1  ตอนนี้เป็นหอหญิงชวนชม ในเดือนหน้าได้ข่าวว่าจะส่งมอบให้ผู้รับเหมาเพื่อทุบทิ้ง เพื่อพัฒนาพื้นที่  พื้นเดิมดีมากเป็นแหล่งหัดเล่นสเก็ต ของวัยรุ่น รุ่นลุง เป็นแบบสี่ล้อต่อข้่าง เท่ซะ..

คงจะเริ่มปิดตำนาน หอ1 นี้ไปอีก 1 ตึก.. หากมีเวลาชาว 24 ก็นาจะมาร่วมปิดตำนานหอนี้ด้วยกันสักวัน

ขอให้ทุกๆ คน ที่เข้ามาอ่านโชคดีครับ


      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
jingjok ۩ 2524
Cmadong ชั้นเซียน
*****


2524 รุ่นนี้-ไม่มีหลับ!!!
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,618

เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2554, 20:41:28 »

เดินสายกลับจากพิมายก็ไปบางปะิอิน-อยุธยาต่อ--เพิ่งกลับมาถึงบ้านตะกี้
ขอบคุณลุงณะมากๆที่เป็นธุระเรื่องอ.เผ่า
และเก็บเสื้อเชียร์ไว้ก่อนนะ--ช่วงนี้เดินสายตลอด--เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวจริงๆ
      บันทึกการเข้า

2524

Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #15 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2554, 04:34:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ jingjok ۩ 2524 เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2554, 20:41:28
เดินสายกลับจากพิมายก็ไปบางปะิอิน-อยุธยาต่อ--เพิ่งกลับมาถึงบ้านตะกี้
ขอบคุณลุงณะมากๆที่เป็นธุระเรื่องอ.เผ่า
และเก็บเสื้อเชียร์ไว้ก่อนนะ--ช่วงนี้เดินสายตลอด--เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวจริงๆ

ยืนดีครับ อิจฉา JJ ที่ได้ท่องเที่ยวได้ในวัยทำงานนี้ เรื่องนั้นจะเก็บไว้ให้แต่ไม่ซักให้

อ.เผ่าของเราท่านเป็นศิลปินที่สมถะมาก มีผลงานมากมายเงียบๆ ที่เราอยู่ต่างสายอาชีพอาจไม่ค่อยรู้ เห็นน้องสนโพสต์รายการนึงไว้ทำให้เรารู้เรื่องราวของอาจารย์มากขึ้นขอนำมารวมไว้ตรงนี้ ให้พวกเราได้ร่วมชื่นชมผลงานของท่าน ด้วยความประทับใจ
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=9KeNYBfabGE" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=9KeNYBfabGE</a>
 

      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
suphot
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,467

« ตอบ #16 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2554, 14:27:50 »

 sorry so sad หึหึ หลั่นล้า ขอกราบแสดงความยินดี
กับท่านอาจารย์ เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ด้วยครับที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นเกียรติอย่างสูง
ของชาวจุฬา และชาวหอจุฬาฯทุกคนครับ  sing
      บันทึกการเข้า
dtoy
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,076

« ตอบ #17 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2554, 18:03:31 »

กราบแสดงความยินดีและชื่นชมอาจารย์เผ่ามากค่ะ
นอกจากตำแหน่งศิลปินแห่งชาติอันทรงเกียรติแล้ว
อาจารย์ยังอยู่ในตำแหน่งแห่งหัวใจชาวหอสองสี่มาตลอด
ไม่ใช่เฉพาะหอชายเท่านั้นหอหญิงก็เช่นกันค่ะ

แท้งกิ้วคุณลุงหลายเด้อที่เป็นธุระให้พวกเรา
      บันทึกการเข้า

Live Your Dream   
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #18 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2554, 22:04:28 »

 ขอกราบแสดงความยินดีต่อท่านอ.เผ่าด้วยค่ะ และขอบใจลุงณะด้วยนะคะ...
      บันทึกการเข้า
หนุ่ม2524
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2524
กระทู้: 1,042

« ตอบ #19 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2554, 16:27:02 »

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ อาจารย์เผ่า ที่เคารพ
      บันทึกการเข้า
jum2524
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,077

« ตอบ #20 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2554, 14:35:39 »

กราบแสดงความยินดีและชื่นชมอาจารย์เผ่าด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ  และขอบคุณลุงณะด้วยนะคะ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #21 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 23:28:04 »

อาจารย์เผ่าที่เคารพ,
หนิงและครอบครัวที่เยอรมัน
ส่งการแสดงความยินดีอาจารย์ผ่านทางอาจารย์แจ่มใส
ที่หนิงและครอบครัวได้ทำความรู้จัก เมื่อปี 2007ด้วยตนเอง.

อาจารย์เป็นคนดีคะ น่ายกย่องจริงๆด้วย
ขอแสดงความนับถือในความตั้งใจ การติดดิน
เป็นแบบอย่างว่าการจะทำอะไรขอให้คงเส้นคงวา
ไม่ว่าจะมีการประกาศเกียรติคุณหรือไม่.

สมัยอยู่หอเมื่อช่วงปี 2527-2531
ก็เห็นอาจารย์ในแบบอาจารย์!
ที่เรานิสิตควรต้องค้อมตัว ยำเกรง
เดี๋ยวนี้จบไปเป็นผู้ใหญ่ในวัยอาจารย์เมื่อตอนโน้น
การมองสิ่งรอบๆตัวพลิกผันตามกาลเวลา
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนในการมอง คือ"คุณค่า" ค่ะอาจารย์
valueที่แสนจะง่ายในการเข้าใจ ง่ายในการยอมรับ
แต่ไม่ง่ายที่จะทำให้ได้โดยไม่มีข้อปลีกย่อยมากมาย
ในชีวิตมาฉุดดึงให้คุณค่าที่เคยคิดเคยเชื่อ ดำรง
ความหมายและนิยามไว้เฉกเช่นเดิม แต่อาจารย์ได้
แสดงให้หนูเห็นว่าคุณค่าหลายอย่าง เหมือนเดิม
ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน.


หนูอยู่หอพักนิสิตหญิง,ไม่มีปฏิสัมพันธ์ตรงต่ออาจารย์
มากเท่ากับนิสิตชาย แม้อยากจะขอย้ายไปสิงหอชาย
ก็ตาม!!excuse me,หนูมักรักษา protocolไม่ได้นาน!
เอาใหม่,
เพราะหนูมิได้อยู่หอพักนิสิตชาย แต่กระนั้นก็หาได้
หยุดหนูไว้จากการรู้จัก เคารพอาจารย์ไม่..
น่าภาคภูมิใจคะอาจารย์ ที่อาจารย์เป็นส่วนหนึ่งของ
ชาวหอและหอพักนิสิตจุฬา ส่วนร่วมนี้หนูอ้างได้เต็มปาก
ไม่เกรงใครเลย.
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #22 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 23:36:29 »

หนูไปแอบมิบภาพที่พี่ๆรุ่น 24 นี้เคยถ่ายกะอาจารย์
มาลง ย้ำว่่าพวกเรามีอะไรร่วมกัน.
อาจารย์กะรุ่น 2524 คะ!

ภาพกะรุ่น 2527 หนูไม่มีคะอาจารย์






nn.24+3
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #23 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 23:44:32 »

พอคล้อยหลังอาจารย์ไป
พี่ๆเค้าก็ได้เป็นเค้าๆที่ร่าเริง
ในแบบชาวหอคะอาจารย์.


      บันทึกการเข้า


suphot
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,467

« ตอบ #24 เมื่อ: 07 มีนาคม 2554, 09:29:01 »

 บ่ฮู้บ่หัน วันนี้ไปร่วมแสดงความยินดีกับ อ.เผ่า ณ เรือนไทยหลังหอจุฬาฯ
ตรงข้ามศศินทร์ เริ่ม 18.00 น.เป็นต้นไป มีใครไปบ้างไหมครับ?  งง งง
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><