22 พฤศจิกายน 2567, 21:18:49
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 2 [3]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: อ.เผ่าได้เป็นศิลปินแห่งชาติครับ  (อ่าน 45771 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #50 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2554, 12:29:11 »


ทัศนะของอาจารย์เผ่า - ศิลปินแห่งชาติ ปี 2553  สาขาทัศนศิลป์ : สถาปัตยกรรมไทย


กวช.ยกย่อง " พิศมัย-สุประวัติ-หงาคาราวาน " ศิลปินแห่งชาติปี 2553 ขณะที่ " ชวน หลีกภัย " ถูกยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติ จะเข้ารับพระราชทานโล่ และเข็มเชิดชูเกียรติ 24 ก.พ.นี้ ..

เมื่อวันทื่ 4 ก.พ. ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้แทน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการเป็นประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เพื่อพิจารณาคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ปี 2553 โดยภายหลังการประชุมร่วม 3 ชั่วโมง นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้แถลงผลการคัดเลือกเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินผู้มีความสามารถ และอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน เป็นศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 ดังนี้

1. สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายธงชัย รักปทุม ( จิตรกรรม ) นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ( สถาปัตยกรรมไทย ) และ นางประนอม ทาแปง ( ประณีตศิลป์- ศิลปะผ้าทอ )

2. สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นายสมบัติ พลายน้อย ( สารคดี เรื่องสั้น ) และนายสุรชัย จันทิมาธร ( เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์ )

3. สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายควน ทวนยก (ดนตรีพื้นบ้าน) ผศ.พันเอกพิเศษชูชาติ พิทักษากร (ดนตรีสากล) นางสาวพิศมัย วิไลศักดิ์ (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์- นักแสดง) และนายสุประวัติ ปัทมสูต (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์-ผู้กำกับ นักแสดง)

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการรับทราบผลการประชุมของมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ที่มีมติเอกฉันท์ยกย่องเชิดชูเกียรติให้ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติอีกด้วย โดยศิลปินแห่งชาติปี 2553 จะเข้ารับพระราชทานโล่ และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 ก.พ. เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

มี้-พิศมัย วิไลศักดิ์ นักแสดงชื่อดัง กล่าวว่า ถือเป็นรางวัลสูงสุดของชีวิตนักแสดง ที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ ซึ่งตลอดระยะเวลา 53 ปีที่อยู่ในวงการบันเทิง ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นใหม่ และถึงแม้ว่าได้รับเป็นศิลปินแห่งชาติแล้ว ตนก็จะยังยึดอาชีพนักแสดงต่อไป จนกว่าจะไม่มีแรงทำงาน และตนก็ยินดีที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงให้ผู้ที่สนใจต่อไป

นายควน ทวนยก กล่าวว่า รู้สึกยินดี และภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการยกย่องในครั้งนี้ โดยจะขอทำงานด้านการสืบสานศิลปะพื้นบ้านต่อไป และแผนงานที่จะทำต่อไปคือ การตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านดนตรีพื้นบ้านขึ้น โดยในศูนย์แห่งนี้จะแบ่งศิลปะพื้นบ้านเป็น 5 แขนง ได้แก่ หนังตะลุง โนราห์ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และการร้อยลูกปัดเพื่อทำเครื่องแต่งมโนราห์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนหรือประชาชนที่สนใจได้การศึกษาเรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์สิ่งดีๆ ของท้องถิ่นไว้ต่อไป

นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ และเมื่อสังคมได้ตระหนักถึงความเสี่ยงในการสูญหายของสถาปัตยกรรมไทย หลักสูตรด้านสถาปัตยกรรมไทยโดยตรงก็ได้รับการปัดฝุ่นขึ้นอีกครั้ง และได้รับความสนใจจากเยาวชนไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งตนเชื่อว่าสถาปัตยกรรมไทยจะมีอายุยืนยาวต่อไปได้ และพร้อมที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมไทยที่มีคุณภาพต่อไป

นางประนอม ทาแปง กล่าวว่า รู้สึกดีใจ และเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ส่วนตัวไม่คิดว่าจะได้รับการคัดเลือกในปีนี้ เพราะทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้เสนอรายชื่อเข้าคัดเลือกหลายครั้ง ในรอบ 3-4 ปีที่่ผ่านมา หลังจากนี้จะช่วยให้การเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะการทอผ้าซิ่นตีนจกให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายได้มากยิ่งขึ้น โดยความมุ่งหวังสูงสุดที่ต้องการคืออยากให้คนไทยได้เข้าใจถึงคุณค่าของผ้า ไทยที่ต้องใช้จิตวิญญาณของผู้ทอ

นายสุรชัย จันทิมาธร หรือหงา คาราวาน กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ การได้รับเลือกไม่ได้ทำให้ต้องหยุดสร้างสรรค์ผลงาน ยังคงทำงานต่อไป และกลับมองว่าจะต้องขยัน และสร้างผลงานเพิ่มมากขึ้น เพราะได้รับคัดเลือกแล้วต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้กับคนรุ่นหลัง รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่

นายชูชาติ พิทักษากร กล่าวว่า รู้สึกดีใจ จากนี้จะทำงานให้หนักขึ้น โดยการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีสากลให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งปัจจุบันสาขาศิลปะการแสดงมีคนสนใจเรียนจำนวนมาก ดังนั้นการที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับวงการนี้น่าจะเป็นหนทางที่จะสร้างเด็กรุ่นใหม่เข้ามาสู่วงการมากขึ้น

นายสมบัติ พลายน้อย กล่าวว่า คาดไม่ถึงว่าจะได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ เพราะไม่ใช่นักเขียนโด่งดัง แต่รู้สึกดีใจ และจะทำงานเขียนหนังสือต่อไป ตามความรู้ ความสามารถ สารคดีและเรื่องสั้น เขียนให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย เพราะอยากเก็บรากฐานความเป็นไทยเอาไว้ ต่อไปอาจจะสูญหาย เพราะคนไม่ใส่ใจความเป็นไทย และสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้ จึงเก็บรักษาไว้เป็นตัวหนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์กับนักเรียนนักศึกษาในอนาคต คนไทยทุกวันนี้ไม่ค่อยอ่านวรรณกรรมไทย คุยแต่เรื่องวรรณกรรมต่างประเทศ วรรณกรรมไทยถูกเมิน ทั้งที่วรรณกรรมไทยสอดแทรกขนบธรรมเนียมภาษา และมีข้อคิดเตือนสติได้

ด้านนายธงชัย รักปทุม กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับเกียรตินี้ ปัจจุบันจิตรกรรมไทยมีการสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ศิลปินคนใดจะสร้างสรรค์ ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขแก่ประชาชนทุกรูปแบบ ตนไม่ห่วงงานจิตรกรรมไทยทุกวันนี้ เพราะทุกงานเป็นงานศิลปะทั้งหมด จะเป็นอื่นไปไม่ได้ ที่สำคัญคนทำเป็นคนไทย ทุกคนต้องรักในความเป็นไทย และมีรากฐานของศิลปกรรมไทยโดยแท้ ถึงแม้จะมีการร่ำเรียนในสิ่งที่เป็นสากล แต่ก็ปรับปรุงทั้งสองอย่างเข้าหากันได้ ทั้งนี้ตนจะสืบสานงานศิลปะต่อไป เพราะศิลปะคือชีวิต ทุกอย่างที่เราทำคือชีวิตเรา เป็นโลกของเราที่สร้างสรรค์ขึ้น เป็นลมหายใจ ตราบใดที่เรามีชีวิตอยู่เราต้องทำต่อไป เพราะการทำงานศิลปะทำให้เรามีความสุข.

ขอขอบคุณ ไทยรัฐ ออนไลน์  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:PTgibEVMvYMJ:www.thairath.co.th/content/edu/146632+%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4&cd=5&hl=th&ct=clnk&gl=th&source=www.google.co.th

ผู้สนใจ คลิกอ่าน website " ศิลปินแห่งชาติ National Artist " ของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้ที่นี่ค่ะ

http://art.culture.go.th/

ศิลปินแห่งชาติ 204 คน ที่  http://art.culture.go.th/index.php?case=artist

ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 56 คน ที่   http://art.culture.go.th/index.php?case=artist&page=1&detail=&side=visual&menusort=all


ขอนำความรู้มาเล่าสู่กันฟัง  เพื่อร่วมยกย่องเชิดชูเกียรติ " อาจารย์เผ่า " ของชาวเราซีมะโด่ง ดังนี้


ศิลปินแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึง ศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม


เข็มเครื่องหมาย ' ศิลปินแห่งชาติ '


สำนักงานคณะกรรมกาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริมสนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะที่มีคุณค่าของแผ่นดินไทย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา  นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น " วันศิลปินแห่งชาติ "

คุณสมบัติ และหลักเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ 7 ประการ คือ

1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน

2. เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น

3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน

4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
 
5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
 
6. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
 
7. ป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

สาขาของศิลปินแห่งชาติ


มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติ ออกเป็น 4 สาขาคือ

1. สาขาทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติ หรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้

* จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น
 
* ประติมากรรม หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก
 
* ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ
 
* ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่างๆ
 
* สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่างๆอย่างอิสระ

2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

3. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่

* การละคร ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ ( ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ) รำ ( ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ) ฟ้อน ( ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ) เซิ้ง ( ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ ( เพื่อการแสดง )

* การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล
 
* นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ

* นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่างๆ และสามารถแหล่ทำนองต่างๆ ได้ ( แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม )
 
* นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ ทั้งทางร้องและทางดนตรี

* ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น
 
* ผู้ผลิตเครื่องดนตรี

* การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ

4. สาขาวรรณศิลป์ หมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ หนังสือเด็ก วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง

      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #51 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2554, 01:04:17 »


ยลงานศิลป์ " ศิลปินแห่งชาติ "
 
จาก เดลินิวส์ออนไลน์ วันอาทิตย์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 0:00 น

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=519&contentID=122119


การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินผู้มีความสามารถ  อุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชนเป็น ศิลปินแห่งชาติ
    
นับจากการเริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2527 ซึ่งในปีต่อมาได้มีการประกาศผลการคัดเลือกจวบถึงปัจจุบันมีศิลปินสาขาต่าง ๆ ที่ได้รับการคัดเลือกรวมแล้ว 212 คน
    
จากการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติซึ่งคัดเลือกใน สาขาทัศนศิลป์ ซึ่งหมายถึงศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา แบ่งเป็นวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ซึ่งส่วนที่เป็นวิจิตรศิลป์ได้แก่  จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์สื่อผสมและภาพถ่าย ส่วนในงานประยุกต์ศิลป์ได้แก่สถาปัตยกรรมแบบประเพณีและร่วมสมัย มัณฑนศิลป์ การออกแบบผังเมือง การออกแบบอุตสาหกรรมและประณีตศิลป์ ฯลฯ  
    
ขณะที่ สาขาวรรณศิลป์ หมายถึงบทประพันธ์ที่แต่งอย่างมีศิลปะทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรองซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือความรู้สึกสะเทือนใจ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและกลวิธีเสนอเรื่องที่น่าสนใจ   ส่วนใน สาขาศิลปะการแสดง หมายถึงศิลปะที่มีการแสดงเป็นได้ทั้งวิจิตรศิลป์ ประยุกต์ศิลป์รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน ซึ่งได้แก่ การแสดง ดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย  ดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล ภาพยนตร์ ละคร
    
เมื่อไม่นานมานี้ จากข่าวการประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 โดย

สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่
ธงชัย รักปทุม ( จิตรกรรม )
เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ( สถาปัตยกรรมไทย )
ประนอม ทาแปง ( ประณีตศิลป์-ศิลปะผ้าทอ )

สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่
สมบัติ พลายน้อย ( สารคดี เรื่องสั้น )
สุรชัย จันทิมาธร ( เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์ )

สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่
ควน ทวนยก ( ดนตรีพื้นบ้าน )
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอกพิเศษชูชาติ พิทักษากร ( ดนตรีสากล )
พิศมัย วิไลศักดิ์ ( ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์–นักแสดง )
สุประวัติ ปัทมสูต ( ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์–ผู้กำกับ นักแสดง )

ซึ่งในแต่ละปี ช่วงวันศิลปินแห่งชาติจะมีการแสดงนิทรรศการเผยแพร่ผลงานทรงคุณค่าของศิลปิน
    
สำหรับปีนี้  ตลอดช่วงกิจกรรมสัปดาห์ศิลปินแห่งชาติซึ่งเตรียมมีขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ต่อเนื่องถึง 5 มีนาคม  ในพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  นอกเหนือจากการแสดงนิทรรศการศิลปินแห่งชาติพุทธศักราช 2553 ที่ห้องนิทรรศการหมุนเวียน  แต่ละวันในพื้นที่หอประชุมเล็ก และหอประชุมใหญ่จะมีการสนทนา  การแสดงของศิลปินแต่ละสาขา จัดแสดงให้ร่วมศึกษาสืบสานผลงานทรงคุณค่าของศิลปินเปิดให้นักเรียน นักศึกษาตลอดจนผู้ที่สนใจร่วมในกิจกรรม  ซึ่งนับเป็นอีกโอกาสดีที่จะได้ใกล้ชิด  ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานทรงคุณค่าของศิลปิน



จาก : http://www.culture.go.th/thai/index.php?option=com_content&view=article&id=1282:2011-02-04-11-05-29&catid=34:news&Itemid=351


กิจกรรมสัปดาห์ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓
วันศุกร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ - วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔
ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย




วัน  เวลา  กิจกรรม / การแสดง  ศิลปิน  สถานที่


๒๕ ก.พ. ๕๔

๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. พิธีเปิดนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน

๑๗.๐๐ – ๑๘.๔๕ น. งานเลี้ยงแสดงความยินดีศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ห้องครึ่งวงกลม

๑๘.๔๕ – ๒๑.๐๐ น. การแสดงของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ทั้ง ๙ ท่าน หอประชุมใหญ่


๒๖ ก.พ. ๕๔

๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. กิจกรรมสนทนากับศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ นายสุรชัย จันทิมาธร หอประชุมใหญ่

• เสวนาภาษากวี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ๒๕๕๓
โดย คุณสุรชัย จันทิมาธร / คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / คุณธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ( เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์ )

• การแสดงมินิคอนเสิร์ต โดย วงคาราวาน


๒๗ ก.พ. ๕๔

๑๘.๓๐ – ๒๑.๓๐ น. กิจกรรมสนทนากับศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ หอประชุมใหญ่

• การแสดงวงออร์เครสตราบรรเพลงคลาสสิคและเพลงไทย พันเอก ชูชาติ พิทักษากร
เรียบเรียงและอำนวยเพลง โดยพันเอก ชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ๒๕๕๓

• การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินประชันวงออร์เครสตรา ( ดนตรีสากล )
โดยศิษย์เอกของพันเอก ชูชาติ พิทักษากร  อำนวยเพลงโดย ผศ.นรอรรถ จันทร์กล่ำ


๒๘ ก.พ. ๕๔

๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. กิจกรรมจิบน้ำชากับศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ นายควน ทวนยก หอประชุมเล็ก

• เสวนาการแสดงดนตรีพื้นบ้าน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ๒๕๕๓
โดยคุณควน ทวนยก / ศิษย์ / ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีพื้นบ้าน ( ดนตรีพื้นบ้าน )

• การแสดงโนราตัวอ่อน และรำยั่วปี โดยคุณควน ทวนยก และศิษย์

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #52 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554, 20:14:23 »

เมื่อสักครู่ ได้ชม"ข่าวในพระราชสำนัก"ทางช่อง 3
ศิลปินแห่งชาติปี 2553 เข้าลงนามถวายพระพร ณ รพ.ศิริราช ในวันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์ 2554
เห็น อจ.เผ่า เข้าร่วมในการลงนามถวายพระพรด้วยครับ

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 2 [3]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><